เรือพยาบาล
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/c/c7/090411-A-1786S-088_-_USNS_Comfort_%28T-AH-20%29_in_Hati.jpg/290px-090411-A-1786S-088_-_USNS_Comfort_%28T-AH-20%29_in_Hati.jpg)
เรือพยาบาล (อังกฤษ: hospital ship) เป็นเรือกำปั่นที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่หลักในฐานะสถานการรักษาทางการแพทย์หรือโรงพยาบาลที่ลอยอยู่บนน้ำ ส่วนใหญ่ดำเนินการโดยกองกำลังการทหาร (ส่วนใหญ่เป็นกองทัพเรือ) ในหลาย ๆ ประเทศ เนื่องจากมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในเขตสงคราม หรือใกล้เขตสงคราม[1] ในคริสต์ศตวรรษที่สิบเก้า เรือรบสำรองได้รับการนำมาใช้เป็นโรงพยาบาลจอดเทียบสำหรับลูกเรือ
อนุสัญญาเจนีวาฉบับที่สองห้ามมิให้มีการโจมตีทางทหารต่อเรือพยาบาล แม้ว่ากองกำลังคู่สงครามจะมีสิทธิในการตรวจสอบ และอาจนำผู้ป่วยที่บาดเจ็บฝ่ายศัตรูมาเป็นเชลยศึก[2][3]
ประวัติ
ตัวอย่างตอนต้น
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/6/69/Wenceslas_Hollar_-_Part_of_Tangier_from_above_%28State_3%29.jpg/220px-Wenceslas_Hollar_-_Part_of_Tangier_from_above_%28State_3%29.jpg)
เรือพยาบาลอาจมีอยู่ในสมัยโบราณ กองทัพเรือเอเธนส์มีเรือชื่อเธราเปีย และกองทัพเรือโรมันมีเรือชื่ออาเอสกูลาปีอุส โดยชื่อของพวกมันบ่งบอกว่าพวกมันอาจเป็นเรือพยาบาล
เรือพยาบาลอังกฤษที่เก่าแก่ที่สุดอาจเป็นเรือกูดวิล ซึ่งมาพร้อมกับกองเรือรบราชนาวีในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเมื่อ ค.ศ. 1608 และได้รับการนำมาใช้เป็นโรงผู้ป่วยที่ส่งขึ้นมาจากเรือลำอื่น ๆ[4] อย่างไรก็ตาม การทดลองดูแลรักษาทางการแพทย์นี้ไม่ยืนนาน เนื่องด้วยกูดวิลได้รับมอบหมายให้ทำงานอื่น ๆ ภายในหนึ่งปี และเครื่องประกอบของผู้พักฟื้นก็ถูกทิ้งไว้ที่ท่าเรือที่ใกล้ที่สุด[5] มันไม่ใช่เรือพยาบาลจนกระทั่งกลางคริสต์ศตวรรษที่ที่สิบเจ็ดว่าเรือราชนาวีลำใดได้รับการกำหนดอย่างเป็นทางการในฐานะเรือพยาบาล แล้วมีเพียงสองลำเท่านั้นตลอดทั้งกองเรือ เรือเหล่านี้เป็นทั้งเรือสินค้าที่ได้รับการว่าจ้าง หรือเรือรบหลักซิกท์เรตที่ค่อนข้างเก่า โดยนำผนังที่แบ่งเรือภายในออกเพื่อสร้างห้องเพิ่มเติม รวมถึงทางกราบซ้ายเพิ่มเติมตัดผ่านดาดฟ้าเรือและตัวเรือเพื่อเพิ่มการระบายอากาศภายใน[4]
นอกจากลูกเรือเดินเรือแล้ว เรือพยาบาลในคริสต์ศตวรรษที่สิบเจ็ดเหล่านี้ยังมีศัลยแพทย์และเพื่อนร่วมทีมศัลยแพทย์อีกสี่คน ส่วนปัญหามาตรฐานของเวชภัณฑ์ ได้แก่ ผ้าพันแผล, สบู่, เข็ม และหม้อนอน ผู้ป่วยได้รับการเสนอเตียงหรือพรมเพื่อพักผ่อน และได้รับผ้าปูที่นอนที่สะอาด เรือของโรงพยาบาลในระยะแรกเหล่านี้มีไว้สำหรับการดูแลผู้ป่วยมากกว่าคนบาดเจ็บ โดยผู้ป่วยจะถูกกักกันตามอาการและผู้ติดเชื้อที่ถูกกักกันจากประชากรทั่วไปหลังแผ่นผ้าใบ ส่วนคุณภาพของอาหารแย่มาก ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1690 ศัลยแพทย์บนเรือสยามได้บ่นว่าเนื้ออยู่ในสภาพการเน่าสลายขั้นสูง และขนมปังแข็งมากจนลอกหนังออกจากปากของผู้ป่วย[4]
เรือพยาบาลยังใช้สำหรับการรักษาทหารที่ได้รับบาดเจ็บที่ต่อสู้บนบก ตัวอย่างแรกเริ่มคือระหว่างปฏิบัติการของอังกฤษเพื่ออพยพแทนเจียร์ของอังกฤษใน ค.ศ. 1683 บันทึกการอพยพครั้งนี้เขียนโดยซามูเอล พีพส์ ผู้เห็นเหตุการณ์ ความกังวลหลักประการหนึ่งคือการอพยพทหารที่ป่วย "และครอบครัวจำนวนมาก รวมถึงผลกระทบที่จะต้องถูกปลด" เรือพยาบาลยูนิตี และเวลคัม ได้แล่นไปอังกฤษเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม ค.ศ. 1683 โดยมีทหารทุพพลภาพ 114 นาย และเด็ก 104 คนเดินทางถึงเดอะดาวส์ในวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1683[6]
จำนวนบุคลากรทางการแพทย์บนเรือพยาบาลราชนาวีเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ โดยมีกฎข้อบังคับที่ออกใน ค.ศ. 1703 กำหนดให้เรือแต่ละลำต้องบรรทุกกะลาสีเรือปีแรกหกคนเพื่อทำหน้าที่ผู้ช่วยผ่าตัด และหญิงรับจ้างซักผ้าสี่คน ครั้นปี ค.ศ. 1705 ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมสำหรับพยาบาลชายอีกห้าคน และข้อกำหนดจากยุคนั้นชี้ให้เห็นว่าจำนวนผ้าปูที่นอนต่อผู้ป่วยเพิ่มขึ้นจากหนึ่งเป็นสองคู่[4] ส่วนในวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 1798 เรือหลวงวิกตอรีที่ไม่เหมาะสำหรับประจำการในฐานะเรือรบ ได้รับคำสั่งให้เปลี่ยนเป็นเรือพยาบาลเพื่อกักขังเชลยศึกชาวฝรั่งเศสและสเปนที่บาดเจ็บ ตามที่เอ็ดเวิร์ด ฮัสเต็ด ระบุใน ค.ศ. 1798 เรือพยาบาลขนาดใหญ่สองลำ (เรียกอีกอย่างว่าแลซาเรตโต ซึ่งเป็นซากเรือปืนสี่สิบสี่ลำที่เหลือรอด) ถูกจอดอยู่ในอ่าวเล็กฮัลสโตว์ที่เคนต์ โดยอ่าวเล็กดังกล่าวเป็นทางเข้าจากแม่น้ำเมดเวย์และแม่น้ำเทมส์ ลูกเรือของเรือเหล่านี้เฝ้าดูเรือที่มาถึงอังกฤษ ซึ่งถูกบังคับให้อยู่ในลำห้วยภายใต้การกักด่าน เพื่อป้องกันประเทศจากโรคติดเชื้อรวมถึงกาฬโรค[7]
ตั้งแต่ ค.ศ. 1821 ถึง ค.ศ. 1870 สมาคมโรงพยาบาลลูกเรือได้ให้บริการเรือหลวงแกรมปัส, เรือหลวงเดรดนอต และเรือหลวงแคลิโดเนีย (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นเดรดนอต) ในฐานะเรือพยาบาลต่อเนื่องที่จอดอยู่ ณ เดตเฟิร์ด ในลอนดอน[8] ส่วนใน ค.ศ. 1866 เรือหลวงแฮมาไดรแอดได้จอดอยู่ในคาร์ดิฟฟ์ในฐานะโรงพยาบาลของลูกเรือ ซึ่งแทนที่ใน ค.ศ. 1905 โดยโรงพยาบาลของลูกเรือรอยัลแฮมาไดรแอด[9] และเรือรบสำรองอื่น ๆ ได้รับการนำมาใช้เป็นโรงพยาบาลสำหรับนักโทษและเชลยศึก
เรือพยาบาลสมัยใหม่
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/b/bc/Hospital_ships%2C_China%3B_sketches_showing_the_interior_includi_Wellcome_V0015324.jpg/195px-Hospital_ships%2C_China%3B_sketches_showing_the_interior_includi_Wellcome_V0015324.jpg)
การจัดตั้งการใช้เรือพยาบาลโดยราชนาวีเกิดขึ้นในช่วงครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่สิบเก้า ตามมาตรฐานของข้อกำหนดทางการแพทย์ที่มีอยู่ในขณะนั้นสำหรับทหารที่กำลังพักฟื้น เรือพยาบาลโดยทั่วไปแล้วเหนือกว่าในด้านมาตรฐานการบริการและการสุขาภิบาล ในช่วงสงครามไครเมียในคริสต์ทศวรรษ 1850 เรือพยาบาลสมัยใหม่เริ่มปรากฏขึ้น โรงพยาบาลทหารแห่งเดียวที่กองกำลังสหราชอาณาจักรต่อสู้บนคาบสมุทรไครเมียอยู่ที่สกูทารีใกล้ช่องแคบบอสพอรัส ซึ่งในระหว่างการล้อมเซวัสโตปอล กองทหารที่ได้รับบาดเจ็บเกือบ 15,000 นายได้รับการส่งมาจากท่าเรือที่บาลาคลาวาโดยกองเรือพยาบาลที่ได้รับการดัดแปลง[6]
เรือลำแรกที่ติดตั้งการอำนวยความสะดวกในการรักษาพยาบาลแท้จริงคือเรือกลไฟ เอชเอ็มเอส เมลเบิร์น และเอชเอ็มเอส มอริเชียส ซึ่งจัดคณะทำงานโดยเหล่าเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ และให้บริการแก่คณะเดินทางของสหราชอาณาจักรไปยังจีนใน ค.ศ. 1860 เรือดังกล่าวเอื้ออำนวยที่ค่อนข้างกว้างขวางสำหรับผู้ป่วย และติดตั้งห้องผ่าตัด ส่วนเรือพยาบาลลำแรกอีกลำคือยูเอสเอส เรดโรเวอร์ ในคริสต์ทศวรรษ 1860 ซึ่งช่วยเหลือทหารที่บาดเจ็บของทั้งสองฝ่ายในช่วงสงครามกลางเมืองอเมริกา[6]
ในช่วงสงครามรัสเซีย-ตุรกี (ค.ศ. 1877–1878) กาชาดสหราชอาณาจักรได้จัดหาเรือโครงเหล็กพร้อมอุปกรณ์การผ่าตัดที่ทันสมัย รวมทั้งคลอโรฟอร์ม และยาชาอื่น ๆ ตลอดจนกรดคาร์บอลิกสำหรับการระงับเชื้อ เรือที่คล้ายกันนี้ได้ติดตามการบุกครองอียิปต์ของสหราชอาณาจักรเมื่อ ค.ศ. 1882 และช่วยเหลือบุคลากรชาวอเมริกันในช่วงสงครามสเปน–อเมริกา ค.ศ. 1898[6]
ในช่วงที่โรคฝีดาษระบาดในลอนดอนเมื่อ ค.ศ. 1883 คณะกรรมการสถานสงเคราะห์มหานคร (MAB) ได้เช่าเรือเหมาลำและจัดซื้อต่อมาจากกองทัพเรือสองลำ ได้แก่ เอชเอ็มเอส แอตลัส และเอชเอ็มเอส เอนดีเมียน รวมทั้งเรือโดยสารใบพัดด้านข้างอย่างพีเอส คาสตาเลีย ซึ่งจอดอยู่ในแม่น้ำเทมส์ที่ลองรีช ใกล้ดาร์ตฟอร์ด[10][11] และยังคงให้บริการจนถึง ค.ศ. 1903[10][12]
นอกจากนี้ ได้มีการใช้เรือพยาบาลโดยทั้งสองฝ่ายในสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น ระหว่าง ค.ศ. 1904–1905 การพบเห็นเรือพยาบาลรัสเซียที่ชื่อโอเรลโดยชาวญี่ปุ่น ซึ่งส่องสว่างตามข้อบังคับสำหรับเรือพยาบาล ได้นำไปสู่ยุทธนาวีที่ช่องแคบสึชิมะที่ชี้ขาดทางเรือ เรือโอเรลถูกยึดหน่วงไว้ในฐานะทรัพย์เชลยหลังยุทธนาวีดังกล่าว
สงครามโลก
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/1/10/HMHS_Mauretania.jpg/220px-HMHS_Mauretania.jpg)
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และสงครามโลกครั้งที่สอง ได้มีการนำเรือพยาบาลขนาดใหญ่มาใช้เป็นครั้งแรก เรือโดยสารหลายลำได้รับการดัดแปลงเพื่อใช้เป็นเรือพยาบาล ซึ่งอาร์เอ็มเอส แอควิเทเนีย และเอชเอ็มเอชเอส บริแทนนิก เป็นสองตัวอย่างที่มีชื่อเสียงของเรือที่ให้บริการในตำแหน่งนี้ เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง กองทัพเรือสหราชอาณาจักรมีเรือประเภทนี้จำนวน 77 ลำประจำการ และในระหว่างการทัพกัลลิโพลี ได้มีการนำเรือพยาบาลมาใช้เพื่ออพยพกำลังพลที่ได้รับบาดเจ็บกว่า 100,000 นายไปยังประเทศอียิปต์
ประเทศแคนาดาดำเนินการเรือพยาบาลในสงครามโลกทั้งสองครั้ง ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เรือเหล่านี้รวมถึงเอสเอส ลิทีชา (I) และเอชเอ็มเอชเอส แลนเดอเวอรีคาสเซิล ซึ่งถูกจมอย่างจงใจโดยเรืออูของเยอรมันที่มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก จะมีสถานะที่ทำเครื่องหมายไว้ชัดเจนของเรือพยาบาลก็ตาม ส่วนในสงครามโลกครั้งที่สอง ทางประเทศแคนาดาได้ดำเนินการเรือพยาบาลอาร์เอ็มเอส เลดีเนลสัน และเอสเอส ลิทีชา (II)[13]
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/5/5f/HMHS_Aquitania.jpg/250px-HMHS_Aquitania.jpg)
เรือพยาบาลลำแรกที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะในกองทัพเรือสหรัฐยูเอสเอส รีลีฟ[14] ซึ่งเข้าประจำการใน ค.ศ. 1921 ครั้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ทั้งกองทัพเรือและกองทัพบกสหรัฐได้ดำเนินการเรือพยาบาลด้วยจุดประสงค์ที่ต่างกัน[15] เรือพยาบาลกองทัพเรือเป็นสถานพยาบาลที่มีเครื่องมือครบครันซึ่งออกแบบมาเพื่อรับผู้บาดเจ็บโดยตรงจากสนามรบ และยังให้การสนับสนุนด้านการส่งกำลังบำรุงแก่ทีมแพทย์แนวหน้าที่ขึ้นฝั่ง[15] ส่วนเรือพยาบาลของกองทัพบกโดยพื้นฐานแล้วเป็นการขนส่งในสถานพยาบาลที่มีจุดประสงค์และมีเครื่องมือครบครันเพื่อพาผู้ป่วยจากสถานพยาบาลของกองทัพบกส่วนหน้าไปยังสถานพยาบาลในพื้นที่ด้านหลัง หรือจากสถานพยาบาลเหล่านั้นไปยังสหรัฐ และไม่มีอุปกรณ์หรือบุคลากรเพื่อรองรับการบาดเจ็บล้มตายจากการรบโดยตรงจำนวนมาก[15] ทั้งนี้ เรือพยาบาลของกองทัพเรือสามลำ ได้แก่ ยูเอสเอส คอมฟอร์ต, ยูเอสเอส โฮป และยูเอสเอส เมอร์ซี มีเครื่องมือครบครันน้อยกว่าเรือพยาบาลของกองทัพเรือลำอื่น ๆ โดยมีบุคลากรทางการแพทย์ของกองทัพบก และมีวัตถุประสงค์คล้ายกับแบบจำลองของกองทัพบก[15]
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/4/48/HMHS_Britannic.jpg/220px-HMHS_Britannic.jpg)
เอชเอ็มวาย บริแทนเนีย หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นเรือพระที่นั่งล่าสุด ได้รับการสร้างขึ้นโดยให้สามารถดัดแปลงเป็นเรือพยาบาลในยามสงคราม โดยหลังจากปลดระวาง ปีเตอร์ เฮนเนสซี ได้ค้นพบว่าบทบาทจริงของเรือนี้คือการเป็นที่หลบภัยของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร จากอาวุธนิวเคลียร์ โดยซ่อนตัวอยู่ท่ามกลางทะเลสาบทางตะวันตกของสกอตแลนด์[16]
อ้างอิง
- ↑ Hospital Ship เก็บถาวร 2020-05-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (definition via WordNet, Princeton University)
- ↑ "Convention (II) for the Amelioration of the Condition of Wounded, Sick and Shipwrecked Members of Armed Forces at Sea: Commentary of 2017, Article 22 : Notification and protection of military hospital ships". International Committee of the Red Cross. 2017. สืบค้นเมื่อ 15 October 2019.
