ประเทศไทยใน พ.ศ. 2488
| |||||
ดูเพิ่ม: |
---|
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) ในประเทศไทย เป็นปีที่ 164 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นปีที่ 11 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/2/26/Bombing_of_Rama_VI_Bridge.jpg/180px-Bombing_of_Rama_VI_Bridge.jpg)
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/d/d8/Wat_Liap_Power_Plant_bombing_%283912710%29.jpg/180px-Wat_Liap_Power_Plant_bombing_%283912710%29.jpg)
ผู้นำ
- พระมหากษัตริย์: สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
- ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์: ปรีดี พนมยงค์ (จนถึง 20 กันยายน)
- นายกรัฐมนตรี:
- ควง อภัยวงศ์ (คณะราษฎร) (จนถึง 31 สิงหาคม)
- ทวี บุณยเกตุ (คณะราษฎร) (31 สิงหาคม – 17 กันยายน)
- หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช (เสรีไทย) (ตั้งแต่ 17 กันยายน)
- สภาผู้แทนราษฎร: ชุดที่ 3 (จนถึง 15 ตุลาคม)
- ประธานสภาผู้แทนราษฎร:
- พระยามานวราชเสวี (แต่งตั้ง) (จนถึง 26 มิถุนายน)
- พระยามานวราชเสวี (แต่งตั้ง) (29 มิถุนายน - 15 ตุลาคม)
- ประธานศาลฎีกา: พระยาลัดพลีธรรมประคัลภ์ (ก่อนวันที่ 23 มกราคม ใช้ชื่อ "วงษ์ ลัดพลี")
- เจ้าผู้ครองประเทศราช
- นครจัมปาศักดิ์: เจ้ายุติธรรมธร
- นครเชียงตุง: เจ้าฟ้าสิริสุวรรณราชยสสรพรหมลือ (จนถึง 22 กันยายน)
- รัฐกลันตัน: สุลต่านอิบราฮิม (จนถึง 2 กันยายน)
- รัฐตรังกานู: สุลต่านอาลี ชะฮ์ (จนถึง 2 กันยายน)
- รัฐไทรบุรี: สุลต่านบัดลีชะฮ์ (จนถึง 2 กันยายน)
- รัฐปะลิส: รายาซัยยิด ฮัมซาห์ (จนถึง 2 กันยายน)
เหตุการณ์
มกราคม
- 2 มกราคม - การทิ้งระเบิดจังหวัดพระนครในสงครามโลกครั้งที่สอง : สะพานพระราม 6 ถูกทำลายจากการทิ้งระเบิดของเครื่องบินฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นครั้งแรก
เมษายน
- 14 เมษายน - การทิ้งระเบิดจังหวัดพระนครในสงครามโลกครั้งที่สอง : เครื่องบินทิ้งระเบิดของสหรัฐ ถล่มกรุงเทพมหานคร ทำให้โรงไฟฟ้าวัดเลียบและวัดราชบุรณราชวรวิหาร (พระอารามหลวง) ถูกทำลายพินาศสิ้น
กรกฎาคม
- 30 กรกฎาคม - รัฐบาลไทยแต่งตั้งคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเฉพาะสี่จังหวัดภาคใต้เป็นครั้งแรก หลังจากมีการฟื้นฟูตำแหน่งเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม
สิงหาคม
- 16 สิงหาคม - วันสันติภาพไทย : หลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง ปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ออกประกาศให้การประกาศสงครามของไทยต่อสหรัฐอเมริกาและราชอาณาจักรบริเตนใหญ่เป็นโมฆะ และคืนดินแดนที่ได้มาระหว่างสงครามคือสหรัฐไทยเดิมและสี่รัฐมาลัยให้อังกฤษ
ธันวาคม
- 5 ธันวาคม - พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลเสด็จนิวัตประเทศไทย
วันเกิด
มกราคม
- 12 มกราคม - วิชิต สุรพงษ์ชัย นักการเมือง
กุมภาพันธ์
- 10 กุมภาพันธ์ - วัลลภ ไทยเหนือ นักการเมือง
มีนาคม
- 3 มีนาคม - ปลอดประสพ สุรัสวดี อดีตรองนายกรัฐมนตรี
เมษายน
- 20 เมษายน - สุจิตต์ วงษ์เทศ ศิลปินแห่งชาติ
พฤษภาคม
- 7 พฤษภาคม - ฉันทนา กิติยพันธ์ นักร้อง
- 16 พฤษภาคม - ประวิทย์ มาลีนนท์ นักธุรกิจ
- 18 พฤษภาคม - สุทัศน์ เงินหมื่น อดีตรองนายกรัฐมนตรี
- 21 พฤษภาคม - บุญชู ตรีทอง นักการเมือง
มิถุนายน
- 21 มิถุนายน - พิศาล อัครเศรณี นักแสดง (ถึงแก่กรรม 4 ธันวาคม พ.ศ. 2561)
- 24 มิถุนายน
- สุชาติ สวัสดิ์ศรี ศิลปินแห่งชาติ
- สุดา ชื่นบาน ศิลปินแห่งชาติ
- 25 มิถุนายน - ชัยสิทธิ์ ชินวัตร ทหาร
กรกฎาคม
- 3 กรกฎาคม - ณรงค์ชัย อัครเศรณี นักการเมือง
- 13 กรกฎาคม - สุวรรณ วลัยเสถียร นักการเมือง (ถึงแก่อนิจกรรม 29 มีนาคม พ.ศ. 2563)
- 30 กรกฎาคม - คงศักดิ์ วันทนา นักการเมือง
สิงหาคม
- 11 สิงหาคม - ประวิตร วงษ์สุวรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี
- 12 สิงหาคม
- วิเศษ จูภิบาล นักการเมือง
- กนกวรรณ ด่านอุดม นักแสดง
- 13 สิงหาคม - สุภา สิริสิงห ศิลปินแห่งชาติ
- 19 สิงหาคม - สาวิตต์ โพธิวิหค นักการเมือง
กันยายน
- 1 กันยายน - แดน บุรีรัมย์ นักแต่งเพลง (ถึงแก่กรรม 13 ธันวาคม พ.ศ. 2567)
- 10 กันยายน - นันทวัน เมฆใหญ่ นักแสดง
- 14 กันยายน
- กร ทัพพะรังสี อดีตรองนายกรัฐมนตรี
- ชัชวาลย์ ชมภูแดง นักการเมือง
- 15 กันยายน - นครินทร์ ชาทอง ศิลปินแห่งชาติ (ถึงแก่กรรม 28 ธันวาคม พ.ศ. 2563)
- 30 กันยายน - ประยุทธ์ ศิริพานิชย์ นักการเมือง
ตุลาคม
- 4 ตุลาคม - สมภพ เบญจาธิกุล นักแสดง
- 29 ตุลาคม - ธารินทร์ นิมมานเหมินท์ นักการเมือง
- 31 ตุลาคม - พิมพ์พรรณ บูรณะพิมพ์ นักแสดง (ถึงแก่กรรม 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2560)
พฤศจิกายน
- 11 พฤศจิกายน - ทัศนาวลัย ศรสงคราม
- 12 พฤศจิกายน - สันติ ชัยวิรัตนะ นักการเมือง (ถึงแก่อนิจกรรม 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2543)
- 14 พฤศจิกายน - ศันสนีย์ สมานวรวงศ์ นักแสดง
- 20 พฤศจิกายน - เชาวรินธร์ ลัทธศักดิ์ศิริ นักการเมือง
ธันวาคม
- 1 ธันวาคม - ศรชัย มนตริวัต นักการเมือง
- 9 ธันวาคม - กำชัย เรืองกาญจนเศรษฐ์ นักการเมือง
- 14 ธันวาคม - ธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ นักการเมือง