กองทัพอากาศประเทศแมนจู

กองทัพอากาศจักรวรรดิแมนจู
飛行隊
Manchukuo Air Force pilots
นักบินของกองทัพอากาศแมนจู
ประจำการค.ศ. 1937–ค.ศ. 1945
ประเทศ ประเทศแมนจูกัว
บทบาทกองทัพอากาศ
กำลังรบประมาณ 35 ลำ
กองบัญชาการฉางชุน
สีหน่วยเหลือง,น้ำเงิน,ขาว
วันสถาปนา20 กันยายน (วันการบิน)
ปฏิบัติการสำคัญสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง
สงครามโลกครั้งที่สอง
ผู้บังคับบัญชา
จอมทัพจักรพรรดิผู่อี๋
เครื่องหมายสังกัด
สัญลักษณ์

กองทัพอากาศจักรวรรดิแมนจู (จีน: 飛行隊; พินอิน: Fēixíng Duì; อังกฤษ: Manchukuo Imperial Air Force) เป็นกองทัพอากาศของประเทศแมนจูซึ่งเป็นรัฐหุ่นเชิดของจักรวรรดิญี่ปุ่น โดยเป็นผู้เชี่ยวชาญของบริษัทการบินขนส่งแมนจูกัว (ช่วงหลังเปลี่ยนชื่อเป็นสายการบินแห่งชาติแมนจูกัว) โดยเป็นลักษณะทางทหาร ถูกก่อตั้งในปีค.ศ. 1931 โดยได้รับรองให้เป็นทั้งการขนส่งและการต่อต้านตามคำสั่งของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น

ประวัติ

ตั้งแต่ก่อตั้งประเทศแมนจูขึ้นในค.ศ. 1932 โดยช่วงแรกเรียกว่าสายการบินทางทหารแมนจู มีหน้าที่ในการขนส่งและเครื่องบินส่วนใหญ่เป็นเครื่องบินโดยสาร โดยมีเพียงการปฏิบัติการเพื่อสนับสนุน กองทัพมองโกเลียใน ในช่วงยุทธการซุยหยวนใน ค.ศ. 1936 โดยเป็น"กองพันอาสาอิสรภาพ" โดยมีเครื่องบิน 13 ลำเพื่อช่วยกองทัพมองโกเลียใน ในการขับไล่กองทัพจีนคณะชาติ ออกจากมณฑลซุยหยวน โดยกองทัพอากาศแมนจูยังไม่ถูกก่อตั้งอย่างเป็นทางการจนกระทั่ง กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1937 โดยมีทหารอาสา 30 คนจากกองทัพบกจักรวรรดิแมนจู ที่ถูกส่งไปฮาร์บิน เพื่อฝึก ในขั้นต้นผู้บัญชาการกองทัพคันโต ยังไม่เชื่อใจชาวแมนจูที่จะให้ก่อตั้งกองทัพอากาศเป็นของตนเอง ดังนั้นในช่วงต้นจึงยังมีนักบินญี่ปุ่นประจำการมาก[1]

โดยเริ่มต้นประจำการNieuport-Delage NiD 29โดยประจำการอยู่ที่ฉางชุน และมีการขยายและเพิ่มNakajima Army Type 91 FighterและKawasaki Type 88 เครื่องบินทิ้งระเบิดเบาและตั้งกองบินที่สองที่เฉิ่นหยาง และกองบินที่สามที่ฮาร์บิน ระหว่างค.ศ. 1938-39 และเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1940 ศูนย์บัญชาการของกองทัพอากาศก็ถูกก่อตั้งขึ้นที่ฉางชุน และญี่ปุ่นได้ตัดสินใจมอบอำนาจในการใช้กองทัพอย่างมีอิสระให้กับนักบินชาวแมนจูและการให้เครื่องบินที่ทันสมัยและโรงเรียนการบินก็ถูกตั้งขึ้นที่เฉิ่นหยาง โดยควบคู่ไปกับทหารและพลเรือนแต่ก็มีเหตุการณ์ที่ทำให้การพัฒนาต้องหยุดชะงักเมื่อนักบินชาวแมนจูก่อกบฏและไปเข้าร่วมกบฏหลังจากการสังหารอาจารย์ชาวญี่ปุ่นแต่กระนั้นโครงการพัฒนาก็ยังทำต่อไปและมีสามกองบินที่ถูกก่อตั้งในปีค.ศ. 1942[1]

ในช่วงปีค.ศ. 1940-45 กองทัพอากาศแมนจูได้รับการพัฒนาอย่างมากโดยได้รับ ครูฝึก,เครื่องบินขนส่งใหม่,เครื่องบินขับไล่ใหม่ โดยได้รับเครื่องบินขับไล่นากาจิมะ คิ-27 โดยได้เปิดตัวในวันการบิน 20 กันยายน ค.ศ. 1942 โดยได้รับเครื่องบินฝึกซ้อมTachikawa Ki-9และTachikawa Ki-55และได้รับเครื่องบินขนส่งMitsubishi Ki-57 มาบางส่วนซึ่งนำมาแปลงเป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดและยังได้รับเครื่องบินทิ้งระเบิดเบาKawasaki Ki-32 และได้รับเงินสนับสนุนในการดัดแปลงโดยบริษัทในแมนจูและการให้การสนับสนุนจากญี่ปุ่นโดยได้รับ นากาจิมะ คิ-43ในปีค.ศ. 1945และเป็นสิ่งที่ดีในการต่อต้านเครื่องบินทิ้งระเบิดโบอิง บี-29 ซูเปอร์ฟอร์เทรสโดยประมาณแล้วนักบินชาวแมนจูใช้เวลาประมาณ 20 นาทีเพื่อเตรียมตัวหลังจากการมาของเครื่องบินทิ้งระเบิดและไต่ระยะขึ้นไปถึง 7000 เมตรและมีบางลำที่ชนกันก่อนที่บี-29จะออกจากระยะไปและนักบินบางคนได้รับการฝึกแบบคามิคาเซะโดยมีรายงานว่าบี-29 ลำหนึ่งตกเพราะจากการชนกับเครื่องบิน Ki-27 และจากปฏิบัติการพายุสิงหาคมของสหภาพโซเวียต กองทัพแดง ในช่วงสิงหาคม ค.ศ. 1945 มีเครื่องบินหลายลำไม่สามารถออกรบได้และเกิดอุบัติเหตุในช่วงรบกับเครื่องบินโซเวียต

กองบินต่างๆ

มีสามกองบินที่ก่อตั้งในปีค.ศ. 1942 จากโรงเรียนการบิน ตามแบบฉบับของกองบิน โดยมีเจ้าหน้าที่ 11 คน,เจ้าหน้าที่ทั่วไป (ไม่ใช่ชั้นสัญญาบัตร) 12-14 คนและพนักงานทั่วไป 90 คน[1]

กองบินต่างๆในกองทัพอากาศช่วงปีค.ศ. 1941:[1]

  • กองบินที่ 1 (ชางชุน)
  • กองบินที่ 2 (มุกเดน)
  • กองบินที่ 3 (ฮาร์บิน)
  • หน่วยกองบินอิสระต๋องเลียว
  • โรงเรียนการบิน

เครื่องบินที่ประจำการ

อุตสาหกรรมการบินของประเทศแมนจูมีไม่มากนัก โดยสร้างเครื่องบินขับไล่รุ่น Nakajima Ki-27 ได้แต่ส่วนใหญ่ได้นำไปใช้ในกองกำลังพิเศษทางอากาศกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นและเหลือให้แค่บางส่วนเท่านั้น[1]

อากาศยาน ประเทศที่สร้าง ลักษณะ รุ่นที่พัฒนาต่อ เข้าประจำการ เหตุ
เครื่องบินที่ประจำการ
Nakajima Type 91  ญี่ปุ่น เครื่องบินขับไล่ II 1+
Nakajima Ki-27  ญี่ปุ่น เครื่องบินขับไล่ 12
Nakajima Ki-43  ญี่ปุ่น เครื่องบินขับไล่ 3 ประจำการในปีค.ศ. 1945
Nakajima LB-2  ญี่ปุ่น เครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดกลาง 1 ถูกดัดแปลงมาจากเครื่องบินโดยสาร
Kawasaki Ki-32  ญี่ปุ่น เครื่องบินทิ้งระเบิดเบา 1+
Kawasaki Type 88  ญี่ปุ่น เครื่องบินทิ้งระเบิดเบา 1+
Mitsubishi Ki-30  ญี่ปุ่น เครื่องบินทิ้งระเบิดเบา 1+
Mitsubishi Ki-21  ญี่ปุ่น เครื่องบินทิ้งระเบิด 6
2F BXN2 Gamma  สหรัฐอเมริกา เครื่องบินทิ้งระเบิด 2E 1
เครื่องบินขนส่ง
Tachikawa Ki-54  ญี่ปุ่น เครื่องบินขนส่ง 1+
เครื่องบินฝึก
Tachikawa Ki-9  ญี่ปุ่น เครื่องบินฝึก 6+
Tachikawa Ki-55  ญี่ปุ่น เครื่องบินฝึกผู้เชี่ยวชาญ 1+

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Jowett (2004), pp. 90–92

แหล่งข้อมูลอื่น