เบวาซิซูแมบ
โมโนโคลนอล แอนติบอดี | |
---|---|
ประเภท | Whole antibody |
แหล่งที่มา | Humanized (from mouse) |
เป้าหมาย | VEGF-A |
ข้อมูลทางคลินิก | |
การอ่านออกเสียง | /bɛvəˈsɪzjuːmæb/[3] |
ชื่อทางการค้า | Avastin, อื่น ๆ[2] |
AHFS/Drugs.com | Bevacizumab |
ข้อมูลทะเบียนยา |
|
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ | |
ช่องทางการรับยา | ในหลอดเลือดดำ |
รหัส ATC | |
กฏหมาย | |
สถานะตามกฏหมาย |
|
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์ | |
ชีวประสิทธิผล | 100% (ในหลอดเลือดดำ) |
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ | 20 วัน (ระหว่าง 11-50 วัน) |
ตัวบ่งชี้ | |
เลขทะเบียน CAS | |
DrugBank | |
UNII | |
KEGG | |
ChEMBL | |
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี | |
สูตร | C6638H10160N1720O2108S44 |
มวลต่อโมล | 149,196.82 g/mol g·mol−1 |
7 (what is this?) (verify) | |
เบวาซิซูแมบ (อังกฤษ: Bevacizumab, /bɛvəˈsɪzjuːmæb/)[3] ที่วางตลาดในชื่อการค้า Avastin เป็นยาที่ใช้รักษาโรคมะเร็งบางอย่างและโรคตาอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ[4] สำหรับมะเร็ง ยาจะถูกปล่อยเข้าเส้นเลือดดำอย่างช้า ๆ เพื่อรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่, มะเร็งปอด, มะเร็งสมอง (glioblastoma), และมะเร็งเซลล์ไต (renal cell carcinoma)[4] สำหรับรักษาจุดภาพชัดเสื่อมเนื่องกับอายุ (AMD) ใช้การฉีดเข้าในตา[4]
ผลข้างเคียงสามัญเมื่อใช้รักษามะเร็งรวมทั้งเลือดกำเดาไหล ปวดหัว ความดันโลหิตสูง และผื่น[4] ผลข้างเคียงรุนแรงรวมทั้งทางเดินอาหารทะลุ (gastrointestinal perforation) เลือดออก แพ้ ลิ่มเลือด และความเสี่ยงติดเชื้อสูงขึ้น[4] เมื่อใช้รักษาตา ผลข้างเคียงรวมทั้งการเสียการเห็นและจอตาลอก[4] เบวาซิซูแมบ อยู่ในหมู่ยายับยั้งกำเนิดหลอดเลือด (angiogenesis inhibitor) และสารภูมิต้านทานโมโนโคลน (monoclonal antibody)[4] มันทำงานโดยชะลอการเกิด/การเติบโตของเส้นเลือด[4]
เบวาซิซูแมบ อนุมัติให้ใช้รักษาในสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2547[4] เป็นยาอย่างหนึ่งในรายการยาจำเป็นขององค์การอนามัยโลก คือเป็นยาที่มีประสิทธิผลและปลอดภัยที่สุดและจำเป็นในระบบสาธารณสุข[5] โดยติดรายการเพราะใช้รักษาโรคตา[6] ในประเทศกำลังพัฒนา ราคาขายส่งของยาอยู่ที่ 638.54 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 20,741 บาท) ต่อขวดในปี พ.ศ. 2557[7] โดยขวดขนาดเดียวกัน ระบบบริการสุขภาพแห่งชาติในสหราชอาณาจักร (NHS) ต้องจ่าย 242.66 ปอนด์สเตอร์ลิง (ประมาณ 12,700 บาท)[8]
การแพทย์
มะเร็งลำไส้ใหญ่
องค์การอาหารและยาสหรัฐอนุมัติให้ใช้เป็นยารักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ที่กระจายแล้ว โดยใช้ร่วมกับเคมีบำบัดปกติ ซึ่งเป็นการรักษาลำดับแรก หรือโดยใช้กับยา 5-fluorouracil ซึ่งเป็นการรักษาลำดับสอง
ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2548 องค์กรยายุโรป (EMA) จึงอนุมัติให้ใช้รักษามะเร็งลำไส้ใหญ่[9] ยายังได้ตรวจสอบเพื่อใช้เสริมยาเคมีบำบัดอื่น ๆ ในคนไข้มะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ยังไม่แพร่กระจาย แต่งานศึกษาที่ทำแบบสุ่มสองงานแสดงว่า ไม่มีประโยชน์เพื่อป้องกันมะเร็งไม่ให้กลับมาและอาจมีโทษสำหรับคนไข้กรณีนี้[10]
มะเร็งปอด
ในปี พ.ศ. 2549 องค์การอาหารและยาสหรัฐอนุมัติให้ใช้เป็นยารักษามะเร็งปอดแบบ nonsquamous non-small-cell lung carcinoma เป็นลำดับแรกโดยใช้ร่วมกับเคมีบำบัดที่ใช้ยา carboplatin หรือ paclitaxel การอนุมัติอาศัยงานศึกษาสำคัญที่เรียกว่า E4599 (ซึ่งทำโดย Eastern Cooperative Oncology Group) ซึ่งแสดงการรอดชีวิตโดยรวม (overall survival) ได้นานขึ้นสองเดือนสำหรับคนไข้ที่รักษาด้วยยา[11] การวิเคราะห์ทางวิทยาเนื้อเยื่อที่วางแผนล่วงหน้าใน E4599 แสดงการรอดชีวิตได้นานขึ้น 4 เดือนโดยมัธยฐาน สำหรับคนไข้มะเร็งชนิดต่อม[12] ซึ่งเป็นในกรณีคนไข้ 85% ของมะเร็งปอดกลุ่ม non-squamous cell carcinoma
การทดลองทางคลินิกของยุโรป คือ AVAiL ต่อมารายงานในปี พ.ศ. 2552 ยืนยันช่วงการมีชีวิตที่โรคไม่ก้าวหน้านานขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เหมือนที่พบใน E4599[13] แต่การรอดชีวิตโดยรวมไม่นานขึ้นเมื่อรักษาด้วยยา ซึ่งอาจเป็นเพราะการใช้ยาที่จำกัดกว่าในการรักษาแบบธำรงสภาพ (maintenance) ใน AVAiL เมื่อเทียบกับ E4599 ผลแตกต่างเช่นนี้ก็พบในคนไข้มะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วย[14] ในฐานเป็นยายับยั้งกำเนิดหลอดเลือด ไม่มีเหตุผลเนื่องกับกลไกของยาเพื่อยุติการใช้ยาก่อนโรคจะแย่ลงอีก กล่าวอีกอย่างก็คือ ประโยชน์คือการรอดชีวิตที่ได้จากการใช้ยา จะหวังได้ก็ต่อเมื่อใช้ตามหลักฐานทางคลินิกคือ ให้ใช้ยาจนกระทั่งโรคแย่ลงหรือมีผลข้างเคียงที่ยอมรับไม่ได้
งานทดลองทางคลินิกของยุโรปในการใช้ยารักษามะเร็งปอด คือ AVAPERL ได้รายงานในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2554[15] คนไข้ได้รักษาด้วย เบวาซิซูแมบ ร่วมกับยา cisplatin/pemetrexed 4 รอบ แล้วจัดเข้ากลุ่มต่าง ๆ โดยสุ่มเพื่อรักษาแบบธำรงสภาพ (maintenance) ด้วยยา bevacizumab/pemetrexed หรือด้วย เบวาซิซูแมบ อย่างเดียวจนกระทั่งโรคแย่ลงอีก การรักษาธำรงสภาพด้วย bevacizumab/pemetrexed ลดความเสี่ยงโรคแย่ลงถึง 50% เทียบกับเมื่อใช้ เบวาซิซูแมบ อย่างเดียว (ค่ามัธยฐานของช่วงการมีชีวิตที่โรคคงสภาพ 10.2 เดือนเทียบกับ 6.6 เดือน) แต่ก็ไม่ได้เพิ่มการรอดชีวิตโดยรวมอย่างสำคัญเทียบกับเมื่อใช้ เบวาซิซูแมบ เดี่ยว ๆ เมื่อวิเคราะห์ติดตามผล[16]
