การสังหารหมู่สเรเบรนิตซา
การสังหารหมู่สเรเบรนิตซา | |
---|---|
เป็นส่วนหนึ่งของ สงครามบอสเนีย | |
สุสานและอนุสรณ์สถานของเหตุฆ่าล้างชาติที่สเรเบรนิตซา | |
สถานที่ | สเรเบรนิตซา [ออกเสียง: /'srɛbrɛniʦa/], บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา |
วันที่ | 11 - 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 |
เป้าหมาย | เด็กชายและชายหนุ่มชาวบอสนีแอก |
ประเภท | การโจมตีทางทหาร, การฆ่าตัดตอน |
ตาย | 8,373 ราย[1] |
ผู้ก่อเหตุ | กองทัพสาธารณรัฐเซิร์ปสกา,[2][3] กองกำลังสกอร์เปียนส์[4][5][6] |
การสังหารหมู่สเรเบรนิตซา (อังกฤษ: Srebrenica massacre) หรือ การล้างชาติสเรเบรนิตซา (อังกฤษ: Srebrenica genocide) หมายถึง การสังหารชายและเด็กชายชาวบอสนีแอก (ชาวบอสเนียมุสลิม)[1] มากกว่า 8,000 คน ในและรอบเมืองสเรเบรนิตซาในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา โดยทหารหน่วยหนึ่งของกองทัพสาธารณรัฐเซิร์ปสกาซึ่งเป็นชาวบอสเนียเชื้อสายเซิร์บ ภายใต้บังคับบัญชาของนายพลรัตกอ มลาดิช ระหว่างสงครามบอสเนีย หน่วยกึ่งทหารจากเซอร์เบียซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อ สกอร์เปียนส์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระทรวงมหาดไทยเซอร์เบียจนถึง พ.ศ. 2534[7] มีส่วนเกี่ยวข้องในการสังหารหมู่ครั้งนี้ด้วย[8][9] นอกจากนี้ยังมีการกล่าวหาว่าอาสาสมัครต่างด้าว รวมทั้งทหารอาสากรีก มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย[10][11][12] การถ่ายโอนประชากรหญิง เด็ก และคนชราชาวบอสนีแอกโดยใช้กำลังเป็นจำนวนระหว่าง 25,000 ถึง 30,000 คน ประกอบกับการสังหารหมู่นั้น ศาลอาญาระหว่างประเทศในอดีตยูโกสลาเวียวินิจฉัยว่าเป็นหลักฐานของเจตนาล้างชาติของเสนาธิการหลักของกองทัพสาธารณรัฐเซิร์ปสกาซึ่งชักใยการสังหารหมู่ดังกล่าว[13]
เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2536 สหประชาชาติได้ประกาศว่าสเรเบรนิตซาที่ถูกล้อมในหุบเขาดรีนาทางตะวันออกเฉียงเหนือของบอสเนียนั้นเป็น "เขตปลอดภัย" ภายใต้การคุ้มครองของสหประชาชาติ แต่ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2538 กองกำลังคุ้มครองสหประชาชาติ (UNPROFOR) ซึ่งประกอบด้วยหน่วยรักษาสันติภาพดัตช์ 400 นาย ไม่สามารถคุ้มครองมิให้เมืองถูกยึดครองโดยกองทัพสาธารณรัฐเซิร์ปสกาและการสังหารหมู่ที่เกิดขึ้นตามมาได้[14][15][16][17]
การสังหารหมู่สเรเบรนิตซาเป็นการสังหารหมู่ครั้งใหญ่ที่สุดในยุโรปนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองยุติ[18] ในปี พ.ศ. 2547 สภาอุทธรณ์แห่งศาลอาญาระหว่างประเทศในอดีตยูโกสลาเวียมีคำวินิจฉัยอย่างเป็นเอกฉันท์ในคดี "ระหว่างพนักงานอัยการ กับคริชทิช" ว่าการสังหารหมู่ราษฎรที่สเรเบรนิตซานั้นเข้าข่ายอาชญากรรมการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์[19]
เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเห็นด้วยกับคำพิพากษาของศาลอาญาระหว่างประเทศในอดีตยูโกสลาเวียว่าความรุนแรงซึ่งกระทำขึ้นที่สเรเบรนิตซาเข้าข่ายการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ โดยกล่าวว่า:
ศาลฯ สรุปว่าพฤติการณ์ซึ่งกระทำที่สเรเบรนิตซานั้นอยู่ในขอบเขตของมาตรา 2 (ก) และ (ข) ของอนุสัญญา เป็นการกระทำโดยมีจุดประสงค์เฉพาะในการทำลายกลุ่มมุสลิมในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา และดังนั้น เหล่านี้จึงเป็นพฤติการณ์ของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ซึ่งกระทำโดยสมาชิกของกองทัพสาธารณรัฐเซิร์ปสกาในและรอบสเรเบรนิตซาตั้งแต่วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538[20]
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศวินิจฉัยว่าสหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวียและเซอร์เบียนั้นไม่มีความผิดฐานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ อย่างไรก็ตาม ศาลฯ ได้วินิจฉัยว่าเซอร์เบีย "ได้ละเมิดพันธกรณีที่จะต้องป้องกันมิให้เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ขึ้น" และเซอร์เบียจะต้องให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่กับศาลฯ ในการส่งมอบบุคคลที่ถูกกล่าวหาในความผิดฐานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ให้กับศาลอาญาระหว่างประเทศในอดีตยูโกสลาเวีย[21] รัตกอ มลาดิชถูกกล่าวหาโดยศาลอาญาระหว่างประเทศในอดีตยูโกสลาเวียและต้องสงสัยว่าซ่อนตัวอยู่ในเซอร์เบียหรือในเขตปกครองของชาวเซิร์บภายในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ซึ่งเรียกว่า สาธารณรัฐเซิร์ปสกา มลาดิชถูกจับกุมเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 และจะต้องเผชิญกับการพิจารณาในข้อหาอาชญากรรมสงครามในกรุงเฮก[22]
เหยื่อที่ถูกสังหารส่วนใหญ่เป็นชายวัยผู้ใหญ่และเด็กชายวัยรุ่น แต่มีรายงานว่าเหยื่อยังรวมไปถึงเด็กชายอายุต่ำกว่า 15 ปี ชายอายุมากกว่า 65 ปี และทารกอีกหลายศพ[23] "รายชื่อบุคคลผู้หายสาบสูญหรือถูกสังหารในสเรเบรนิตซาเบื้องต้น" ซึ่งรวบรวมขึ้นโดยคณะกรรมาธิการบุคคลหายสาบสูญสหพันธ์บอสเนีย ประกอบด้วยบุคคลจำนวน 8,373 ชื่อ[1] ในจำนวนนี้ ราว 500 คนมีอายุน้อยกว่า 18 ปี[24] และรวมไปถึงผู้หญิงและเด็กหญิงอีกหลายสิบคน[25] [26] จนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2553 เหยื่อการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์จำนวน 6,557 คนถูกพิสูจน์เอกลักษณ์โดยใช้การวิเคราะห์ดีเอ็นเอจากชิ้นส่วนร่างกายที่เก็บมาจากสุสานหมู่[27]
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 1.2 Potocari Memorial Center PRELIMINARY LIST of Missing Persons from Srebrenica '95 [1] เก็บถาวร 2014-04-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ UN Press Release SG/SM/9993UN, 11/07/2005 "Secretary-General Kofi Annan’s message to the ceremony marking the tenth anniversary of the Srebrenica massacre in Potocari-Srebrenica". Retrieved 9 August 2010.
- ↑ Briefly Noted, Complied by IWPR staff in The Hague (TU No 398, 18-Mar-05)
- ↑ Paramilitaries Get 15 – 20 Years for Kosovo Crimes – [Balkan Insight http://balkaninsight.com/en/main/news/20364/]
- ↑ "Serbia: Mladic “Recruited” Infamous Scorpions". Institute for War and Peace Reporting. [2]
- ↑ Williams, Daniel. "Srebrenica Video Vindicates Long Pursuit by Serb Activist". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 26 May 2011.
- ↑ Paramilitaries Get 15 – 20 Years for Kosovo Crimes – [Balkan Insight http://balkaninsight.com/en/main/news/20364/]
- ↑ "Serbia: Mladic “Recruited” Infamous Scorpions". Institute for War and Peace Reporting. [3]
- ↑ "Srebrenica Video Vindicates Long Pursuit by Serb Activist". Washingtonpost.com. สืบค้นเมื่อ 2011-05-26.
- ↑ Michas, Takis (2002). Unholy Alliance: Greece and Milosevic's Serbia in the Nineties. Texas A&M University Press. ISBN 158544183X.
- ↑ Grohmann, Karolos; "Greece starts probe into Srebrenica massacre"; Reuters, 27 June 2006 [4] เก็บถาวร 2009-01-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ ""Greek volunteers in the Srebrenica Genocide" by Harun Karcic, Today's Zaman, 4 July 2010. Retrieved 25 July 2010". Todayszaman.com. 2010-07-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-16. สืบค้นเมื่อ 2011-05-26.
- ↑ Prosecutor vs Krstic, ICTY Appeals Chamber Judgement, Case No. IT-98-33, 19 April 2004, Para. 33, accessed 21 March 2011
- ↑ ICTY, Prosecutor vs Krstic, Judgement, Case No. IT-98-33, United Nations, 2 August 2001[5]PDF (685 KB), "Findings of Fact", paragraphs 18 and 26 [6]
- ↑ "UN Srebrenica immunity questioned". BBC. 18 June 2008. สืบค้นเมื่อ 1 November 2008.
- ↑ Comprehensive report of the proceedings, www.vandiepen.com เก็บถาวร 2008-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "Under The UN Flag; The International Community and the Srebrenica Genocide" by Hasan Nuhanović, pub. DES Sarajevo, 2007, ISBN 978-9958-728-87-7 [7] เก็บถาวร 2015-09-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [8] เก็บถาวร 2019-10-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Institute for War and Peace Reporting, Tribunal Update: Briefly Noted (TU No 398, 18 March 2005) [9]
- ↑ "ICTY "Prosecutor v. Krstic"" (PDF). Un.org. 2007-03-05. สืบค้นเมื่อ 2011-05-26.
- ↑ ICJ; The Application of the Convention on the Prevention and Punishment of the Crime of Genocide (Bosnia and Herzegovina v. Serbia and Montenegro), case 91, The Hague, 26 February 2007, p. 108, paragraph 297. [10] เก็บถาวร 2011-03-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ ICJ press release 2007/8 เก็บถาวร 2010-02-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 26 February 2007, See points 7 nad 8
- ↑ Nick Hawton. The hunt for Mladic and Karadzic BBC, 26 February 2007
- ↑ ICTY, Prosecutor vs Krstic, Trial Chamber Judgement, Case No. IT-98-33-T, paragraph 504. [11]
- ↑ Danijel Toljaga and Hasan Nuhanovic: Incomplete List of Killed Children During Srebrenica Genocide Srebrenica Bilten 41, page #7 เก็บถาวร 2012-02-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน published by Women of Srebrenica
- ↑ Federal Commission for Missing Persons; "Preliminary List of Missing and Killed in Srebrenica"; 2005 [12] เก็บถาวร 2005-10-23 ที่ Library of Congress Web Archives
- ↑ Mothers of Srebrenica Appeal Heard Today. BalkanInsight.com. Retrieved on 13 August 2010.
- ↑ "ICMP makes 13,000 DNA- led identifications of missing persons from Bosnia-Herzegovina", article posted on ICMP website, 26 March 2010 [13] เก็บถาวร 2020-03-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved 15 April 2010.
แหล่งข้อมูลอื่น
- 5,000 Muslim Lives for Military Intervention (Dani, Sarajevo, Bosnia-Hercegovina, June 22 1998. Interview with Hakija Meholjic, president of Social Democratic Party for Srebrenica, by Hasan Hadzic)
- The Real Srebrenica Genocide
- Alexander Dorin, Zoran Jovanović. Srebrenica: what really happened เก็บถาวร 2011-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Srebrenica historical project
- Srebrenica And the Politics of War Crimes เก็บถาวร 2009-04-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Srebrenica "massacre" เก็บถาวร 2009-07-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน