โรคอ้วน
โรคอ้วน (Obesity) | |
---|---|
ภาพเงาทึบแสดงเส้นรอบเอวของคนปกติ น้ำหนักเกิน และภาวะอ้วน | |
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก | |
ICD-10 | E66 |
ICD-9 | 278 |
DiseasesDB | 9099 |
MedlinePlus | 003101 |
eMedicine | med/1653 |
MeSH | C23.888.144.699.500 |
โรคอ้วนเป็นสภาวะทางการแพทย์ที่มีการสะสมไขมันในร่างกายมากถึงขนาดที่อาจมีผลเสียต่อสุขภาพ ทำให้มีอายุสั้นลง และมีปัญหาสุขภาพเพิ่มขึ้น หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง[1][2] การพิจารณาว่าบุคคลใดอ้วนนั้นพิจารณาจากดัชนีมวลกาย (BMI) ซึ่งเป็นการวัด มีค่าเท่ากับน้ำหนัก (หน่วยเป็นกิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูง (หน่วยเป็นเมตร) ยกกำลังสอง บุคคลที่มีดัชนีมวลกายเกิน 30 กิโลกรัมต่อตารางเมตรถือว่าเป็นโรคอ้วน โดยในช่วง 25-30 กิโลกรัมต่อตารางเมตรนิยามเป็นน้ำหนักเกิน
โรคอ้วนเพิ่มโอกาสการป่วยเป็นโรคหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคหัวใจ เบาหวานชนิดที่ 2 ภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น มะเร็งบางชนิด และโรคข้อเสื่อม[2] โรคอ้วนมีสาเหตุมาจากการรับพลังงานจากอาหารมากเกิน การขาดการออกกำลังกาย และความเสี่ยงทางพันธุกรรมร่วมกันมากที่สุด แม้ว่าผู้ป่วยน้อยรายจะเกิดจากยีนหรือพันธุกรรม ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ ยาหรือการป่วยจิตเวชเป็นหลัก สำหรับมุมมองที่ว่าคนอ้วนบางรายกินน้อยแต่น้ำหนักเพิ่มเพราะเมแทบอลิซึมช้านั้นมีหลักฐานสนับสนุนจำกัด โดยเฉลี่ยแล้ว คนอ้วนมีการเสียพลังงานมากกว่าคนผอมเนื่องจากต้องใช้พลังงานมากกว่าในการรักษามวลร่างกายที่เพิ่มขึ้นคนอ้วนจึงเหนื่อยเร็วกว่าคนผอม [3][4]
การจำกัดอาหารและการออกกำลังกายเป็นหลักของการรักษาโรคอ้วน สามารถปรับปรุงคุณภาพอาหารได้โดยการลดการบริโภคอาหารพลังงานสูง เช่น อาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง และโดยการเพิ่มการรับใยอาหาร อาจบริโภคยาลดวามอ้วนเพื่อลดความอยากอาหารหรือลดการดูดซึมไขมันเมื่อใช้ร่วมกันกับอาหารที่เหมาะสม หากอาหาร การออกกำลังกายและยาไม่ได้ผล การทำบอลลูนกระเพาะอาหาร (gastric ballon) อาจช่วยให้น้ำหนักลดได้ หรืออาจมีการผ่าตัดเพื่อลดปริมาตรกระเพาะอาหารและความยาวลำไส้ หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งทำให้รู้สึกอิ่มเร็วขึ้นและลดความสามารถในการดูดซึมสารอาหาร[5][6]
โรคอ้วนเป็นสาเหตุการตายอันดับต้น ๆ ทั่วโลกที่สามารถป้องกันได้ โดยมีอัตราเพิ่มขึ้นทั้งในผู้ใหญ่และเด็ก ทางการมองว่าโรคอ้วนเป็นหนึ่งในปัญหาสาธารณสุขที่ร้ายแรงที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 21[7] โรคอ้วนถูกระบุว่าเป็นปัญหาในโลกสมัยใหม่อย่างมาก (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกตะวันตก) ทว่าในอดีต ความอ้วนถูกมองอย่างกว้างขวางว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความมั่งคั่งและความอุดมสมบูรณ์ และกระทั่งปัจจุบันก็ยังมีความเชื่อดังกล่าวในบางบริเวณของโลก[2][8] ใน ค.ศ. 2013 สมาคมแพทย์อเมริกาจัดความอ้วนเป็นโรค[9][10]
สาเหตุ
- กรรมพันธุ์ - ถ้าพ่อและแม่อ้วนทั้งคู่ลูกจะมีโอกาสอ้วนถึงร้อยละ 80 แต่ถ้าพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งที่อ้วนลูกจะมีโอกาสอ้วนถึงร้อยละ 40 แต่ไม่ควรที่จะวิตกกังวลจนเกินเหตุ ไม่ใช่ว่าคุณจะสิ้นโอกาสผอมหรือหุ่นดี
- นิสัยจากการรับประทานอาหาร - คนที่มีนิสัยไม่ดีในการรับประทานอาหาร หรือที่เรียกกันว่า กินจุบจิบ ไม่เป็นเวลาก็ทำให้อ้วนขึ้นได้
- การไม่ออกกำลังกาย
- ถ้ารับประทานอาหารที่มากเกินพอดี แต่มีการออกกำลังกาย บ้างก็อาจทำให้ยืดเวลาความอ้วน แต่ถ้ารับประทานอาหารที่มากเกินพอดีแล้วนั่งๆ นอนๆ โดยไร้ซึ่งการยืดเส้นยืดสาย ในไม่ช้าก็จะเกิดการสะสมไขมันในร่างกาย
- อารมณ์และจิตใจ - มีบางคนที่รับประทานอาหารตามอารมณ์และจิตใจ เช่น กินอาหารเพื่อดับความโกรธแค้น กลุ้มใจ กังวลใจ บุคคลเหล่านี้จะรู้สึกว่าอาหารทำให้ใจสงบ จึงยึดอาหารไว้เป็นสิ่งที่สร้างความสบายใจ - แต่ในทางกลับกัน บางคนที่รู้สึกเสียใจ กลุ้มใจ ก็กินอาหารไม่ได้ ถ้าในระยะเวลานานๆ ก็มีผลทำให้เกิดการขาดอาหาร ฯลฯ
- ความไม่สมดุลกับความรู้สึกอิ่ม ความหิว ความอยากอาหาร - เมื่อใดที่ความอยากกินเพิ่มขึ้นเมื่อนั้นการบริโภคก็จะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งถึงขั้น "กินจุ" ในที่สุดก็จะทำให้เกิดความอ้วน
- เพศ - ผู้หญิงสามารถอ้วนได้ง่ายกว่าผู้ชาย เพราะโดยธรรมชาติมักสรรหาอาหารมากินได้ตลอดเวลา อีกทั้งผู้หญิงจะต้องตั้งครรภ์ทำให้น้ำหนักตัวมากขึ้น เพราะต้องกินอาหารมากขึ้น เพื่อบำรุงร่างกายและทารกในครรภ์ และบางคนหลังจากคลอดบุตรแล้วก็ไม่สามารถลดน้ำหนักลงให้เท่ากับเมื่อก่อนตั้งครรภ์ได้
- อายุ - เมื่ออายุมากขึ้น โอกาสที่จะอ้วนก็เพิ่มขึ้น ทั้งผู้ชายและผู้หญิง ซึ่งอาจเกิดจากการใช้พลังงานน้อยลง
- กระบวนการทางเคมีที่เกิดกับร่างกาย
- ยา - ผู้ป่วยบางโรคนั้น จะได้รับสเตียรอยด์เป็นเวลานานก็ทำให้อ้วนได้ และในผู้หญิงที่ฉีดยาหรือใช้ยาคุมกำเนิด ก็ทำให้อ้วนได้เหมือนกัน
- โรคบางชนิด เช่น ไฮโปไทรอยด์
โรคที่พบร่วมบ่อย
- ไขมันในเลือดสูงทำให้อ้วน
- ความดันโลหิตสูง
- โรคหัวใจ
- โรคเบาหวาน
- โรคข้อกระดูกเสื่อม
- โรคทางระบบทางเดินหายใจ
- โรคมะเร็งบางประเภท
การจัดการ
