การเปรียบเทียบวิธีคุมกำเนิด
วิธีคุมกำเนิดแต่ละแบบมีความต้องการจากผู้ใช้ ผลข้างเคียง และประสิทธผลต่างกัน โดยแต่ละแบบอาจไม่เหมาะสำหรับบางคน การคุมกำเนิดโดยใช้สิ่งกีดขวางบางชนิด สารฆ่าเชื้ออสุจิ หรือการหลั่งนอกจำเป็นต้องใช้หรือปฏิบัติทุกครั้งที่ร่วมเพศ ส่วนวิธีอื่น เช่น ฝาหรือหมวกครอบปากมดลูก ฟองน้ำคุมกำเนิด และถุงยางอนามัยหญิง สามารถใส่ไว้ก่อนหลายชั่วโมงก่อนร่วมเพศ โดยต้องถอดถุงยางอนามัยหญิงทันทีหลังร่วมเพศและก่อนยืนขึ้น ส่วนวิธีคุมกำเนิดโดยใช้สิงกีดขวางบางแบบสำหรับผู้หญิงอาจต้องทิ้งไว้ในช่องคลอดหลายชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์ สารฆ่าเชื้ออสุจิอาจถูกใช้ไม่กี่นาทีหรือหลายชั่วโมงก่อนร่วมเพศขึ้นอยู่กับแบบที่ใช้ นอกจากนี้ยังควรใส่ถุงยางอนามัยชายขณะองคชาตแข็งตัวก่อนสอดใส่
หลังการทำหมันทั้งหญิงและชาย ติดตั้งห่วงอนามัยคุมกำเนิด หรือฝังฮอร์โมน ก็ไม่ต้องทำอะไรก่อนร่วมเพศเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ ห่วงอนามัยคุมกำเนิดต้องติดตั้งและถอดออกโดยแพทย์เท่านั้น และอาจต้องเปลี่ยนทุก 5–12 ปี ขึ้นอยู่กับแบบ ผู้ใช้สามารถไปพบแพทย์เพื่อถอดห่วงอนามัยออกได้ทุกเมื่อหากต้องการมีลูก ในทางตรงข้าม การทำหมันเป็นวิธีคุมกำเนิดแบบถาวรและไม่ต้องทำอะไรอีกหลังการผ่าตัด
ยาคุมกำเนิดแบบฝังใช้ได้เป็นเวลา 3 ปี โดยผู้ใช้ไม่ต้องทำอะไรหลังการฝังจนต้องถอดออก ยาเม็ดคุมกำเนิดจะต้องรับประทานทุกวันถึงจะให้ผลดี ส่วนวิธีอื่นที่ใช้ฮอร์โมนอาจมีความต้องการน้อยกว่า เช่น ยาแปะที่ต้องเปลี่ยนทุกอาทิตย์ วงแหวนคุมกำเนิดที่ต้องเปลี่ยนสองครั้งต่อเดือน ยาฉีกคุมกำเนิดที่ต้องฉีดทุกเดือน และยาฉีดเมดรอกซีโปรเจสเตอโรน (MPA) ที่ต้องฉีดทุกสามเดือน หากใช้การนับระยะปลอดภัยต้องวัดสัญญาณการเจริญพันธุ์เป็นประจำทุกวันเพื่อเฝ้าดูและบันทึก หากต้องการคุมกำเนิดโดยการให้นมลูก (LAM) จำเป็นต้องให้นมลูกทุก ๆ 4–6 ชั่วโมง
ความต้องการจากผู้ใช้
วิธีคุมกำเนิดแต่ละแบบมีความต้องการจากผู้ใช้ต่างกัน วิธีที่แทบไม่ต้องจดจำหรือทำอะไร หรือต้องไปพบแพทย์น้อยกว่าหนึ่งครั้งต่อปี ถูกเรียกว่าเป็นวิธีที่ไม่ขึ้นอยู่กับผู้ใช้[1] วิธีเหล่านี้ได้แก่ ห่วงอนามัยคุมกำเนิด ยาฝังคุมกำเนิด การทำหมัน[1] วิธีที่ไม่ขึ้นอยู่กับผู้ใช้มีอัตราการล้มเหลวในการใช้อย่างถูกต้องและในการใช้แบบทั่วไปใกล้เคียงกันมาก
การคุมกำเนิดโดยใช้ฮอร์โมนและ LAM ต้องการความเอาใจใส่ระดับหนึ่ง วิธีที่ใช้ฮอร์โมนอาจต้องนัดพบแพทย์ทุก 3 เดือนเพื่อรับยา ยาเม็ดคุมกำเนิดต้องรับประทานทุกวัน แผ่นแปะคุมกำเนิดต้องเปลี่ยนทุกอาทิตย์ วงแหวนคุมกำเนิดต้องเปลี่ยนทุกเดือน ยาฉีดคุมกำเนิดต้องฉีดทุกสามเดือน การคุมกำเนิดโดยการให้นมลูกต้องทำตามกฎทุกวัน โดยประสิทธิผลอาจลดลงหากไม่ทำตามอย่างเคร่งครัด
วิธีคุมกำเนิดแบบอื่นมีความต้องการจากผู้ใช้สูงกว่านี้[2] การคุมกำเนิดโดยใช้สิ่งกีดขวาง การหลั่งนอก และการใช้สารฆ่าเชื้ออสุจิจำเป็นต้องใช้ทุกครั้งที่ร่วมเพศ การนับระยะปลอดภัยอาจต้องนับรอบประจำเดือนทุกวัน อัตราการล้มเหลวในการใช้ทั่วไปของวิธีเหล่านี้อาจสูงกว่ามากเมื่อเทียบกับอัตราเมื่อใช้อย่างถูกต้อง[3]
ผลข้างเคียง