- ↑ "Convention (II) for the Amelioration of the Condition of Wounded, Sick and Shipwrecked Members of Armed Forces at Sea. Commentary of 2017, Article 31 : Right of control and search of hospital ships and coastal rescue craft". International Committee of the Red Cross. 2017. สืบค้นเมื่อ 15 October 2019.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 Sutherland Shaw, J.J. (1936). "The Hospital Ship, 1608–1740". The Mariner's Mirror. 22 (4): 422–426. doi:10.1080/00253359.1936.10657206.
- ↑ Oppenheim, M. (1896). A History of the Administration of the Royal Navy and of Merchant Shipping in Relation to the Navy. Vol. 1. The Bodley Head. p. 188. OCLC 506062953.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 Jack Edward McCallum (2008). Military Medicine: From Ancient Times to the 21st Century. ABC-CLIO. pp. 150–152. ISBN 9781851096930.
- ↑ Hasted, Edward (1799). "Parishes". The History and Topographical Survey of the County of Kent. Institute of Historical Research. 6: 34–40. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-07. สืบค้นเมื่อ 28 February 2014.
- ↑ "Research guide A6: Greenwich and the National Maritime Museum". Royal Museums Greenwich. สืบค้นเมื่อ 12 February 2017.
- ↑ Phil Carradice (2013), The Ships of Pembroke Dockyard (e-book), Amberley Publishing, pp. 52–53, ISBN 978-1-4456-1310-9
- ↑ 10.0 10.1 "Hospital Ships: Introduction". Dartford Hospital Stories. สืบค้นเมื่อ 5 November 2021.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "The Long Reach Hospital Ships - Ghosts of the Dartford Marshes". Remote London. 28 November 2019. สืบค้นเมื่อ 5 November 2021.
- ↑ "Smallpox Hospital Ships in London". Historic UK. สืบค้นเมื่อ 5 November 2021.
- ↑ Douglas N. W. Smith, "Bringing Home the Wounded", Canadian Rail Passenger Yearbook 1996–1997 Edition, Trackside Canada, Ottawa, p. 49-64.
- ↑ "Modern Hospital Sails With U.S. Fleet." Popular Science Monthly, August 1927, p. 35.
- ↑ 15.0 15.1 15.2 15.3 Condon-Rall, Mary Ellen; Cowdrey, Albert E. (1998). The Technical Services—The Medical Department: Medical Service In The War Against Japan. United States Army In World War II. Washington, DC: Center Of Military History, United States Army. pp. 258, 388–389. LCCN 97022644.
- ↑ Johnson, Simon (2010-07-12). "'Floating bunker' plan to help Queen escape nuclear attack". Daily Telegraph. London. สืบค้นเมื่อ 2017-08-23.
แม่แบบ:DANFS