เครือข่ายศูนย์มะเร็งแห่งชาติสหรัฐ (National Comprehensive Cancer Network) แนะนำให้ใช้ยา เบวาซิซูแมบ เป็นการรักษาลำดับแรกบวกกับเคมีบำบัดมาตรฐานอื่น ๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วตามด้วยการรักษาธำรงสภาพด้วยยาจนกว่าอาการจะแย่ลง โดยให้ยาในขนาดสูงกว่าเมื่อใช้เคมีบำบัดที่อาศัยยา carboplatin เทียบกับเมื่อให้เคมีบำบัดที่อาศัยยา cisplatin
ในมะเร็งปอดระยะปลาย คนไข้น้อยกว่าครึ่งจะผ่านเกณฑ์เพื่อรักษา[17][18]
มะเร็งเต้านม
ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2553 องค์การอาหารและยาสหรัฐได้แจ้งความตั้งใจถอนข้อบ่งใช้ยาในการรักษามะเร็งเต้านม (ซึ่งอนุมัติในปี พ.ศ. 2551) โดยอ้างว่า ไม่ปรากฏว่าปลอดภัยหรือมีประสิทธิผลสำหรับคนไข้ คือ ข้อมูลรวมกันจากการทดลองทางคลินิกต่าง ๆ กัน 4 งานแสดงว่า ยาไม่ได้ทำให้รอดชีวิตโดยรวมได้นานขึ้น และไม่ได้ชะลออาการพอเมื่อเปรียบเทียบกับความเสี่ยงที่เกิดแก่คนไข้ การถอนอนุมัตินี้มีผลให้บริษัทไม่สามารถโฆษณาขายยาเพื่อรักษามะเร็งเต้านมเท่านั้น และแพทย์ก็ยังสามารถให้ยานอกเหนือจากข้อบ่งใช้ แต่บริษัทประกันสุขภาพก็มีโอกาสน้อยลงในการจ่ายค่ายาที่ใช้นอกข้อบ่งใช้[19][20]
ต่อมาเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554 คณะกรรมการขององค์กรก็ได้ปฏิเสธการอุทธรณ์ของบริษัทเจ้าของยาอย่างเป็นเอกฉันท์ คือ คณะผู้ชำนาญการในเรื่องมะเร็งได้ตัดสินเป็นครั้งที่สองว่า Avastin (เบวาซิซูแมบ) ซึ่งเป็นยารักษามะเร็งที่ขายดีเป็นอันดับสองของโลก ไม่ควรใช้ต่อไปในคนไข้มะเร็งเต้านม เป็นการกำจัดอุปสรรคให้รัฐบาลสหรัฐถอนอนุมัติของยา การประชุมนี้เป็นการพิจารณาอุทธรณ์ของบริษัทเป็นขั้นสุดท้าย คณะผู้ชำนาญการได้สรุปว่า งานทดลองทางคลินิกของมะเร็งเต้านมที่ให้ยา Avastin แก่คนไข้ไม่แสดงประโยชน์ในอัตราการรอดชีวิต ไม่ทำคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น และเกิดผลข้างเคียงอย่างสำคัญ อย่างไรก็ดี กลุ่มสนับสนุนคนไข้ต่าง ๆ ก็รู้สึกผิดหวังในการตัดสินใจของคณะ[21]
ต่อมาเดือนตุลาคม พ.ศ. 2554 องค์กรจึงได้ประกาศว่าได้ถอนการอนุมัติการบ่งใช้ในโรคมะเร็งเต้านมของยา โดยสรุปว่าไม่มีหลักฐานว่ายาปลอดภัยหรือมีประสิทธิผลเพื่อข้อบ่งใช้นี้
มะเร็งไต
ในมะเร็งไตบางอย่าง ยาช่วยทำให้มีช่วงชีวิตที่โรคคงสภาพนานขึ้น แต่ไม่ช่วยให้รอดชีวิตได้นานขึ้น ในปี พ.ศ. 2552 องค์กรอาหารและยาสหรัฐอนุมัติให้ใช้ยาเพื่อรักษามะเร็งเซลล์ไต (renal cell cancer) ที่แพร่กระจายแล้ว[22][23] หลังจากได้รายงานที่แสดงว่ามีฤทธิ์[24] สหภาพยุโรปก็ให้อนุมัติในปี พ.ศ. 2550[25]
มะเร็งสมอง
ยาชะลอการเติบโตของเนื้องอกแต่ไม่มีผลให้รอดชีวิตได้นานขึ้นในคนไข้มะเร็งแบบ glioblastoma multiforme[26] องค์การอาหารและยาสหรัฐได้ให้อนุมัติเพื่อรักษาโรคนี้แบบกลับเป็นซ้ำในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2552[27] แต่งานปริทัศน์แบบคอเครนปี พ.ศ. 2557 ก็อ้างว่า ไม่มีหลักฐานพอเพื่อใช้รักษาการกลับเป็นซ้ำ[26]
โรคตา
โรคตาหลายชนิด เช่น จุดภาพชัดเสื่อมเนื่องกับอายุ (AMD) และโรคจอตาเหตุเบาหวาน ทำจอตาให้เสียหายและเป็นเหตุให้ตาบอด เมื่อเส้นเลือดรอบ ๆ จอตางอกอย่างผิดปกติแล้วปล่อยให้น้ำซึมออก ทำให้ชั้นต่าง ๆ ของจอตาแยกออกจากกัน การงอกผิดปกติเช่นนี้มีเหตุจากแฟกเตอร์โปรโมตการเติบโตของเส้นเลือด คือ vascular endothelial growth factor (VEGF) และแพทย์ได้ใช้ เบวาซิซูแมบ เพื่อยับยั้ง VEGF และชะลอการงอกของเส้นเลือด
จักษุแพทย์ได้ใช้ยานี้แบบนอกข้อบ่งใช้ (off-label) โดยเป็นยาฉีดเข้าในวุ้นตาเพื่อรักษาโรคตาที่งอกเส้นเลือดใหม่ โดยเฉพาะที่เส้นเลือดงอกในชั้นคอรอยด์ของจอตา (CNV) ใน AMD แม้องค์กรอาหารและยาสหรัฐยังไม่ได้อนุมัติให้ใช้อย่างนี้ การฉีดยาประมาณ 1.25-2.5 มก. เข้าที่ช่องวุ้นตาก็ไม่ก่อพิษภายในตาอย่างสำคัญ[28] แพทย์เฉพาะทางในเรื่องจอตาได้เห็นผลที่น่าทึ่งในการรักษา CNV, โรคจอตาเหตุเบาหวาน, ต้อหินแบบเส้นเลือดใหม่งอก (neovascular glaucoma), จุดภาพชัดบวมเหตุเบาหวาน (diabetic macular edema), โรคจอตาของทารกคลอดก่อนกำหนด (retinopathy of prematurity)[29] และจุดภาพชัดบวม (macular edema) ซึ่งเป็นอาการทุติยภูมิของการอุดตันของเส้นเลือดดำในจอตา (retinal vein occlusion)
งานทบทวนบางงานได้สรุปว่า ผลที่ได้จากยา เบวาซิซูแมบ และ ranibizumab คล้ายกัน[30][31] แต่งานอื่น ๆ ก็แสดงผลไม่พึงประสงค์ในอัตราที่สูงกว่า[32][33][34] เช่น ภาวะลิ่มเลือดหลุดอุดหลอดเลือดเมื่อใช้ เบวาซิซูแมบ หรือไม่สามารถได้ข้อสรุปที่ชัดเจนเนื่องจากมีข้อมูลจำกัด[35]
ในเรื่องความปลอดภัยของยานี้ ประเด็นที่ควรคำนึงถึงเป็นพิเศษเมื่อใช้รักษาโรคจุดภาพชัดจอตา ก็คืออาจเกิดการปนเปื้อนหรือติดเชื้อเมื่อแบ่งบรรจุและเก็บยาก่อนที่จะนำไปฉีดให้ผู้ป่วย ผศ.นพ.ธนภัทร รัตนภากร จากโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้อธิบายในส่วนนี้ว่า “ต้องมีการแบ่งยา เบวาซิซูแมบ จากปริมาณบรรจุ 4 ซีซี เพื่อใช้ประมาณ 0.05 ซีซีต่อครั้ง ขั้นตอนหลังจากนั้นจะมีการเก็บยาไว้ เมื่อใดก็ตามที่ต้องมีหลายกระบวนการก่อนที่จะฉีดเข้าตา โอกาสปนเปื้อนในแต่ละจุดจึงเกิดได้ รวมทั้งการเก็บยาไว้นานเกินไป เก็บในอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสม ล้วนแต่อาจจะมีข้อบกพร่องซึ่งทำให้เกิดการติดเชื้อ เมื่อเทียบกับยาที่ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับการฉีดเข้าตาโดยไม่ต้องแบ่ง” ทั้งนี้ สำหรับยา ranibizumab เอง ก็ต้องดูดเข้าเข็มฉีดยาก่อนฉีดให้แก่คนไข้เหมือนกัน หากไม่มีระบบฆ่าเชื้อที่ดีก็อาจปนเปื้อนได้เช่นกัน แต่อาจเกิดน้อยกว่าเพราะไม่ต้องแบ่งยา[36]
มะเร็งรังไข่
ในปี พ.ศ. 2561 องค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) ให้การรับรอง เบวาซิซูแมบ ร่วมกับเคมีบำบัดสำหรับมะเร็งรังไข่ระยะที่สาม หรือสี่ หลังจากการผ่าตัดครั้งแรก ตามด้วยการให้ เบวาซิซูแมบ อย่างเดียว การอนุมัติมีพื้นฐานจากการศึกษาการเพิ่ม เบวาซิซูแมบ ในการให้ยา carboplatin และ paclitaxel[37] การอยู่รอดแบบไม่มีการลุกลามของโรคเพิ่มขึ้นจาก 13 เดือนเป็น 18 เดือน[37]
การให้ยา
เบวาซิซูแมบ ปกติจะให้ทางเส้นเลือดดำทุก ๆ 14 วัน ในมะเร็งลำไส้ใหญ่ จะให้ร่วมกับยาเคมีบำบัด คือ 5-FU (5-fluorouracil), leucovorin, และ oxaliplatin/irinotecan[38] สำหรับโรคตา มันจะฉีดเข้าที่ช่องวุ้นตา (intravitreous)
ผลไม่พึงประสงค์
ยาระงับการงอกของเส้นเลือด ซึ่งเป็นการขัดขวางการบำรุงรักษาร่างกายอย่างหนึ่ง เพราะร่างกายงอกเส้นเลือดใหม่เพื่อสมานแผล และสร้างเส้นเลือดเบี่ยง (collateral circulation) รอบหลอดเลือดที่อุดตันหรือแข็ง ดังนั้น จึงสร้างความเป็นห่วงว่า ยาจะกวนกระบวนการธรรมชาติเช่นนี้ เป็นเหตุให้อาการต่าง ๆ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (coronary artery disease) หรือโรคหลอดเลือดตีบนอกหัวใจและสมอง (peripheral artery disease) แย่ลง[39]
ผลข้างเคียงหลัก ๆ ของยาก็คือ ความดันโลหิตสูงและความเสี่ยงตกเลือดที่สูงขึ้น มีรายงานเกี่ยวกับลำไส้ทะลุ (bowel perforation)[40] ความล้าและการติดเชื้อก็สามัญด้วย[41]
ผนังกั้นโพรงจมูกทะลุและหลอดเลือดฝอยมีลิ่มเลือด (thrombotic microangiopathy) ก็มีรายงาน[42] ในเดือน 2010 องค์การอาหารและยาสหรัฐประกาศเตือนถึงความเสี่ยงการเกิดช่องทะลุในร่างกาย รวมทั้งจมูก กระเพาะอาหาร และลำไส้
ในปี พ.ศ. 2556 บริษัท Hoffmann-La Roche ประกาศว่า ยาสัมพันธ์กับกรณี necrotizing fasciitis (พังผืดอักเสบตายเฉพาะส่วน) 52 รายระหว่างปี พ.ศ. 2540-2555 โดยคนไข้ 17 คนได้เสียชีวิต[43] โดย 2 ใน 3 เป็นคนไข้ที่มีมะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือคนไข้ที่ทางเดินอาหารทะลุ (gastrointestinal perforation) หรือมีช่องทะลุ (fistula)
ผลเหล่านี้ไม่มีเมื่อใช้รักษาตา เนื่องจากยาฉีดเข้าในตาซึ่งทำให้เกิดผลต่อร่างกายส่วนอื่นน้อย[44]
ผลข้างเคียงไม่พึงประสงค์ทางประสาทรวมทั้ง posterior reversible encephalopathy syndrome (PRES) ซึ่งมีอาการปวดหัว, สับสน, ชัก และการเสียการเห็น โรคหลอดเลือดสมองแบบอุดตันหรือแบบตกเลือดก็เป็นไปได้เช่นกัน[45]
กลไกการทำงาน
เบวาซิซูแมบ เป็นสารภูมิต้านทานโมโนโคลน ซึ่งห้ามการเกิดเส้นลือดโดยยับยั้งแฟกเตอร์คือ vascular endothelial growth factor A (VEGF-A)[46] VEGF-A เป็น growth factor ที่กระตุ้นให้เกิดเส้นเลือดในโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะมะเร็ง ยาเป็นสารยับยั้งการเกิดเส้นเลือด (angiogenesis inhibitor) แรกในสหรัฐอเมริกา[47]
เคมี
เบวาซิซูแมบ ดั้งเดิมได้มาจากสารภูมิต้านทานโมโนโคลน (monoclonal antibody) ของหนูที่ทำให้เกิดภูมิคุ้มกันต่อ 165-residue-form of recombinant human vascular endothelial growth factor (rhu VEGF165) แล้วจึงทำเป็นของมนุษย์โดยเก็บส่วน binding region ของสารภูมิต้านทานในขณะที่แทนส่วนที่เหลือด้วยส่วน light chain และ truncated IgG1 heavy chain ของมนุษย์ โดยยังมีการทดแทนด้วยส่วนอื่น ๆ ด้วย พลาสมิดที่เป็นผลผลิตจะใส่เข้าในเซลล์รังไข่ของแฮมสเตอร์จีน (Chinese Hamster Ovary cell) ผ่านกระบวนการ transfection แล้วผลิตโดยใช้ระบบการหมักเชิงอุตสาหกรรม[9]: 4
ประวัติ
ยาเป็นสารภูมิต้านทานลูกผสมจากโคลนของเซลล์เดียวที่ในปี พ.ศ. 2547 ได้ใช้ระงับการเกิดเส้นเลือดเป็นยาแรก[48] พัฒนาการของมันอาศัยการค้นพบแฟกเตอร์ คือ vascular endothelial growth factor (VEGF) ในมนุษย์ ซึ่งเป็นโปรตีนที่กระตุ้นการงอกของเส้นเลือด เป็นการค้นพบของแพทย์นักชีววิทยาของบริษัท Genentech คือ ศ. นพ. Napoleone Ferrara[49][50][51] ซึ่งต่อมาเขาได้แสดงว่า สารภูมิต้านทานต่อต้าน VEGF จะระงับการเจริญเติบโตของเนื้องอกในหนู[52] งานของเขายืนยันสมมติฐานของแพทย์อีกคนหนึ่งที่เสนอในปี พ.ศ. 2514 ว่า การระงับกำเนิดเส้นเลือดอาจมีผลควบคุมการเจริญเติบโตของมะเร็ง[51]
การอนุมัติ
ยาได้รับอนุมัติเป็นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2547 ให้ใช้ร่วมกับเคมีบำบัดมาตรฐานเพื่อรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ที่กระจายตัวแล้ว[53] ต่อจากนั้นก็ได้รับอนุมัติเพื่อรักษามะเร็งปอดบางชนิด มะเร็งไต มะเร็งรังไข่ และมะเร็งสมองประเภท glioblastoma multiforme
ในปี พ.ศ. 2551 องค์การอาหารและยาสหรัฐอนุมัติให้ใช้ยาเพื่อรักษามะเร็งเต้านม แต่ก็ได้ถอนการอนุมัติ เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554[54][55][56] เพราะแม้จะมีหลักฐานว่า ยาชะลอการแย่ลงของมะเร็งเต้านมที่กระจายตัวแล้ว แต่ก็ไม่มีหลักฐานว่า ยาทำให้รอดชีวิตได้นานขึ้น หรือเพิ่มคุณภาพชีวิต แต่มีผลไม่พึงประสงค์รวมทั้งความดันโลหิตสูงและการตกเลือด