การรักษาโรคอ้วนหลักประกอบด้วยการจำกัดอาหารและการออกกำลังกาย[11] โปรแกรมอาหารอาจทำให้น้ำหนักลดได้ในช่วงสั้น ๆ[12] แต่การรักษาการลดน้ำหนักนี้บ่อยครั้งเป็นเรื่องยากและมักต้องอาศัยการออกกำลังกายและการได้รับพลังงานจากอาหารน้อยลงเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของบุคคลอย่างถาวร[13][14] สัดส่วนความสำเร็จของการรักษาการลดน้ำหนักโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตนั้นต่ำ โดยมีพิสัยระหว่าง 2–20%[15] การเปลี่ยนแปลงอาหารและวิถีชวิตมีประสิทธิภาพในการจำกัดน้ำหนักเพิ่มเกินในสตรีมีครรภ์และให้ผลลัพธ์ดีขึ้นแก่ทั้งมารดาและบุตร[16]
วิทยาการระบาด
ในยุคประวัติศาสตร์ช่วงต้น โรคอ้วนพบน้อย และมีเพียงอภิชนกลุ่มเล็กเท่านั้นที่เป็น แม้ยอมรับแล้วว่าเป็นปัญหาสุขภาพ แต่เมื่อความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นในสมัยใหม่ตอนต้น โรคอ้วนมีผลในประชากรกลุ่มใหญ่เพิ่มขึ้น[18] ในปี 2540 องค์การอนามัยโลกรับรองโรคอ้วนเป็นโรคระบาดทั่วโลกอย่างเป็นทางการ[19] ในปี 2551 องค์การอนามัยโลกประเมินว่า ผู้ใหญ่อย่างน้อย 500 ล้านคน (กว่า 10%) อ้วน โดยมีอัตราในหญิงสูงกว่าชาย[20] อัตราโรคอ้วนยังเพิ่มขึ้นตามอายุอย่างน้อยถึง 50 หรือ 60 ปี[21] และโรคอ้วนรุนแรงในสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลียและแคนาดาเพิ่มขึ้นเร็วกว่าอัตราโรคอ้วนโดยรวม[22][23][24]
อ้างอิง
- ↑ WHO 2000 p.6
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Haslam DW, James WP (2005). "Obesity". Lancet. 366 (9492): 1197–209. doi:10.1016/S0140-6736(05)67483-1. PMID 16198769.
- ↑ Kushner, Robert (2007). Treatment of the Obese Patient (Contemporary Endocrinology). Totowa, NJ: Humana Press. p. 158. ISBN 1-59745-400-1. สืบค้นเมื่อ April 5, 2009.
- ↑ Adams, PG; Murphy, PG (July 2000). "Obesity in anaesthesia and intensive care". Br J Anaesth. 85 (1): 91–108. doi:10.1093/bja/85.1.91. PMID 10927998.
{cite journal}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|author-separator=
ถูกละเว้น (help) - ↑ NICE 2006 p.10–11
- ↑ Imaz, I; Martínez-Cervell, C; García-Alvarez, EE; และคณะ (July 2008). "Safety and effectiveness of the intragastric balloon for obesity. A meta-analysis". Obes Surg. 18 (7): 841–6. doi:10.1007/s11695-007-9331-8. PMID 18459025.
{cite journal}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|author-separator=
ถูกละเว้น (help) - ↑ Barness, LA; Opitz, JM; Gilbert-Barness, E (December 2007). "Obesity: genetic, molecular, and environmental aspects". American Journal of Medical Genetics. 143A (24): 3016–34. doi:10.1002/ajmg.a.32035. PMID 18000969.
