ไข้รากสาดน้อย

ไข้รากสาดน้อย
(typhoid fever)
ชื่ออื่นenteric fever, slow fever
จุดแดง (rose spots) บนหน้าอกของผู้ป่วยไข้รากสาดน้อย ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Salmonella typhi
สาขาวิชาโรคติดเชื้อ (การแพทย์เฉพาะทาง)
อาการFever that starts low and increases daily, possibly reaching as high as 104.9 F (40.5 C) Headache, Weakness and fatigue, Muscle aches, Sweating, Dry cough, Loss of appetite and weight loss, Stomach pain, Diarrhea or constipation, Rash, Swollen stomach (enlarged liver or spleen)
การตั้งต้น1-2 weeks after ingestion
ระยะดำเนินโรคUsually 7-10 days after antibiotic treatment begins. Longer if there are complications or drug resistance
สาเหตุGastrointestinal infection of Salmonella enterica serovar Typhi
ปัจจัยเสี่ยงWork in or travel to areas where typhoid fever is established, Work as a clinical microbiologist handling Salmonella typhi bacteria, Have close contact with someone who is infected or has recently been infected with typhoid fever, Drink water polluted by sewage that contains Salmonella typhi
การป้องกันPreventable by vaccine. Travelers to regions with higher typhoid prevalence are usually encouraged to get a vaccination before travel.
การรักษาAntibiotics, hydration, surgery in extreme cases. Quarantine to avoid exposing others (not commonly done in modern times)
พยากรณ์โรคLikely to recover without complications if proper antibiotics administered and diagnosed early. If infecting strain is multi-drug resistant or extensively drug resistant then prognosis more difficult to determine.

Among untreated acute cases, 10% will shed bacteria for three months after initial onset of symptoms, and 2-5% will become chronic typhoid carriers.[1]

Some carriers are diagnosed by positive tissue specimen. Chronic carriers are by definition asymptomatic.[1]

ไข้รากสาดน้อย หรือ ไข้ไทฟอยด์ (อังกฤษ: typhoid fever; enteric fever) เป็นการเจ็บป่วยที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Salmonella enterica serovar Typhi พบได้ทั่วโลกโดยติดต่อผ่านทางการรับประทานอาหารหรือน้ำดื่มที่ปนเปื้อนอุจจาระของผู้ป่วย[2] โดยเชื้อแบคทีเรียก่อโรคนี้จะเจาะทะลุผนังลำไส้แล้วถูกจับกินโดยเซลล์แมโครฟาจ (macrophage) จากนั้นเชื้อ Salmonella typhi จะเปลี่ยนโครงสร้างตัวเองเพื่อดื้อต่อการทำลายและสามารถหลบหนีออกจากแมโครฟาจได้ กลไกดังกล่าวทำให้เชื้อดื้อต่อการทำลายโดยแกรนูโลไซต์ ระบบคอมพลีเมนต์ และระบบภูมิคุ้มกัน จากนั้นเชื้อก่อโรคจะกระจายไปทั่วร่างกายผ่านทางน้ำเหลืองขณะที่อยู่ในเซลล์แมโครฟาจ ทำให้เชื้อเข้าสู่ระบบเรติคูโลเอนโดทีเลียม (reticuloendothelial system) และไปยังอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย

จุลชีพก่อโรคนี้เป็นแบคทีเรียแกรมลบ รูปแท่งสั้น ซึ่งเคลื่อนที่โดยแฟลกเจลลัมหลายเส้น (peritrichous flagella) แบคทีเรียเจริญได้ดีที่สุดที่อุณหภูมิกาย 37 °C (99 °F)

อาการ

อุบัติการณ์ของไข้ไทฟอยด์
 ระบาดมาก
 ระบาด
 กระจัดกระจาย

ไข้รากสาดน้อยมีอาการไข้สูงคงตัวที่ประมาณ 40 °C (104 °F) เหงื่อออกมาก กระเพาะและลำไส้อักเสบ และท้องเสียไม่มีเลือดปน อาการที่พบไม่บ่อยเช่นจุดผื่นราบสีกุหลาบหรือสีแดง[3]

