การนับระยะปลอดภัย

การนับระยะปลอดภัย
โอกาสของการการปฏิสนธิในจำนวนวันเทียบกับการตกไข่.[1]
ความรู้พื้นฐาน
ประเภทการคุมกำเนิดพฤติกรรม
เริ่มใช้ครั้งแรกคริสต์ทศวรรษ 1950 (มูกช่องคลอด)
คริสต์ทศวรรษ 1930 (อุณหภูมิร่างกายขณะพัก)
คริสต์ทศวรรษ 1930 (Knaus-Ogino)
โบราณ (ad hoc)
อัตราการล้มเหลว (ในปีแรกของการใช้)
เมื่อใช้อย่างถูกต้องSymptothermal method: 0.4%[2]
Ovulation method: 3%[2]
TwoDay method: 4%[2]
Standard Days method: 5%
เมื่อใช้แบบทั่วไป24%
การใช้
การย้อนกลับใช่
สิ่งที่ผู้ใช้ควรรู้ผู้ใช้ต้องทำตามระเบียบวิธีอย่างเคร่งครัด
ระยะการพบแพทย์ไม่มี
ข้อดีข้อเสีย
ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ไม่
ประจำเดือนเพิ่มประสิทธิภาพการทำนาย
ข้อดีไม่มีผลกระทบข้างเขียง, สามารถช่วยในการมีลูกหากต้องการ, พัฒนาตนเอง, พัฒนาความสัมพันธ์กับคู่ครอง

การนับระยะปลอดภัย (อังกฤษ: Fertility awareness, FA) หรือที่มักถูกเรียกว่า หน้า 7 หลัง 7 หมายถึงแนวการปฏิบัติที่ถูกใช้เพื่อบอกภาวะเจริญพันธุ์ในรอบประจำเดือนผู้หญิง วิธีการนับระยะปลอดภัยอาจใช้เพื่อหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์ เพื่อให้ตั้งครรภ์ หรือเพื่อเป็นวิธีประเมินสุขภาพทางนรีเวชวิทยา

วิธีระบุวันที่ไม่เจริญพันธุ์ถูกใช้มาแต่โบราณ ทว่าความรู้เชิงวิทยาศาสตร์ที่เพิ่มขึ้นในศตวรรษที่ผ่านมาได้เพิ่มจำนวนและรูปแบบวิธี

ระบบของการนับระยะปลอดภัยขึ้นอยู่กับการสังเกตความเปลี่ยนแปลงของสัญญาณการเจริญพันธุ์ขั้นต้น (อุณหภูมิร่างกายขณะพัก มูกช่องคลอด และตำแหน่งปากมดลูก), การนับเวลารอบประจำเดือน และใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อระบุช่วงเวลาเจริญพันธุ์ สัญญาณอื่นได้แก่อาการเต้านมคัดตึงและอาการปวดจากไข่ตก (mittelschmerz), การตรวจปัสสาวะโดยชุดทำนายการตกไข่, และตรวจน้ำลายหรือมูกช่องคลอดด้วยกล้องจุลทรรศน์ นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือเฝ้าดูภาวะเจริญพันธุ์ด้วยคอมพิวเตอร์

ความเป็นมา

การพัฒนาของวิธีอิงปฏิทิน

ไม่มีใครรู้ว่าการทำนายช่วงเจริญพันธุ์และไม่เจริญพันธุ์ของผู้หญิงถูกค้นพบเมื่อใด คัมภีร์ตัลมุดบันทึกว่าผู้หญิงสามารถตั้งท้องเฉพาะช่วงหนึ่งของเดือนเท่านั้นซึ่งน่าจะหมายถึงช่วงตกไข่ ใน พ.ศ. 931 ออกัสตินแห่งฮิปโปเขียนเกี่ยวกับการงดเป็นช่วง เพื่อหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์[3]

ใน พ.ศ. 2448 นักนรีเวชวิทยาชาวดัช Theodoor Hendrik van de Velde แสดงให้เห็นว่าผู้หญิงตกไข่เพียงหนึ่งครั้งต่อรอบประจำเดือน[4] ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1920 นักนรีเวชวิทยาชาวญี่ปุ่น Kyusaku Ogino และ Hermann Knaus ชาวออสเตรีย ต่างค้นพบว่าการตกไข่เกิดขึ้นประมาณ 14 วันก่อนประจำเดือนรอบต่อไป[5] Ogino ใช้การค้นพบของเขาเพื่อพัฒนาสูตรสำหรับช่วยเหลือผู้หญิงที่มีลูกยาก โดยให้คำนวนเวลาในการมีเพศสัมพันธ์เพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930 แพทย์โรมันคาทอลิกจากเนเธอร์แลนด์ ใช้การค้พบนี้เพื่อสร้างวิธีเพื่อหลีกเลี่ยง การตั้งครรภ์[5]

สัญญาณการเจริญพันธุ์

รอบประจำเดือนส่วนใหญ่มีสามช่วง ช่วงแรกเป็นช่วงไม่เจริญพันธุ์ (ก่อนการตกไข่) ตามมาด้วยช่วงเจริญพันธ์ และหลังจากนั้นจึงเป็นช่วงไม่เจริญพันธุ์อีกครั้งก่อนถึงรอบเดือนถัดไป (หลังการตกไข่) วันแรกที่มีประจำเดือนสีแดงนับเป็นวันแรกของรอบเดือน ระบบต่าง ๆ ของการนับระยะปลอดภัยใช้วิธีต่างกันเล็กน้อยเพื่อคำนวนวันเจริญพันธุ์โดยการใช้สัญญาณการเจริญพันธุ์, ประวัติของรอบเดือน, หรือใช้ทั้งสองอย่าง

สัญญาณการเจริญพันธุ์ขั้นต้น

สัญญาณการเจริญพันธุ์ขั้นต้นทั้งสามแบบได้แก่ อุณหภูมิร่างกายขณะพัก มูกช่องคลอด และฟ ผู้หญิงที่นับเวลาปลอดภัยโดยดูจากสัญญาณการเจริญพันธุ์อาจเลือกสังเกตหนึ่ง สอง หรือทั้งสามสัญญาณ ผู้หญิงหลายคนยังมีสัญญาณการเจริญพันธุ์ขั้นตามที่สัมพันธ์กับระยะในรอบประจำเดือน เช่น อาการปวดท้องและแน่นท้อง, ปวดหลัง, เต้านมคัดตึง, และอาการปวดจากไข่ตก

อุณหภูมิร่างกายขณะพัก

สิ่งนี้มักหมายถึงอุณหภูมิที่วัดตอนตื่นนอนตอนเช้า (หรือหลังการนอนที่นานที่สุดในวันนั้น) อุณหภูมิร่างกายขณะพักที่แท้จริงวัดได้จากการเฝ้าดูอุณหภูมิร่างกายอย่างต่อเนื่อง การตกไข่จะทำให้อุณหภูมิร่างกายขณะพักสูงขึ้นระหว่าง 0.2º ถึง 0.5 °C จนถึงประจำเดือนรอบต่อไป การเปลี่ยนแปลงนี้สามารถใช้เพื่อบอกช่วงไม่เจริญพันธุ์หลังการตกไข่

มูกช่องคลอด

ลักษณะของมูกช่องคลอดและความรู้สึกในช่องคลอดมักถูกใช้เพื่อบอกถึงสัญญาณเดียวกัน มูกช่องคลอด มูกช่องคลอดผลิตจากปากมดลูกที่เชื่อมต่อมดลูกกับช่องคลอด มูกช่องคลอดในระยะเจริญพันธุ์ช่วยให้ตัวอสุจิมีชีวิตอยู่นานขึ้นโดยการลดความเป็นกรดของช่องคลอด และยังช่วยนำทางตัวอสุจิผ่านช่องคลอดไปยังมดลูก การผลิตมูกช่องคลอดในระยะเจริญพันธุ์เกิดขึ้นจากฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งเป็นฮอร์โมนเดียวกับที่ทำให้ผู้หญิงตกไข่ ผู้หญิงสามารถสังเกตมูกช่องคลอดและความรู้สึกขณะมูกผ่านช่องคลอดเพื่อชี้เวลาที่ร่างกายกำลังเตรียมตัวตกไข่และเมื่อการตกไข่สิ้นสุด ขณะตกไข่การผลิตของเอสโตรเจนตกลงเล็กน้อยและการผลิตของโปรเจสเตอโรน (progesterone) สูงขึ้น ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางคุณลักษณะและปริมาณของมูกที่สังเกตได้ในช่องคลอด[6]

ตำแหน่งปากมดลูก

การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเดียวกันที่ทำให้มูกช่องคลอดเพิ่มขึ้นหรือลดลงยังส่งผลต่อตำแหน่งของปากมดลูก เมื่อผู้หญิงอยู่ในระยะไม่เจริญพันธุ์ปากมดลูกจะอยู่ในระดับต่ำในช่องคลอด และให้ความรู้สึกแน่นแข็งเมื่อสัมผัส (รู้สึกคล้ายปลายจมูก) และรูปากมดลูกแคบกว่าหรือที่เรียกว่า "ปิด" เมื่อผู้หญิงเริ่มเจริญพันธุ์มากขึ้น ปากมดลูกจะอยู่ในตำแหน่งสูงขึ้นในช่องคลอด และนิ่มลงเมื่อสัมผัส (รู้สึกคล้ายริมฝีปาก) และรูมดลูกจะกว้างขึ้น ขึ้นหลังการตกไข่ ปากมดลูกจะกลับไปสู่ตำแหน่งในระยะไม่เจริญพันธุ์

ข้อดีและข้อเสีย

การนับระยะปลอดภัยมีลักษณะเด่นดังนี้:

  • การนับระยะสามารถใช้เพื่อประเมินอนามัยการเจริญพันธุ์ การเปลี่ยนแปลงของวงจรอาจเป็นการเตือนถึงปัญหาทางนรีเวช การนับระยะยังสามารถใช้เพื่อช่วยในการวินิฉัยปัญหาทางนรีเวช เช่น การมีบุตรยาก
  • การนับระยะมีประโยชน์หลากหลาย และสามารถใช้เพื่อทั้งหลีกเลี่ยงหรือช่วยในการตั้งครรภ์
  • การใช้การนับระยะช่วยให้ผู้หญิงเข้าใจการทำงานของร่างกายตนเองมากขึ้น และอาจช่วยในการควบคุมดูแลการเจริญพันธุ์ขอตน
  • ในการนับระยะปลอดภัยบางแบบที่ดูจากสัญญาณ ผู้หญิงจำเป็นต้องสังเกตหรือจับมูกช่องคลอดของตน ซึ่งผู้หญิงหลายคนอาจไม่สบายใจที่จะทำ 
  • ยาบางตัว เช่น decongestant อาจเปลี่ยนแปลงลักษณะของมูกช่องคลอด และส่งผลกระทบต่อการใช้ลักษณะมูกช่องคลอดเพื่อชี้ถึงระยะเจริญพันธุ์[7]
  • อุณหภูมิร่างกายขณะพักอาจได้รับผลกระทบจากการนอนไม่เป็นเวลา ดังนั้นคนบางกลุ่ม เช่น ผู้ที่ทำงานเป็นกะหรือผู้อาศัยกับเด็ก อาจไม่สามารถใช้วิธีนี้ได้
  • การนับระยะต้องใช้การบันทึกกิจกรรมเป็นประจำอย่างละเอียดทุกวัน ทำให้บางคนอาจคิดว่ามันซับซ้อนเกินไป

การใช้เพื่อคุมกำเนิด

ผู้หญิงและคู่ของเธอสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ โดยการจำกัดการมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกันไว้เฉพาะช่วงไม่เจริญพันธุ์ของรอบประจำเดือน ในช่วงเจริญพันธุ์ คู่รักอาจใช้การคุมกำเนิดแบบสิ่งกีดขวาง เช่น ถุงยางอนามัย หรืองดมีเพศสัมพันธ์[8]

ข้อดี

  • การนับระยะปลอดภัยไม่ต้องใช้ยา[8]
  • ไม่มีค่าใช้จ่ายหรือมีค่าใช้จ่ายน้อย ผู้ใช้อาจต้องเสียเงินให้กับผู้สอน ซื้อซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ หรือซื้อตาราง ปฏิทิน หรือเทอร์มอมิเตอร์ ค่าใช้จ่ายโดยตรงต่ำกว่าวิธีอื่น
  • สามารถใช้กับการคุมกำเนิดแบบสิ่งกีดขวาง เช่น ถุงยางอนามัย เพื่อร่วมเพศในระยะเจริญพันธุ์ การนับระยะทำให้คู่รักสามารถใช้สิ่งกีดขวางเฉพาะเวลาจำเป็น
  • ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนจากการหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์เป็นการมุ่งเพื่อให้ตั้งครรภ์ได้ทันทีเมื่อต้องการมีบุตร

ข้อเสีย

  • ต้องใช้วิธีการคุมกำเนิดแบบอื่นช่วยขณะอยู่ในระยะเจริญพันธุ์ มิฉะนั้นจำเป็นต้องงดมีเพศสัมพันธ์ เพื่อลดโอกาสการตั้งครรภ์ให้ต่ำกว่า 1% ผู้ใช้จำเป็นต้องใช้วิธีคุมกำเนิดแบบอื่นหรืองดมีเพศสัมพันธ์เป็นเวลาประมาณ 13 วันต่อรอบเดือน[9] ผู้หญิงที่มีรอบเดือนไม่ปกติ เช่น ผู้ที่กำลังให้นมบุตร ผู้กำลังเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน หรือ ผู้ที่มีอาการรังไข่มีถุงน้ำจำนวนมาก อาจต้องงดเว้นหรือใช้วิธีคุมกำเนิดแบบอื่นแต่ละครั้งเป็นเดือน ๆ[10]
  • ประสิทธิผลในการใช้ทั่วไปต่ำกว่าวิธีแบบอื่นส่วนใหญ่[10]
  • การนับระยะปลอดภัยไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์[11]

ประสิทธิผล

ประสิทธิผลของการนับระยะปลอดภัย สามารถแยกออกเป็นการใช้อย่างถูกต้อง (perfect-use) ที่นับเฉพาะผู้ใช้ที่ทำตามกฎทั้งหมดของการสังเกต ระบุระยะเจริญพันธุ์อย่างถูกต้อง และงดการร่วมเพศโดยไม่ป้องกันในวันที่ระบุว่ากำลังเจริญพันธุ์  เช่นเดียวกับการคุมกำเนิดแบบอื่น และการใช้ทั่วไป (typical-use) ที่นับผู้หญิงทั้งหมดที่ใช้วิธีการนับระยะปลอดภัยเพื่อหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์ รวมไปถึงพวกที่ไม่ได้ใช้อย่างถูกต้อง ประสิทธิผลที่แสดงมักมาจากการปีแรกของการใช้[12] ดัชนีเพอร์ล (Pearl Index) มักถูกใช้เพื่อคำนวนประสิทธิผลทว่างานวิจัยบางงานใช้ตารางแสดงการลดลง (decrement table)[13]

อัตราการล้มเหลวของการนับระยะปลอดภัยแตกต่างกันขึ้นอยู่กับระบบที่ใช้ระบุวันเจริญพันธุ์ วิธีการสอน และประชากรที่ศึกษา บางงานวิจัยพบว่าอัตราการล้มเหลวเมื่อใช้แบบทั่วไปอยู่ที่ 25% ต่อปีหรือมากกว่า[14][15][16] งานวิจัยอย่างน้อยหนึ่งงานพบอัตราการล้มเหลวที่ต่ำกว่า 1% ต่อปีเมื่อมีการฝึกสอนและการทบทวนรายเดือน[17] และงานวิจัยอื่น ๆ พบอัตราการล้มเหลวเมื่อใช้จริงที่ 2%–3% ต่อปี[9][18][19][20]

เมื่อได้รับการฝึกสอนอย่างสม่ำเสมอ (หรือเมื่อใช้อย่างถูกต้อง) หลายงานวิจัยพบว่าการนับระยะปลอดภัยมีประสิทธิผลถึง 99%[17][21][22][23]

เหตุผลที่ลดประสิทธิผลของการใช้ทั่วไป

หลายปัจจัยมีส่วนทำให้ประสิทธิผลของกาใช้ทั่วไปต่ำกว่าการใช้แบบถูกต้อง:

  • การตั้งใจไม่ทำตามคำนั่ง เช่น การร่วมเพศในวันที่ระบุว่าอยู่ในช่วงเจริญพันธุ์โดยไม่ป้องกัน
  • ความผิดพลาดในส่วนของผู้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีใช้การนับระยะปลอดภัย เช่น การที่ผู้สอนให้ข้อมูลผิด ๆ เกี่ยวกับกฎ
  • ความผิดพลาดในส่วนของผู้ใช้ (เข้าใจกฎหรือแผนภูมิผิด)

เหตุผลหลักที่ลดประสิทธิผลของการใช้ทั่วไปไม่ได้อยู่ที่ความผิดพลาดของผู้สอนหรือผู้ใช้แต่อยู่ที่การตั้งใจฝ่าฝืนคำสั่ง[9][23] กล่าวคือคู่รักรู้ว่าผู้หญิงมีโอกาสสูงที่กำลังอยู่ในช่วงเจริญพันธุ์แต่ก็ยังร่วมเพศ

ดูเพิ่ม

  • Billings ovulation method
  • Creighton Model FertilityCare System
  • Fertility monitor
  • Lactational amenorrhea method
  • Kindara

อ้างอิง

  1. Dunson, D.B.; Baird, D.D.; Wilcox, A.J.; Weinberg, C.R. (1999). "Day-specific probabilities of clinical pregnancy based on two studies with imperfect measures of ovulation". Human Reproduction. 14 (7): 1835–1839. doi:10.1093/humrep/14.7.1835. ISSN 1460-2350.
  2. 2.0 2.1 2.2 Trussell, James (2011). "Contraceptive efficacy". ใน Hatcher, Robert A.; Trussell, James; Nelson, Anita L.; Cates, Willard Jr.; Kowal, Deborah; Policar, Michael S. (บ.ก.). Contraceptive technology (20th revised ed.). New York: Ardent Media. pp. 779–863. ISBN 978-1-59708-004-0. ISSN 0091-9721. OCLC 781956734. Table 26–1 = Table 3–2 Percentage of women experiencing an unintended pregnancy during the first year of typical use and the first year of perfect use of contraception, and the percentage continuing use at the end of the first year. United States. เก็บถาวร 2013-11-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. Saint, Bishop of Hippo Augustine (1887). "Chapter 18.—Of the Symbol of the Breast, and of the Shameful Mysteries of the Manichæans". ใน Philip Schaff (บ.ก.). A Select Library of the Nicene and Post-Nicene Fathers of the Christian Church, Volume IV. Grand Rapids, MI: WM. B. Eerdmans Publishing Co.
  4. "A Brief History of Fertility Charting". FertilityFriend.com. สืบค้นเมื่อ 2006-06-18.
  5. 5.0 5.1 Singer, Katie (2004). The Garden of Fertility. New York: Avery, a member of Penguin Group (USA). pp. 226–7. ISBN 1-58333-182-4.
  6. James B. Brown (2005). "Physiology of Ovulation". Ovarian Activity and Fertility and the Billings Ovulation Method. Ovulation Method Research and Reference Centre of Australia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-12-24.
  7. "How to Observe and Record Your Fertility Signs". Fertility Friend Handbook. Tamtris Web Services. 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-05-28. สืบค้นเมื่อ 2005-06-15.
  8. 8.0 8.1 Manhart, MD; Daune, M; Lind, A; Sinai, I; Golden-Tevald, J (January–February 2013). "Fertility awareness-based methods of family planning: A review of effectiveness for avoiding pregnancy using SORT". Osteopathic Family Physician. 5 (1): 2–8. doi:10.1016/j.osfp.2012.09.002.
  9. 9.0 9.1 9.2 Frank-Herrmann P, Heil J, Gnoth C, และคณะ (2007). "The effectiveness of a fertility awareness based method to avoid pregnancy in relation to a couple's sexual behaviour during the fertile time: a prospective longitudinal study". Hum. Reprod. 22 (5): 1310–9. doi:10.1093/humrep/dem003. PMID 17314078.
  10. 10.0 10.1 James Trussell; Anjana Lalla; Quan Doan; Eileen Reyes; Lionel Pinto; Joseph Gricar (2009). "Cost effectiveness of contraceptives in the United States". Contraception. 79 (1): 5–14. doi:10.1016/j.contraception.2008.08.003. PMC 3638200. PMID 19041435.
  11. "Fertility Awareness Method". Brown University Health Education Website. Brown University. 2012. สืบค้นเมื่อ 2012-12-11.
  12. Hatcher, RA; Trussel J; Stewart F; และคณะ (2000). Contraceptive Technology (18th ed.). New York: Ardent Media. ISBN 0-9664902-6-6. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-31. สืบค้นเมื่อ 2018-01-01.
  13. Kippley, John; Sheila Kippley (1996). The Art of Natural Family Planning (4th addition ed.). Cincinnati, OH: The Couple to Couple League. pp. 141. ISBN 0-926412-13-2.
  14. Wade ME, McCarthy P, Braunstein GD, และคณะ (October 1981). "A randomized prospective study of the use-effectiveness of two methods of natural family planning". American Journal of Obstetrics and Gynecology. 141 (4): 368–376. doi:10.1016/0002-9378(81)90597-4. PMID 7025639.
  15. Medina JE, Cifuentes A, Abernathy JR, และคณะ (December 1980). "Comparative evaluation of two methods of natural family planning in Colombia". American Journal of Obstetrics and Gynecology. 138 (8): 1142–1147. doi:10.1016/S0002-9378(16)32781-8. PMID 7446621.
  16. Marshall J (August 1976). "Cervical-mucus and basal body-temperature method of regulating births: field trial". Lancet. 2 (7980): 282–283. doi:10.1016/S0140-6736(76)90732-7. PMID 59854.
  17. 17.0 17.1 Evaluation of the Effectiveness of a Natural Fertility Regulation Programme in China เก็บถาวร 2007-04-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน: Shao-Zhen Qian, et al. Reproduction and Contraception (English edition), in press 2000.
  18. Frank-Herrmann P, Freundl G, Baur S, และคณะ (December 1991). "Effectiveness and acceptability of the sympto-thermal method of natural family planning in Germany". American Journal of Obstetrics and Gynecology. 165 (6 Pt 2): 2052–2054. doi:10.1016/s0002-9378(11)90580-8. PMID 1755469.
  19. Clubb EM, Pyper CM, Knight J (1991). "A pilot study on teaching natural family planning (NFP) in general practice". Proceedings of the Conference at Georgetown University, Washington, DC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-23.
  20. Frank-Herrmann P, Freundl G, Gnoth C, และคณะ (June–September 1997). "Natural family planning with and without barrier method use in the fertile phase: efficacy in relation to sexual behavior: a German prospective long-term study". Advances in Contraception. 13 (2–3): 179–189. doi:10.1023/A:1006551921219. PMID 9288336.
  21. Ecochard, R.; Pinguet, F.; Ecochard, I.; De Gouvello, R.; Guy, M.; Huy, F. (1998). "Analysis of natural family planning failures. In 7007 cycles of use". Fertilite Contraception Sexualite. 26 (4): 291–6. PMID 9622963.
  22. Hilgers, T.W.; Stanford, J.B. (1998). "Creighton Model NaProEducation Technology for avoiding pregnancy. Use effectiveness". Journal of Reproductive Medicine. 43 (6): 495–502. PMID 9653695.
  23. 23.0 23.1 Howard, M.P.; Stanford, J.B. (1999). "Pregnancy probabilities during use of the Creighton Model Fertility Care System". Archives of Family Medicine. 8 (5): 391–402. doi:10.1001/archfami.8.5.391. PMID 10500511.