{cite journal}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|author-separator=
ถูกละเว้น (help) - ↑ Woodhouse R (2008). "Obesity in art: A brief overview". Front Horm Res. Frontiers of Hormone Research. 36: 271–86. doi:10.1159/000115370. ISBN 978-3-8055-8429-6. PMID 18230908.
- ↑ Pollack, Andrew (June 18, 2013). "A.M.A. Recognizes Obesity as a Disease". New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-23. สืบค้นเมื่อ 2014-04-01.
- ↑ Weinstock, Matthew (June 21, 2013). "The Facts About Obesity". H&HN. American Hospital Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-09. สืบค้นเมื่อ June 24, 2013.
- ↑ Lau DC, Douketis JD, Morrison KM, Hramiak IM, Sharma AM, Ur E (April 2007). "2006 Canadian clinical practice guidelines on the management and prevention of obesity in adults and children summary". CMAJ. 176 (8): S1–13. doi:10.1503/cmaj.061409. PMC 1839777. PMID 17420481.
{cite journal}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Strychar I (January 2006). "Diet in the management of weight loss". CMAJ. 174 (1): 56–63. doi:10.1503/cmaj.045037. PMC 1319349. PMID 16389240.
- ↑ Shick SM, Wing RR, Klem ML, McGuire MT, Hill JO, Seagle H (April 1998). "Persons successful at long-term weight loss and maintenance continue to consume a low-energy, low-fat diet". J Am Diet Assoc. 98 (4): 408–13. doi:10.1016/S0002-8223(98)00093-5. PMID 9550162.
{cite journal}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Tate DF, Jeffery RW, Sherwood NE, Wing RR (1 April 2007). "Long-term weight losses associated with prescription of higher physical activity goals. Are higher levels of physical activity protective against weight regain?". Am. J. Clin. Nutr. 85 (4): 954–9. PMID 17413092.
{cite journal}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Wing RR, Phelan, S (1 July 2005). "Science-Based Solutions to Obesity: What are the Roles of Academia, Government, Industry, and Health Care? Proceedings of a symposium, Boston, Massachusetts, USA, 10–11 March 2004 and Anaheim, California, USA, 2 October 2004". Am. J. Clin. Nutr. 82 (1 Suppl): 207S–273S. PMID 16002825.
{cite journal}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Thangaratinam, S; Rogozinska, E; Jolly, K; และคณะ (16 May 2012). "Effects of interventions in pregnancy on maternal weight and obstetric outcomes: meta-analysis of randomised evidence". BMJ (Clinical research ed.). 344: e2088. doi:10.1136/bmj.e2088. PMC 3355191. PMID 22596383.
{cite journal}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|author-separator=
ถูกละเว้น (help) - ↑ "Global Prevalence of Adult Obesity" (PDF). International Obesity Taskforce. สืบค้นเมื่อ January 29, 2008.
- ↑ คำเตือนการอ้างอิง:
<ref>
tag with nameHaslam2007
cannot be previewed because it is defined outside the current section or not defined at all. - ↑ คำเตือนการอ้างอิง:
<ref>
tag with nameCaballero
cannot be previewed because it is defined outside the current section or not defined at all. - ↑ "Obesity and overweight". World Health Organization. สืบค้นเมื่อ April 8, 2009.
- ↑ Seidell 2005 p.5
- ↑ คำเตือนการอ้างอิง:
<ref>
tag with namemorbid2007
cannot be previewed because it is defined outside the current section or not defined at all. - ↑ Howard NJ, Taylor AW, Gill TK, Chittleborough CR (2008). "Severe obesity: Investigating the socio-demographics within the extremes of body mass index". Obesity Research & Clinical Practice. 2 (1): I–II. doi:10.1016/j.orcp.2008.01.001. PMID 24351678.
{cite journal}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Tjepkema M (2005-07-06). "Measured Obesity–Adult obesity in Canada: Measured height and weight". Nutrition: Findings from the Canadian Community Health Survey. Ottawa, Ontario: Statistics Canada.
