คาบูล

คาบูล

کابل
ตามเข็มนาฬิกาจากบนซ้าย: แม่น้ำคาบูลที่มีมัสยิดแชฮ์-โด แชมชีแรอยู่ทางฝั่งซ้าย; สุสานอับดุรเราะห์มาน ข่านที่สวนแซร์เนกอร์; พระราชวังบอเฆบอลอในฉากหลัง; ตึกระฟ้าของเมืองใน ค.ศ. 2020; ศาลเจ้าแซฆี
สมญา: 
ปารีสแห่งเอเชียกลาง[1][2]
คาบูลตั้งอยู่ในประเทศอัฟกานิสถาน
คาบูล
คาบูล
คาบูลตั้งอยู่ในเอเชียตะวันตกและเอเชียกลาง
คาบูล
คาบูล
คาบูลตั้งอยู่ในเอเชียใต้
คาบูล
คาบูล
คาบูลตั้งอยู่ในทวีปเอเชีย
คาบูล
คาบูล
พิกัด: 34°31′31″N 69°10′42″E / 34.52528°N 69.17833°E / 34.52528; 69.17833
ประเทศอัฟกานิสถาน
จังหวัดคาบูล
จำนวนเขต22
จำนวน Gozars630
ก่อตั้งเมืองหลวงค.ศ. 1776[4]
การปกครอง
 • ประเภทเทศบาล
 • นายกเทศบาลHamdullah Nomani
 • รองนายกเทศบาลMaulvi Abdul Rashid[5]
พื้นที่
 • ทั้งหมด1,028.24 ตร.กม. (397.01 ตร.ไมล์)
 • พื้นดิน1,028.24 ตร.กม. (397.01 ตร.ไมล์)
 • พื้นน้ำ0 ตร.กม. (0 ตร.ไมล์)
ความสูง1,791 เมตร (5,876 ฟุต)
ประชากร
 (2021)
 • ทั้งหมด4,601,789[3] คน
เขตเวลาUTC+4:30 (เวลามาตรฐานอัฟกานิสถาน)
รหัสไปรษณีย์100X, 101X, 105X, 106X
รหัสพื้นที่(+93) 20
ภูมิอากาศBSk
เว็บไซต์km.gov.af

คาบูล (ปาทาน: کابل, อักษรโรมัน: Kābəl, สัทอักษรสากล: [kɑˈbəl]; ดารี: کابل, อักษรโรมัน: Kābol, แม่แบบ:IPA-prs) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดของประเทศอัฟกานิสถาน ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกของประเทศ คาบูลยังเป็นเทศบาลหนึ่งในจังหวัดคาบูล คาบูลประกอบด้วย 22 เขต การประมาณในปี 2021 ระบุประชากรของคาบูลอยู่ที่ราว 4.6 ล้าน[3][6][7] คาบูลเป็นเมืองเดียวในประเทศอัฟกานิสถานที่มีประชากรมากกว่า 1 ล้านคน[8] และเป็นศูนย์กลางทางการเมือง วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ[9] คาบูลเป็นหนึ่งในเมืองที่มีการกลายเป็นเมืองเร็วที่สุดในโลก และในปี 2012 คาบูลมีฐานะเป็นเมืองใหญ่ที่สุดของโลกอันดับที่ 75[10]

คาบูลตั้งอยู่บนท่องเขาแคบ ๆ ระหว่างเทือกเขาฮินดูกูช คาบูลตั้งอยู่บนความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,790 เมตร (5,873 ฟุต) นับเป็นหนึ่งในเมืองหลวงที่ตั้งอยู่สูงที่สุดในโลก กล่าวกันว่าคาบูลมีอายุเก่าแก่มากกว่า 3,500 ปี มีปรากฏชื่อของคาบูลย้อนกลับไปอย่างน้อยในสมัยของจักรวรรดิอาเคียเมนิด คาบูลเป็นทางตัดระหว่างเมืองใหญ่ ๆ ในทวีปเอเชีย ที่ตั้งของคาบูลอยู่ตรงประมาณกึ่งกลางระหว่างอิสตันบูลในตุรกีกับประมาณกรุงเทพมหานครในไทยหรือฮานอยในเวียดนาม จึงเป็นสถานที่ทางยุทธศาสตร์ในการขนส่งเดินทางระหว่างเอเชียใต้กับเอเชียกลาง และถือเป็นสถานที่สำคัญในเส้นทางสายไหมโบราณ[11] ในเวลาถัดมาคาบูลตกอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรต่าง ๆ ทั้งเซลีวคิด, เมารยะ, กูชัน, กาบูลชาฮี, ซัฟฟาริด, ซามานิด, ฆัซนาวิด, ฆูริด, ควาราซ, การ์ลูฆิด, ขาลจี, ตีมูริด, โมกุล และ โฮตัก และท้ายที่สุดเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิดูร์รานี (รู้จักในชื่อ "จักรวรรดิอัฟกัน") ในปี 1747[12] คาบูลกลายเป็นเมืองหลวงของอัฟกานิสถานในปี 1776 ภายใต้รัชสมัยของตีมูร์ ชาห์ ดูร์รานี พระบุตรของอาห์เมด ชาห์ ดูร์รานี

ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 บริติชราชได้เข้าปกครองเมือง แต่ภายหลังการตัดตั้งความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการระหว่างอัฟกันและบริเตน บริเตนก็ได้ถอดกองกำลังทั้งหมดออกจากเมือง คาบูลเปลี่ยนมาอยู่ใต้การปกครองของสหภาพโซเวียตในปี 1979 จนถึงปี 1988 ที่ซึ่งมีการลงนามในข้อตกลงเจนีวา ต่อมาในปี 1992–1996 ได้เกิดสงครามกลางเมืองอัฟกันขึ้น ส่งผลให้เมืองถูกทำลายอย่างหนัก และมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก[13] นับตั้งแต่ปลายปี 2001 คาบูลค่อย ๆ ถูกสร้างขึ้นใหม่อยู่ตลอด[14]

