อาณาจักรอักซุม
จักรวรรดิอักซุม Mangiśta Aksum መንግሥተ አኵስም | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ค.ศ. 50 - ค.ศ. 940 | |||||||||||||
สถานะ | จักรวรรดิ | ||||||||||||
เมืองหลวง | อักซุม | ||||||||||||
ภาษาทั่วไป | ภาษากีซ, ภาษากรีก | ||||||||||||
การปกครอง | ราชาธิปไตย | ||||||||||||
จักรพรรดิ | |||||||||||||
• ราว ค.ศ. 100 | ซอสคาลีส (แรก) | ||||||||||||
• ราว ค.ศ. 940 | Dil Na'od (สุดท้าย) | ||||||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||||||
• ก่อตั้ง | ราว ค.ศ. 50 | ||||||||||||
• พิชิตโดยกูดิต | ค.ศ. 940 | ||||||||||||
พื้นที่ | |||||||||||||
ค.ศ. 350[1] | 1,250,000 ตารางกิโลเมตร (480,000 ตารางไมล์) | ||||||||||||
|
จักรวรรดิอักซุม (อังกฤษ: Aksumite Empire หรือ Axumite Empire) เป็นจักรวรรดิสำคัญทางการค้าขายที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของแอฟริกาที่เริ่มก่อตัวมาตั้งแต่ราวศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราชและมารุ่งเรืองเอาเมื่อคริสต์ศักราชที่ 1 เมืองหลวงเก่าก่อตั้งทางตอนเหนือของเอธิโอเปีย อาณาจักรใช้คำว่า “เอธิโอเปีย” มาตั้งแต่คริสต์ศักราชที่ 4[2][3] และกล่าวกันว่าเป็นที่เก็บของพันธสัญญาศักดิ์สิทธิ์ (Ark of the Covenant) และที่กำเนิดของราชินีแห่งชีบา นอกจากนั้นอัคซุมยังเป็นจักรวรรดิสำคัญจักรวรรดิแรกที่หันมานับถือคริสต์ศาสนา
หลักฐานทางประวัติศาสตร์
อัคซุมได้รับการกล่าวถึงเป็นครั้งแรกในคริสต์ศักราชที่ 1 ใน “บันทึกเส้นทางการเดินเรือในทะเลอีริทเธรียน“ (Periplus Maris Erythraei) ซึ่งเป็นบันทึกเส้นทางการเดินเรือ (Periplus) ของกรีกที่บรรยายการเดินเรือและการค้าขายจากเมืองท่าของโรมันอียิปต์เช่น เบเรนีซ ตามชายฝั่งทะเลแดง และเมืองอื่นๆ ตามชายฝั่งแอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือและอินเดีย บันทึกกล่าวว่าอัคซุมเป็นตลาดสำคัญสำหรับงาช้างที่ส่งออกไปยังดินแดนต่างๆ ในโลกโบราณ และกล่าวถึงประมุขของอัคซุมว่ามีนามว่าซอสคาลีส (Zoscales) ผู้นอกจากจะครองอัคซุมแล้วก็ยังปกครองอ่าวสองอ่าวในทะเลแดง: อดูลิส (ไม่ไกลจากมาสซาวา) และอวาไลท์สAvalites (อัสซาบ) และกล่าวต่อไปเป็นผู้มีความคุ้นเคยกับวรรณคดีกรีก[4]
อ้างอิง
- ↑ Turchin, Peter and Jonathan M. Adams and Thomas D. Hall: "East-West Orientation of Historical Empires and Modern States", page 222. Journal of World-Systems Research, Vol. XII, No. II, 2006
- ↑ Stuart Munro-Hay, Aksum: An African Civilization of Late Antiquity. Edinburgh: University Press, 1991, p. 57.
- ↑ Paul B. Henze, Layers of Time: A History of Ethiopia, 2005.
- ↑ Periplus of the Erythreaean Sea เก็บถาวร 2014-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, chs. 4, 5