กลาส-ยัน ฮึนเตอลาร์
ข้อมูลส่วนตัว | |||
---|---|---|---|
ชื่อเต็ม | ดีร์ก กลาส ยัน ฮึนเตอลาร์[1] | ||
วันเกิด | 12 สิงหาคม ค.ศ. 1983 | ||
สถานที่เกิด | โฟร์-แดร็มปต์, อัคเตอร์ฮุก, เนเธอร์แลนด์ | ||
ส่วนสูง | 1.86 ม. | ||
ตำแหน่ง | กองหน้าตัวเป้า | ||
สโมสรเยาวชน | |||
1988–1994 | เฟ.เฟ. ฮา. เอน กา. | ||
1994–2000 | เดอคราฟสคัป | ||
2000–2002 | เปเอสเฟ ไอนด์โฮเฟิน | ||
สโมสรอาชีพ* | |||
ปี | ทีม | ลงเล่น | (ประตู) |
2002–2004 | เปเอสเฟ ไอนด์โฮเฟิน | 1 | (0) |
2003 | → เดอคราฟสคัป (ยืมตัว) | 9 | (0) |
2003–2004 | → อาเคโอเฟเฟ อาเปิลโดร์น (ยืมตัว) | 35 | (26) |
2004–2006 | เฮเรินเฟน | 46 | (33) |
2006–2008 | อาเอฟเซ อายักซ์ | 92 | (76) |
2009 | เรอัลมาดริด | 20 | (8) |
2009–2010 | เอซี มิลาน | 25 | (7) |
2010–2017 | ชัลเคอ 04 | 175 | (82) |
2017–2021 | อายักซ์ | 85 | (45) |
2021 | ชัลเคอ 04 | 9 | (2) |
ทีมชาติ‡ | |||
2002–2006 | เนเธอร์แลนด์ อายุไม่เกิน 21 ปี | 23 | (18) |
2006–2015 | เนเธอร์แลนด์ | 76 | (42) |
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 7 มีนาคม 2021 ‡ ข้อมูลการลงเล่นและประตูให้แก่ทีมชาติล่าสุด ณ วันที่ 13 ตุลาคม 2015 |
ดีร์ก กลาส ยัน "กลาส-ยัน" ฮึนเตอลาร์ (ดัตช์: Dirk Klaas Jan "Klaas-Jan" Huntelaar, ออกเสียง: [ˈɦʏn.tə.ˌlaːr] ; 12 สิงหาคม ค.ศ. 1983 — ) มีชื่อเล่นคือ เดอะฮันเตอร์ (The Hunter)[2] เป็นนักฟุตบอลชาวดัตช์ ฮึนเตอลาร์เป็นกองหน้าที่ถือว่าเก่งและมีการจบสกอร์ได้เฉียบคม[3] ด้วยเทคนิคอันยอดเยี่ยมและมีทักษะที่ดี[4] และรูปแบบการเล่นของเขามีความคล้ายคลึงกับมาร์โก ฟัน บัสเติน[5] และรืด ฟัน นิสเติลโรย[6] ลูวี ฟัน คาล (Louis van Gaal) ผู้จัดการทีมชาวดัตช์ในปัจจุบันและอดีตผู้จัดการทีมบาร์เซโลนาและบาเยิร์นมิวนิกได้ออกมาพูดถึงแนวการเล่นของเขาว่า "ตราบใดเมื่ออยู่ในพื้นที่เขตโทษ เขาจะเป็นนักเตะที่เก่งสุดในโลก ไม่มีผู้ใดมาจัดการเขาได้"[2]
เขาได้รับรางวัลนักฟุตบอลชาวดัตช์ยอดเยี่ยมประจำปีและ "ผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำปี" ของอายักซ์ในปี ค.ศ. 2006 ฮึนเตอลาร์เป็นหนึ่งในผู้เล่นชาวดัตช์ที่ได้รับรางวัลฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป ยู-21 ปี 2006 ซึ่งเขาก็ได้ทำไปสองประตูในการแข่งขัน เขาเป็นหนึ่งในผู้เล่นชาวดัตช์ที่ติดชื่อในทีมยูฟ่าประจำทัวร์นาเมนต์ เขาเป็นผู้เล่นที่ทำประตูสูงสุดในทีมชาติเนเธอร์แลนด์ชุดยู-21 ยิงไป 18 ประตู จาก 22 นัด[2]ในการแข่งขันภายในประเทศ เขาได้เป็นดาวซัลโวสูงสุดในลีกเอเรอดีวีซีในฤดูกาล 2005-06 และ 2007-08 ซึ่งเขาเล่นให้กับเปเอสเฟ, เดอคราฟสคัป, อาเคโอเฟเฟ อาเปิลโดร์น, เฮเรินเฟน, อายักซ์, เรอัลมาดริด และเอซีมิลาน[7] ก่อนที่จะมาทำสัญญากับชัลเคอในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2010 และผลงานล่าสุดเขาเป็นดาวซัลโวสูงสุดของบุนเดิสลีกา ฤดูกาล 2011-12 ด้วยการทำประตูไป 29 ประตูในลีก
ชีวิตส่วนตัว
ฮึนเตอลาร์ เกิดในหมู่บ้านโฟร์-แดร็มปต์ เขตอัคเตอร์ฮุก ประเทศเนเธอร์แลนด์ แต่ก็ย้ายไปอยู่ที่หมู่บ้านฮึมเมอโลเมื่อเขาอายุได้หกปี[8] เขาอาศัยอยู่กับคุณพ่อคุณแม่ของเขา ดีร์ก-ยัน และเมาด์ ฮึนเตอลาร์ กับพี่ชายอีกสองคนคือนีกและแย็ลเลอ[8] ฮึนเตอลาร์ได้มีความสัมพันธ์กับเพื่อนหญิงของเขาที่ชื่อ มัดดี สโคลเดอร์มัน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000[9]เมื่อวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 2009 ทั้งคู่มีลูกชายคนแรกของพวกเขา โดยมีชื่อว่า เซบ[9] และวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 2011 ทั้งคู่ก็ได้มีลูกชายคนที่สองที่มีชื่อว่า อักเซิล[10]
ชีวิตช่วงแรก
เมื่อตอนอายุ 15 ปี ฮึนเตอลาร์พร้อมกับพี่ชายสองคนของเขาเข้าร่วมทีมฟุตบอลท้องถิ่น เฟ.เฟ. ฮา. เอน กา. (v.v. H. en K.) ที่เขาเล่นเป็นเวลาหกปีที่ผ่านมา[8] เขาเป็นนักเตะชื่อดังที่มีพรสวรรค์และเล่นได้เก่งในชุดทีมเยาวชน ซึ่งก็มีแมวมองแอบจับตาดูการเล่นของฮึนเตอลาร์อยู่หลายทีม
ไม่นานหลังจากนั้น เขาก็ได้เข้าเป็นสมาชิกชุดเยาวชนของเดอคราฟสคัป และวันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 1994 เขาทำสัญญาเยาวชนครั้งแรกของเขาเมื่ออายุ 11 ปี[8] ในช่วงปีแรกและปีที่สองของเขากับเดอคราฟสคัป ฮึนเตอลาร์เล่นในตำแหน่งต่าง ๆ รวมทั้งปีกซ้ายซึ่งจะโจมตีทั้งกองหลังกับแบ็กซ้ายและผู้รักษาประตู และในปีที่สามเขาก็ได้ผลักดันตัวเองให้ไปเล่นในตำแหน่งกองหน้าได้สำเร็จ[8]
ในฤดูกาล 1997-1998 ฮึนเตอลาร์ในวัย 14 ปี เป็นกองหน้าตัวหลังของทีมเดอคราฟสคัปในชุดซีของสโมสร ซึ่งเขาทำประตูไปได้ 33 ประตู ใน 20 เกม[8] ในฤดูกาลต่อมาเขาได้เลื่อตำแหน่งให้ไปอยู่ในชุดบีวันของสโมสรและในฤดูกาล 1999-2000 เขาได้เป็นคนทำประตูสูงสุดในทีมชุดบีวันลีกรวมทั้งหมด 31 ประตู[8] ความสามารถในการยิงประตูสูงสุดของเขาทำให้เป็นที่สนใจของเปเอสเฟ ไอนด์โฮเฟิน ซึ่งภายหลังทำสัญญากับเขาในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2000
ฟุตบอลสโมสร
เปเอสเฟ
ในฤดูกาลแรกของเขากับเปเอสเฟ ไอนด์โฮเฟิน ฮึนเตอลาร์สามารถปรับตัวการเล่นให้กับเปเอสเฟได้อย่างรวดเร็วและทำประตูได้แม่นยำให้กับทีมเยาวชนของเขาในเอวันลีก ภายใต้การคุมทีมของวิลลี ฟัน เดอร์เกยเลิน[11] ด้วยการทำประตูไป 26 ประตู ใน 23 เกม จึงทำให้เขาได้เป็นดาวซัลโวของทีมลีกเยาวชน[8] ในฤดูกาลที่สองของเขากับเปเอสเฟ ฮึนเตอลาร์ที่ได้มีรายชื่อลงเล่นในเกมแรกของเขาในวันที่ 23 พฤศจิกายน ค.ศ. 2002 ภายใต้การคุมทีมของคืส ฮิดดิงก์ ซึ่งเปเอสเฟบุกไปชนะแอร์เบเซ โรเซินดาล ไป 0-3 ในเกมเยือนโดยเขาได้มีส่วนในการจ่ายบอลให้มาเทยา เคชมัน ในช่วงครึ่งทำประตูได้ในนาทีที่ 76[12] และมีข่าวว่าเขาถูกแมวมองของทีมในลีกดัตช์จับตามองอยู่หลายทีม
เดอคราฟสคัป
เมื่อเริ่มปี 2003 เป็นที่ชัดเจนว่า ฮึนเตอลาร์เริ่มกลายเป็นตัวสำรองบ่อยขึ้นและหลุดจากตำแหน่งไปหลายนัด[13][14] ดังนั้นเขาจึงถูกทีมเดอคราฟสคัป (สโมสรที่ลุงของเขาเป็นผู้อำนวยการด้านการเงิน) ยืมตัวไปหนึ่งฤดูกาล[15] เขาเปิดตัวในเกมนัดแรกในสีเสื้อของเดอคราฟสคัปในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2003 ซึ่งในครึ่งแรกเป็นตัวสำรอง แต่ครึ่งหลังลงมาแทนฮันส์ ฟัน เดอฮาร์ ในนัดที่พบกับโรเซินดาล[16] เขาได้ลงเล่นเป็นตัวจริงนัดแรกในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2003 ในนัดที่เดอคราฟสคัปแพ้เอสเซ เฮเรินเฟน ไป 1-5[17] จากนั้นเขาก็ปรากฏตัวในนัดสุดท้ายของเขากับเดอคราฟสคัปในวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 2003 ซึ่งเดอคราฟสคัปแพ้สโมสรฟุตบอลสโวลเลอ 2-1 ซึ่งทำให้เดอคราฟสคัปตกชั้นจากเอเรอดีวีซี[18] ในการแข่งขันทั้งหมดบนลีกเอเรอดีวีซี ฮึนเตอลาร์ได้ลงเล่นเพียงเก้านัด ได้ลงตัวจริงหนึ่งนัดและเป็นตัวสำรองอีกแปดนัด และไม่สามารถทำประตูให้กับเดอกราฟสคัปได้ จึงตัดสินใจไม่ขยายสัญญาการยืมตัวของตน[19]
อาเคโอเฟเฟ
เมื่อเริ่มต้นฤดูกาล 2003-04 ฮึนเตอลาร์ถูกยืมตัวไปอยู่กับทีมอาเคโอเฟเฟ อาเปิลโดร์น ทีมในลีกเอร์สเตอดีวีซี ที่อยู่ภายใต้การคุมทีมของยืร์รี โกลโฮฟ[20] เขาเริ่มต้นได้ดีในการทำประตูนัดแรกของเขาในการเล่นให้กับอาเคโอเฟเฟในนัดที่เจอกับโตป โอสส์[21] และทำแฮตทริกในเกมลีกนัดที่สองในเกมที่พบกับเฮราเกลสอัลเมอโล[22] ฮึนเตอลาร์ทำประตูไป 26 ประตู จากเกมทั้งหมดในลีก 35 เกม เมื่อจบฤดูกาล เขาเป็นผู้ทำประตูสูงสุดของลีกดิวิชัน และเขายังมีชื่อติดหนึ่งใน "นักเตะยอดเยี่ยมประจำฤดูกาลของลีกเอร์สเตอดีวีซี" อีกด้วย[23]
เฮเรินเฟน
เมื่อเล่นจบฤดูกาลของการยืมตัวจากอาเคโอเฟเฟ ฮึนเตอลาร์ได้ยกเลิกสัญญากับเปเอสเฟ[24] แล้วได้ย้ายไปทำสัญญากับเอสเซ เฮเรินเฟน สโมสรจากจังหวัดฟรีสแลนด์[25] ฮึนเตอลาร์ได้เริ่มเล่นตั้งแต่ฤดูกาล 2004-05 แล้วทำประตูให้กับเฮเรินเฟนได้ในนัดที่พบกับอาเซต อัลก์มาร์ และเขาสามารถทำประตูได้ 10 ประตู จากการลงเล่นทั้งหมด 17 นัดในช่วงพักฤดูหนาว เมื่อจบฤดูกาล 2004-05 ฮุนเตลาร์ทำประตูได้ทั้งหมด 17 ประตู จากการลงเล่นทั้งหมด 31 นัด และเขายังมีส่วนสำคัญที่ทำให้เฮเรินเฟนได้เข้าสู่รอบคัดเลือกของยูฟ่าคัพในฤดูกาล 2005-06
สถิติการลงเล่น
- ข้อมูลเมื่อ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 2013[update]
สโมสรที่ลงเล่น | ลีก | คัพ | ทวีป | รวม | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ลีก | สโมสร | ฤดูกาล | ลงเล่น | ประตู | ลงเล่น | ประตู | ลงเล่น | ประตู | ลงเล่น | ประตู |
เนเธอร์แลนด์ | ลีก | ดัตช์คัพ | ยุโรป | รวม | ||||||
เอเรอดีวีซี | เปเอสเฟ ไอนด์โฮเฟิน | 2002–03 | 1 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 1 | 0 |
เดอคราฟสคัป | 9 | 0 | 0 | 0 | – | 9 | 0 | |||
เอร์สเตอดีวีซี | อาเคโอเฟเฟ อาเปิลโดร์น | 2003–04 | 35 | 26 | 2 | 1 | – | 37 | 27 | |
เอเรอดีวีซี | เอสเซ เฮเรินเฟน | 2004–05 | 31 | 16 | 1 | 0 | 7 | 3 | 39 | 19 |
2005–06 | 15 | 17 | 1 | 1 | 7 | 3 | 23 | 21 | ||
อายักซ์ | 16 | 16 | 7 | 7 | 2 | 1 | 25 | 24 | ||
2006–07 | 32 | 21 | 10 | 6 | 9 | 9 | 51 | 36 | ||
2007–08 | 34 | 33 | 7 | 1 | 4 | 2 | 45 | 36 | ||
2008–09 | 10 | 6 | 1 | 1 | 4 | 2 | 15 | 9 | ||
สเปน | ลีก | โกปาเดลเรย์ | ยุโรป | รวม | ||||||
ลาลิกา | เรอัลมาดริด | 2008–09 | 20 | 8 | 0 | 0 | 0 | 0 | 20 | 8 |
อิตาลี | ลีก | โกปปาอีตาเลีย | ยุโรป | รวม | ||||||
เซเรียอา | เอซีมิลาน | 2009–10 | 25 | 7 | 2 | 0 | 3 | 0 | 30 | 7 |
เยอรมนี | League | เดเอ็ฟเบ-โพคาล | ยุโรป | รวม | ||||||
บุนเดิสลีกา | ชัลเคอ 04 | 2010–11 | 24 | 8 | 3 | 2 | 8 | 3 | 35 | 13 |
2011–12 | 32 | 29 | 4 | 5 | 12 | 14 | 48 | 48 | ||
2012–13 | 26 | 10 | 2 | 2 | 7 | 4 | 35 | 16 | ||
รวมทั้งหมด | เนเธอร์แลนด์ | 183 | 135 | 29 | 17 | 33 | 20 | 246 | 172 | |
สเปน | 20 | 8 | 0 | 0 | 0 | 0 | 20 | 8 | ||
อิตาลี | 25 | 7 | 2 | 0 | 3 | 0 | 30 | 7 | ||
เยอรมนี | 82 | 47 | 9 | 9 | 27 | 21 | 117 | 77 | ||
รวมทุกสโมสร | 309 | 197 | 40 | 26 | 63 | 41 | 411 | 264 |
ประตูในนามทีมชาติ
ประตู | วันที่ | สถานที่ | คู่แข่ง | สกอร์ | ผล | รายการ |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | 16 สิงหาคม 2006 | แลนส์ดาวน์โรด, ดับลิน, ไอร์แลนด์ | สาธารณรัฐไอร์แลนด์ | 0–1 | 0–4 | กระชับมิตร |
2 | 16 สิงหาคม 2006 | แลนส์ดาวน์โรด, ดับลิน, ไอร์แลนด์ | สาธารณรัฐไอร์แลนด์ | 0–3 | 0–4 | กระชับมิตร |
3 | 17 ตุลาคม 2007 | ฟีลิปส์สตาดีโยน, ไอนด์โฮเฟิน, เนเธอร์แลนด์ | สโลวีเนีย | 2–0 | 2–0 | ยูโร 2008 รอบคัดเลือก |
4 | 6 กุมภาพันธ์ 2008 | สนามกีฬาพอลียุด, สปลิต, โครเอเชีย | โครเอเชีย | 0–2 | 0–3 | กระชับมิตร |
5 | 26 มีนาคม 2008 | แอนสท์-ฮัพเพิล-ชตาดีโยน, เวียนนา, ออสเตรีย | ออสเตรีย | 3–1 | 3–4 | กระชับมิตร |
6 | 26 มีนาคม 2008 | แอนสท์-ฮัพเพิล-ชตาดีโยน, เวียนนา, ออสเตรีย | ออสเตรีย | 3–4 | 3–4 | กระชับมิตร |
7 | 24 พฤษภาคม 2008 | เดอเกยป์, โรตเตอร์ดัม, เนเธอร์แลนด์ | ยูเครน | 2–0 | 3–0 | กระชับมิตร |
8 | 17 มิถุนายน 2008 | สตาดเดอซุอิส, แบร์น, สวิตเซอร์แลนด์ | โรมาเนีย | 1–0 | 2–0 | ยูโร 2008 |
9 | 6 กันยายน 2008 | ฟีลิปส์สตาดีโยน, ไอนด์โฮเฟิน, เนเธอร์แลนด์ | ออสเตรเลีย | 1–0 | 1–2 | กระชับมิตร |
10 | 11 ตุลาคม 2008 | เดอเกยป์, โรตเตอร์ดัม, เนเธอร์แลนด์ | ไอซ์แลนด์ | 2–0 | 2–0 | ฟุตบอลโลก 2010 รอบคัดเลือก |
11 | 11 กุมภาพันธ์ 2009 | สนามกีฬา 7 พฤศจิกายน, ราแด็ส, ตูนิเซีย | ตูนิเซีย | 0–1 | 1–1 | กระชับมิตร |
12 | 28 มีนาคม 2009 | อัมสเตอร์ดัมอาเรนา, เนเธอร์แลนด์ | สกอตแลนด์ | 1–0 | 3–0 | ฟุตบอลโลก 2010 รอบคัดเลือก |
13 | 1 เมษายน 2009 | อัมสเตอร์ดัมอาเรนา, เนเธอร์แลนด์ | มาซิโดเนีย | 2–0 | 4–0 | ฟุตบอลโลก 2010 รอบคัดเลือก |
14 | 5 กันยายน 2009 | เดอโครลส์แฟ็สเตอ, เนเธอร์แลนด์ | ญี่ปุ่น | 3–0 | 3–0 | กระชับมิตร |
15 | 3 มีนาคม 2010 | อัมสเตอร์ดัมอาเรนา, เนเธอร์แลนด์ | สหรัฐ | 2–0 | 2–1 | กระชับมิตร |
16 | 24 มิถุนายน 2010 | สนามกีฬาเคปทาวน์, แอฟริกาใต้ | แคเมอรูน | 2–1 | 2–1 | ฟุตบอลโลก 2010 |
17 | 3 กันยายน 2010 | สตาดีโอโอลิมปีโก, แซร์ราวัลเล, ซานมารีโน | ซานมารีโน | 2–0 | 5–0 | ยูโร 2012 รอบคัดเลือก |
18 | 3 กันยายน 2010 | สตาดีโอโอลิมปีโก, แซร์ราวัลเล, ซานมารีโน | ซานมารีโน | 3–0 | 5–0 | ยูโร 2012 รอบคัดเลือก |
19 | 3 กันยายน 2010 | สตาดีโอโอลิมปีโก, แซร์ราวัลเล, ซานมารีโน | ซานมารีโน | 4–0 | 5–0 | ยูโร 2012 รอบคัดเลือก |
20 | 7 กันยายน 2010 | เดอเกยป์, โรตเตอร์ดัม, เนเธอร์แลนด์ | ฟินแลนด์ | 1–0 | 2–1 | ยูโร 2012 รอบคัดเลือก |
21 | 7 กันยายน 2010 | เดอเกยป์, โรตเตอร์ดัม, เนเธอร์แลนด์ | ฟินแลนด์ | 2–0 | 2–1 | ยูโร 2012 รอบคัดเลือก |
22 | 8 ตุลาคม 2010 | สนามกีฬาซิมบรู, คีชีเนา, มอลโดวา | มอลโดวา | 0–1 | 0–1 | ยูโร 2012 รอบคัดเลือก |
23 | 12 ตุลาคม 2010 | อัมสเตอร์ดัมอาเรนา, อัมสเตอร์ดัม, เนเธอร์แลนด์ | สวีเดน | 1–0 | 4–1 | ยูโร 2012 รอบคัดเลือก |
24 | 12 ตุลาคม 2010 | อัมสเตอร์ดัมอาเรนา, อัมสเตอร์ดัม, เนเธอร์แลนด์ | สวีเดน | 3–0 | 4–1 | ยูโร 2012 รอบคัดเลือก |
25 | 17 พฤศจิกายน 2010 | อัมสเตอร์ดัมอาเรนา, อัมสเตอร์ดัม, เนเธอร์แลนด์ | ตุรกี | 1–0 | 1–0 | กระชับมิตร |
26 | 9 กุมภาพันธ์ 2011 | ฟีลิปส์สตาดีโยน, ไอนด์โฮเฟิน, เนเธอร์แลนด์ | ออสเตรีย | 2–0 | 3–1 | กระชับมิตร |
27 | 2 กันยายน 2011 | ฟีลิปส์สตาดีโยน, ไอนด์โฮเฟิน, เนเธอร์แลนด์ | ซานมารีโน | 5–0 | 11–0 | ยูโร 2012 รอบคัดเลือก |
28 | 2 กันยายน 2011 | ฟีลิปส์สตาดีโยน, ไอนด์โฮเฟิน, เนเธอร์แลนด์ | ซานมารีโน | 8–0 | 11–0 | ยูโร 2012 รอบคัดเลือก |
29 | 7 ตุลาคม 2011 | เดอเกยป์, โรตเตอร์ดัม, เนเธอร์แลนด์ | มอลโดวา | 1–0 | 1–0 | ยูโร 2012 รอบคัดเลือก |
30 | 11 ตุลาคม 2011 | Råsunda Stadium, Solna, สวีเดน | สวีเดน | 1–1 | 3–2 | ยูโร 2012 รอบคัดเลือก |
31 | 29 กุมภาพันธ์ 2012 | สนามกีฬาเวมบลีย์, ลอนดอน, อังกฤษ | อังกฤษ | 0–2 | 2–3 | กระชับมิตร |
32 | 15 สิงหาคม 2012 | สนามกีฬาพระเจ้าโบดวง, บรัสเซลส์, เบลเยียม | เบลเยียม | 1–2 | 4–2 | กระชับมิตร |
33 | 12 กันยายน 2012 | สนามกีฬาเฟเรนตส์ ปุชกาช, บูดาเปสต์, ฮังการี | ฮังการี | 1–4 | 1–4 | ฟุตบอลโลก 2014 รอบคัดเลือก |
34 | 12 ตุลาคม 2012 | เดอเกยป์, โรตเตอร์ดัม, เนเธอร์แลนด์ | อันดอร์รา | 2–0 | 3–0 | ฟุตบอลโลก 2014 รอบคัดเลือก |
35 | 29 มิถุนายน 2014 | Estádio Castelão, โฟร์ตาเลซา บราซิล | เม็กซิโก | 2–1 | 2–1 | ฟุตบอลโลก 2014 |
36 | 10 ตุลาคม 2014 | Amsterdam Arena, อัมสเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์ | คาซัคสถาน | 1–1 | 3–1 | ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016 รอบคัดเลือก |
37 | 16 พฤศจิกายน 2014 | Amsterdam Arena, อัมสเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์ | ลัตเวีย | 3–0 | 6–0 | |
38 | 6–0 | |||||
39 | 28 มีนาคม 2015 | Amsterdam Arena, อัมสเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์ | ตุรกี | 1–1 | 1–1 | |
40 | 5 มิถุนายน 2015 | Amsterdam Arena, อัมสเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์ | สหรัฐ | 1–0 | 3–4 | กระชับมิตร |
41 | 2–1 | |||||
42 | 13 ตุลาคม 2015 | Amsterdam Arena, อัมสเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์ | เช็กเกีย | 1–3 | 2–3 | ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016 รอบคัดเลือก |
อ้างอิง
- ↑ "FIFA World Cup South Africa 2010 – List of Players" (PDF). Fédération Internationale de Football Association (FIFA). p. 20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-05-17. สืบค้นเมื่อ 25 July 2013.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Harris, Nick (28 March 2009). "Huntelaar, the new Dutch goal machine". London: The Independent. สืบค้นเมื่อ 28 March 2009.
- ↑ "Huntelaar swaps Madrid for Milan". UEFA.com. 7 August 2009. สืบค้นเมื่อ 7 August 2009.
- ↑ "The Hunter's pursuit of excellence". FIFA.com. 23 January 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-09. สืบค้นเมื่อ 7 April 2008.
- ↑ "Huntelaar follows Van Basten". UEFA.com. 4 April 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-07. สืบค้นเมื่อ 7 April 2008.
- ↑ Hodges, Vicki (11 January 2008). "Man United keen on Dutch striker Huntelaar". London: The Telegraph. สืบค้นเมื่อ 4 August 2009.
- ↑ "Real Madrid C.F. and AFC Ajax reach agreement for transfer of player". Realmadrid.com. 2 December 2008. สืบค้นเมื่อ 1 January 2009.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 8.5 8.6 8.7 "Biografie van Klaas-Jan Huntelaar" (ภาษาดัตช์). Official website of Klaas-Jan Huntelaar. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-02. สืบค้นเมื่อ 24 September 2007.
- ↑ 9.0 9.1 "Klaas-Jan Huntelaar vader" (ภาษาดัตช์). Telegraaf.nl. 9 April 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-10. สืบค้นเมื่อ 23 July 2010.
- ↑ "Vorzeitige Abreise wegen Axel: Klaas-Jan Huntelaar ist stolzer Papa" (ภาษาเยอรมัน). Schalke04.de. 20 July 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-13. สืบค้นเมื่อ 21 July 2011.
- ↑ Scholten, Berend (24 March 2006). "An original Dutch master". UEFA.com. สืบค้นเมื่อ 5 May 2011.
- ↑ "RBC Roosendaal" (ภาษาดัตช์). PSV Eindhoven. 23 November 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-02. สืบค้นเมื่อ 24 September 2007.
- ↑ "PSV looking to loan out kids". Sky Sports. 28 April 2003. สืบค้นเมื่อ 22 March 2009.
- ↑ "Huntelaar class shines through". UEFA.com. 13 January 2006. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-13. สืบค้นเมื่อ 15 October 2007.
- ↑ "De Graafschap herdenkt Cor Huntelaar groots" (ภาษาดัตช์). Soccernews.nl. 15 March 2008. สืบค้นเมื่อ 16 March 2008.
- ↑ "RBC Roosendaal – De Graafschap (1–0)" (ภาษาดัตช์). De Graafschap. 8 February 2003. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-13. สืบค้นเมื่อ 24 September 2007.
- ↑ "De Graafschap – SC Heerenveen (1–5)" (ภาษาดัตช์). De Graafschap. 16 February 2003. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-13. สืบค้นเมื่อ 24 September 2007.
- ↑ "FC Zwolle – De Graafschap (2–1)" (ภาษาดัตช์). De Graafschap. 29 May 2003. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-13. สืบค้นเมื่อ 24 September 2007.
- ↑ "De Graafschap ziet af van langer huren van Huntelaar" (ภาษาดัตช์). Sport1. 21 June 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-05. สืบค้นเมื่อ 24 September 2007.
- ↑ "Klaas-Jan Huntelaar profiel" (ภาษาดัตช์). NOS Studio Sport. 10 September 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-11. สืบค้นเมื่อ 24 September 2007.
- ↑ "AGOVV Club historie" (ภาษาดัตช์). AGOVV. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-12. สืบค้นเมื่อ 16 December 2007.
- ↑ "Eerste overwinning AGOVV" (ภาษาดัตช์). Sport1. 23 August 2003. สืบค้นเมื่อ 17 October 2007.
- ↑ "Huntelaar verkozen tot speler van het seizoen" (ภาษาดัตช์). Sport1. 2 June 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-05. สืบค้นเมื่อ 17 October 2007.
- ↑ "Classy Huntelaar thinking big". FIFA.com. 1 October 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-09. สืบค้นเมื่อ 19 October 2007.
- ↑ "Huntelaar delighted with move to Heerenveen". PSV. 22 June 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-29. สืบค้นเมื่อ 12 June 2011.
แหล่งข้อมูลอื่น
- เว็บไซต์ทางการ (ดัตช์)
- Klaas-Jan Huntelaar เก็บถาวร 2016-01-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at OnsOranje (ดัตช์)