จากความจริงเช่นนั้น ในปี พ.ศ. 2551 องค์กรได้ให้การอนุมัติแบบมีข้อแม้ คือต้องมีการศึกษาเพิ่มขึ้น แม้จะเป็นการอนุมัติที่คณะผู้ชำนาญการแนะนำว่า ไม่ควรให้[57] ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553 หลังจากที่งานศึกษาไม่พบประโยชน์ที่สำคัญ คณะผู้ชำนาญการจึงแนะนำไม่ให้ใช้ยารักษามะเร็งเต้านมขั้นปลาย บริษัทจึงร้องให้มีการฟังคำชี้แจง ซึ่งได้เกิดขึ้นในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554 แล้วต่อมาเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2554 องค์กรจึงได้ถอนอนุมัติเพื่อให้รักษามะเร็งเต้านม เป็นการอนุมัติที่บริษัทต้องมีเพื่อจะวางตลาดขายยาสำหรับข้อบ่งชี้นั้น แม้แพทย์ก็ยังสามารถให้ยานี้สำหรับโรคนี้แก่คนไข้ แต่บริษัทประกันสุขภาพมีโอกาสคุ้มครองจ่ายค่ายาให้น้อยลง[55]
ถึงกระนั้น ยาก็ยังได้อนุมัติให้ใช้ในข้อบ่งชี้นี้ในประเทศอื่น ๆ รวมทั้งออสเตรเลีย[58] เป็นยาที่กองทุนยามะเร็ง (CDF) ในสหราชอาณาจักรจ่ายให้ แต่ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2558 ก็มีการเสนอให้ลบออกจากรายการอนุมัติขององค์กร[59]
สังคมและวัฒนธรรม
ราคา
ในประเทศที่มีประกันสุขภาพแห่งชาติ (เช่น ในสหราชอาณาจักรและแคนาดา) องค์กรมักจะจำกัดการใช้ยานี้ เนื่องกับการเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายและประโยชน์ ยกตัวอย่างเช่น ในสหราชอาณาจักร องค์กรของรัฐคือ National Institute for Health and Care Excellence มีจุดยืนว่า ยาไม่ควรจ่ายโดยประกันสุขภาพแห่งชาติ (NHS) เพราะมีค่าใช้จ่ายถึง £21,000 ต่อคนไข้ (ประมาณ 1.2 ล้านบาท) แต่มีประโยชน์เพียงแค่เล็กน้อยสำหรับมะเร็งแบบต่าง ๆ[60] ในปี พ.ศ. 2549 องค์กรของรัฐ Scottish Medicines Consortium แนะนำไม่ให้ NHS จ่ายยาสำหรับรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่หรือลำไส้ตรงโดยเป็นการรักษาอันดับแรก เพราะมีค่าใช้จ่ายประเมินระหว่าง £24,000-£93,000 (1.2-4.6 ล้านบาท) ต่อปีโดยปรับด้วยคุณภาพชีวิต (QALY)[61]
การให้ยาเพิ่มบวกกับการรักษามาตรฐานสามารถทำให้คนไข้มะเร็งเต้านมและมะเร็งปอดมีชีวิตนานขึ้นหลายเดือน โดยมีค่าใช้จ่ายที่ 100,000 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 3.8 ล้านบาท) ต่อปีในสหรัฐอเมริกา[62] สำหรับมะเร็งลำไส้ใหญ่ งานศึกษาเบื้องต้นที่พิมพ์ในวารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์รายงานว่า เบวาซิซูแมบ ยืดอายุคนไข้ได้ 4.7 เดือน (คือ 20.3 เดือน เทียบกับ 15.6 เดือน) โดยมีค่าใช้จ่ายระหว่าง 42,800-55,000 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1.8-2.2 ล้านบาท)[63] แต่ค่าใช้จ่ายในประเทศอื่น ๆ ก็ต่างกันไป มีรายงานว่าในแคนาดา มันมีค่าใช้จ่าย 40,000 เหรียญแคนาดา (ประมาณ 1.2 ล้านบาท) ต่อปี[64]
ยาพิเศษ (สหรัฐอเมริกา)
วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2557 บริษัท Genentech ได้เปลี่ยนหมวดยาที่อนุญาตตามกฎหมายให้เป็น ยาพิเศษ (specialty drug) ซึ่งขายเฉพาะในร้านเภสัชพิเศษ โดน "ยาพิเศษปกติจะอยู่ใต้การควบคุมของ FDA’s Risk Evaluation and Mitigation Strategy (REMS) program ซึ่งตั้งขึ้นสำหรับสารประกอบต่าง ๆ เช่น เทสโทสเตอโรน ซึ่งอาจมีผลข้างเคียงพิเศษ หรือยาที่แพงเป็นพิเศษ"[65] ซึ่งสร้างปัญหาแก่โรงพยาบาลเพราะราคายาเพิ่มขึ้น[65] ตามบริษัท IMS Health ราคายาโดยเฉลี่ยที่โรงพยาบาลเรียกเก็บจากคนไข้ตกประมาณ 9,000 เหรียญสหรัฐ (308,000 บาท) เทียบกับ 2,300 เหรียญ (79,000 บาท) เมื่อทำในคลินิก โดยเป็นผลของการจัดจำหน่ายที่อนุญาตตามกฎหมายใหม่เช่นนี้ โรงพยาบาลจำนวนมากจึงไม่มีสิทธิ์ได้ส่วนลด 51% จากราคาขายส่งเฉลี่ยที่บังคับด้วยกฎหมาย Affordable Healthcare Act เมื่อจัดจำหน่ายแบบเดิม[66]
จุดภาพชัดเสื่อม
เมื่อใช้ยา bevacizumab รักษาจุดภาพชัดเสื่อมแบบเปียก (wet age-related macular degeneration, wet AMD) ขนาดที่ให้จะน้อยและมีราคาไม่แพง เทียบกับขนาดที่ต้องใช้เพื่อมะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งอื่น ๆ มีผู้ตรวจสอบหลายรายได้รายงานในปี พ.ศ. 2553 ว่า ยาที่ราคาราว ๆ 42 เหรียญสหรัฐ (ราว 1,300 บาท) มีประสิทธิผลเท่ากับยา ranibizumab ซึ่งมีราคา 1,593 เหรียญ (ราว 50,500 บาท)[67][68] โดยในประเทศไทยมีราคาประมาณ 500-1,000 บาท และ 45,481-50,092 บาทในปี พ.ศ. 2560 ตามลำดับ[69][70]
โดยเดือนเมษายน พ.ศ. 2558 มีการถกเถียงอย่างเข้มข้นในสหราชอาณาจักรและประเทศยุโรปอื่น ๆ เกี่ยวกับการเลือกให้ยา เบวาซิซูแมบ (Avastin) หรือ ranibizumab (Lucentis) เพื่อรักษา wet AMD[71] ในสหราชอาณาจักร ปัญหาก็คือ ในฝ่ายหนึ่งคือ องค์กรยายุโรป (European Medicines Agency) และองค์กรควบคุมยาของสหราชอาณาจักร (Medicines and Healthcare Products Regulatory Agency) ได้อนุมัติให้ใช้ ranibizumab เพื่อรักษา wet AMD แต่ไม่ได้อนุมัติ เบวาซิซูแมบ และองค์กรต้องการให้แพทย์ไม่ใช้ยาที่ไม่ได้อนุมัติเมื่อมียาอื่นที่ได้รับอนุมัติ และในอีกฝ่ายหนึ่ง องค์กรของรัฐคือ National Institute for Health and Care Excellence (NICE) ซึ่งเป็นผู้กำหนดแนวทางการรักษา ยังไม่สามารถประเมิน เบวาซิซูแมบ เป็นการรักษาลำดับต้น เพื่อที่จะลดค่าใช้จ่ายเพื่อควบคุมงบประมาณขององค์กรประกันสุขภาพของรัฐ คือ National Health Service[71] ทั้งบริษัท Novartis และ Roche ซึ่งเป็นบริษัทวางตลาดและบริษัทเจ้าของสำหรับ Avastin ตามลำดับ ยังไม่ได้ทำการทดลองทางคลินิกเพื่อให้ได้อนุมัติใช้ยา Avastin เพื่อรักษา wet AMD และไม่มีแผนเพื่อทำเช่นนั้น[71] อนึ่ง ทั้งสองบริษัทวิ่งเต้นไม่ให้ออกแนวทางการรักษาเพื่อใช้ Avastin เป็นการรักษาลำดับแรก และถ้ามีงานศึกษาโดยทุนจากรัฐบาลที่เปรียบเทียบยาทั้งสองตีพิมพ์รายงาน บริษัทก็จะออกเอกสารเน้นความเสี่ยงเมื่อใช้ Avastin เพื่อรักษา wet AMD[71]
