ทามาโงยากิ
ทามาโงยากิในโตเกียว | |
ประเภท | ไข่เจียว |
---|---|
มื้อ | อาหารเช้า |
แหล่งกำเนิด | ญี่ปุ่น |
ส่วนผสมหลัก | ไข่ |
รูปแบบอื่น | อูซูยากิทามาโงะ, คินชิทามาโงะ, อิริทามาโงะ |
ทามาโงยากิ (ญี่ปุ่น: 卵焼き หรือ 玉子焼き; โรมาจิ: Tamagoyaki; แปลว่า 'ไข่ย่าง') เป็นไข่เจียวของญี่ปุ่นรูปแบบหนึ่ง ทำโดยการการม้วนไข่ที่ตีแล้วทอดแล้วเข้าด้วยกันหลายชั้น ๆ มักปรุงอยู่ในกระทะรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่เรียกว่า มากิยากินาเบะ หรือ ทามาโงยากิกิ
การปรุง
ทามาโงยากิมีหลายรูปแบบ ทำโดยการผสมไข่ น้ำตาล และโชยุเข้าด้วยกัน นอกจากนี้ยังมีการใช้สาเกและมิริงในบางสูตร[1]
รูปแบบอื่น ๆ เช่น "ดาชิมากิทามาโงะ " ซึ่งเพิ่มดาชิลงในส่วนผสมของไข่, รูปแบบที่ใส่น้ำสตอกของปลาโบนิโตะแห้งและสาหร่ายทะเล หรือรูปแบบที่เป็นส่วนผสมของน้ำแกงข้นกุ้ง ฮ่วยซัวขูด สาเก และไข่ กลายเป็นก้อนที่มีลักษณะคล้ายคัสตาร์ด [2][3][4]
ทางเลือกการเสิร์ฟ
ในประเทศญี่ปุ่น ทามาโกะยากิมักเสิร์ฟเป็นอาหารเช้า[5]
ซูชิ
ทามาโงยากิเป็นหน้าหนึ่งบนนิงิริซูชิ และยังปรากฏในซูชิม้วนหลายประเภท ในวันที่ร้านซูชิส่วนมากทำทามาโงยากิด้วยตนเอง หรือที่รู้จักกันในชื่อ เกียวกุ ในภาษาของวงการซูชิ ลูกค้าผู้เชี่ยวชาญจะสั่งทามาโงซูชิก่อนเริ่มมื้ออาหารเพื่อประเมินทักษะของพ่อครัวซูชิ[6]
ม้วนฟูโตมากิขนาดใหญ่มักจะใช้ทามาโงยากิเป็นส่วนผสม[7]
อาหารที่คล้ายกัน
ในประเทศญี่ปุ่น มีอาหารหลายอย่างที่คล้ายกับทามาโงยากิ เช่น อูซูยากิทา มาโงะ, คินชิทามาโงะ และ อิริทามาโกะ ต่างกันที่ความหนาและลักษณะการทอด อูซูยากิทามาโงะนั้นมีลักษณะบางกว่า คินชิทามาโกะคืออูซูยากิทามาโงะแบบหนึ่งที่หั่นให้เหมือนกับเส้นด้ายเส้นเล็ก และอิริทามาโงะคล้ายกับไข่คน
ดาเตมากิ (伊達巻) มีลักษณะการปรุงคล้ายกับทามาโงยากิ แต่มีการใส่เนื้อปลาบดและฮันเป็งลงในส่วนผสม
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
- ↑ Guthrie, David. "Futomaki". All About Sushi Guide. DCG Worldwide Inc.
- ↑ "Tamagoyaki (Japanese Rolled Omelette) 玉子焼き". 23 August 2019.
- ↑ Hallock, Betty (14 March 2012). "Lunch with David Gelb, director of 'Jiro Dreams of Sushi'". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ 18 December 2014.
- ↑ Masato Shimizu (9 March 2012). Eaton, Tressa (บ.ก.). "Tamago Omelet Recipe-". Tasting Table. สืบค้นเมื่อ 18 December 2014.
- ↑ O'Donoghue, J. J. (2019-05-25). "Lorimer: Japanese breakfast, New York inflections". Japan Times.
- ↑ Omae, Kinjiro; Tachibana, Yuzuru (1988). The Book of Sushi. Kodansha International. p. 19. ISBN 9780870118661.
- ↑ Masui, Kazuko; Masui, Chihiro (2005). Sushi Secrets. Hachette Illustrated. ISBN 9781844301812.