อาณาจักรพระนคร
อาณาจักรพระนคร | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ค.ศ. 802–ค.ศ. 1431 | |||||||||||
ธงชาติ | |||||||||||
การขยายตัวของอาณาจักรพระนครในช่วง ค.ศ. 802–1204 | |||||||||||
สถานะ | จักรวรรดิ | ||||||||||
เมืองหลวง |
| ||||||||||
ภาษาราชการ | ภาษาเขมร | ||||||||||
ภาษาทั่วไป |
| ||||||||||
ศาสนา |
| ||||||||||
เดมะนิม | เขมร | ||||||||||
การปกครอง | สมบูรณาญาสิทธิราชย์แบบเทวราชา | ||||||||||
พระมหากษัตริย์ | |||||||||||
• ค.ศ. 802–850 | พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 | ||||||||||
• ค.ศ. 1113–1150 | พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 | ||||||||||
• ค.ศ. 1181–1218 | พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 | ||||||||||
• ค.ศ. 1417–1431 | เจ้าพระยาญาติ | ||||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | สมัยกลาง | ||||||||||
• พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ขึ้นครองราชย์ | ค.ศ. 802 | ||||||||||
• สถาปนานครวัด | ค.ศ. 1113–1150 | ||||||||||
• อาณาจักรพระนครล่มสลาย | ค.ศ. 1431 | ||||||||||
พื้นที่ | |||||||||||
ค.ศ. 1290[1][2] | 1,000,000 ตารางกิโลเมตร (390,000 ตารางไมล์) | ||||||||||
|
อาณาจักรพระนคร[3] (เขมร: ចក្រភពអង្គរ จกฺรภพองฺคร) หรือ อาณาจักรเขมร[4] (เขมร: ចក្រភពខ្មែរ จกฺรภพขฺแมร) บ้างเรียก อาณาจักรขอม[5][6] เป็นคำที่นักประวัติศาสตร์ใช้เรียกประเทศกัมพูชาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 9–15 ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศนี้เป็นจักรวรรดิพุทธ-ฮินดูอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จักรวรรดิแห่งนี้วิวัฒนาการขึ้นจากอารยธรรมโบราณที่เรียกฟูนันและเจนละซึ่งปกครองหรือเป็นเจ้าประเทศราชอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นดินส่วนใหญ่[7] ตลอดจนบางส่วนของจีนใต้ โดยมีอาณาเขตตั้งแต่ปลายคาบสมุทรอินโดจีนไปทางเหนือจนถึงมณฑลยูนนานในประเทศจีนปัจจุบัน และทางตะวันตกจากประเทศเวียดนามไปจนถึงประเทศเมียนมา[8][9]
มรดกที่โดดเด่นที่สุดของอาณาจักรพระนคร คือ เมืองพระนคร ซึ่งเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรนี้ในช่วงรุ่งเรืองที่สุด โบราณสถานอลังการหลายแห่งในเมืองพระนคร เช่น นครวัด และปราสาทบายน เป็นเครื่องยืนยันถึงความมหาศาลของอำนาจ ราชทรัพย์ ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาการทางสถาปัตยกรรม และระบบความเชื่ออันหลากหลายในอาณาจักรนี้ ภาพถ่ายจากดาวเทียมแสดงให้เห็นว่า ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 11–12 ซึ่งอาณาจักรพระนครเจริญถึงขีดสุดนั้น อาณาจักรพระนครเป็นชุมชนเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลกก่อนยุคอุตสาหกรรม[10][11] นักวิจัยยังเห็นว่า อาณาจักรพระนครเป็นแห่งแรกในโลกที่ก่อตั้งระบบสาธารณสุข โดยมีสถานพยาบาลสาธารณะถึง 102 แห่ง[12]
ตามประเพณีแล้ว อาณาจักรพระนครเริ่มต้นใน ค.ศ. 802 เมื่อพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ทรงประกาศพระองค์เป็นพระเจ้าจักรพรรดิที่พนมกุเลน และอาณาจักรพระนครสิ้นสุดลงเมื่ออาณาจักรอยุธยาเข้ายึดเมืองพระนครใน ค.ศ. 1431 แต่สาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้อาณาจักรพระนครล่มลายนั้นยังคงเป็นที่สงสัยของนักวิชาการ[13] นักวิจัยเห็นว่า ปัญหาหนึ่งในอาณาจักรนี้ คือ การที่เกิดฝนมรสุมสลับไปมากับภาวะร้อนแล้งซึ่งสร้างความเสียหายแก่โครงสร้างพื้นฐาน[14]
การเปลี่ยนแปลงดินแดน
พื้นที่อาณาจักรพระนครระบายด้วยสีแดง
-
ค.ศ. 900 (พ.ศ. 1443)
-
ประมาณ ค.ศ. 1000 - 1100 (พ.ศ. 1543–1643)
-
ประมาณ ค.ศ. 1300 (พ.ศ. 1843)
-
ประมาณ ค.ศ. 1400 (พ.ศ. 1943)
รายพระนามพระมหากษัตริย์พระนคร
รายพระนามพระมหากษัตริย์กัมพูชา | ||||
พระมหากษัตริย์ | ครองราชย์ | |||
---|---|---|---|---|
รัชกาล | พระรูป | พระนาม | ระหว่าง | หมายเหตุ |
อาณาจักรพระนคร (พ.ศ. 1345 – 1974) | ||||
สถาปนา มเหนทรบรรพต เป็นเมืองหลวง | ||||
สถาปนา หริหราลัย เป็นเมืองหลวง | ||||
31 | พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 | พ.ศ. 1345 – 1378 (33 ปี) |
ประกาศอิสรภาพกัมพูชาจากการยึดครองของอาณาจักรศรีวิชัย สถาปนาอาณาจักรพระนคร และรับการอภิเษกเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ณ พนมกุเลนและริเริ่มลัทธิเทวราชขึ้นเป็นครั้งแรกในกัมพูชา[15] | |
32 | พระเจ้าชัยวรมันที่ 3 | พ.ศ. 1378 – 1420 (42 ปี) |
เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 | |
33 | พระเจ้าอินทรวรมันที่ 1 | พ.ศ. 1420 – 1432 (12 ปี) |
ภาคิไนยในพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 พระองค์ได้สร้างปราสาทพระโค โดยอุทิศแด่พระราชบิดาและพระอัยกา และสร้างปราสาทบากอง | |
สถาปนา ยโศธรปุระ เป็นเมืองหลวง | ||||
34 | พระเจ้ายโศวรมันที่ 1 | พ.ศ. 1432 – 1453 (21 ปี) |
พระราชโอรสในพระเจ้าอินทรวรมันที่ 1 พระองค์ได้สร้างปราสาทโลเลย ย้ายราชธานีไปตั้งที่กรุงยโศธรปุระล้อมรอบด้วยพนมบาเค็ง อีกทั้งยังทรงโปรดให้ขุดบารายตะวันออก | |
35 | พระเจ้าหรรษวรมันที่ 1 | พ.ศ. 1453 – 1466 (13 ปี) |
พระราชโอรสในพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 พระองค์ได้สร้างปราสาทปักษีจำกรุง | |
36 | พระเจ้าอิศานวรมันที่ 2 | พ.ศ. 1466 – 1471 (5 ปี) |
พระราชโอรสในพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 พระเชษฐาในพระเจ้าหรรษวรมันที่ 1 พระองค์มีบทบาทในการชิงพระราชบัลลังก์พระมาตุลาของพระองค์เอง (พระเจ้าชัยวรมันที่ 4) พระองค์โปรดให้สร้างปราสาทกระวาน | |
สถาปนา เกาะแกร์ เป็นเมืองหลวง | ||||
37 | พระเจ้าชัยวรมันที่ 4 | พ.ศ. 1471 – 1484 (13 ปี) |
พระราชนัดดาในพระเจ้าอินทรวรมันที่ 1 (ประสูติแต่พระนางมเหนทรเทวี พระธิดาในพระเจ้าอินทรวรมันที่ 1) พระองค์ได้อภิเษกสมรสกับพระนางชยเทวี พระขนิษฐาในพระเจ้ายโศวรมันที่ 1[16] พระองค์ทรงราชาภิเษกโดยอ้างสิทธิ์ทางสายพระราชมารดา และเป็นผู้สถาปนาเกาะแกร์เป็นราชธานี | |
38 | พระเจ้าหรรษวรมันที่ 2 | พ.ศ. 1484 – 1487 (3 ปี) |
พระราชโอรสในพระเจ้าชัยวรมันที่ 4 | |
สถาปนา ยโศธรปุระ เป็นเมืองหลวง | ||||
39 | พระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 | พ.ศ. 1487 – 1511 (24 ปี) |
เป็นพระปิตุลาและพระภาดาของพระเจ้าหรรษวรมันที่ 2 พระองค์ได้ชิงพระราชบัลลังก์จากพระเจ้าหรรษวรมันที่ 2และทรงย้ายราชธานีกลับมาที่เมืองพระนคร ทรงโปรดให้สร้างปราสาทแปรรูปและปราสาทแม่บุญตะวันออก, ทรงเริ่มทำสงครามกับอาณาจักรจามปาในปี ค.ศ. 946 | |
สถาปนา พระนคร เป็นเมืองหลวง | ||||
40 | พระเจ้าชัยวรมันที่ 5 | พ.ศ. 1511 – 1544 (33 ปี) |
พระราชโอรสของพระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 ทรงสถาปนาราชธานีแห่งใหม่คือเมืองชัยเยนทรนครและปราสาทตาแก้ว ให้เป็นศูนย์กลางแทนเมืองศรียโศธรปุระ | |
41 | พระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 1 | พ.ศ. 1544 – 1549 (5 ปี) |
เป็นยุคแห่งความวุ่นวาย เนื่องจากมีพระมหากษัตริย์ 3 พระองค์ครองราชย์พร้อมกันทำให้เกิดความขัดแย้ง | |
42 | พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 | พ.ศ. 1549 – 1593 (42 ปี) |
ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ได้สำเร็จ ดำเนินนโยบายเป็นพันธมิตรกับราชวงศ์โจฬะและสู้รบกับอาณาจักรตามพรลิงก์ โปรดให้สร้างปราสาทพระขรรค์กำปงสวาย พระองค์ได้หันมานับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน | |
43 | พระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 | พ.ศ. 1593 – 1609 (16 ปี) |
ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ได้สำเร็จ พระองค์สืบราชสันตติวงศ์แต่พระมเหสีในพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 โปรดให้สร้างปราสาทบาปวน โปรดให้ขุดบารายตะวันตกและโปรดให้สร้างปราสาทแม่บุญตะวันตกและปราสาทสด็อกก็อกธม | |
44 | พระเจ้าหรรษวรมันที่ 3 | พ.ศ. 1609 – 1623 (14 ปี) |
แย่งราชบัลลังก์จากพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 ตั้งศูนย์กลางพระนครที่ปราศาทบาปวน การรุกรานของอาณาจักรจามปาในปี พ.ศ. 1617 และ 1625 | |
45 | พระเจ้าชัยวรรมันที่ 6 | พ.ศ. 1623 – 1650 (27 ปี) |
พระองค์ชิงราชบัลลังก์จากวิมายปุระ เป็นปฐมกษัตริย์ต้นสายราชสกุลมหิธรปุระ โปรดให้สร้างปราสาทพิมาย | |
46 | พระเจ้าธรณินทรวรมันที่ 1 | พ.ศ. 1650 – 1656 (6 ปี) |
ชิงราชบัลลังก์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 | |
47 | พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 | พ.ศ. 1656–1688 (32 ปี) |
ลอบปลงพระชนม์พระปัยกาและแย่งชิงเพื่อขึ้นครองราชสมบัติต่อ และยังโปรดให้สร้าง ปราสาทนครวัด, บันทายสำเหร่, ธรรมนนท์, เจ้าสายเทวดา และ บึงมาลา อีกทั้งยังทำศึกสงครามรุกรานกับอาณาจักรไดเวียต และ จามปา | |
48 | พระเจ้าธรณินทรวรมันที่ 2 | พ.ศ. 1693 – 1703 (10 ปี) |
เป็นลูกพี่ลูกน้องของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 | |
49 | พระเจ้ายโศวรมันที่ 2 | พ.ศ. 1703 – 1710 (7 ปี) |
ถูกยึดอำนาจโดยพระเจ้าตรีภูวนาทิตยวรมัน | |
50 | พระเจ้าตรีภูวนาทิตยวรมัน | พ.ศ. 1710 – 1720 (10 ปี) |
อาณาจักรจามปาได้เข้ามารุกรานเมื่อปี พ.ศ. 1720 จนกระทั่งเสียพระนครให้แก่จามปาในรัชสมัยพระเจ้าชัยอินทรวรมันที่ 4 กษัตริย์แห่งอาณาจักรจามปา ในอีกหนึ่งปีต่อมา คือเมื่อปี พ.ศ. 1721 | |
ถูกรุกรานโดยอาณาจักรจามปา (ว่างเว้นกษัตริย์ พ.ศ. 1721 – 1724) | ||||
สถาปนา นครธม เป็นเมืองหลวง | ||||
