การหลั่งนอกช่องคลอด
การหลั่งนอกช่องคลอด | |
---|---|
ความรู้พื้นฐาน | |
ประเภทการคุมกำเนิด | ทางพฤติกรรม |
เริ่มใช้ครั้งแรก | ตั้งแต่สมัยโบราณ |
อัตราการล้มเหลว (ในปีแรกของการใช้) | |
เมื่อใช้อย่างถูกต้อง | 4% |
เมื่อใช้แบบทั่วไป | 22% |
การใช้ | |
การย้อนกลับ | ย้อนกลับได้ |
สิ่งที่ผู้ใช้ควรรู้ | ขึ้นอยู่กับการควบคุมตัวเอง การพักเพื่อปัสสาวะช่วยนำอสุจิออกจากท่อปัสสาวะได้ |
ระยะการพบแพทย์ | ไม่มี |
ข้อดีข้อเสีย | |
ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ | ไม่ป้องกัน |
การหลั่งนอกช่องคลอด หรือ การหลั่งนอก (อังกฤษ: coitus interruptus, withdrawal method) เป็น วิธีการคุมกำเนิด โดยการที่ฝ่ายชายถอนอวัยวะเพศออกจากช่องคลอดขณะกำลังร่วมเพศ ก่อนที่จะถึงจุดสุดยอด และก่อนหลั่งน้ำอสุจิ จากนั้นจึงหลั่งน้ำอสุจินอกช่องคลอดเพื่อหลีกเลี่ยงการผสมเชื้อ
วิธีการคุมกำเนิดนี้ถูกใช้อย่างกว้างขวางมาเป็นเวลาไม่ต่ำกว่าสองพันปี และยังถูกใช้อยู่ในปัจจุบัน ในปีพ.ศ. 2534 มีคู่รักประมาณ 38 ล้านคู่ที่ใช้วิธีนี้เพื่อคุมกำเนิด[1] การหลั่งนอกช่องคลอดนั้นไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STIs/STDs) ได้[2]
ประวัติ
เป็นไปได้ว่าเอกสารที่เก่าแก่ที่สุดเกี่ยวกับการหลั่งนอกเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ ถูกบันทึกอยู่ในเรื่องของโอนาน (Onan) ในชุดคัมภีร์โทราห์ โดยคาดว่าข้อความนี้ถูกเขียนขึ้นเป็นเวลามากกว่า 2,500 ปีแล้ว[3] สังคมในอารยธรรมและกรีซโบราณและจักรวรรดิโรมัน นิยมมีครอบครัวขนาดเล็ก และเป็นที่รู้จักในการใช้วิธีการคุมกำเนิดหลากหลายวิธี[4]: 12, 16–17 มีหลายเอกสารอ้างอิงที่ทำให้นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าบางครั้งการหลั่งนอกถูกใช้เพื่อคุมกำเนิด[5] อย่างไรก็ตาม สังคมเหล่านี้เห็นว่าการคุมกำเนิดเป็นความรับผิดชอบของผู้หญิง และเอกสารเกี่ยวกับการคุมกำเนิดที่ถูกบันทึกส่วนใหญ่ล้วนเป็นวิธีที่ควบคุมโดยผู้หญิง (ทั้งแบบที่อาจได้ผล เช่น วงแหวนพยุงในช่องคลอด (pessaries) และแบบที่ไม่ได้ผล เช่น เครื่องราง)[4]: 17, 23
หลังการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันในช่วงศตวรรษที่ 5 หลักปฏิบัติด้านการคุมกำเนิดไม่ได้ถูกใช้ในยุโรป ยกตัวอย่างเช่น การใช้วงแหวนพยุงในช่องคลอดไม่ได้อยู่ในบันทึกจนศตวรรษที่ 15 หากการหลั่งนอกถูกใช้ในจักรวรรดิโรมัน ความรู้เกี่ยวกับหลักปฏิบัติอาจสูญหายไปเมื่อจักรวรรดิล่มสลาย[4]: 33, 42
ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 จนถึงการพัฒนาของวิธีการสมัยใหม่ การหลั่งนอกเป็นวิธีทีการคุมกำเนิดที่ได้รับความนิยมที่สุดในทวีปยุโรป ทวีปอเมริกาเหนือ รวมถึงที่อื่น ๆ[5]
ผลกระทบ
เช่นเดียวกับการคุมกำเนิดรูปแบบอื่น การหลั่งนอกจะให้ผลที่เชื่อถือได้ต่อเมื่อถูกใช้อย่างถูกต้องและสม่ำเสมอเท่านั้น อัตราการล้มเหลวของวิธีแปรผันตามประชากรที่ถูกศึกษา โดยผลวิจัยพบว่าอัตราความล้มเหลวเมื่อใช้จริงอยู่ที่ 15–28% ต่อปี.[6] เทียบกับยาเม็ดคุมกำเนิด ซึ่งมีอัตราล้มเหลวเมื่อใช้จริงที่ 2–8%[7] ขณะที่ห่วงอนามัยคุมกำเนิด (Intrauterine device หรือ IUD) มีอัตราการล้มเหลวอยู่ที่ 0.8% [8] ถุงยางอนามัยมีอัตราการล้มเหลวอยู่ที่10–18 [6] อย่างไรก็ตาม นักวิจัยบางคนกล่าวว่าการหลั่งนอกอาจให้ประสิทธิผลใกล้เคียงกับการใช้ถุงยางอนามัย และเรื่องนี้ต้องการการวิจัยเพิ่มเติม[9]
สำหรับคู่รักที่ใช้การหลั่งนอกอย่างถูกต้องทุกครั้งในการมีเพศสัมพันธ์ อัตราการล้มเหลวอยู่ที่ 4% ต่อปี ขณะที่ยาเม็ดคุมกำเนิดมีอัตราอยู่ที่ 0.3% และห่วงอนามัยคุมกำเนิดที่ 0.6% ส่วนถุงยางอนามัยอยู่ที่ 2%[8]
แม้น้ำหล่อลื่น (pre-ejaculate หรือ Cowper's fluid) ซึ่งออกมาจากอวัยวะเพศก่อนการหลั่งน้ำอสุจิจะถูกเสนอว่า โดยทั่วไปแล้วมีตัวอสุจิ (spermatozoa) ผสมอยู่ ซึ่งส่งผลกระทบต่อประสิทธิผลของวิธีการนี้[10][11] ทว่างานวิจัยเล็ก ๆ หลายงาน[12][13][14][15] รายงานผลว่าไม่พบตัวอสุจิในน้ำหล่อลื่น ขณะนี้ยังไม่มีผลการศึกษาที่ชัดเจนเรื่องนี้ ทว่าหลายคนเชื่อว่า ต้นเหตุของการล้มเหลวจากการปฏิบัติตามวิธีอย่างถูกต้องเกิดจาก ตัวอสุจิที่ค้างอยู่จากการหลั่งน้ำครั้งก่อน ซึ่งออกมากลับน้ำหล่อลื่น[16][17] ด้วยเหตุผลนี้ ฝ่ายชายจึงถูกแนะนำให้ถ่ายปัสสาวะหลังหลั่งน้ำอสุจิ เพื่อกำจัดอสุจิที่อาจติดอยู่ในท่อปัสสาวะ นอกจากนี้ยังควรล้างสิ่งที่อาจต้องนำไปใกล้ช่องคลอด เช่น มือและอวัยวะเพศ[17]
อย่างไรก็ตาม งานวิจัยเมื่อไม่นานมานี้เสนอว่าสิ่งนี้อาจไม่ถูกต้อง งานวิจัยในทางตรงกันข้ามซึ่งยังไม่อาจวางนัยทั่วไปได้ พบหลักฐานที่ผสมกัน รวมไปถึงบางกรณีซึ่งพบอสุจิจำนวนมาก ถูกตีพิมพ์เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554[18] มีการกล่าวถึงข้อจำกัดของงานวิจัยก่อนหน้านี้ว่า น้ำหล่อลื่นที่ถูกตรวจสอบหลังเวลาสองนาที โดยการมองหาตัวอสุจิที่ยังเคลื่อนไหวในน้ำหล่อลื่นจำนวนไม่มากบนกล้องจุลทรรศน์หลังผ่านไปสองนาที ขณะที่ตัวอย่างส่วนใหญ่อาจแห้งแล้ว ทำให้การตรวจสอบและการวัดผล เป็นไปได้ยากมาก[18] ดังนั้น ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 กลุ่มนักวิจัยรวมรวมอาสาสมัครชายจำนวน 27 คน และวัดตัวอย่างน้ำหล่อลื่นของพวกเขาภายในเวลาสองนาทีหลังการหลั่ง นักวิจัยพบว่าชาย 11 คนจากทั้งหมด 27 คน (41%) หลั่งน้ำหล่อลื่นซึ่งมีส่วนผสมของตัวอสุจิ และในนี้มี 10 ตัวอย่าง (37%) ซึ่งมีจำนวนอสุจิที่เคลื่อนที่ได้อยู่มากพอสำควร (ตั้งแต่ 1 ล้านถึง 35 ล้านตัว)[18] งานวิจัยนี้จึงแนะนำให้ใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธเพื่อลดโอกาสการตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจและการติดโรค เพื่อเป็นการเปรียบเทียบ งานวิจัยเผยว่าในหมู่คู่สามีภรรยาซึ่งตั้งครรภ์ภายในปีแรกที่พยายาม มีเพียง 2.5% เท่านั้นที่มีจำนวนตัวอสุจิน้อยกว่า 23 ล้านตัว ต่อการหลั่ง[19] ทว่าข้อมูลตัวเลขหลายแห่งเผยว่า จำนวนตัวอสุจิ (รวมไปถึงรูปแบบการระบุลักษณะของตัวอสุจิอื่น ๆ) ไม่อาจทำนายการตั้งครรภ์ของคู่รักได้อย่างแม่นยำ[20]
หลายคนเชื่อว่าการถ่ายปัสสาวะหลังการหลั่งน้ำอสุจิสามารถล้างตัวอสุจิที่ค้างอยู่ออกจากท่อปัสวะได้[21] ผู้รับการทดลองในงานวิจัยที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 บางคนซึ่งได้ทำการปัสสาวะ (บางคนมากกว่าหนึ่งครั้ง) ก่อนการหลั่งน้ำหล่อลื่น ทว่ายังคงพบตัวอสุจิในตัวอย่าง[18] ดังนั้น ผู้ชายบางคนสามารถหลั่งน้ำหล่อลื่นซึ่งมีส่วนผสมของตัวอสุจิได้ โดยไม่ได้หลั่งน้ำอสุจิมาก่อนหน้า
ข้อดี
ข้อดีของการหลั่งนอกอยู่ที่การที่คนซึ่งคัดค้าน หรือไม่อาจเข้าถึงการคุมกำเนิดแบบอื่น สามารถใช้ได้ บางคนให้ความนิยมกับวิธีนี้เนื่องจากไม่มีผลกระทบกับฮอร์โมน และยังสามารถทำให้ได้รับประสบการณ์ที่เต็มที่ และ "รู้สึก" ถึงคู่นอนได้มากกว่า[22] อีกเหตุผลที่วิธีนี้ได้รับความนิยมได้แก่ การที่เป็นวิธีที่ไม่มีค่าใช้จ่าย ไม่ต้องการอุปกรณ์เพิ่มเติม ไม่มีผลทางกายภาพ และสามารถทำได้โดยปราศจากใบสั่งหรือคำแนะนำทางการแพทย์ และยังไม่กีดขวางการกระตุ้น
ข้อเสีย
การหลั่งนอกมีประสิทธิผลน้อยกว่า เมื่อเทียบกับวิธีการคุมกำเนิดที่ย้อนกลับได้แบบทั่วไป เช่น ห่วงอนามัยคุมกำเนิด[8] ยาเม็ดคุมกำเนิด และถุงยางอนามัย ดังนั้น วิธีนี้จึงอาจมีความคุ้นค่าน้อยกว่าวิธีอื่น แม้วิธีนี้จะไม่มีค่าใช้จ่าย ผู้ใช้อาจมีโอกาสมีลูก หรือต้องจ่ายค่าทำแท้งแทน มีเพียงแบบจำลองซึ่งสมมุติว่าคู่รักทุกคู่ปฏิบัติตามวิธีอย่างสมบูรณ์แบบเท่านั้น ที่ชี้ว่าการใช้วิธีหลั่งนอกเพื่อคุมกำเนิด ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย[23]
การหลั่งนอกไม่ช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STIs/STDs) เช่น เอชไอวี ด้วยความที่น้ำหล่อลื่น อาจมีส่วนผสมของไวรัสหรือแบคทีเรียที่อาจเป็นตัวแพร่เชื้อ หากได้สัมผัสกับเยื่อบุผิว อย่างไรก็ตาม การลดปริมาณของการแลกเปลี่ยนสารน้ำในร่างกายระหว่างการร่วมเพศอาจลดความเสี่ยงของการแพร่เชื้อ เมื่อเทียบกับการหลั่งใน ด้วยความที่จำนวนเชื้อโรคมีน้อยกว่า[14]
ความแพร่หลาย
ข้อมูลจากแบบสำรวจในช่วงก่อนปีพ.ศ. 2543 3% สตรีในวัยที่มีบุตรได้ทั่วโลกใช้วิธีการหลั่งนอกเป็นวิธีหลักในการคุมกำเนิด ความนิยมมีความแตกต่างในแต่ละพื้นที่ตั้งแต่ 1% ในทวีปแอฟริกา ไปจนถึง 16% ในแถบเอเชียตะวันตก[24]
ในสหรัฐ งานวิจัยชี้ว่า 56% ของผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์ เคยมีคู่นอนที่ใช้การหลั่งนอก ในพ.ศ. 2545 มีเพียง 2.5% เท่านั้นที่ใช้การหลั่งนอกเป็นวิธีหลักในการคุมกำเนิด[25]
ดูเพิ่ม
- Coitus reservatus
- การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง
อ้างอิง
- ↑ Rogow D, Horowitz S (1995). "Withdrawal: a review of the literature and an agenda for research". Studies in family planning. 26 (3): 140–53. doi:10.2307/2137833. JSTOR 2137833. PMID 7570764.
{cite journal}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Creatsas G (1993). "Sexuality: sexual activity and contraception during adolescence". Curr Opin Obstet Gynecol. 5 (6): 774–83. doi:10.1097/00001703-199312000-00011. PMID 8286689.
- ↑ Adams, Cecil (2002-01-07). "Who wrote the Bible? (Part 1)". The Straight Dope. Creative Loafing Media, Inc. สืบค้นเมื่อ 2009-07-24.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 Collier, Aine (2007). The Humble Little Condom: A History. Amherst, NY: Prometheus Books. ISBN 978-1-59102-556-6.
- ↑ 5.0 5.1 Bullough, Vern L. (2001). Encyclopedia of birth control. Santa Barbara, Calif: ABC-CLIO. pp. 74–75. ISBN 1-57607-181-2. สืบค้นเมื่อ 2009-07-24.
- ↑ 6.0 6.1 Kippley, John; Sheila Kippley (1996). The Art of Natural Family Planning (4th addition ed.). Cincinnati, OH: The Couple to Couple League. pp. 146. ISBN 0-926412-13-2., which cites:
- Guttmacher Institute (1992). "Choice of Contraceptives". The Medical Letter on Drugs and Therapeutics. 34 (885): 111–114. PMID 1448019.
Hatcher, RA; Trussel J; Stewart F; และคณะ (1994). Contraceptive Technology (Sixteenth Revised ed.). New York: Irvington Publishers. ISBN 0-8290-3171-5.
- Guttmacher Institute (1992). "Choice of Contraceptives". The Medical Letter on Drugs and Therapeutics. 34 (885): 111–114. PMID 1448019.
- ↑ Audet MC, Moreau M, Koltun WD, Waldbaum AS, Shangold G, Fisher AC, Creasy GW (2001). "Evaluation of contraceptive efficacy and cycle control of a transdermal contraceptive patch vs an oral contraceptive: a randomized controlled trial" (Slides of comparative efficacy]). JAMA. 285 (18): 2347–54. doi:10.1001/jama.285.18.2347. PMID 11343482.
{cite journal}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
Guttmacher Institute. "Contraceptive Use". Facts in Brief. Guttmacher Institute. สืบค้นเมื่อ 2005-05-10. - see table First-Year Contraceptive Failure Rates - ↑ 8.0 8.1 8.2 Hatcher, RA; Trussel J; Stewart F; และคณะ (2000). Contraceptive Technology (18th ed.). New York: Ardent Media. ISBN 0-9664902-6-6. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-31. สืบค้นเมื่อ 2017-02-21.
- ↑ Jones RK, Fennell J, Higgins JA, Blanchard K (June 2009). "Better than nothing or savvy risk-reduction practice? The importance of withdrawal" (PDF). Contraception. 79 (6): 407–10. doi:10.1016/j.contraception.2008.12.008. PMID 19442773. สืบค้นเมื่อ 2009-07-23.
{cite journal}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Harms, Roger W. (2007-09-20). "Can pre-ejaculation fluid cause pregnancy?". Women's health: Expert answers. MayoClinic.com. สืบค้นเมื่อ 2009-07-15.
- ↑ Cornforth, Tracee (2003-12-02). "How effective is withdrawal as a birth control method?". About.com: Women's Health. สืบค้นเมื่อ 2009-07-15.
- ↑ Zukerman, Z.; Weiss, DB; Orvieto, R (April 2003). "Short Communication: Does Preejaculatory Penile Secretion Originating from Cowper's Gland Contain Sperm?". Journal of Assisted Reproduction and Genetics. 20 (4): 157–159. doi:10.1023/A:1022933320700. PMC 3455634. PMID 12762415.
- ↑ Free M, Alexander N (1976). "Male contraception without prescription. A reevaluation of the condom and coitus interruptus". Public Health Rep. 91 (5): 437–45. PMC 1440560. PMID 824668.
{cite journal}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ 14.0 14.1 "Researchers find no sperm in pre-ejaculate fluid". Contraceptive Technology Update. 14 (10): 154–156. October 1993. PMID 12286905.
- ↑ Clark, S. (Sep 1981). "An examination of the sperm content of human pre-ejaculatory fluid". [Unpublished]. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 2017-02-21.
- ↑ "Withdrawal Method". Planned Parenthood. March 2004. สืบค้นเมื่อ 2008-03-28.
- ↑ 17.0 17.1 Delvin, David (2005-01-17). "Coitus interruptus (Withdrawal method)". NetDoctor.co.uk. สืบค้นเมื่อ 2006-07-13.
- ↑ 18.0 18.1 18.2 18.3 Killick SR, Leary C, Trussell J, Guthrie KA (2011). "Sperm content of pre-ejaculatory fluid". Human Fertility. 14 (1): 48–52. doi:10.3109/14647273.2010.520798. PMC 3564677. PMID 21155689.
{cite journal}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Cooper, T.G.; Noonan, E.; von Eckaedstein, S.; Auger, J.; Baker, H.W.G.; Behre, H.M.; และคณะ (2010). "World Health Organisation reference values for human semen characteristics". Human Reproduction Update. 16 (3): 231–245. doi:10.1093/humupd/dmp048. PMID 19934213.
- ↑ Slama, R.; Eustache, F.; และคณะ (2002). "Time to pregnancy and semen parameters: a cross-sectional study among fertile couples from four European cities". Human Reproduction. 17 (2): 513. doi:10.1093/humrep/17.2.503. PMID 11821304.
- ↑ "Withdrawal Method". Planned Parenthood. March 2004. สืบค้นเมื่อ 2006-09-01.
- ↑ Ortayli, N; Bulut, A; Ozugurlu, M; Cokar, M (2005). "Why Withdrawal? Why not withdrawal? Men's perspectives". Reproductive Health Matters. 13: 164–73. doi:10.1016/S0968-8080(05)25175-3. PMID 16035610.
- ↑ James Trusell; Leveque, JA; Koenig, JD; London, R; Borden, S; Henneberry, J; Laguardia, KD; Stewart, F; และคณะ (April 1995). "The economic value of contraception: a comparison of 15 methods" (PDF). American Journal of Public Health. 85 (4): 494–503. doi:10.2105/AJPH.85.4.494. PMC 1615115. PMID 7702112.
- ↑ "Family Planning Worldwide: 2002 Data Sheet" (PDF). Population Reference Bureau. 2002. สืบค้นเมื่อ 2006-09-14.
{cite journal}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ Chandra, A; Martinez, GM; Mosher, WD; Abma, JC; Jones, J (2005). "Fertility, Family Planning, and Reproductive Health of U.S. Women: Data From the 2002 National Survey of Family Growth" (PDF). Vital and Health Statistics. National Center for Health Statistics. 23 (25). สืบค้นเมื่อ 2007-05-20. See Tables 53 and 56.