มะเร็งเต้านม
ในปี พ.ศ. 2554 องค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) ได้ถอน เบวาซิซูแมบ จากข้อบ่งใช้เพื่อรักษามะเร็งเต้านมที่กระจายแล้วหลังจากสรุปว่า ยาไม่ปรากฏกว่าปลอดภัยหรือมีประสิทธิผล ข้อบ่งใช้ที่ตอนแรกอนุมัติก็คือ การใช้ยาพร้อมกับ paclitaxel สำหรับรักษาคนไข้ที่ยังไม่ได้รับเคมีบำบัดและมีมะเร็งเต้ามนมแบบ HER2-negative ที่กระจายแล้ว
ก่อนการประกาศขององค์กรในปีเดียวกัน เครือข่ายศูนย์มะเร็งแห่งชาติสหรัฐ (NCCN) ได้อัปเดตแนวทางการรักษาขององค์กร (NCCN Guidelines) สำหรับโรคมะเร็งเต้านม โดยยืนยันข้อแนะนำให้ใช้ยาเพื่อรักษามะเร็งเต้านมที่กระจายแล้ว[72] คือในปี พ.ศ. 2551 FDA ได้อนุมัติให้ใช้ยารักษามะเร็งเต้านม แม้คณะผู้ชำนาญการนอกองค์กรจะลงคะแนน 5 ต่อ 4 เพื่อไม่ให้อนุมัติ แต่องค์กรได้ตัดสินฝืนคำแนะนำนี้ คณะผู้ชำนาญการได้แสดงความเห็นว่า ข้อมูลจากการทดลองทางคลินิกไม่ได้แสดงการเพิ่มคุณภาพชีวิตหรือการทำให้รอดชีวิตได้นานขึ้น ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานสำคัญสองอย่างสำหรับการรักษาโรคมะเร็งระยะสุดท้าย แม้หลักฐานจะแสดงว่า ยาลดขนาดเนื้องอกและเพิ่มช่วงมีชีวิตที่โรคคงสภาพ ซึ่งเป็นข้อมูลหลังที่องค์กรเลือกเมื่อตัดสินฝืนความเห็นของผู้ชำนาญการ เป็นการตัดสินใจที่สนับสนุนโดยกลุ่มป้องกันผลประโยชน์ของคนไข้และแพทย์วิทยาเนื้องอกบางส่วน แต่แพทย์วิทยาเนื้องอกอื่น ๆ ก็รู้สึกว่า การให้อนุมัติสำหรับการรักษามะเร็งระยะสุดท้าย ที่ไม่ยืดอายุหรือเพิ่มคุณภาพชีวิตของคนไข้ จะเป็นตัวอย่างให้บริษัทยาไม่ต้องสนใจเกณฑ์มาตรฐานเหล่านั้นเมื่อพัฒนาการรักษามะเร็งระยะสุดท้ายใหม่ ๆ[57]
ในวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2550 คณะกรรมาธิการยุโรปได้อนุมัติให้ใช้ยาร่วมกับ paclitaxel เป็นการรักษาลำดับแรกสำหรับโรคมะเร็งเต้านมที่กระจายแล้ว[73]
ยาปลอม
วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 บริษัท Roche และหน่วยเทคโนโลยีชีวภาพสหรัฐของบริษัทคือ Genentech ประกาศว่า มียา Avastin ปลอมที่ได้กระจายขายในสหรัฐ[74] แม้ยังสืบคดีอยู่ แต่การบรรจุยาที่ต่างกันทำให้การแยกแยะยาปลอมเป็นเรื่องง่าย Roche ได้วิเคราะห์ยาปลอม 3 ขวดแล้วพบว่า มีเกลือ, แป้ง, ไซเตรต, isopropanol, propanediol, t-butanol, benzoic acid, di-fluorinated benzene ring, แอซีโทน, และ phthalate moiety แต่ไม่มียามะเร็ง ตามบริษัท องค์ประกอบทางเคมีของยาปลอมไม่แน่นอน จึงไม่สามารถกำหนดว่าสารเคมีเข้มข้นพอมีโทษหรือไม่ โดยสามารถสืบยาปลอมว่ามาจากอียิปต์ แล้วเข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานผ่านยุโรป จนมาถึงสหรัฐ[75][76]
ยาคล้ายกันทางชีวภาพ
ในเดือน พ.ศ. 2557 บริษัทที่ใช้พันธุวิศวกรรมเปลี่ยนยีนของพืชหรือสัตว์เพื่อผลิตยา (pharming) คือ PlantForm และ PharmaPraxis ประกาศแผนที่จะวางตลาดขายยาคล้ายกันที่ผลิตจากสิ่งมีชีวิต (biosimilar) โดยผลิตจากการแสดงออกยีนในต้นยาสูบโดยร่วมมือกับศูนย์วิจัยทางจุลชีววิทยาคือ Fraunhofer Center for Molecular Biology[77] ในสหรัฐอเมริกา ยาคล้ายกันทางชีวภาพเช่นนี้ ปกติจะวางตลาดขายได้เมื่อสิทธิบัตรของยาต้นตำรับหมดอายุแล้ว[78] ต่อมาเดือนกันยายน พ.ศ. 2560 องค์การอาหารและยาสหรัฐได้อนุมัติยาคล้ายกันทางชีวภาพของบริษัท Amgen โดยมีชื่อสามัญว่า bevacizumab-awwb และชื่อผลิตภัณฑ์ว่า Mvasi และมีข้อบ่งใช้เพื่อมะเร็ง 6 ชนิด[79]
งานวิจัย
งานศึกษาตีพิมพ์เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2552 พบว่า ยาไม่มีประสิทธิผลเพื่อป้องกันการกลับมีอาการโรคอีกของมะเร็งลำไส้ที่ยังไม่กระจายหลังจากผ่าตัด[80]
ยามีผลต่อโรคมะเร็งรังไข่[81][82] และมะเร็งสมองแบบ glioblastoma multiforme[83] เมื่อใช้เป็นยาเดี่ยว ๆ
งานทดลองทางคลินิกระยะ 3 สองงานในปี พ.ศ. 2553 แสดงว่า ยาเพิ่มช่วงมีชีวิตที่โรคคงสภาพสำหรับคนไข้มะเร็งรังไข่ 27% และ 54%[84]
มีการตรวจสอบว่ายาสามารถรักษามะเร็งตับอ่อนโดยเสริมเคมีบำบัดได้หรือไม่ แต่งานวิจัยแสดงว่า ไม่ทำให้รอดชีวิตดีขึ้น[85][86][87] แต่กลับเพิ่มความดันโลหิต ทำให้เลือดออกในกระเพาะและลำไส้ และลำไส้ทะลุ
ยากำลังทดลองในเบื้องต้นโดยเสริมเคมีบำบัดปกติและการผ่าตัด เพื่อรักษามะเร็งกระดูกในเด็ก[88] รวมทั้งมะเร็งแบบอื่น ๆ เช่น มะเร็งกล้ามเนื้อเรียบ (leiomyosarcoma)[89]
มีงานศึกษาการใช้ยาเพื่อรักษามะเร็งที่งอกจากส่วนประสาทที่เชื่อมหูกับสมอง (vestibular schwannoma)[90]
โดยปี พ.ศ. 2555 มีการทดลองทางคลินิกเพื่อทดสอบการให้ยาในเส้นเลือดเพื่อรักษามะเร็งสมองโดยตรงคือไม่ผ่านส่วนกั้นระหว่างโลหิตกับสมอง[91]
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 "Bevacizumab Use During Pregnancy". Drugs.com. 30 July 2019. สืบค้นเมื่อ 18 March 2020.
- ↑ "Bevacizumab - Drugs.com". www.drugs.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-28. สืบค้นเมื่อ 2016-12-28.
- ↑ 3.0 3.1 "Bevacizumab Injection: MedlinePlus Drug Information". NLM.nih.gov. 2014-02-28. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-25.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 4.7 4.8 "Bevacizumab". The American Society of Health-System Pharmacists. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-20. สืบค้นเมื่อ 2016-12-08.
- ↑ "WHO Model List of Essential Medicines (19th List)" (PDF). World Health Organization. April 2015. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-13. สืบค้นเมื่อ 2016-12-08.
- ↑ "WHO Model List of EssentialMedicines" (PDF). World Health Organization. October 2013. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-23. สืบค้นเมื่อ 2014-04-22.
- ↑ "Bevacizumab". International Drug Price Indicator Guide. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-22. สืบค้นเมื่อ 2016-12-08.
- ↑ British national formulary : BNF 69 (69 ed.). British Medical Association. 2015. p. 597. ISBN 9780857111562.
- ↑ 9.0 9.1 "Bevacizumab Scientific DIscussion" (PDF). European Medicines Agency. 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-24.
- ↑ "Lessons From the Adjuvant Bevacizumab Trial on Colon Cancer: What Next?". Jco.ascopubs.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-05. สืบค้นเมื่อ 2012-08-05.
- ↑ Sandler A.; Gray R.; Perry MC.; และคณะ (14 December 2006). "Paclitaxel-carboplatin alone or with bevacizumab for non-small-cell lung cancer". New England Journal of Medicine. 355 (24): 2542–2550. doi:10.1056/NEJMoa061884. PMID 17167137.
- ↑ Sandler A.; Yi J.; Dahlberg S.; และคณะ (September 2010). "Treatment outcomes by tumor histology in Eastern Cooperative Group Study E4599 of bevacizumab with paclitaxel/carboplatin for advanced non-small cell lung cancer". Journal of Thoracic Oncology. 5 (9): 1416–1423. doi:10.1097/JTO.0b013e3181da36f4. PMID 20686429.
- ↑ Reck M.; von Pawel J.; Zatloukal P.; Ramlau R.; Gorbounova V.; Hirsh V.; Leighl N.; Mezger J.; Archer V.; Moore N.; Manegold C.; BO17704 Study Group (September 2010). "Overall survival with cisplatin-gemcitabine and bevacizumab or placebo as first-line therapy for nonsquamous non-small-cell lung cancer: results from a randomised phase III trial (AVAiL)". Annals of Oncology. 21 (9): 1804–1809. doi:10.1093/annonc/mdq020. PMID 20150572.
- ↑ Preeta Tyagi; Axel Grothey (November 2006). "Commentary on a phase III trial of bevacizumab plus XELOX or FOLFOX4 for first-line treatment of metastatic colorectal cancer: the NO16966 trial". Clinical Colorectal Cancer. 6 (4): 261–264. doi:10.3816/CCC.2006.n.044. PMID 17241510.
- ↑ F. Barlesi; J. de Castro; V. Dvornichenko; และคณะ (September 2011). "AVAPERL (MO22089): Final Efficacy Outcomes for Patients (pts) With Advanced Non-squamous Non-small Cell Lung Cancer (nsNSCLC) Randomised to Continuation Maintenance (mtc) with Bevacizumab (bev) or Bev + Pemetrexed (pern) After First-line (1L) Bev-cisplatin (cis)-pem Treatment (Tx)". European Journal of Cancer. 47 (Supplement 2): 16. doi:10.1016/S0959-8049(11)70133-2.
- ↑ F. Barlesi; A. Scherpereel; V. Gorbunova; และคณะ (May 2014). "Maintenance bevacizumab–pemetrexed after first-line cisplatin–pemetrexed–bevacizumab for advanced nonsquamous nonsmall-cell lung cancer: updated survival analysis of the AVAPERL (MO22089) randomized phase III trial". Annals of Oncology. 25 (5): 1044–1052. doi:10.1093/annonc/mdu098.
- ↑ Velcheti, V.; Viswanathan, A.; Govindan, R. (June 2006). "The proportion of patients with metastatic non-small cell lung cancer potentially eligible for treatment with bevacizumab: a single institutional survey". Journal of Thoracic Oncology. 1 (5): 501. doi:10.1097/01243894-200606000-00023. PMID 17409907.
- ↑ Vaughn, C.; Zhang, L.; Schiff, D. (January 2008). "Reversible posterior leukoencephalopathy syndrome in cancer". Current Oncology Reports. 10 (1): 86–91. doi:10.1007/s11912-008-0013-z. PMID 18366965.
- ↑ "FDA begins process to remove breast cancer indication from Avastin label" (Press release). FDA. 2010-12-16. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-16. สืบค้นเมื่อ 2010-12-17.
- ↑ "F.D.A. Rejects Use of Drug in Cases of Breast Cancer". NY Times. 2010-12-16. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-11. สืบค้นเมื่อ 2010-12-16.
- ↑ Couzin-Frankel, J.; Ogale, Y. (July 2011). "FDA. Once on 'fast track,' avastin now derailed". Science. 333 (6039): 143–144. doi:10.1126/science.333.6039.143. PMID 21737712.
- ↑ "FDA clears Genentech drug for kidney cancer". San Francisco Chronicle. 2009-08-02. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-30.
- ↑ "FDA Gives Roche's Avastin the Go-Ahead for Metastatic Renal Carcinoma". GENNewsHighlights. Genetic Engineering & Biotechnology News. 2009-08-03. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-11. สืบค้นเมื่อ 2012-08-13.
- ↑ Rini, BI (February 2007). "Vascular endothelial growth factor-targeted therapy in renal cell carcinoma: current status and future directions". Clinical Cancer Research. 13 (4): 1098–1106. doi:10.1158/1078-0432.CCR-06-1989. PMID 17317817.
- ↑ European Medicines Agency (January 2008). "Avastin-H-C-582-II-0015 : EPAR - Assessment Report - Variation" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-30.
{cite journal}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ 26.0 26.1 Khasraw, M.; Ameratunga, MS.; Grant, R.; Wheeler, H.; Pavlakis, N. (September 2014). "Antiangiogenic therapy for high-grade glioma". The Cochrane Database of Systematic Reviews (9): CD008218. doi:10.1002/14651858.CD008218.pub3. PMID 25242542.
- ↑ Pazdur, Richard (M.D.) (May 2009). "FDA Approval for Bevacizumab". National Cancer Institute. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-10. สืบค้นเมื่อ 2010-05-11.
- ↑ Arevalo, JF.; Fromow-Guerra, J.; Sanchez, JG.; และคณะ (2008). "Primary intravitreal bevacizumab for subfoveal choroidal neovascularization in age-related macular degeneration: results of the Pan-American Collaborative Retina Study Group at 12 months follow-up". Retina. 28 (10): 1387–1394. doi:10.1097/IAE.0b013e3181884ff4. PMID 18827735.
- ↑ Azad, R.; Chandra, P. (2007). "Intravitreal bevacizumab in aggressive posterior retinopathy of prematurity". Indian Journal of Ophthalmology. 55 (4): 319 (author reply 320). doi:10.4103/0301-4738.33057. PMID 17595491.
- ↑ Moja, L.; Lucenteforte, E.; Kwag, KH.; และคณะ (September 2014). "Systemic safety of bevacizumab versus ranibizumab for neovascular age-related macular degeneration". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 9 (9): CD011230. doi:10.1002/14651858.CD011230.pub2. PMC 4262120. PMID 25220133.
- ↑ Scott, LJ.; Chakravarthy, U.; Reeves, BC.; Rogers, CA. (March 2015). "Systemic safety of anti-VEGF drugs: a commentary". Expert Opinion on Drug Safety. 14 (3): 379–388. doi:10.1517/14740338.2015.991712. PMID 25489638.
- ↑ Chen, G.; Li, W.; Tzekov, R.; Jiang, F.; Mao, S.; Tong, Y. (February 2015). "Bevacizumab versus ranibizumab for neovascular age-related macular degeneration: a meta-analysis of randomized controlled trials". Retina. 35 (2): 187–193. doi:10.1097/IAE.0000000000000301. PMID 25105318.
- ↑ Kodjikian, L.; Decullier, E.; Souied, EH.; และคณะ (October 2014). "Bevacizumab and ranibizumab for neovascular age-related macular degeneration: an updated meta-analysis of randomised clinical trials". Graefe's Archive for Clinical and Experimental Ophthalmology = Albrecht Von Graefes Archiv Fur Klinische Und Experimentelle Ophthalmologie. 252 (10): 1529–1537. doi:10.1007/s00417-014-2764-6. PMC 4180904. PMID 25142373.
- ↑ Thulliez M.; Angoulvant D.; Le Lez ML.; และคณะ (November 2014). "Cardiovascular events and bleeding risk associated with intravitreal antivascular endothelial growth factor monoclonal antibodies: systematic review and meta-analysis". JAMA Ophthalmology. 132 (11): 1317–1326. doi:10.1001/jamaophthalmol.2014.2333. PMID 25058694.
- ↑ Wang, W.; Zhang, X. (2014). "Systemic adverse events after intravitreal bevacizumab versus ranibizumab for age-related macular degeneration: a meta-analysis". PLOS One. 9 (10): e109744. doi:10.1371/journal.pone.0109744. PMC 4199620. PMID 25330364.
- ↑ อโนมา สอนบาลี (2014). "โอกาสและทางเลือก สำหรับผู้ป่วยโรคจุดภาพชัดจอตา" (PDF). จุลสารโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ ปีที่ 5 ฉบับที่ 17 กรกฎาคม-กันยายน 2555. โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ผลการศึกษาจากนักวิชาการไทย, หน้า 9-10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-07-18. สืบค้นเมื่อ 2018-05-28.
{cite web}
:|ref=harv
ไม่ถูกต้อง (help) - ↑ 37.0 37.1 "FDA approves bevacizumab in combination with chemotherapy for ovarian cancer". U.S. Food and Drug Administration (FDA). 2018-06-13. สืบค้นเมื่อ 2018-08-04. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- ↑ Hyuk-Chan Kwon; Sung Yong Oh; Suee Lee; และคณะ (14 December 2007). "Bevacizumab plus infusional 5-fluorouracil, leucovorin and irinotecan for advanced colorectal cancer that progressed after oxaliplatin and irinotecan chemotherapy: A pilot study". World Journal of Gastroenterology. 13 (46): 6231–6235. doi:10.3748/wjg.v13.i46.6231. PMC 4171235. PMID 18069765.
- ↑ Semenza, GL. (May 2008). "A new weapon for attacking tumor blood vessels". The New England Journal of Medicine. 358 (19): 2066–2067. doi:10.1056/NEJMcibr0800272. PMID 18463385.
- ↑ Sliesoraitis, S.; Tawfik, B. (July 2011). "Bevacizumab-induced bowel perforation". The Journal of the American Osteopathic Association. 111 (7): 437–441. PMID 21803880.
- ↑ "Avastin prescribing" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-29. สืบค้นเมื่อ 2016-06-02.
- ↑ Eremina, V.; Jefferson, JA.; Kowalewska, J.; และคณะ (March 2008). "VEGF inhibition and renal thrombotic microangiopathy". The New England Journal of Medicine. 358 (11): 1129–1136. doi:10.1056/NEJMoa0707330. PMC 3030578. PMID 18337603.
- ↑ "Cancer drug Avastin tied to 2 cases of flesh-eating disease in Canada". CBC News. 2013-05-02. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-02. สืบค้นเมื่อ 2013-05-02.
- ↑ Mehrdad Afarid; Ali Sadegi Sarvestani; Feisal Rahat; Ali Azimi (2018). "Intravitreal Injection of Bevacizumab: Review of our previous Experience". Iranian Journal of Pharmaceutical Research. 17 (3): 1093–1098. PMC 6094424. PMID 30127831.
- ↑ Godfrey, SE. (May 1989). "Estrogen receptors". American Journal of Clinical Pathology. 91 (5): 629–630. doi:10.1215/15228517-2008-118. PMC 2718965.
- ↑ Los, M.; Roodhart, JM.; Voest, EE. (April 2007). "Target practice: lessons from phase III trials with bevacizumab and vatalanib in the treatment of advanced colorectal cancer". The Oncologist. 12 (4): 443–450. doi:10.1634/theoncologist.12-4-443. PMID 17470687.
- ↑ Shih, T.; Lindley, C. (November 2006). "Bevacizumab: an angiogenesis inhibitor for the treatment of solid malignancies". Clinical Therapeutics. 28 (11): 1779–1802. doi:10.1016/j.clinthera.2006.11.015. PMID 17212999.
- ↑ "F.D.A. Approves Cancer Drug From Genentech". New York Times. 2004-02-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-24.
- ↑ Palmer, AM.; Stephenson, FA.; Williams, RJ. (April 2007). "Society for Medicines Research: 40th anniversary symposium". Drug News & Perspectives. 20 (3): 191–196. PMID 17520096.
- ↑ Ferrara, N. (2009). "Anti-angiogenic drugs to treat human disease: an interview with Napoleone Ferrara by Kristin H. Kain". Disease Models & Mechanisms. 2 (7–8): 324–325. doi:10.1242/dmm.002972. PMID 19553691.
- ↑ 51.0 51.1 Ribatti, D. (2008). "Napoleone Ferrara and the saga of vascular endothelial growth factor". Endothelium. 15 (1): 1–8. doi:10.1080/10623320802092377. PMID 18568940.
- ↑ Ferrara, N. (2011). "From the discovery of vascular endothelial growth factor to the introduction of avastin in clinical trials - an interview with Napoleone Ferrara by Domenico Ribatti". The International Journal of Developmental Biology. 55 (4–5): 383–388. doi:10.1387/ijdb.103216dr. PMID 21858763.
- ↑ "Avastin full Prescribing Information - Genentech" (PDF). Gene.com. 2011. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-14.
- ↑ "Press Announcements - FDA Commissioner announces Avastin decision". U.S. Food and Drug Administration. 2011-11-18. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-15. สืบค้นเมื่อ 2014-10-31.
- ↑ 55.0 55.1 Pollack, Andrew (2011-11-18). "F.D.A. Revokes Approval of Avastin for Breast Cancer". New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-21.
- ↑ "Cancer drug Avastin loses US approval". BBC. 2011-11-18. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-19.
- ↑ 57.0 57.1 "F.D.A. Approves Drug's Use for Breast Cancer". The New York Times. 2008-02-22. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-02.
- ↑ "Breast cancer drug 'still safe' for Aussie women". Australian Broadcasting Corporation. 2010-07-22. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-23.
- ↑ "David Cameron's flagship Cancer Drugs Fund 'is a waste of NHS cash'". Guardian. 2015-01-10. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-15. สืบค้นเมื่อ 2015-01-11.
- ↑ Briggs, Helen (BBC News Health Reporter) (2010-08-24). "Critics condemn bowel cancer drug rejection". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-24.
- ↑ "Re-Submission bevacizumab" (PDF). Scottish Medicines. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-24. สืบค้นเมื่อ 2012-07-18.
- ↑ Berenson, Alex (2006-02-15). "A Cancer Drug Shows Promise, at a Price That Many Can't Pay". New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-18.
- ↑ Mayer, RJ. (June 2004). "Two steps forward in the treatment of colorectal cancer". The New England Journal of Medicine. 350 (23): 2406–2408. doi:10.1056/NEJMe048098. PMID 15175443.
- ↑ "P.E.I. sole holdout on cancer drug". CBC News. 2009-11-26. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-16.
- ↑ 65.0 65.1 Saporito, Bill (2014-10-27). "Hospitals Furious at Cancer-Drug Price Hikes". Time. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-20. สืบค้นเมื่อ 2015-10-26.
- ↑ "Innovation in Cancer Care and Implications for Health Systems: Global Oncology Trend Report | Reports". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-13.
- ↑ Mundy, Alicia (2010-06-17). "Medicare Eye Study Finds Untapped Savings". Wall Street Journal. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-23. สืบค้นเมื่อ 2018-05-27.
- ↑ Tufail, A.; Patel, PJ.; Egan, C.; Hykin, P.; da Cruz, L.; Gregor, Z.; Dowler, J.; Majid, MA.; Bailey, C.; Mohamed, Q.; Johnston, R.; Bunce, C.; Xing, W. (June 2010). "Bevacizumab for neovascular age related macular degeneration (ABC Trial) : multicentre randomised double masked study". BMJ. 340: c2459. doi:10.1136/bmj.c2459. PMID 20538634.
- ↑ "วิจัยยืนยัน "Bevacizumab" ยาต้านมะเร็ง รักษาจอตาหาย "ปลอดภัย -ในราคาถูก"". สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวสร.). 2017-05-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-28. สืบค้นเมื่อ 2018-05-27.
- ↑ "โรคจุดภาพชัดของจอตาเสื่อม (Macula disease)". รพ. เมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง). 2017-04-30. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-29. สืบค้นเมื่อ 2018-05-28.
- ↑ 71.0 71.1 71.2 71.3 "Why have UK doctors been deterred from prescribing Avastin?". The British Medical Journal. 2015-04-01. สืบค้นเมื่อ 2015-04-02.
- ↑ "NCCN Guidelines for Breast Cancer Updated; Bevacizumab Recommendation Affirmed". National Comprehensive Cancer Network. 18 October 2010. สืบค้นเมื่อ 2020-05-10.
- ↑ "Avastin approved for metastatic breast cancer in EU". Pharma Times. 29 March 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-11.
- ↑ "Counterfeits of cancer drug Avastin found in U.S". Reuters. 2012-02-15. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24.
- ↑ Berkrot, Bill (2012-02-27). "Fake Avastin had salt, starch, chemicals:Roche". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-03. สืบค้นเมื่อ 2012-02-28.
- ↑ Staton, Tracy (2012-02-28). "Phony Avastin vials contained chemicals, but no drugs". FiercePharma.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-01. สืบค้นเมื่อ 2012-02-28.
- ↑ "Brazilian JV looks to tap plant-based manufacturing system for biosimilars". BioPharma-Reporter. 2014-07-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-10.
- ↑ Nick, C (2012). "The US Biosimilars Act: Challenges Facing Regulatory Approval". Pharm Med. 26 (3): 145–152. doi:10.1007/bf03262388.
- ↑ "Avastin Clone OK'd - Biosimilar for bevacizumab approved for various cancers". September 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-16.
- ↑ Reed, Katie (2009-04-22). "Roche drug Avastin fails cancer study, shares fall". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-12. สืบค้นเมื่อ 2009-04-22.
- ↑ JA. Konner; K. Fallon; S. Pezzuli; และคณะ (20 June 2007). "A phase II study of intravenous (IV) and intraperitoneal (IP) paclitaxel (Tax), IP cisplatin (Cis), and IV bevacizumab (Bev) as first-line chemotherapy for optimal stage II or III ovarian, primary peritoneal, and fallopian tube cancer". Proceeding of ASCO. Journal of Clinical Oncology. 25 (18_suppl): 5523.
- ↑ RA. Burger; MF. Brady; MA. Bookman; และคณะ (June 2010). "Phase III trial of bevacizumab (BEV) in the primary treatment of advanced epithelial ovarian cancer (EOC), primary peritoneal cancer (PPC), or fallopian tube cancer (FTC) : A Gynecologic Oncology Group study". Journal of Clinical Oncology. 28 (7). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-11.
- ↑ Cloughesy, T. F.; Prados, M. D.; Wen, P. Y.; และคณะ (2008). "A phase II, randomized, non-comparative clinical trial of the effect of bevacizumab (BV) alone or in combination with irinotecan (CPT) on 6-month progression free survival (PFS6) in recurrent, treatment-refractory glioblastoma (GBM)". Journal of Clinical Oncology. 26 (15S): 2010b.
- ↑ "Roche Claims Phase III Data Supports Use of Avastin in Ovarian Cancer". 2010-10-12. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-18.
- ↑ Saif, MW. (July 2008). "New developments in the treatment of pancreatic cancer. Highlights from the "44th ASCO Annual Meeting". Chicago, IL, USA. May 30 - June 3, 2008". Journal of the pancreas. 9 (4): 391–397. PMID 18648128. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-31.
- ↑ Rocha-Lima, CM. (June 2008). "New directions in the management of advanced pancreatic cancer: a review". Anti-Cancer Drugs. 19 (5): 435–446. doi:10.1097/CAD.0b013e3282fc9d11. PMID 18418211.
- ↑ Riess, Hanno (2008). "Antiangiogenic Strategies in Pancreatic Cancer". Pancreatic Cancer. Recent Results in Cancer Research. Vol. 177. pp. 123–129. doi:10.1007/978-3-540-71279-4_14. ISBN 978-3-540-71266-4.
- ↑ "Md. Girl,11, First To Try New Cancer Treatment". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-13.
- ↑ "A Phase II Study of Neoadjuvant Bevacizumab and Radiation Therapy for Resectable Soft Tissue Sarcomas". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-22.
- ↑ Plotkin, SR.; Merker, VL.; Halpin, C.; และคณะ (August 2012). "Bevacizumab for progressive vestibular schwannoma in neurofibromatosis type 2: a retrospective review of 31 patients". Otology & Neurotology. 33 (6): 1046–1052. doi:10.1097/MAO.0b013e31825e73f5. PMID 22805104.
- ↑ Burkhardt, JK.; Riina, H.; Shin, BJ.; และคณะ (January 2012). "Intra-arterial delivery of bevacizumab after blood-brain barrier disruption for the treatment of recurrent glioblastoma: progression-free survival and overall survival". World Neurosurgery. 77 (1): 130–134. doi:10.1016/j.wneu.2011.05.056. PMC 3743246. PMID 22405392.
แหล่งข้อมูลอื่น
- Avastin.com
- Berenson, Alex (2006-02-15). "A Cancer Drug Shows Promise, at a Price That Many Can't Pay". New York Times.
- NCI Drug Information Summary on Bevacizumab for Patients
- NCI Drug Dictionary Definition for Bevacizumab
- Sachdev, JC.; Jahanzeb, M. (October 2008). "Evolution of bevacizumab-based therapy in the management of breast cancer". Clinical Breast Cancer. 8 (5): 402–410. doi:10.3816/CBC.2008.n.048. PMID 18952553.
- U.S. National Library of Medicine: Drug Information Portal—Bevacizumab
- NCCN Guidelines For Breast Cancer Updated; Bevacizumab Recommendation Affirmed เก็บถาวร 2011-08-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Avastin Adverse Events Reported to the FDA Adverse Event Reporting System (AERS)