51 | พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 | พ.ศ. 1724 – 1761 (37 ปี) |
เป็นผู้นำกองทัพชาวพระนครในการกอบกู้เอกราชของอาณาจักรพระนครให้พ้นจากการปกครองของอาณาจักรจามปา จนได้รับชัยชนะและเป็นเอกราชอีกครั้งในปี พ.ศ. 1734 หลังจากประสบความสำเร็จจากการทำศึกครั้งนั้นแล้ว จึงได้ปฏิบัติพระราชกรณียกิจที่สำคัญเช่น การสร้างอโรคยศาลา พระราชวัง สระน้ำหลวง รวมไปถึงปราสาทองค์สำคัญ เช่น ปราสาทตาพรหม, ปราสาทพระขรรค์, ปราสาทบายน ใน นครธม และ ปราสาทนาคพันธ์ เป็นต้น | |
52 | พระเจ้าอินทรวรมันที่ 2 | พ.ศ. 1762 – 1786 (24 ปี) |
เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ในรัชสมัยของพระองค์นั้นได้สูญเสียดินแดนทางฝั่งตะวันตกโดยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ได้ทำการฟื้นฟูอาณาจักรสุโขทัยขึ้น และดินแดนทางฝั่งตะวันออกนั้น อาณาจักรจามปา ก็ยังได้ประกาศเอกราชขึ้นมาอีกในรัชสมัยเดียวกัน | |
53 | พระเจ้าชัยวรมันที่ 8 | พ.ศ. 1786 – 1838 (76 ปี) |
ถูกชาวมองโกลนำโดยกุบไลข่าน รุกรานในปี พ.ศ. 1826 และทำสงครามกับอาณาจักรสุโขทัย | |
54 | พระเจ้าอินทรวรมันที่ 3 | พ.ศ. 1838 – 1851 (13 ปี) |
ลอบปลงพระชนม์พระเจ้าชัยวรมันที่ 8 ผู้เป็นพระสัสสุระ ทำให้พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทเป็นศาสนาประจำชาติ มีการรับนักการทูตชาวจีนหยวน โจว ต๋ากวาน (พ.ศ. 1839 – 1840) | |
55 | พระเจ้าอินทรวรมันที่ 4 | พ.ศ. 1851 – 1870 (19 ปี) |
||
56 | พระเจ้าชัยวรมันที่ 9 | พ.ศ. 1870 – 1879 (9 ปี) |
มีพระนามปรากฏในศิลาจารึกภาษาสันสกฤตเป็นพระองค์สุดท้าย สิ้นสุดการปกครองโดยราชสกุลมหิธรปุระหลังจากที่ได้ปกครองอาณาจักรมาอย่างยาวนานกว่า 300 ปี | |
57 | พระเจ้าแตงหวาน | พ.ศ. 1879 – 1883 (4 ปี) |
ต้นสายราชสกุลตระซ็อกประแอม | |
58 | พระบรมนิพพานบท | พ.ศ. 1883 – 1889 (6 ปี) |
||
59 | พระสิทธานราชา | พ.ศ. 1889 – 1890 (1 ปี) |
||
60 | พระบรมลำพงษ์ราชา | พ.ศ. 1890 – 1896 (6 ปี) |
||
อาณาจักรอยุธยา ตีนครธมแตก แต่ยังคงมีพระมหากษัตริย์ครองราชย์ต่อไป | ||||
61 | พระบาสาต (พระบากระษัตร) |
พ.ศ. 1896 – 1899 (3 ปี) |
||
62 | พระบาอาต (พระบาอัฐ) |
พ.ศ. 1899 – 1900 (1 ปี) |
||
63 | พระกฎุมบงพิสี | พ.ศ. 1900 (น้อยกว่า 1 ปี) |
||
64 | พระศรีสุริโยวงษ์ | พ.ศ. 1900 – 1906 (6 ปี) |
||
65 | พระบรมรามา | พ.ศ. 1906 – 1916 (10 ปี) |
||
66 | พระธรรมาโศกราช | พ.ศ. 1916 – 1936 (20 ปี) |
||
อาณาจักรอยุธยา นำโดยสมเด็จพระราเมศวร ตีนครธมแตกครั้งที่ 2 แต่ยังคงมีพระมหากษัตริย์ครองราชย์ต่อไป | ||||
67 | พระอินทราชา (พญาแพรก) |
พ.ศ. 1931 – 1964 (33 ปี) |
||
สถาปนา จตุรมุข เป็นเมืองหลวง | ||||
68 | พระบรมราชารามาธิบดีที่ 1 (พระบรมราชาเจ้าพระยาญาติ) |
พ.ศ. 1915 – 1976 (61 ปี) |
ตัดสินพระทัยทิ้งเมืองนครธมในปี ค.ศ. 1974 และย้ายเมืองหลวงไปตั้งที่กรุงจตุรมุข |
อ้างอิง
- ↑ Turchin, Peter; Adams, Jonathan M.; Hall, Thomas D (December 2006). "East-West Orientation of Historical Empires". Journal of World-Systems Research. 12 (2): 223. ISSN 1076-156X. สืบค้นเมื่อ 16 September 2016.
- ↑ Rein Taagepera (September 1997). "Expansion and Contraction Patterns of Large Polities: Context for Russia". International Studies Quarterly. 41 (3): 493. doi:10.1111/0020-8833.00053. JSTOR 2600793. สืบค้นเมื่อ 7 September 2018.
- ↑ บวรศักดิ์ อุวรรณโน (2015). "คดีปราสาทพระวิหาร: ความเป็นมาและเป็นไป". 80 ปีราชบัณฑิตยสถาน (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. p. 128. ISBN 978-616-389-003-0.
- ↑ ราชบัณฑิตยสภา (2015). "ประเทศกัมพูชา". สารานุกรมประวัติศาสตร์ประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. p. 24. ISBN 978-616-389-010-8.
- ↑ ปิยะแสง จันทรวงศไพศาล (2023). "ลำดับประวัติศาสตร์ศิลปะเขมร". ศิลปะอาเซียน. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
- ↑ ซีเลีย ฮัตตัน (2023-02-21). "กัมพูชา: สมบัติอาณาจักรขอมที่ถูกโจรกรรมถูกพบอีกครั้งในกรุงลอนดอน". บีบีซี ไทย. บีบีซี.
- ↑ "Khmer Empire | Infoplease". www.infoplease.com. สืบค้นเมื่อ 15 January 2023.
- ↑ Reynolds, Frank. "Angkor". Encyclopædia Britannica. Encyclopædia Britannica, Inc. สืบค้นเมื่อ 17 August 2018.
- ↑ Plubins, Rodrigo. "Khmer Empire". World History Encyclopedia. สืบค้นเมื่อ 17 August 2018.
- ↑ Damian Evans; และคณะ (9 April 2009). "A comprehensive archaeological map of the world's largest preindustrial settlement complex at Angkor, Cambodia". Proceedings of the National Academy of Sciences. 104 (36): 14277–82. doi:10.1073/pnas.0702525104. PMC 1964867. PMID 17717084.
- ↑ Galloway, M. (2021, May 31). How Did Hydro-Engineering Help Build The Khmer Empire? The Collector. Retrieved November 12, 2021
- ↑ Bunthoeurn, O. (2022, July 21). Khmer Empire had 'world's first' system for healthcare. The Phnom Penh Post. Retrieved August 9, 2022
- ↑ S. (2017, April 4). Angkor Wat's Collapse From Climate Change Has Lessons for Today. National Geographic. Retrieved March 30, 2022
- ↑ Prasad, J. (2020, April 14). Climate change and the collapse of Angkor Wat. The University of Sydney. Retrieved March 30, 2022
- ↑ เจ้าพิธีลัทธิเทวราช อยู่สด๊กก๊อกธม จ.สระแก้ว ชุมทางเครือข่ายอำนาจ.สุจิตต์ วงษ์เทศ,มติชนสุดสัปดาห์,2562
- ↑ Kenneth T. So. "Preah Khan Reach and The Genealogy of Khmer Kings" (PDF). Cambosastra. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-07-08. สืบค้นเมื่อ February 16, 2023.