ประเทศไทยใน พ.ศ. 2567
| |||||
ดูเพิ่ม: |
---|
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2567 (ค.ศ. 2024) ในประเทศไทย
ผู้นำ
- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
- นายกรัฐมนตรี:
- เศรษฐา ทวีสิน (เพื่อไทย; จนถึง 14 สิงหาคม)
- ภูมิธรรม เวชยชัย (เพื่อไทย, รักษาการ; 14-16 สิงหาคม)
- แพทองธาร ชินวัตร (เพื่อไทย; ตั้งแต่ 16 สิงหาคม)
- สภาผู้แทนราษฎร: ชุดที่ 26
- ประธานสภาผู้แทนราษฎร: วันมูหะมัดนอร์ มะทา (ประชาชาติ)
- วุฒิสภา:
- ประธานวุฒิสภา:
- พรเพชร วิชิตชลชัย (แต่งตั้ง; จนถึง 10 กรกฎาคม)
- มงคล สุระสัจจะ (อิสระ; ตั้งแต่ 26 กรกฎาคม)
- ประธานศาลฎีกา:
- อโนชา ชีวิตโสภณ (จนถึง 30 กันยายน)
- ชนากานต์ ธีรเวชพลกุล (ตั้งแต่ 1 ตุลาคม)
เหตุการณ์
มกราคม
- 2 มกราคม – รถไฟฟ้าบีทีเอส เริ่มเก็บค่าโดยสารในส่วนต่อขยายแบริ่ง-เคหะฯ และส่วนต่อขยายหมอชิต-คูคต ในอัตรา 15 บาทตลอดสาย[1]
- 5 มกราคม – จะมีการเปิดจดหมายของปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโสและอดีตนายกรัฐมนตรี ที่ได้มอบให้แก่รัฐบาลฝรั่งเศส[2]
- 7 มกราคม – รถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ
- 10 มกราคม – รอยเท้าไดโนเสาร์อายุ 225-220 ล้านปี ถูกค้นพบที่จังหวัดเพชรบูรณ์[3]
- 11 มกราคม – นิติ วิวัฒน์วานิช ซึ่งได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2566 เสียชีวิตกะทันหันด้วยอาการหัวใจวาย[4]
- 15 มกราคม – ที่ตำบลบ่อแดง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา เกิดเหตุกราดยิงมีผู้เสียชีวิตสองราย[5]
- 16 มกราคม – คณะรัฐมนตรีเห็นชอบลดภาษีน้ำมันดีเซลลิตรละ 1 บาท มีผลถึงสิ้นเดือนเมษายน[6]
- 17 มกราคม –
- เหตุโรงงานผลิตพลุระเบิดในพื้นที่ ตำบลศาลาขาว อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี จนทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 23 คน[7]
- อานนท์ นำภา ถูกศาลอาญาพิพากษาจำคุกเพิ่มอีก 4 ปี ในข้อหากระทำความผิดตามประมวลกฎหมาย มาตรา 112[8][9]
- ศักดิ์สยาม ชิดชอบ ส.ส.และเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่ามีความผิดฐานปกปิดหุ้นในบริษัทแห่งหนึ่งทำให้ต้องลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการพรรค[10][11]
- 24 มกราคม –
- ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ พ้นโทษจากคดีถือหุ้นไอทีวี ทำให้เขาได้เข้าปฏิบัติหน้าที่ในสภาผู้แทนราษฎรต่อ[12]
- ครูในโรงเรียนไม่ต้องอยู่เวรที่โรงเรียนหลังเวลาเรียนอีกต่อไปหลังเหตุการณ์ผู้ประสงค์ร้ายใช้อาวุธมีดบุกเข้าทำร้ายครูเมื่อวันที่ 20 มกราคม[13] ที่โรงเรียนบ้านโป่งเกลือ หมู่ที่ 4 ตําบลดอยลาน อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย
- 31 มกราคม – ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการกระทำของพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ และพรรคก้าวไกล จากนโยบายหาเสียงแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข[14]
กุมภาพันธ์
- 1 กุมภาพันธ์:
- เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีตสมาชิกวุฒิสภา ยื่นคำร้องต่อ กกต. ให้ยุบพรรคก้าวไกล[15]
- สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติประกาศการค้นพบกาแลคซีมวลน้อย 13 แห่งผ่านกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์[16]
- 2 กุมภาพันธ์: ยูเนสโกรับรองสงกรานต์เป็นส่วนหนึ่งของมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้[17]
- 7 กุมภาพันธ์: ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย: รัฐบาลไทยและผู้แบ่งแยกดินแดนชาวมุสลิมเห็นพ้องถึงกระบวนการสันติภาพที่เป็นไปได้เพื่อยุติการก่อความไม่สงบซึ่งเริ่มขึ้นในปี 2547[18]
- 11 กุมภาพันธ์[19]: เลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าม่วง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา เนื่องจากนายกอบต.ท่าม่วงถูกฆาตกรรม[20]ผู้ชนะเลือกตั้งได้แก่ วิเชียร เพ็งหนู
- 18 กุมภาพันธ์: ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้รับการปล่อยตัว หลังพักรักษาตัวในโรงพยาบาลตำรวจนาน 6 สัปดาห์ เนื่องจากอายุและสุขภาพของเขา[21][22]
มีนาคม
- 6 มีนาคม – วัชรเรศร วิวัชรวงศ์ (อดีตหม่อมเจ้าวัชรเรศร มหิดล) เดินทางกลับประเทศไทยเป็นครั้งที่ 3[23]
- 9 มีนาคม – ได้มีการเปิดตัวแอนิเมชันอิงประวัติศาสตร์ "๒๔๗๕ รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ"[24][25]
- 24 มีนาคม – พิธีพระราชทานเพลิงศพพระเทพกิตติปัญญาคุณ (กิติศักดิ์ กิตฺติวุฑฺโฒ)
- 26 มีนาคม – ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เดินทางไปเยี่ยมพรรคเพื่อไทยครั้งแรกในรอบ 17 ปี[26][27]
- 27 มีนาคม – สภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติให้การสมรสของคนเพศเดียวกันถูกกฎหมายด้วยคะแนนเสียง 400 ต่อ 10 เสียง งดออกเสียง 5 เสียง[28]
- 28 มีนาคม – จักรภพ เพ็ญแข รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี คนที่ 99 เดินทางกลับประเทศไทยในรอบ 15 ปี หลังลี้ภัยการเมือง
เมษายน
- 19 เมษายน – กีรติ รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่
- 20 เมษายน – กระสุนปืนจากประเทศพม่าเข้ามาในตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก[29]
พฤษภาคม
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/d/d9/MET_DT5214.jpg/200px-MET_DT5214.jpg)
- 11 พฤษภาคม – วุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 หมดวาระลง แต่ยังคงรักษาการในตำแหน่งไปจนกว่าจะมีวุฒิสภาชุดใหม่
- 14 พฤษภาคม – เนติพร เสน่ห์สังคม หรือ (บุ้ง ทะลุวัง) นักกิจกรรมเคลื่อนไหวต่อต้านกฎหมายมาตรา 112 เสียชีวิต[30][31]
- 20 พฤษภาคม –
- ประติมากรรมสำริดโกลเด้นบอยที่พิพิธภัณฑ์สหรัฐส่งคืนให้แก่ประเทศไทย ได้เดินทางถึงประเทศไทยแล้วพร้อมจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร[32]
- 20-24 พฤษภาคม – เปิดรับสมัครการเลือกสมาชิกวุฒิสภาไทย พ.ศ. 2567
- ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย: เกิดเหตุระเบิดที่จังหวัดนราธิวาสมีผู้เสียชีวิตสองราย[33]
- 21 พฤษภาคม –
- คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม มอบโบราณวัตถุ 20 รายการ คืนให้ประเทศกัมพูชา[34][35]
- ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้รับแจ้งการลงจอดฉุกเฉินของสิงคโปร์แอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 321 มีผู้เสียชีวิตหนึ่งรายและบาดเจ็บ 104 ราย
- 24 พฤษภาคม – วุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 ซึ่งรักษาการในตำแหน่ง สิ้นสุดการใช้อำนาจเลือกนายกรัฐมนตรี
- 25 พฤษภาคม – ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เดินทางไปเยือนจังหวัดนครราชสีมา[36][37]
- 31 พฤษภาคม – วอยซ์ทีวี หยุดการดำเนินกิจการ
มิถุนายน
ขบวนบางกอกไพรด์เฉลิมฉลองหลังไทยผ่านร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม
- การเลือกสมาชิกวุฒิสภาไทย พ.ศ. 2567
- 9 มิถุนายน – วันเลือกระดับอำเภอ
- 16 มิถุนายน – วันเลือกระดับจังหวัด
- 11 มิถุนายน – เกิดเหตุเพลิงไหม้ตลาดขายสัตว์ภายในตลาดนัดจตุจักร เสียหายรวม 118 ร้านค้า
- 16 มิถุนายน – พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนาหม่อมเจ้าเฉลิมศึก ยุคล ขึ้นเป็น "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคล"[38]
- 18 มิถุนายน – วุฒิสภามีมติเห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม ทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในภูมิภาคอาเซียนและเป็นประเทศที่ 2 ในเอเชียถัดจากไต้หวันที่บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศสามารถจดทะเบียนสมรสได้ถูกต้องตามกฎหมายและมีสิทธิเทียบเท่ากับคู่สมรสชายหญิงทุกประการ[39]
- 22 มิถุนายน – เกิดเหตุเพลิงไหม้ในวัดแสงแก้วโพธิญาณ เป็นเหตุเพลิงไหม้ใน วัดแสงแก้วโพธิญาณ หมู่ที่ 11 ตำบลเจดีย์หลวง อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย
กรกฎาคม
- 1 กรกฎาคม – เกิดเหตุเพลิงไหม้ศูนย์การค้า นาซ่าสตรีท ใกล้กับสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ สถานีรามคำแหง ได้รับเสียหายประมาณ 30 ร้านค้า
- 2 กรกฎาคม – เหตุการณ์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตก พ.ศ. 2567 ในรอบสามปีเจ็ดเดือนสามสัปดาห์
- 3 กรกฎาคม– พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา พระราชทานพระยศเป็นพลโทหญิง[40][41]
- 6 กรกฎาคม – เกิดเหตุเพลิงไหม้ชุมชนตรอกโพธิ์ ถนนเยาวราช เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร
- 14 กรกฎาคม – ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ตรับเที่ยวบินตรงจากเมือง เอเซซ่า บัวโนสไอเรสนับเป็นครั้งแรกของโลกที่มีทำการบินจากทวีปอเมริกาใต้บินตรงมายังทวีปเอเซีย[42]
- 16 กรกฎาคม - เกิดเหตุฆาตกรรมชาวต่างชาติ 6 ราย ในโรงแรมดังย่านราชประสงค์ เขตปทุมวัน
- 21 กรกฎาคม – วันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ครบ 200 ปี
- 25 กรกฎาคม – องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพได้เริ่มให้บริการเส้นทางตามแผนปฏิรูปรถโดยสารประจำทาง 107 เส้นทาง[43]
- 26 กรกฎาคม - การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2024 ตั้งแต่วันที่ 26 กรกฎาคม ถึง 11 สิงหาคมที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส[44]
- 27 กรกฎาคม – ยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทและแหล่งวัฒนธรรมสีมาวัดพระพุทธบาทบัวบานเป็นแหล่งมรดกโลก ในชื่อ ภูพระบาท ประจักษ์พยานแห่งวัฒนธรรมสีมาสมัยทวารวดี
- 28 กรกฎาคม – พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567
สิงหาคม
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/1/12/Press_conference_after_the_Constitutional_Court_dissolved_the_Move_Forward_Party%2C_7_August_2024.jpg/220px-Press_conference_after_the_Constitutional_Court_dissolved_the_Move_Forward_Party%2C_7_August_2024.jpg)
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/4/4d/Paethongtarn_Shinawatra_20240816.png/220px-Paethongtarn_Shinawatra_20240816.png)
- 3 สิงหาคม – เกิดเหตุเครื่องบินเล็กตกลงใส่บ้านเรือนประชาชน ที่ตำบลโคกขาม อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ทำให้เกิดไฟลุกไหม้อาคาร และมีผู้เสียชีวิต 1 ราย[45]
- 4 สิงหาคม – การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา พ.ศ. 2567 การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยนาท พ.ศ. 2567 และการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พ.ศ. 2567
- 7 สิงหาคม – ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุบพรรคก้าวไกลและตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรคเป็นเวลา 10 ปี กรณีเข้าข่ายล้มล้างการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข[46]
- 14 สิงหาคม – ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้เศรษฐา ทวีสิน พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี[47]
- 16 สิงหาคม – การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2567
- 17 สิงหาคม – อุทกภัยในภาคเหนือของประเทศไทย พ.ศ. 2567
- 18 สิงหาคม – พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งแพทองธาร ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 31 โดยเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนที่ 2 ต่อจากยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และเป็นนายกรัฐมนตรีที่มีอายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์
- 22 สิงหาคม – เกิดเหตุเครื่องบินเล็กไทยฟลายอิ้งเซอร์วิส เที่ยวบินที่ 209 ตกลงบริเวณป่าชายเลนที่อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา[48]
- 24 สิงหาคม – เกิดเหตุดินถล่มทับอุโมงค์รถไฟความเร็วสูงไทย-จีนขณะกำลังก่อสร้าง ที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา[49]
- 31 สิงหาคม – องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพแจ้งหยุดเดินรถโดยสารประจำทาง 49 เส้นทาง ตามแผนปฏิรูปรถโดยสารประจำทางจากกรมการขนส่งทางบก[50]
กันยายน
- 11 กันยายน – เกิดอุทกภัยใหญ่ในจังหวัดเชียงราย รวมทั้งอำเภอแม่อายและอำเภอฝางของจังหวัดเชียงใหม่
- 14 กันยายน – "หมูเด้ง" ฮิปโปโปเตมัสแคระวัย 2 เดือนจากสวนสัตว์เปิดเขาเขียว อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ได้รับความนิยมจากโซเชียลมีเดียไทยและทั่วโลก[51]
- 24 กันยายน – ประเทศไทยประกาศบังคับใช้กฎหมายสมรสเท่าเทียม ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในอีก 120 วัน[52]
- 25 กันยายน
- เริ่มต้นโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท
- ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ได้รับการโปรดเกล้าเป็นผู้นำฝ่ายค้านที่อายุน้อยที่สุดนับตั้งแต่มีผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรและเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่มีนายกรัฐมนตรีอายุน้อยที่สุดพร้อมกับผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรอายุน้อยที่สุด
ตุลาคม
- 1 ตุลาคม – เกิดเหตุเพลิงไหม้รถบัสบนถนนวิภาวดีรังสิต นักเรียนที่ไปทัศนศึกษาบริเวณหน้าอนุสรณ์สถานแห่งชาติ อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี มีผู้รอดชีวิต 20 คน (เป็นครู 3 คน นักเรียน 16 คน และคนขับรถ 1 คน) และมีผู้เสียชีวิต 23 ราย[53]
- 27 ตุลาคม – พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯกำหนดทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ [54]
- 30 ตุลาคม – เหตุคดีดิไอคอนกรุ๊ป เป็นคดีที่มีการกล่าวหาบริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป จำกัด ว่ามีพฤติกรรมหลอกชักชวนให้ประชาชนมาร่วมลงทุน แต่สุดท้ายกลับไม่ดำเนินการตามที่ตกลงไว้ โดยกรรชัย กำเนิดพลอย เริ่มเปิดเผยเรื่องนี้ในช่วงต้นเดือนตุลาคม พ.ศ. 2567 โดยมีผู้แจ้งความ 9,862 ราย ความเสียหาย 3,044,013,139.52 บาท
พฤศจิกายน
- 7 พฤศจิกายน – ตำรวจกองปราบแจ้งความจับทนายษิทรา เบี้ยบังเกิดและภรรยา
- 10 พฤศจิกายน– คดีดิไอคอนกรุ๊ป สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยว่ามีผู้แจ้งความรวมทั้งสิ้น 10,460 ราย มูลค่าความเสียหาย 3,213 ล้านบาทเศษ
- 14 พฤศจิกายน – ยูเนสโกยกย่อง "ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ" ติดอันดับ 1 ใน 6 สนามบินสวยที่สุดในโลก[55][56]
- 16 พฤศจิกายน – พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา พระราชทานพระยศเป็นพลเอกหญิง[57][58]
- 20 พฤศจิกายน – ศาลพิพากษาประหารชีวิตแอม ไซยาไนด์ [59]
- 26 พฤศจิกายน – กองทัพผสมรัฐว้า(กองกำลังสหรัฐว้าใต้|กองทัพว้าแดง) ได้เกิดข้อพิพาทพื้นที่ชายแดนไทยและพม่าในเขตชายแดน อำเภอปางมะผ้า และอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
- 27 พฤศจิกายน – เกิดอุทกภัยทางภาคใต้ในประเทศไทยในจังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และทางตอนใต้ของจังหวัดสงขลา
- 30 พฤศจิกายน –
- เรือรบของกองทัพเรือพม่า ได้ทำการยิงเรือประมงไทย มีผู้เสียชีวิต 3 ราย และถูกจับกุม 33 ราย เนื่องจากรุกล้ำพื้นที่ชายแดนทางทะเลอันดามัน ระหว่างจังหวัดเกาะสอง เขตตะนาวศรี ประเทศพม่า กับจังหวัดระนอง ประเทศไทย
- งานกิจกรรมวิ่งเพื่อพ่อ LOVE DAD NIGHT FUN RUN เนื่องในวันพ่อแห่งชาติ และวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร [60]
ธันวาคม
- 2 ธันวาคม – เอลีอูด คิปโชเก ตำนานนักวิ่งมาราธอนแห่งเคนยาเยือนประเทศไทย พร้อมร่วมวิ่งมาราธอนระดับโลกในไทย หวังขยายความร่วมมือส่งเสริมสุขภาพและกระตุ้นการท่องเที่ยวไทยผ่านกีฬา[61][62][63]
- 3 ธันวาคม – พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปในพิธีสวนสนามและถวายสัตย์ปฏิญาณตนของทหารรักษาพระองค์ ณ พระลานพระราชวังดุสิต เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ
- 4 ธันวาคม – ยูเนสโกขึ้นทะเบียนต้มยำกุ้งเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม[64][65]
- 5 ธันวาคม – ยูเนสโกขึ้นทะเบียนเกอบายาเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมร่วมกันระหว่างประเทศไทย บรูไน มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย[66][67]
- 14 ธันวาคม – พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ทรงประกอบพิธีเปิดสะพานทศมราชัน ณ โครงการทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกตะวันตก[68]
- 16 ธันวาคม – ประเทศไทยเข้าร่วมข้อตกลงอาร์ทิมิสอย่างเป็นทางการ[69]
- 24 ธันวาคม –
- ไทยแอร์เอเชียเปิดเส้นทางบินตรงท่าอากาศยานดอนเมืองไปกลับฮาร์บินส่งผลให้ตลอดทั้งปีการท่าอากาศยานไทยมีเที่ยวบินไปประเทศจีนมากถึง 50 จุดหมายปลายทาง
- กรุงเทพมหานครประกาศจำกัดความเร็วรถไม่เกิน 60 กม./ชม.ถนนทุกสาย ยกเว้น 13 เส้นทาง[70]
- 29 ธันวาคม – เหตุเชจูแอร์ เที่ยวบินที่ 2216 เที่ยวบินที่เดินทางจากกรุงเทพมหานครสู่มูอัน ซึ่งพุ่งชนเข้ากับกำแพงกั้นเขตสนามบินของท่าอากาศยานนานาชาติมูอันในประเทศเกาหลีใต้หลังพยายามลงจอดโดยใช้ลำตัวเครื่องจนไถลออกนอกทางวิ่ง โดยมีผู้โดยสารทั้งหมด 175 คนและลูกเรือ 6 คน หนึ่งในนั้นมีผู้โดยสารชาวไทยในเครื่องบินลำนี้ 2 คน ในเบื้องต้นพบผู้รอดชีวิตเพียงสองคน และมีผู้เสียชีวิตที่ยืนยันแล้ว 174 คน มีผู้โดยสารชาวไทยมีอยู่ในนี้ด้วย นับเป็นอุบัติเหตุทางการบินที่ร้ายแรงที่สุดของปี
เหตุการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้น
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/9/90/Kiha48-520_Gono-Line.jpg/200px-Kiha48-520_Gono-Line.jpg)
- ไม่ทราบวันที่ - บริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันออก (JR East) ได้บริจาคขบวนรถไฟดีเซลรางรุ่นคิฮะ 40 และ 48 ซีรีส์ ที่ปลดระวางไปแล้วจำนวน 20 คันให้แก่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) โดย รฟท.ได้รับมอบขบวนรถไฟดังกล่าวโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายและต้องดำเนินการขนย้ายเอง[71]