บรรณานุกรม
- Bhargava, Alok; Guthrie, J. (2002). "Unhealthy eating habits, physical exercise and macronutrient intakes are predictors of anthropometric indicators in the Women's Health Trial: Feasibility Study in Minority Populations". British Journal of Nutrition. 88 (6): 719–728. doi:10.1079/BJN2002739. PMID 12493094.
- Bhargava, Alok (2006). "Fiber intakes and anthropometric measures are predictors of circulating hormone, triglyceride, and cholesterol concentration in the Women's Health Trial". Journal of Nutrition. 136 (8): 2249–2254. PMID 16857849.
- Jebb S. and Wells J. Measuring body composition in adults and children In:Peter G. Kopelman, Ian D. Caterson, Michael J. Stock, William H. Dietz (2005). Clinical obesity in adults and children: In Adults and Children. Blackwell Publishing. pp. 12–28. ISBN 140-511672-2.
{cite book}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - Kopelman P., Caterson I. An overview of obesity management In:Peter G. Kopelman, Ian D. Caterson, Michael J. Stock, William H. Dietz (2005). Clinical obesity in adults and children: In Adults and Children. Blackwell Publishing. pp. 319–326. ISBN 140-511672-2.
{cite book}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - National Heart, Lung, and Blood Institute (NHLBI) (1998). Clinical Guidelines on the Identification, Evaluation, and Treatment of Overweight and Obesity in Adults (PDF). International Medical Publishing, Inc. ISBN 1-58808-002-1.
{cite book}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - "Obesity: guidance on the prevention, identification, assessment and management of overweight and obesity in adults and children" (pdf). National Institute for Health and Clinical Excellence(NICE). National Health Services (NHS). 2006. สืบค้นเมื่อ April 8, 2009.
- Puhl R., Henderson K., and Brownell K. Social consequences of obesity In:Peter G. Kopelman, Ian D. Caterson, Michael J. Stock, William H. Dietz (2005). Clinical obesity in adults and children: In Adults and Children. Blackwell Publishing. pp. 29–45. ISBN 140-511672-2.
{cite book}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - Seidell JC. Epidemiology — definition and classification of obesity In:Peter G. Kopelman, Ian D. Caterson, Michael J. Stock, William H. Dietz (2005). Clinical obesity in adults and children: In Adults and Children. Blackwell Publishing. pp. 3–11. ISBN 140-511672-2.
{cite book}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - World Health Organization (WHO) (2000). Technical report series 894: Obesity: Preventing and managing the global epidemic (PDF). Geneva: World Health Organization. ISBN 92-4-120894-5. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-05-01. สืบค้นเมื่อ 2011-08-29.
หนังสืออ่านเพิ่ม
- Fumento, Michael (1997). The Fat of the Land: Our Health Crises and How Overweight Americans can Help Themselves. New York: Penguin Books. ISBN 0-140261443.
- Keller, Kathleen (2008). Encyclopedia of Obesity. Thousand Oaks, Calif: Sage Publications, Inc. ISBN 1-4129-5238-7.
- Kolata, Gina (2007). Rethinking Thin: The new science of weight loss – and the myths and realities of dieting. Picador. ISBN 0-312-42785-9.
- Kopelman, Peter G. (2005). Clinical obesity in adults and children: In Adults and Children. Blackwell Publishing. p. 493. ISBN 140-511672-2.
- Levy-Navarro, Elena (2008). The Culture of Obesity in Early and Late Modernity. Palgrave Macmillan. ISBN 0230601235.
- Pool, Robert (2001). Fat: Fighting the Obesity Epidemic. Oxford, UK: Oxford University Press. ISBN 0-19-511853-7.
แหล่งข้อมูลอื่น
- World Health Organization – Obesity pages
- Diet, Nutrition and the prevention of chronic diseases (including obesity) by a Joint WHO/FAO Expert consultation (2003).
- Obesity at Endotext.org เก็บถาวร 2011-06-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- International Task Force on Obesity
- Obesity at the Centers for Disease Control (USA)
- The Obesity Society (USA)
- National Obesity Forum (UK)
- Australasian Society for the Study of Obesity เก็บถาวร 2018-08-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน