ไฟนอลแฟนตาซี IV

ไฟนอลแฟนตาซี IV
ภาพกล่องของเกมซูเปอร์แฟมิคอมดั้งเดิม (ภาษาญี่ปุ่น)
ผู้พัฒนาสแควร์
ผู้จัดจำหน่าย
สแควร์
กำกับฮิโรโนบุ ซากางูจิ
ออกแบบทากาชิ โทกิตะ
โปรแกรมเมอร์เค็ง นาริตะ
ศิลปินโยชิตากะ อามาโนะ
เขียนบท
  • ทากาชิ โทกิตะ
  • ฮิโรโนบุ ซากางูจิ[1]
แต่งเพลงโนบูโอะ อูเอมัตสึ
ชุดไฟนอลแฟนตาซี
เครื่องเล่น
วางจำหน่าย
19 กรกฎาคม ค.ศ. 1991
แนวเล่นตามบทบาท
รูปแบบผู้เล่นเดี่ยว, หลายผู้เล่น

ไฟนอลแฟนตาซี IV[a] (อังกฤษ: Final Fantasy IV) หรือที่รู้จักกันในชื่อไฟนอลแฟนตาซี II สำหรับการเปิดตัวครั้งแรกในทวีปอเมริกาเหนือ เป็นวิดีโอเกมเล่นตามบทบาทที่พัฒนาและเผยแพร่โดยบริษัทสแควร์ (ปัจจุบันคือสแควร์เอนิกซ์) สำหรับซูเปอร์แฟมิคอม ซึ่งเปิดตัวใน ค.ศ. 1991 โดยเป็นภาคหลักที่สี่ของซีรีส์ไฟนอลแฟนตาซี เรื่องราวของเกมนี้เดินตามเซซิล ผู้เป็นอัศวินดำ ในขณะที่เขาพยายามป้องกันไม่ให้ผู้วิเศษที่ชื่อโกลเบซยึดคริสตัลอันทรงพลังและทำลายโลก เขาเข้าร่วมในภารกิจนี้โดยกลุ่มพันธมิตรที่เปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง ไฟนอลแฟนตาซี IV นำเสนอสิ่งใหม่ที่กลายมาเป็นแก่นของซีรีส์ไฟนอลแฟนตาซีและเกมเล่นตามบทบาทโดยทั่วไป ซึ่งคือระบบ "แอกทีฟไทม์แบตเทิล" ที่ใช้ในเกมไฟนอลแฟนตาซีห้าภาคที่ตามมา และไม่เหมือนกับภาคก่อน ๆ ในซีรีส์นี้ เนื่องจากภาค IV มอบคลาสตัวละครให้แก่ตัวละครแต่ละตัวที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้

ไฟนอลแฟนตาซี IV ได้รับการย้ายไปยังแพลตฟอร์มอื่น ๆ หลายระบบโดยมีความแตกต่างกันออกไป ส่วนฉบับรีเมกยังเรียกว่าไฟนอลแฟนตาซี IV ที่มาพร้อมกับกราฟิก 3 มิตินั้น ได้รับการเปิดตัวสำหรับนินเท็นโด ดีเอส ใน ค.ศ. 2007 และ ค.ศ. 2008 โดยในอดีต เกมนี้ได้รับการตั้งชื่อใหม่ว่าไฟนอลแฟนตาซี II ในระหว่างการเปิดตัวครั้งแรกนอกประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากภาค II และภาค III ดั้งเดิมยังไม่ได้วางจำหน่ายนอกประเทศญี่ปุ่นในขณะนั้น กระทั่งมีการปรับไฟนอลแฟนตาซี IV ให้เข้ากับท้องถิ่นในภายหลัง ซึ่งเริ่มปรากฏหลังจากไฟนอลแฟนตาซี VII (วางจำหน่ายทั่วโลกภายใต้ชื่อนั้น) ได้ใช้ชื่อซึ่งมีมาแต่เดิม

การเกิดใหม่ของเกมนี้มียอดขายมากกว่าสี่ล้านชุดทั่วโลก ภาคต่ออย่างไฟนอลแฟนตาซี IV: ดิอาฟเตอร์เยียส์ ได้รับการเผยแพร่สำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ของญี่ปุ่นใน ค.ศ. 2008 และทั่วโลกผ่านทางบริการวีชอปแชนเนิลเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 2009 ครั้นใน ค.ศ. 2011 ทั้งไฟนอลแฟนตาซี IV ภาคปกติ และภาคดิอาฟเตอร์เยียส์ได้รับการเผยแพร่สำหรับเพลย์สเตชัน พอร์เทเบิล โดยเป็นส่วนหนึ่งของการรวมในไฟนอลแฟนตาซี IV: เดอะคัมพลีตคอลเลกชัน ซึ่งรวมถึงเกมใหม่ที่ตั้งอยู่ระหว่างทั้งสองเกมนี้ นั้นคือไฟนอลแฟนตาซี IV: อินเทอร์ลูด อนึ่ง พอร์ตของรีเมกนินเท็นโด ดีเอส ได้เปิดตัวสำหรับไอโอเอสใน ค.ศ. 2012, สำหรับแอนดรอยด์ใน ค.ศ. 2013 และสำหรับวินโดวส์ใน ค.ศ. 2014 ส่วนพอร์ตที่ได้รับการปรับปรุงอีกพอร์ตหนึ่งของไฟนอลแฟนตาซี IV ได้รับการเผยแพร่โดยเป็นส่วนหนึ่งของการรวมซีรีส์ในไฟนอลแฟนตาซีพิกเซลรีมาสเตอร์สำหรับไอโอเอส, แอนดรอยด์ และวินโดวส์ใน ค.ศ. 2021 รวมถึงสำหรับนินเท็นโด สวิตช์ และเพลย์สเตชัน 4 ใน ค.ศ. 2023

หากมองย้อนกลับไป ไฟนอลแฟนตาซี IV มักได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในวิดีโอเกมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล โดยการบันทึกว่าไฟนอลแฟนตาซี IV เป็นเกมบุกเบิกคุณสมบัติเกมเล่นตามบทบาทในเครื่องเล่นทั่วไปหลายอย่างในปัจจุบัน รวมถึงแนวคิดของการเล่าเรื่องที่น่าทึ่งในเกมประเภทนี้[2][3] เกมนี้ได้รับการรวมอยู่ในรายชื่อเกมที่ดีที่สุดตลอดกาลโดยเว็บไซต์ไอจีเอ็น (อันดับ 9 ใน ค.ศ. 2003) ในฐานะเกมเล่นตามบทบาทที่มีอันดับสูงสุด[4][5] เช่นเดียวกับการสำรวจความคิดเห็นของผู้อ่านนิตยสารแฟมิซือใน ค.ศ. 2006 เกี่ยวกับเกมที่ดีที่สุดเท่าที่เคยมีมา[6] นอกจากนี้ เกมดังกล่าวยังปรากฏในการจัดอันดับต่าง ๆ สำหรับเกมที่ดีที่สุดตลอดกาลในนิตยสารอิเล็กทรอนิกเกมมิงมันทลีใน ค.ศ. 2001[7] และ ค.ศ. 2006,[8] นิตยสารเกมอินฟอร์เมอร์ใน ค.ศ. 2001[9] และ ค.ศ. 2009,[10] เว็บไซต์เกมสปอตใน ค.ศ. 2005,[11] ตลอดจนเว็บไซต์เกมแฟคส์ใน ค.ศ. 2005,[12] ค.ศ. 2009[13] และ ค.ศ. 2014[14]

รูปแบบการเล่น

ฉากการปะทะจากเกมเวอร์ชันซูเปอร์แฟมิคอม: ที่ทีมตัวเอกเข้าปะทะมังกรสีน้ำเงิน

ไฟนอลแฟนตาซี IV ผู้เล่นจะควบคุมตัวละครจำนวนมากและทำภารกิจให้สำเร็จเพื่อให้เรื่องราวก้าวหน้า เหล่าตัวละครของผู้เล่นจะเคลื่อนไหวและโต้ตอบกับผู้คนและวัตถุบนแผนที่ลาน ซึ่งอาจแสดงถึงฉากต่าง ๆ เช่น หอคอย, ถ้ำ และป่าไม้ ส่วนการเดินทางระหว่างแอเรียเกิดขึ้นในโลกใบใหญ่ นอกจากนี้ ผู้เล่นสามารถใช้เมืองเพื่อเติมเต็มความแข็งแกร่ง, ซื้ออุปกรณ์ และค้นหาเบาะแสเกี่ยวกับจุดหมายปลายทางต่อไป[15] ในทางกลับกัน ผู้เล่นจะต่อสู้กับสัตว์ประหลาดตามช่วงเวลาแบบสุ่มในโลกใบใหญ่และในดันเจียน ส่วนในการปะทะ ผู้เล่นมีตัวเลือกในการต่อสู้, ใช้เวทมนตร์หรือไอเทม, ถอย, เปลี่ยนตำแหน่งตัวละคร, ปัดป้อง หรือหยุดชั่วคราว โดยตัวละครบางตัวมีความสามารถพิเศษ[15] และเกมนี้เป็นภาคแรกในซีรีส์ที่อนุญาตให้ผู้เล่นควบคุมตัวละครได้สูงสุดห้าตัวในทีมของพวกเขา ขณะเกมภาคก่อนหน้าจำกัดไว้ที่สี่ตัว[16]

บรรดาตัวละครผู้เล่นและบรรดามอนสเตอร์จะมีค่าพลังชีวิต (HP) โดยค่าพลังชีวิตของตัวละครดังกล่าวจะระบุไว้ใต้หน้าจอการต่อสู้หลัก ซึ่งการโจมตีจะลดค่าพลังชีวิตที่เหลือจนกระทั่งไม่เหลือเลย จากนั้นตัวละครจะหมดสติหรือมอนสเตอร์ตาย และหากตัวละครผู้เล่นทั้งหมดพ่ายแพ้ เกมจะต้องได้รับการคืนค่าจากไฟล์เกมที่บันทึกไว้[15] ผู้เล่นสามารถฟื้นฟูค่าพลังชีวิตของตัวละครได้โดยการให้ตัวละครนอนในโรงเตี๊ยมหรือใช้ไอเทมในคลังของทีม เช่น โพชัน รวมถึงใช้คาถารักษา ส่วนอุปกรณ์ (เช่น ดาบและชุดเกราะ) ที่ซื้อในเมืองหรือพบในดันเจียนสามารถใช้เพื่อเพิ่มความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อเหล่ามอนสเตอร์หรือลดความเสียหายที่ได้รับให้เหลือน้อยที่สุด[15] ตลอดจนผู้เล่นสามารถเลือกได้ว่าตัวละครจะปรากฏอยู่แนวหน้าหรือแนวหลังในการปะทะ โดยตำแหน่งของตัวละครส่งผลต่อความเสียหายที่ได้รับและสร้างขึ้นขึ้นอยู่กับประเภทของการโจมตี[15]

ดูเพิ่ม

อ่านเพิ่ม

หมายเหตุ

  1. ファイナルファンタジーIV Fainaru Fantajī Fō

อ้างอิง

  1. คำเตือนการอ้างอิง: <ref> tag with name famitsusakaguchi cannot be previewed because it is defined outside the current section or not defined at all.
  2. คำเตือนการอ้างอิง: <ref> tag with name gamespot cannot be previewed because it is defined outside the current section or not defined at all.
  3. คำเตือนการอ้างอิง: <ref> tag with name Turner cannot be previewed because it is defined outside the current section or not defined at all.
  4. คำเตือนการอ้างอิง: <ref> tag with name :0 cannot be previewed because it is defined outside the current section or not defined at all.
  5. คำเตือนการอ้างอิง: <ref> tag with name IGN2003 cannot be previewed because it is defined outside the current section or not defined at all.
  6. คำเตือนการอ้างอิง: <ref> tag with name :1 cannot be previewed because it is defined outside the current section or not defined at all.
  7. คำเตือนการอ้างอิง: <ref> tag with name EGM2001 cannot be previewed because it is defined outside the current section or not defined at all.
  8. คำเตือนการอ้างอิง: <ref> tag with name EGM2006 cannot be previewed because it is defined outside the current section or not defined at all.
  9. คำเตือนการอ้างอิง: <ref> tag with name GI2001 cannot be previewed because it is defined outside the current section or not defined at all.
  10. คำเตือนการอ้างอิง: <ref> tag with name GI2009 cannot be previewed because it is defined outside the current section or not defined at all.
  11. คำเตือนการอ้างอิง: <ref> tag with name GameSpot2006 cannot be previewed because it is defined outside the current section or not defined at all.
  12. คำเตือนการอ้างอิง: <ref> tag with name GF2005 cannot be previewed because it is defined outside the current section or not defined at all.
  13. คำเตือนการอ้างอิง: <ref> tag with name GF2009 cannot be previewed because it is defined outside the current section or not defined at all.
  14. คำเตือนการอ้างอิง: <ref> tag with name GF2014 cannot be previewed because it is defined outside the current section or not defined at all.
  15. 15.0 15.1 15.2 15.3 15.4 Square Co., บ.ก. (1991). Final Fantasy II instruction manual. Square Co. p. 74. SFS-F4-USA-1.
  16. คำเตือนการอ้างอิง: <ref> tag with name FFIVGametrailers cannot be previewed because it is defined outside the current section or not defined at all.

แหล่งข้อมูลอื่น