เฮนรี (หน่วยวัด)
เฮนรี | |
---|---|
ตัวเหนี่ยวนำที่ประกอบด้วยลวดพันรอบแกนแม่เหล็ก ที่ใช้เพื่อจำกัดและนำทางสนามแม่เหล็กที่ถูกเหนี่ยวนำ | |
ข้อมูลทั่วไป | |
ระบบการวัด | หน่วยอนุพัทธ์เอสไอ |
เป็นหน่วยของ | ความเหนี่ยวนำ |
สัญลักษณ์ | H |
ตั้งชื่อตาม | โจเซฟ เฮนรี |
การแปลงหน่วย | |
1 H ใน ... | ... มีค่าเท่ากับ ... |
หน่วยฐานเอสไอ | 1 kg⋅m2⋅s−2⋅A−2 |
เฮนรี (อังกฤษ: henry; ตัวย่อ H) เป็นหน่วยวัดความเหนี่ยวนำไฟฟ้าในระบบเอสไอ[1] ตั้งชื่อตามโจเซฟ เฮนรี นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน
นิยาม
ความเหนี่ยวนำไฟฟ้าในวงจร 1 เฮนรี เกิดขึ้นเมื่อกระแสไฟฟ้าเปลี่ยนไป 1 แอมแปร์ต่อวินาที ทำให้เกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้าวิ่งเข้าไปที่ตัวเหนี่ยวนำ 1 โวลต์:
- ,
โดย v(t) คือศักย์ไฟฟ้าลัพธ์ทั้งวงจร, i(t) คือกระแสไฟฟ้าที่วิ่งผ่านวงจร และ L คือความเหนี่ยวนำในวงจร
เฮนรีเป็นหน่วยอนุพัทธ์เอสไอที่มาจาก 4 หน่วยเอสไอ คือ กิโลกรัม (kg), เมตร (m), วินาที (s) และแอมแปร์ (A) ซึ่งจะได้ความสัมพันธ์ดังนี้:[2]
โดยหน่วยอนุพัทธ์ที่เพิ่มเติมมา คือ คูลอมบ์ (C), ฟารัด (F), จูล (J), เวเบอร์ (Wb), เทสลา (T), โวลต์ (V), เฮิรตซ์ (Hz) และโอห์ม (Ω)
อ้างอิง
- ↑ Rowlett, Russ. "How Many? A Dictionary of Units of Measurement". University of North Carolina at Chapel Hill. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-29. สืบค้นเมื่อ 2015-09-07.
- ↑ "Essentials of the SI: Base & derived units". The NIST Reference on Constants, Units and Uncertainty. National Institute of Standards and Technology.