โดยทั่วไปแล้วการดำเนินโรคไทฟอยด์แบ่งออกเป็น 4 ระยะหากไม่ได้รับการรักษา ในแต่ละระยะกินเวลาราว 1 สัปดาห์ ในสัปดาห์แรกมีอาการไข้สูงขึ้นทีละน้อยร่วมกับหัวใจเต้นช้า อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ และไอ อาจพบการตกเลือดกำเดาราว 1 ใน 4 ของผู้ป่วยและอาจพบอาการปวดท้อง มีภาวะเม็ดเลือดขาวน้อยเกินร่วมกับภาวะอีโอสิโนฟิลน้อยเกินและภาวะลิมโฟไซต์มากเกินสัมพัทธ์ ผลปฏิกิริยาไดอะโซ (diazo reaction) ให้ผลบวก และการเพาะเชื้อจากเลือดปรากฏเชื้อ Salmonella typhi หรือ paratyphi การทดสอบไวดัล (Widal test) เพื่อวินิจฉัยโรคนี้มักให้ผลลบในสัปดาห์แรก

ในสัปดาห์ที่สองหลังติดเชื้อ ผู้ป่วยมักนอนหมดกำลังร่วมกับไข้สูงลอยราว 40 °C (104 °F) และหัวใจเต้นช้า มักพบชีพจรสองยอด (dicrotic pulse wave) ในคลื่นความดันหัวใจ มักพบอาการเพ้อ ผู้ป่วยมักสงบแต่บางครั้งอาจกระสับกระส่าย จุดแดงปรากฏในหน้าอกส่วนล่างและท้องในผู้ป่วยราว 1 ใน 3 หากฟังเสียงปอดอาจพบเสียงอึ๊ด (rhonchi) ที่ฐานปอด ที่ท้องอาจบวมและกดเจ็บที่จตุภาคล่างขวา (right lower quadrant) ซึ่งสามารถได้ยินเสียงท้องร้อง (borborygmi) อาจพบอาการท้องเสียได้ในระยะนี้ โดยถ่ายราว 6-8 ครั้งต่อวันเป็นสีเขียวร่วมกับกลิ่นคล้ายซุปถั่ว แต่ก็อาจพบท้องผูกได้บ่อย ม้ามและตับโตและกดเจ็บ ตรวจเอนไซม์ตับทรานสอะมิเนส (transaminases) สูงขึ้น ปฏิกิริยาไวดัลเป็นบวกชัดเจน ร่วมกับพบแอนติบอดี antiO และ antiH เพาะเชื้อจากเลือดบางครั้งยังให้ผลบวกในระยะนี้

ในสัปดาห์ที่สาม จะพบภาวะแทรกซ้อนมากมาย ได้แก่

  • ตกเลือดในลำไส้ เนื่องจากการตกเลือดใน Peyer's patches อาการนี้รุนแรงมากแต่มักไม่ทำให้เสียชีวิต
  • ลำไส้ทะลุบริเวณปลายของลำไส้เล็กส่วนปลาย เป็นอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงและมักทำให้เสียชีวิต ภาวะนี้อาจเกิดโดยไม่มีอาการใดๆ เตือนก่อนจนเกิดภาวะเลือดเป็นพิษ (septicaemia) หรือเยื่อบุช่องท้องอักเสบแพร่กระจาย (diffuse peritonitis)
  • สมองอักเสบ
  • ฝีกระจายทั่ว ถุงน้ำดีอักเสบ เยื่อบุหัวใจอักเสบ และกระดูกอักเสบ

ไข้จะคงสูงมากและแกว่งเล็กน้อยใน 24 ชั่วโมง ผู้ป่วยมีภาวะขาดน้ำและผู้ป่วยเพ้อจากพิษไข้ (ระยะไทฟอยด์; typhoid state) ช่วงท้ายสัปดาห์ที่สามอาการไข้ลดลง (ระยะไข้สร่าง) ซึ่งดำเนินต่อไปในสัปดาห์ที่สี่และสัปดาห์สุดท้าย

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 Acute Communicable Disease Control, 2016 Annual Morbidity Report (2016). "TYPHOID FEVER, ACUTE AND CARRIER" (PDF). Los Angeles County Department of Public Health. p. 133.
  2. Giannella RA (1996). "Salmonella". Baron's Medical Microbiology (Baron S et al, eds.) (4th ed.). Univ of Texas Medical Branch. ISBN 0-9631172-1-1.
  3. CDC Disease Info

แหล่งข้อมูลอื่น

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก