ของเหลวในร่างกายพร่อง
ของเหลวในร่างกายพร่อง (Hypovolemia) | |
---|---|
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก | |
ICD-10 | E86, R57.1, T81.1 |
ICD-9 | 276.52 |
MedlinePlus | 000167 |
MeSH | D020896 |
ในวิชาสรีรวิทยาและแพทยศาสตร์ ของเหลวในร่างกายพร่อง หรือปริมาตรเลือดน้อย (อังกฤษ: hypovolemia) หรือช็อก เป็นสถานะที่มีปริมาตรเลือดลดลง หรือกล่าวให้เจาะจงว่า มีปริมาตรน้ำเลือดลดลง ถือเป็นภาวะปริมาตรน้ำในร่างกายลดลงจากองค์ประกอบในหลอดเลือด (หรือการเสียปริมาตรเลือดจากเหตุอย่างภาวะมีเลือดออกหรือขาดน้ำ) แต่เนื่องจากภาวะของเหลวในร่างกายพร่องเป็นภาวะปริมาตรน้ำในร่างกายลดลงที่สำคัญที่สุด บางครั้งสองคำนี้จึงใช้แทนกัน
ของเหลวในร่างกายพร่องมีลักษณะ คือ เกลือ (โซเดียม) พร่อง จึงต่างจากภาวะเสียน้ำ ซึ่งนิยามจากการเสียน้ำในร่างกายเกิน
สาเหตุ
สาเหตุของของเหลวในร่างกายพร่องที่พบบ่อย คือ[1]
- เสียเลือด (มีเลือดออกในหรือนอกร่างกาย หรือการบริจาคโลหิต[2])
- เสียน้ำเลือด (แผลไหม้รุนแรง[3][4] และรอยโรคที่มีการหลั่งของเหลว)
- เสียโซเดียมในร่างกายและน้ำในหลอดเลือด เช่น หลั่งเหงื่อมาก ท้องร่วงหรืออาเจียน
- หลอดเลือดขยาย เช่น มีแผลที่ทำให้กิจกรรมของประสาทต่อหลอดเลือดไม่ทำงานและยับยั้งศูนย์ปรับขนาดหลอดเลือดในสมอง หรือยาขยายหลอดเลือดที่ใช้รักษาผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
อ้างอิง
- ↑ Sircar, S. Principles of Medical Physiology. Thieme Medical Pub. ISBN 9781588905727
- ↑ Danic B, Gouézec H, Bigant E, Thomas T (June 2005). "[Incidents of blood donation]". Transfus Clin Biol (ภาษาฝรั่งเศส). 12 (2): 153–9. doi:10.1016/j.tracli.2005.04.003. PMID 15894504.
{cite journal}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ http://www.totalburncare.com/orientation_burn_shock.htm
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-11. สืบค้นเมื่อ 2013-10-10.