คาบูลเป็นที่รู้จักจากสวน, บะซาร์ และ วังต่าง ๆ ที่สวยงามอยู่ทั่วเมือง[15][16][17] ตัวอย่างสถานที่สำคัญเช่น หมู่สวนบาบูร์ ปละ วังดารุลอะมาน ในอดีตคาบูลยังเคยเป็นเสมือนเมกกะ (ศูนย์รวม) ของบรรดาชาวฮิปปี้หนุ่มสาวจากตะวันตก[18][19] ถึงแม้คาบูลจะตกอยู่ภายใต้การโจมตีและก่อการร้ายหลายครั้งโดยตาลีบันเป็นหลักอยู่ตลอด ๆ แต่คาบูลก็ยังคงมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลาและขึ้นเป็นเมืองที่มีการเติบโตเร็วที่สุดอันดับห้าของโลกในปี 2012[20][21]

เมืองพี่น้อง

อ้างอิง

  1. Bumiller, Elisabeth (17 ตุลาคม 2009). "Remembering Afghanistan's Golden Age". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 สิงหาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2021.
  2. "Kabul Residents, Visitors Recall Capital's Golden Era Before Conflict". RFE/RL. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 สิงหาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2021.
  3. 3.0 3.1 "Estimated Population of Afghanistan 2021-22" (PDF). National Statistic and Information Authority (NSIA). เมษายน 2021. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 24 มิถุนายน 2021. สืบค้นเมื่อ 21 มิถุนายน 2021.
  4. Hanifi, Shah Mahmoud. p. 185. Connecting Histories in Afghanistan: Market Relations and State Formation on a Colonial Frontier เก็บถาวร 15 สิงหาคม 2021 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Stanford University Press, 2011.
  5. "د اسلامي امارت په تشکیلاتو کې نوي کسان پر دندو وګومارل شول". باختر خبری آژانس. 4 ตุลาคม 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2021. สืบค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2021.
  6. "2003 National Geographic Population Map" (PDF). Thomas Gouttierre, Center For Afghanistan Studies, University of Nebraska at Omaha; Matthew S. Baker, Stratfor. National Geographic Society. พฤศจิกายน 2003. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 12 กันยายน 2017. สืบค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2010.
  7. "Population of Cities in Afghanistan (2021)". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2020. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2021.
  8. "Population of Cities in Afghanistan". World Population Review. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-08. สืบค้นเมื่อ 2020-09-09.
  9. Foschini, Fabrizio (เมษายน 2017). "Kabul and the challenge of dwindling foreign aid" (PDF). Peaceworks. No. 126. United States Institute of Peace. ISBN 978-1-60127-641-4. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 9 มิถุนายน 2020. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2021 – โดยทาง ETH Zurich.
  10. "Largest cities in the world and their mayors – 1 to 150". City Mayors. 17 พฤษภาคม 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 สิงหาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2012.
  11. "Afghanistan: The Heart of Silk Road in Asia". thediplomat.com. สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2019.
  12. Nancy Hatch Dupree / Aḥmad ʻAlī Kuhzād (1972). "An Historical Guide to Kabul – The Story of Kabul". American International School of Kabul. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 สิงหาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2010.
  13. "History of Kabul". Lonely Planet. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 เมษายน 2019. สืบค้นเมื่อ 27 พฤษภาคม 2013.
  14. Bergen, Peter (4 มีนาคม 2013). "What Went Right?". foreignpolicy.com. สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2019.
  15. Gopalakrishnan, Raju (16 เมษายน 2007). "Once called paradise, now Kabul struggles to cope". Reuters.
  16. Abdul Zuhoor Qayomi. "Kabul City: Isn't just capital of Afghanistan but of palaces as well - Afghanistan Times". Afghanistan Times.
  17. Sayed A Azimi. "Reversing Kabul's Environmental Setbacks". www.linkedin.com (ภาษาอังกฤษ).
  18. Dateline Mongolia: An American Journalist in Nomad's Land by Michael Kohn
  19. Fritz Orter. "Mein Kabul". OTS.at (ภาษาเยอรมัน). ORF-Reporterlegende Fritz Orter präsentiert im "Weltjournal" "seine Stadt" – am 31. August um 22.30 Uhr in ORF 2
  20. "World's fastest growing urban areas (1)". City Mayors. 17 พฤษภาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2012.
  21. "Kabul: A City With 2 Faces". thediplomat.com. สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2019.
  22. "Sister Cities of Ankara". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 ธันวาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2016.
  23. "Sister Cities of Istanbul". Greater Istanbul. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 มกราคม 2010. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2015.
  24. Cultures and Globalization: Cities, Cultural Policy and Governance by Helmut K Anheier, p.376
  25. "Cities in Afghanistan and Nebraska forge "sister cities" partnership - Afghanistan". ReliefWeb (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 เมษายน 2019. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2018.
  26. "Deputy Mayor of Kabul Signs Sister Cities Friendship Agreement with Kansas City, Missouri ::: Embassy of Afghanistan". www.afghanembassy.us. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 เมษายน 2019. สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2019.

อ่านเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

Wikiquote
Wikiquote
วิกิคำคมภาษาอังกฤษ มีคำคมที่กล่าวโดย หรือเกี่ยวกับ: Kabul