จักรวรรดิปาละ
จักรวรรดิปาละ | |||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ค.ศ. 750[1]–ค.ศ. 1161[2] | |||||||||||||||||
สถานะ | จักรวรรดิ | ||||||||||||||||
เมืองหลวง | |||||||||||||||||
ภาษาทั่วไป | สันสกฤต,[6] เบงกอลดั้งเดิม, ไมถิลี[7] | ||||||||||||||||
ศาสนา | พุทธนิกายมหายาน, พุทธนิกายตันตรยาน, ฮินดู[8] | ||||||||||||||||
การปกครอง | ราชาธิปไตย | ||||||||||||||||
จักรพรรดิ | |||||||||||||||||
• ค.ศ. 750[1] | โคปาละ | ||||||||||||||||
• คริสต์ศตวรรษที่ 12 | Madanapala | ||||||||||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | หลังสมัยคลาสสิก | ||||||||||||||||
• ก่อตั้ง | ค.ศ. 750[1] | ||||||||||||||||
• สิ้นสุด | ค.ศ. 1161[2] | ||||||||||||||||
|
จักรวรรดิปาละ (อังกฤษ: Pala Empire; ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 750-1161)[1][2] เป็นจักรวรรดิในสมัยปลายสมัยคลาสสิกในอนุทวีปอินเดีย[9] ซึ่งมีต้นกำเนิดในภูมิภาคเบงกอล ปาละมักจะได้รับการบรรยายโดยศัตรูว่าเป็น “ประมุขแห่งกวาดา” (Gaur, West Bengal) คำว่า “ปาละ” ในภาษาเบงกอล (เบงกอล: পাল pal) แปลว่า “ผู้พิทักษ์” และใช้เป็นสร้อยพระนามของกษัตริย์ทุกพระองค์ ปาละเป็นผู้นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายานและลัทธิตันตระ พระเจ้าโคปาละทรงเป็นกษัตริย์องค์แรกของราชวงศ์ผู้ขึ้นครองราชย์ใน ค.ศ. 750[1] กวาดาโดยการรับเลือกตั้งอย่างประชาธิปไตย เหตุการณ์ครั้งนี้ถือกันว่าเป็นการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตยเป็นครั้งแรกของเอเชียใต้ตั้งแต่สมัย 16 มหาชนบท พระเจ้าโคปาละครองราชย์ระหว่าง ค.ศ. 750 จนถึง ค.ศ. 770 ระหว่างรัชสมัยของพระองค์ พระองค์ก็ทรงขยายอำนาจควบคุมเบงกอลได้ทั้งหมด ปาละมีความรุ่งเรืองอยู่ราวสี่ร้อยปีระหว่าง ค.ศ. 750 จนถึง ค.ศ. 1120 ที่เป็นสมัยของความมั่นคงและความสงบสุข ในช่วงนี้ก็มีการสร้างวัดและงานศิลปะต่าง ๆ รวมทั้งการก่อตั้งมหาวิทยาลัยที่นาลันทา และวิกรมศิลา วัดโสมาปุระมหาวิหาร (Somapura Mahavihara) สร้างโดยพระเจ้าธรรมปาละในพหารปุระ (Paharpur) ในบังกลาเทศถือกันว่าเป็นพุทธศาสนสถานที่สำคัญที่สุดในอินเดียใต้
จักรวรรดิปาละรุ่งเรืองที่สุดในสมัยของพระเจ้าธรรมปาละและพระเจ้าเทวปาละ พระเจ้าเทวปาละทรงขยายดินแดนจนครอบคลุมบริเวณอินเดียใต้และไกลออกไปจากนั้น จักรวรรดิของพระองค์ครอบคลุมตั้งแต่อัสสัม ไปจนถึง อุตคาละ ทางตะวันออก, กัมโพชะ (อัฟกานิสถานปัจจุบัน) ทางตะวันตกเฉียงเหนือ และ เด็คคานทางตอนใต้ หลักฐานที่บันทึกไว้บนแผ่นทองแดงของปาละกล่าวว่าปาละสามารถพิชิต อุตคาละ, อัสสัม, ฮูนา, ประติหาระ (Pratihara), คุชราต (Gurjara) และ ทราวิฑ (Dravida) ได้
การเสด็จสวรรคตของพระเจ้าเทวปาละเป็นการสิ้นสุดยุคแห่งความรุ่งเรืองของจักรวรรดิปาละ หลังจากนั้นอาณาบริเวณนั้นก็แบ่งแยกออกไปเป็นอาณาจักรย่อย ๆ ที่ปกครองโดยราชวงศ์ต่าง ๆ หลายราชวงศ์ แต่เมื่อมาถึงรัชสมัยของพระเจ้ามหิปาละ พระองค์ก็ทรงสามารถนำความรุ่งเรืองมาสู่จักรวรรดิได้อีกครั้งหนึ่งและทรงขยายดินแดนของจักรวรรดิออกไปอีก นอกจากนั้นก็ยังทรงสามารถต่อต้านการรุกรานของ ราเชนทระ โจฬะ (Rajendra Chola) และ ราชวงศ์จาลุกยะได้ หลังจากสมัยของพระเจ้ามหิปาละแล้วจักรวรรดิปาละก็เสื่อมโทรมลงอีกครั้งหนึ่งจนกระทั่งมาถึงสมัยของพระเจ้ารามปาละผู้เป็นพระจักรพรรดิผู้มีอำนาจองค์สุดท้ายของราชวงศ์ พระองค์ทรงสามารถกู้ดินแดนที่เสียไปคืนมาได้บ้าง ทรงปราบปรามกลุ่มปฏิวัติวเรนทระ และขยายจักรวรรดิต่อไปยัง Kamarupa, โอริสสา และอินเดียเหนือ
จักรวรรดิปาละถือว่าเป็นยุคทองของเบงกอลที่เป็นความรุ่งเรืองอันไม่เคยเห็นกันมาก่อน ราชวงศ์ปาละมีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่ศาสนาพุทธนิกายมหายานไปยังทิเบต, ภูฏาน และ พม่า นอกจากนั้นก็ยังทำการค้าขายไปยังดินแดนต่างๆ รวมทั้งการมีอิทธิพลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่จะเห็นได้จากลักษณะประติมากรรมและสถาปัตยกรรมของจักรวรรดิราชวงศ์ไศเลนทร (คาบสมุทรมลายู, ชวา และ สุมาตราปัจจุบัน) จักรวรรดิปาละสลายตัวลงในคริสต์ศตวรรษที่ 12 เมื่อถูกโจมตีโดยราชวงศ์เสนะ
ราชอาณาจักรยุคกลางของอินเดีย
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 R. C. Majumdar (1977). Ancient India. Motilal Banarsidass. pp. 268–. ISBN 978-81-208-0436-4.
- ↑ 2.0 2.1 Sengupta 2011, pp. 39–49.
- ↑ Schwartzberg, Joseph E. (1978). A Historical atlas of South Asia. Chicago: University of Chicago Press. p. 146, map XIV.2 (g). ISBN 0226742210.
- ↑ Michael C. Howard (2012). Transnationalism in Ancient and Medieval Societies: The Role of Cross-Border Trade and Travel. McFarland. p. 72. ISBN 978-0-7864-9033-2.
- ↑ Huntington 1984, p. 56.
- ↑ Sengupta 2011, p. 102.
- ↑ Bajpai, Lopamudra Maitra (2020). India, Sri Lanka and the SAARC Region: History, Popular Culture and Heritage. Abingdon: Taylor & Francis. p. 141. ISBN 978-1-00-020581-7.
- ↑ The Śaiva Age: The Rise and Dominance of Śaivism during the Early Medieval Period. In: Genesis and Development of Tantrism, edited by Shingo Einoo. Tokyo: Institute of Oriental Culture, University of Tokyo, 2009. Institute of Oriental Culture Special Series, 23, pp. 41–350.
- ↑ Sailendra Nath Sen (1999). Ancient Indian History and Civilization. New Age International. pp. 280–. ISBN 978-81-224-1198-0.
บรรณานุกรม
- Bagchi, Jhunu (1993). The History and Culture of the Pālas of Bengal and Bihar, Cir. 750 A.D.–cir. 1200 A.D. Abhinav Publications. ISBN 978-81-7017-301-4.
- Craven, Roy C., Indian Art: A Concise History, 1987, Thames & Hudson (Praeger in USA), ISBN 0500201463
- Harle, J. C., The Art and Architecture of the Indian Subcontinent, 2nd edn. 1994, Yale University Press. (Pelican History of Art), ISBN 0300062176
- Huntington, Susan L. (1984). The "Påala-Sena" Schools of Sculpture. Brill Archive. ISBN 90-04-06856-2.
- Paul, Pramode Lal (1939). The Early History of Bengal. Indian History. Vol. 1. Indian Research Institute. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 August 2016. สืบค้นเมื่อ 28 March 2014.
- Sengupta, Nitish K. (2011). Land of Two Rivers: A History of Bengal from the Mahabharata to Mujib. Penguin Books India. pp. 39–49. ISBN 978-0-14-341678-4.