วิธีคุมกำเนิดแต่ละวิธีอาจมีผลข้างเคียงแตกต่างกัน โดยผลข้างเคียงไม่เกิดกับผู้ใช้ทุกคน วิธีคุมกำเนิดที่มีประสิทธิผลต่ำมักมีโอกาสเสียงสูงที่จะมีผลข้างเคียงที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์
การหลั่งนอก การนับระยะปลอดภัย และการคุมกำเนิดโดยการให้นมลูกแทบไม่มีผลข้างเคียงใด ๆ การคุมกำเนิดโดยใช้สิ่งกีดขวางมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการแพ้ ผู้ใช่ที่แพ้ยางพาราอาจสามารถเปลี่ยนไปใช้วัสดุอื่น เช่น ถุงยางอนามัยจากโพลียูเทนหรือฝาครอบมดลูกคุมกำเนิดที่ทำจากซิลิโคน นอกจากนี้การคุมกำเนิดโดยใช้สิ่งกีดขวางมักถูกใช้ร่วมกับสารฆ่าเชื้ออสุจิที่อาจให้ผลข้างเคียง เช่น การระคายเคืองตรงอวัยวะเพศ การติดเชื้อในช่องคลอด และการติดเชื้อในท่อปัสสาวะ
การทำหมันถือว่าเป็นขั้นตอนที่ไม่ความเสี่ยงการเกิดผลข้างเคียงต่ำ แม้บางคนหรือองค์กรอาจไม่เห็นด้วยกับความคิดนี้[4][5] การทำมันหญิงเป็นการผ่าตัดที่ใหญ่กว่าการทำหมันชาย และความเสี่ยงสูงกว่า ในประเทศอุตสาหกรรม อัตราการเสียชีวิตหลังการทำหมันหญิงอยู่ที่ 4 คนต่อการผูกท่อรังไข่ 100,000 ครั้ง ส่วนในผู้ชายอยู่ที่เพียง 0.1 คนต่อการตัดท่อนำอสุจิ 100,000 ครั้ง[6]
หลังใส่ห่วงอนามัยคุมกำเนิด ผู้ใช้อาจมีอาการประจำเดือนมาไม่ปกติในช่วง 3–6 เดือนแรกหากใช้ Mirena และหากใช้ ParaGard อาจมีอาการประจำเดือนมามากหรือปวดประจำเดือนมากขึ้น อย่างไรก็ตาม "99% ของผู้ใช้ห่วงอนามัยคุมกำเนิดมีความพึงพอใจหลังใส่" ข้อดีของห่วงอนามัยคือการที่ภาวะเจริญพันธุ์กลับมาอย่างรวดเร็วหลังถอดห่วงอนามัย[7]
วิธีคุมกำเนิดแบบใช้ฮอร์โมนมีจำนวนผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นเยอะที่สุด[8]
การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ถุงยางอนามัยทั้งหญิงและชายสามารถใช้ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STD) หากใช้อย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ นอกจากนี้ยังสามารถช่วยป้องกันมะเร็งปากมดลูก[9][10] ถุงยางอนามัยมักถูกแนะนำให้ใช้ร่วมกับการคุมกำเนิดแบบอื่นเมื่อต้องการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์[11]
วิธีคุมกำเนิดโดยใช้สิ่งกีดขวางแบบอื่น เช่น ฝาครอบปากมดลูก อาจช่วยป้องกันการติดเชื้อของระบบสืบพันธุ์ช่วงบน ส่วนการคุมกำเนิดแบบอื่นแทบไม่สามารป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้เลย
การคำนวนประสิทธิผล
อัตราการล้มเหลวคำนวนโดยใช้ดัชนีเพอร์ล (Pearl Index) หรือวิธีตารางชีพ (life table method) อัตราใน "การใช้อย่างถูกต้อง" (perfect-use rate) มาจากการที่ทำตามกฎหรือวิธีอย่างถูกต้องทุกครั้งที่ร่วมเพศ
อัตราการล้มเหลวในการใช้ทั่วไปสูงกว่าในการใช้อย่างถูกต้องด้วยเหตุผลดังนี้:
- ข้อผิดพลาดของผู้สอนวิธีใช้
- ข้อผิดพลาดของผู้ใช้
- ผู้ใช้ตั้งใจฝ่าฝืน
- บริษัทประกันอาจกีดขวางการได้รับยา (เช่น ต้องรอสั่งยาทุกเดือน)[12]
ตัวอย่างเช่น ผู้รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดอาจได้รับข้อมูลผิด ๆ เกี่ยวกับความถี่ที่ต้องรับประทาน อาจลืมรับประทานยา หรือลืมไปซื้อยา
ประสิทธิผล
ตารางด้านล่างแสดงอัตราการล้มเหลวในการใช้ทั่วไปและในการใช้อย่างถูกต้อง ตัวเลขอยู่ในรูปแบบจำนวนการตั้งครรภ์ต่อปีของผู้หญิงที่ใช้วิธีคุมกำเนิดแต่ละวิธีโดยแบ่งเป็นสีต่าง ๆ
สีฟ้า ต่ำกว่า 1% ความเสี่ยงต่ำกว่า สีเขียว ถึง 5% สีเหลือง ถึง10% สีส้ม ถึง 20% สีแดง มากกว่า 20% ความเสี่ยงสูงกว่า สีเทา ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล
ตัวอย่างเช่น อัตราการล้มเหลว 20% แปลว่า ผู้หญิง 20 คนจาก 100 คน ตั้งครรภ์ระหว่างการใช้ปีแรก อัตราอาจเกิน 100% หากผู้หญิงทุกคนโดยเฉลี่ยตั้งครรภ์ในเวลาน้อยกว่าหนึ่งปี ในกรณีที่ผู้หญิงทุกคนตั้งครรภ์ทันทีอัตราจะเป็นอนันต์
ในคอลัมน์ความต้องการจากผู้ใช้ วิธีที่ไม่ขึ้นอยู่กับผู้กับผู้ใช้ (ต้องการการดูแลน้อยกว่าหนึ่งครั้งต่อปี) มีพื้นหลังสีฟ้า
หลายวิธีอาจสามารถใช้ร่วมกันเพื่อเพิ่มประสิทธิผล ตัวอย่างเช่น เมื่อใช้ถุงยางอนามัยร่วมกับสารฆ่าเชื้ออสุจิ อัตราการล้มเหลวในการใช้อย่างถูกต้องถูกประมาณว่าใกล้เคียงกับเมื่อใช้ยาฝังคุมกำเนิด[1] อย่างไรก็ตามการคำนวนอัตราล้มเหลวเมื่อใช้หลายวิธีร่วมกันอาจไม่ค่อยแม่นยำ เพราะประสิทธิผลของแต่ละวิธีอาจไม่อสิระหากไม่ใช่กรณีที่ใช้อย่างถูกต้อง[13]
หากรู้หรือคิดว่าวิธีคุมกำเนิดอาจไม่ได้ผล เช่น เมื่อถุงยางอนามัยรั่ว ผู้ใช้สามารถใช้การคุมกำเนิดฉุกเฉินภายใน 72–120 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์ โดยควรใช้เร็วที่สุดหลังมีเพศสัมพันธ์เท่าที่จะเป็นไปได้ เพราะประสิทธิผลลดลงเมื่อเวลาผ่านไป[14]
ตารางแสดงอัตราการตั้งครรภ์ระหว่างการใช้ปีแรก
วิธีคุมกำเนิด | ชื่อสามัญ/ยี่ห้อ | อัตราการล้มเหลวในการใช้ทั่วไป (%) | อัตราการล้มเหลวในการใช้อย่างถูกต้อง (%) | ประเภท | วิธีใช้ | ความต้องการจากผู้ใช้ |
---|---|---|---|---|---|---|
ยาคุมกำเนิดแบบฝัง | Implanon,[ref 1] Jadelle,[ref 2] the implant | 0.05 (1 of 2000) |
0.05 | โปรเจสเตอโรน | ฝังใต้ผิวหนัง | ทุก 3-5 ปี |
การตัดหลอดนำอสุจิ[ref 1] | การทำหมันชาย | 0.15 (1 of 666) |
0.1 | การทำหมัน | ผ่าตัด | ครั้งเดียว |
ยาคุมกำเนิดชนิดฉีด[ref 3] | Lunelle, Cyclofem | 0.2 (1 of 500) |
0.2 | เอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน | ฉีด | ทุกเดือน |
ห่วงอนามัยเคลือบฮอร์โมน[ref 1] | Mirena, Skyla, Liletta | 0.2 (1 of 500) |
0.2 | ในมดลูกและโปรเจสเตอโรน | ใส่ในมดลูก | ทุก 3-7 ปี |
Essure[ref 4] | การทำหมันหญิง | 0.26 (1 of 384) |
0.26 | การทำหมัน | ผ่าตัด | ครั้งเดียว |
การผูกท่อรังไข่[ref 1] | การทำหมันหญิง | 0.5 (1 of 200) |
0.5 | การทำหมัน | ผ่าตัด | ครั้งเดียว |
ห่วงอนามัยเคลือบทองแดง[ref 1] | Paragard, Copper T, the coil | 0.8 (1 of 125) |
0.6 | ในมดลุกและทองแดง | ใส่ในมดลูก | ทุก 3 ถึง 12+ ปี |
Forschungsgruppe NFP symptothermal method, teaching sessions + application[ref 1][15] | Sensiplan by Arbeitsgruppe NFP (Malteser Germany gGmbh) | 1.8[note 1] (1 of 55) |
0.4 | ทางพฤติกรรม | Teaching sessions, observation, charting and evaluating a combination of fertility symptoms | เข้าเรียนสามครั้ง + ใช้ทุกวัน |
การคุมกำเนิดโดยการให้นมลูก (สำหรับ 6 เดือนแรกหลังคลอดเท่านั้น; ไม่นับหากเริ่มมีประจำเดือน)[ref 5][note 2] | ecological breastfeeding | 2 (1 of 50) |
0.5 | ทางพฤติกรรม | ให้นมลูก | ทุกไม่กี่ชั่วโมง |
2002[16] cervical cap and spermicide (discontinued in 2008) used by nulliparous[ref 6][note 3][note 4] | Lea's Shield | 5 (1 of 20) |
no data | สิ่งกีดขวางและสารฆ่าเชื้ออสุจิ | ใส่ในช่องคลอด | ทุกครั้งที่ร่วมเพศ |
ยาฉีดเมดรอกซีโปรเจสเตอโรน (MPA) [ref 1] | Depo Provera, the shot | 6 (1 of 17) |
0.2 | โปรเจสเตอโรน | ฉีด | ทุก 12 อาทิตย์ |
การฉีดเทสโทสเตอโรนสำหรับผู้ชาย (วิธีอยู่ในขั้นทดลองและยังไม่ได้รับการยอมรับ)[17] | Testosterone Undecanoate | 6.1 (1 of 16) |
1.1 | เทสโทสเตอโรน | ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ | ทุก 4 อาทิตย์ |
1999 cervical cap and spermicide (replaced by second generation in 2003)[ref 7] | FemCap | 7.6[ไม่อยู่ในแหล่งอ้างอิง] (estimated) (1 of 13) |
no data | สิ่งกีดขวางและสารฆ่าเชื้ออสุจิ | ใส่ในช่องคลอด | ทุกครั้งที่ร่วมเพศ |
แผ่นแปะคุมกำเนิด[ref 1] | Ortho Evra, the patch | 9 (1 of 12) |
0.3 | เอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน | แปะบนผิวหนัง | ทุกอาทิตย์ |
ยาเม็ดคุมกำเนิด (ฮอร์โมนรวม)[ref 1] | ยาคุม | 9 (1 of 11)[18] |
0.3 | เอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน + ยาหลอก [19] | รับประทาน | ทุกวัน |
Ethinylestradiol/etonogestrel วงแหวนช่องคลอด[ref 1] | NuvaRing, the ring | 9 (1 of 11) |
0.3 | เอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน | ใส่ในช่องคลอด | ใส่ไว้ 3 อาทิตย์ / พัก 1 อาทิตย์ |
ยาเม็ดคุมกำเนิด (ฮอร์โมนเดียว)[ref 1] | POP, minipill | 9[18] | 0.3 | โปรเจสเตอโรน + ยาหลอก[19] | รับประทาน | ทุกวัน |
Ormeloxifene[ref 8] | Saheli, Centron | 9 | 2 | SERM | รับประทาน | ทุกอาทิตย์ |
ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน | Plan B One-Step® | no data | no data | ลีโวนอร์เจสเตรล | รับประทาน | ทุกครั้งที่ร่วมเพศ |
Standard Days Method[ref 1] | CycleBeads, iCycleBeads | 12 (1 of 8.3) |
5 | ทางพฤติกรรม | นับวันตั้งแต่มีประจำเดือน | ทุกวัน |
ฝาครอบปากมดลูกและสารฆ่าเชื้ออสุจิ[ref 1] | 12 (1 of 6) |
6 | สิ่งกีดขวางและสารฆ่าเชื้ออสุจิ | ใส่ในช่องคลอด | ทุกครั้งที่ร่วมเพศ | |
Plastic contraceptive sponge with spermicide used by nulliparous[ref 1][note 4] | Today sponge, the sponge | 12 | 9 | สิ่งกีดขวางและสารฆ่าเชื้ออสุจิ | ใส่ในช่องคลอด | ทุกครั้งที่ร่วมเพศ |
2002[16] cervical cap and spermicide (discontinued in 2008) used by parous[ref 6][note 3][note 5] | Lea's Shield | 15 (1 of 6) |
no data | สิ่งกีดขวางและสารฆ่าเชื้ออสุจิ | ใส่ในช่องคลอด | ทุกครั้งที่ร่วมเพศ |
1988 cervical cap and spermicide (discontinued in 2005) used by nulliparous[ref 9][note 4] | Prentif | 16 | 9 | สิ่งกีดขวางและสารฆ่าเชื้ออสุจิ | ใส่ในช่องคลอด | ทุกครั้งที่ร่วมเพศ |
ถุงยางอนามัยชาย[ref 1][18] | Condom | 18 (1 of 5) |
2 | สิ่งกีดขวาง | สวมบนองคชาตที่แข็งตัว | ทุกครั้งที่ร่วมเพศ |
ถุงยางอนามัยหญิง[ref 1] | 21 (1 of 4.7) |
5 | สิ่งกีดขวาง | ใส่ในช่องคลอด | ทุกครั้งที่ร่วมเพศ | |
การหลั่งนอก[ref 1] | withdrawal method, pulling out | 22 (1 of 5)[20] |
4 | ทางพฤติกรรม | ถอนองคชาตออกมา | ทุกครั้งที่ร่วมเพศ |
Symptoms-based fertility awareness ex. symptothermal and calendar-based methods[ref 1][note 6][note 7] | TwoDay method, Billings ovulation method, Creighton Model | 24 (1 of 4) |
3–4 | ทางพฤติกรรม | Observation and charting of basal body temperature, cervical mucus or cervical position | Throughout day or daily[note 8] |
Calendar-based methods[ref 1] | the rhythm method, Knaus-Ogino method, Standard Days method | no data | 5 | ทางพฤติกรรม | Calendar-based | ทุกวัน |
Plastic contraceptive sponge with spermicide used by parous[ref 1][note 5] | Today sponge, the sponge | 24 (1 of 4) |
20 | สิ่งกีดขวางและสารฆ่าเชื้ออสุจิ | ใส่ในช่องคลอด | ทุกครั้งที่ร่วมเพศ |
Spermicidal gel, foam, suppository, or film[ref 1] | 28 (1 of 4) |
18 | สารฆ่าเชื้ออสุจิ | ใส่ในช่องคลอด | ทุกครั้งที่ร่วมเพศ | |
1988 cervical cap and spermicide (discontinued in 2005) used by parous[ref 9][note 5] | Prentif | 32 | 26 | สิ่งกีดขวางและสารฆ่าเชื้ออสุจิ | ใส่ในช่องคลอด | ทุกครั้งที่ร่วมเพศ |
การสัญญาว่าจะงดเว้นการมีเพศสัมพันธ์[note 9][21] | 50–57.5 (estimated) (1 of 2) |
no data | ทางพฤติกรรม | คำสัญญา | ครั้งเดียว | |
ไม่คุมกำเนิด (ร่วมเพศโดยไม่ป้องกัน)[ref 1] | 85 (6 of 7) |
85 | ทางพฤติกรรม | ไม่คุมกำเนิด | ครั้งเดียว | |
ยาหลอก[22] | 200[note 10] (ทุกคนตั้งครรภ์หลังผ่านไปครึ่งปี) |
200 | ยาหลอก | รับประทาน | ทุกวัน | |
วิธีคุมกำเนิด | ชื่อสามัญ/ยี่ห้อ | อัตราการล้มเหลวในการใช้ทั่วไป (%) | อัตราการล้มเหลวในการใช้อย่างถูกต้อง (%) | ประเภท | วิธีใช้ | ความต้องการจากผู้ใช้ |
บันทึกจากตาราง
- ↑ Note that
- All participants in the study, even those considered "typical-use", took part in Arbeitsgruppe NFP's teaching sessions prior to application of the method (see study section "Teaching the STM")
- The primary author of the study, P. Frank-Herrmann, is a member of Forschungsgruppe NFP[1] which cooperates with the Malteser Arbeitsgruppe NFP[2] เก็บถาวร 2017-12-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน[3]. She also actively recommends the Sensiplan brand on her homepage[4] เก็บถาวร 2017-12-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Sensiplan teachers licensed by Malteser Arbeitsgruppe NFP sell teaching session packages for 120 EUR[5]; the group also sells teacher certificates for 500-800 EUR[6] and licenses the Sensiplan brand to vendors of an app (myNFP) and monitoring device (OvulaRing), as well as to teachers of the method.
- The study considered only the teaching. The sensiplan app and measurement device where not tested, neither alone, nor in combination with the teaching
- Malteser gGmbh is a tax-exempt, but for-profit company, owned by a catholic association. Arbeitsgruppe NFP is controlled by the Episcopal Conference of Germany[7] เก็บถาวร 2017-12-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The catholic church has moral teachings that consider any method other than NFP as immoral.
- The study notes anomalies in the results. Additional condom use made no difference: "The authors were surprised"; observed pregnancy rate for couples that had unprotected sex during the fertile period was 7.5% (instead of the typical 85%): "surprisingly low"; no difference for the teaching phase: "as low as in the subsequent cycles". The authors offer only speculative explanations for these anomalies.
- The study stresses that it was not a randomized controlled trial.
- The study excluded persons younger than 19 years.
- Of 900 women who were admitted to the study, 671 dropped out before the end. The most frequently named reason was a wish to discontinue participating in the study despite being satisfied with the method.
- The homepage of Sensiplan licensee OvulaRing has a disclaimer statement saying that typical-use failure rate of the symptothermal method is considered to be up to 20%[8] เก็บถาวร 2017-12-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ The pregnancy rate applies until the user reaches six months postpartum, or until menstruation resumes, whichever comes first. If menstruation occurs earlier than six months postpartum, the method is no longer effective. For users for whom menstruation does not occur within the six months: after six months postpartum, the method becomes less effective.
- ↑ 3.0 3.1 In the effectiveness study of Lea's Shield, 84% of participants were parous. The unadjusted pregnancy rate in the six-month study was 8.7% among spermicide users and 12.9% among non-spermicide users. No pregnancies occurred among nulliparous users of the Lea's Shield. Assuming the effectiveness ratio of nulliparous to parous users is the same for the Lea's Shield as for the Prentif cervical cap and the Today contraceptive sponge, the unadjusted six-month pregnancy rate would be 2.2% for spermicide users and 2.9% for those who used the device without spermicide.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 Nulliparous refers to those who have not given birth.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 Parous refers to those who have given birth.
- ↑ No formal studies meet the standards of Contraceptive Technology for determining typical effectiveness. The typical effectiveness listed here is from the CDC's National Survey of Family Growth, which grouped symptoms-based methods together with calendar-based methods. See Fertility awareness#Effectiveness.
- ↑ The term fertility awareness is sometimes used interchangeably with the term natural family planning (NFP), though NFP usually refers to use of periodic abstinence in accordance with Catholic beliefs.
- ↑ Users may observe one of the three primary fertility signs. Basal body temperature (BBT) and cervical position are checked once per day. Cervical mucus is checked before each urination, and vaginal sensation is observed throughout the day. The observed sign or signs are recorded once per day.
- ↑ Strictly speaking, abstinence pledges are not a method of birth control, as their purpose is preservation of the virginity of unmarried girls, with prevention of pregnancies only being a side-effect. This also means that they are restricted to the time before marriage.
- ↑ Several factors may contribute to the fact that the placebo was observed to be significantly less effective than unprotected intercourse: 1. The study was not representative, as it only considered women of low socioeconomic level who had aborted spontaneously and desired pregnancy, 2. the placebo may have caused behavioral differences compared to unprotected intercourse: the couples might assume to be protected and thus be less relucatant to have sex and/or be in a different psychological mood that increases fertility via psychosomatic action
อ้างอิงจากตาราง
- ↑ 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 1.14 1.15 1.16 1.17 1.18 1.19 1.20 1.21 https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3638209/
- ↑ Sivin, I.; Campodonico, I.; Kiriwat, O.; Holma, P.; Diaz, S.; Wan, L.; Biswas, A.; Viegas, O.; และคณะ (1998). "The performance of levonorgestrel rod and Norplant contraceptive implants: A 5 year randomized study". Human Reproduction. 13 (12): 3371–8. doi:10.1093/humrep/13.12.3371. PMID 9886517.
- ↑ "FDA Approves Combined Monthly Injectable Contraceptive". The Contraception Report. Contraception Online. June 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 18, 2007. สืบค้นเมื่อ 2008-04-13.
- ↑ "Essure System - P020014". United States Food and Drug Administration Center for Devices and Radiological Health. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-04.
- ↑ Trussell, James (2007). "Contraceptive Efficacy". ใน Hatcher, Robert A.; Trussell, James; Nelson, Anita L. (บ.ก.). Contraceptive Technology (19th ed.). New York: Ardent Media. ISBN 0-9664902-0-7. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-01. สืบค้นเมื่อ 2018-01-10.
- ↑ 6.0 6.1 Mauck, Christine; Glover, Lucinda H.; Miller, Eric; Allen, Susan; Archer, David F.; Blumenthal, Paul; Rosenzweig, Bruce A.; Dominik, Rosalie; และคณะ (1996). "Lea's Shield®: A study of the safety and efficacy of a new vaginal barrier contraceptive used with and without spermicide". Contraception. 53 (6): 329–35. doi:10.1016/0010-7824(96)00081-9. PMID 8773419.
- ↑ "Clinician Protocol". FemCap manufacturer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-22.
- ↑ Puri V (1988). "Results of multicentric trial of Centchroman". ใน Dhwan B. N.; และคณะ (บ.ก.). Pharmacology for Health in Asia : Proceedings of Asian Congress of Pharmacology, 15–19 January 1985, New Delhi, India. Ahmedabad: Allied Publishers.
Nityanand S (1990). "Clinical evaluation of Centchroman: a new oral contraceptive". ใน Puri, Chander P.; Van Look; Paul F. A. (บ.ก.). Hormone Antagonists for Fertility Regulation. Bombay: Indian Society for the Study of Reproduction and Fertility. - ↑ 9.0 9.1 Trussell, James (2004). "Contraceptive Efficacy". ใน Hatcher, Robert A.; Trussell, James; Nelson, Anita L. (บ.ก.). Contraceptive Technology (18th ed.). New York: Ardent Media. pp. 773–845. ISBN 0-9664902-6-6.
ค่าใช้จ่ายและต้นทุน-ประสิทธิภาพ
การวางแผนครอบครัวโดยการคุมกำเนิดเป็นหนึ่งในนโยบายด้านสุขภาพที่คุ้มทุนที่สุด[23] ค่าใช้จ่ายของการคุมกำเนิดรวมค่าใช้จ่ายตอนใช้ (ค่าอุปกรณ์ ค่าเรียนวิธีใช้ ค่าไปพบแพทย์), ค่าใช้จ่ายหากวิธีล้มเหลว (การตั้งครรภ์นอกมดลูก การแท้งเอง การทำแท้ง การทำคลอด ค่าเลี้ยงดูบุตร), และค่าใช้จ่ายเมื่อมีผลข้างเคียง[24] การคุมกำเนิดช่วยลดค่าใช้จ่ายโดยการลดการตั้งครรภ์ที่ไม่ตั้งใจและลดการติดต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
การทำหมันชายมักถูกกว่าการทำหมันหญิงมาก
การนับระยะปลอดภัยและการคุมกำเนิดโดยการให้นมลูกเป็นวิธีโดยพฤติกรรมที่แทบไม่มีค่าใช้จ่าย
การไม่คุมกำเนิดเป็นตัวเลือกที่แพงที่สุด แม้จะไม่มีค่าใช้จ่ายในการใช้ ทว่ามีอัตราการล้มเหลวสูงสุดจึงทำให้มีค่าใช้จ่ายที่ตามมาสูงที่สุด
วิธีที่มีประสิทธิผลสูงสุดและคุ้มทุนที่สุดคือวิธีที่ให้ผลนาน แม้วิธีเหล่านี้มักมีค่าใช้จ่ายตอนใช้ค่อนข้างสูง แต่นับว่าเป็นการประหยัดเงินในภายหลัง[25] การคุมกำเนิดลดค่าใช้จ่ายของทั้งระบบสาธารณสุขและผู้รับประกัน
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 1.2 Hatcher, Robert A.; Trussell, James; Nelson, Anita L., บ.ก. (2011). Contraceptive Technology (20th ed.). New York: Ardent Media. ISBN 978-1-59708-004-0.
- ↑ Kathleen Henry Shears; Kerry Wright Aradhya (July 2008). Helping women understand contraceptive effectiveness (PDF) (Report). Family Health International.
- ↑ Trussell, James (2007). "Contraceptive Efficacy". ใน Hatcher, Robert A.; Trussell, James; Nelson, Anita L. (บ.ก.). Contraceptive Technology (19th ed.). New York: Ardent Media. ISBN 0-9664902-0-7. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-01. สืบค้นเมื่อ 2018-01-10.
- ↑ Bloomquist, Michele (May 2000). "Getting Your Tubes Tied: Is this common procedure causing uncommon problems?". MedicineNet.com. WebMD. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-12-21. สืบค้นเมื่อ 2006-09-25.
- ↑ Hauber, Kevin C. "If It Works, Don't Fix It!". สืบค้นเมื่อ 2006-09-25.[แหล่งอ้างอิงทางการแพทย์ที่ไม่น่าเชื่อถือ?]
- ↑ Awsare, Ninaad S; Krishnan, Jai; Boustead, Greg B; Hanbury, Damian C; McNicholas, Thomas A (2005). "Complications of vasectomy". Annals of the Royal College of Surgeons of England. 87 (6): 406–10. doi:10.1308/003588405X71054. PMC 1964127. PMID 16263006.
- ↑ "Planned Parenthood IUD Birth Control - Mirena IUD - ParaGard IUD". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-04. สืบค้นเมื่อ 2012-02-26.
- ↑ Staff, Healthwise. "Advantages and Disadvantages of Hormonal Birth Control". สืบค้นเมื่อ 2010-07-06.
- ↑ Winer, Rachel L.; Hughes, James P.; Feng, Qinghua; O'Reilly, Sandra; Kiviat, Nancy B.; Holmes, King K.; Koutsky, Laura A. (2006). "Condom Use and the Risk of Genital Human Papillomavirus Infection in Young Women". New England Journal of Medicine. 354 (25): 2645–54. doi:10.1056/NEJMoa053284. PMID 16790697.
- ↑ Hogewoning, Cornelis J.A.; Bleeker, Maaike C.G.; Van Den Brule, Adriaan J.C.; Voorhorst, Feja J.; Snijders, Peter J.F.; Berkhof, Johannes; Westenend, Pieter J.; Meijer, Chris J.L.M. (2003). "Condom use promotes regression of cervical intraepithelial neoplasia and clearance of human papillomavirus: A randomized clinical trial". International Journal of Cancer. 107 (5): 811–6. doi:10.1002/ijc.11474. PMID 14566832.
- ↑ Cates, Willard; Steiner, Markus J. (2002). "Dual Protection Against Unintended Pregnancy and Sexually Transmitted Infections". Sexually Transmitted Diseases. 29 (3): 168–74. doi:10.1097/00007435-200203000-00007. PMID 11875378.
- ↑ Trussell, James; Wynn, L.L. (2008). "Reducing unintended pregnancy in the United States". Contraception. 77 (1): 1–5. doi:10.1016/j.contraception.2007.09.001. PMID 18082659.
- ↑ Kestelman, Philip; Trussell, James (1991). "Efficacy of the Simultaneous Use of Condoms and Spermicides". Family Planning Perspectives. 23 (5): 226–7, 232. doi:10.2307/2135759. JSTOR 2135759. PMID 1743276.
- ↑ "Efficacy and side effects of immediate postcoital levonorgestrel used repeatedly for contraception". Contraception. 61 (5): 303–8. 2000. doi:10.1016/S0010-7824(00)00116-5. PMID 10906500.
- ↑ Frank-Herrmann, P.; Heil, J.; Gnoth, C.; Toledo, E.; Baur, S.; Pyper, C.; Jenetzky, E.; Strowitzki, T.; และคณะ (2007). "The effectiveness of a fertility awareness based method to avoid pregnancy in relation to a couple's sexual behaviour during the fertile time: A prospective longitudinal study". Human Reproduction. 22 (5): 1310–9. doi:10.1093/humrep/dem003. PMID 17314078.
- ↑ 16.0 16.1 "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-11. สืบค้นเมื่อ 2018-01-10.
- ↑ Gu Y, Liang X, Wu W, และคณะ (2013-08-12). "Multicenter contraceptive efficacy trial of injectable testosterone undecanoate in Chinese men". J Clin Endocrinol Metab. 94 (6): 1910–5. doi:10.1210/jc.2008-1846. PMID 19293262.
{cite journal}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|year=
/|date=
ไม่ตรงกัน (help) - ↑ 18.0 18.1 18.2 "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-11-12. สืบค้นเมื่อ 2018-01-10.
- ↑ 19.0 19.1 see Combined oral contraceptive pill § Role of Placebo Pills
- ↑ http://www.guttmacher.org/pubs/journals/reprints/Contraception79-407-410.pdf
- ↑ http://www.scarleteen.com/blog/heather_corinna/2010/01/29/whats_the_typical_use_effectiveness_rate_of_abstinence
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-09. สืบค้นเมื่อ 2018-01-10.
- ↑ Tsui, A. O.; McDonald-Mosley, R.; Burke, A. E. (2010). "Family Planning and the Burden of Unintended Pregnancies". Epidemiologic Reviews. 32 (1): 152–74. doi:10.1093/epirev/mxq012. PMC 3115338. PMID 20570955.
- ↑ Trussell, J; Lalla, AM; Doan, QV; Reyes, E; Pinto, L; Gricar, J (2009). "Cost effectiveness of contraceptives in the United States". Contraception. 79 (1): 5–14. doi:10.1016/j.contraception.2008.08.003. PMC 3638200. PMID 19041435.
- ↑ Cleland, Kelly; Peipert, Jeffrey F.; Westhoff, Carolyn; Spear, Scott; Trussell, James (2011). "Family Planning as a Cost-Saving Preventive Health Service". New England Journal of Medicine. 364 (18): e37. doi:10.1056/NEJMp1104373. PMID 21506736.