- ไม่ทราบวันที่ - การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ซ่อมปรับปรุงขบวนรถไฟ SRT Royal Blossom ที่ได้รับมอบบริจาคขบวนรถไฟ “ฮามานาซุ” โดยบริษัทรถไฟฮกไกโด (JR-Hokkaido Hamanasu) ได้บริจาคให้กับ รฟท. จำนวนทั้งหมด 10 คัน ตั้งแต่ พ.ศ. 2559 เสร็จสมบูรณ์[72]
เหตุการณ์ที่ไม่ทราบวันที่แน่นอน
- ไม่ทราบวันที่ - วัฒนา อัศวเหม อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอก สุจินดา คราประยูร กลับประเทศไทยในรอบสิบห้าปี หลังหนีหมายจับศาล
ผู้เสียชีวิต
มกราคม
- 1 มกราคม – อังศณา ช้างเศวต พยาบาลและนักร้องชาวไทย (เกิด 1 มีนาคม พ.ศ. 2505)[73]
- 2 มกราคม – ศาสตราจารย์ คุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี อดีตรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยและอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (เกิด 24 ตุลาคม พ.ศ. 2478)[74]
- 6 มกราคม – โอภาส พลศิลป อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยและอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี (เกิด 2 เมษายน พ.ศ. 2464)
- 11 มกราคม – นิติ วิวัฒน์วานิช อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (เกิด 14 มิถุนายน พ.ศ. 2512)[75]
- 16 มกราคม - จุฬาลักษณ์ อิสมาโลน นักแสดง นางแบบ และนักร้องชาวไทย (เกิด 29 ธันวาคม พ.ศ. 2521)[76]
- 20 มกราคม - พลเอก สำเภา ชูศรี อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด (เกิด 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2484)
- 23 มกราคม – ศาสตราจารย์เกียรติคุณ พลตรีหญิง แพทย์หญิง วณิช วรรณพฤกษ์ อดีตคณบดีสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และผู้ได้รับรางวัลแพทย์ดีเด่นแพทยสภา ประจำปี พ.ศ. 2545 (เกิด 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2484)
กุมภาพันธ์
- 1 กุมภาพันธ์ – รังสรรค์ มูลทองสงค์ (ต๊ะ ยมทูต) อดีตยูทูบเบอร์ชาวไทย[77]
- 5 กุมภาพันธ์ -
- เริงชัย ประภาษานนท์ อดีตนักเขียนชาวไทยและศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ (เกิด 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472)[78]
- พระราชจินดานายก (คำอ้าย สิริธมฺโม) อดีตเจ้าอาวาสวัดพระเจดีย์ซาวหลัง พระอารามหลวง (เกิด 2 กันยายน พ.ศ. 2480)[79]
- ฉลามเพชร ศรพิชัย อดีตนักมวยชาวไทย[80]
- 8 กุมภาพันธ์ –
- 22 กุมภาพันธ์ - พรรวินท์ โพธิ์ทอง (เจมส์ เชิญยิ้ม) นักแสดงชาวไทย (เกิด 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2510)[83]
- 25 กุมภาพันธ์ - พลเอกบุญรอด สมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (เกิด 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2484)[84]
- 27 กุมภาพันธ์ - วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์ พิธีกร วิทยากรและนิติกรชาวไทยและผู้อำนวยการสถาบันฝึกอบรมแมนเพาเวอร์ (เกิด 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2499)[85]
มีนาคม
- 2 มีนาคม – มณเฑียร บุญตัน สมาชิกวุฒิสภาและนายกสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย (เกิด 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2508)[86]
- 8 มีนาคม – สุรเดช แก้วท่าไม้ จิตรกรชาวไทย (เกิด 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2506)[87]
- 12 มีนาคม – นนทพัฒน์ ศรีวิชัย นักแสดงและผู้กำกับละครชาวไทย (เกิด 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2519)[88]
- 18 มีนาคม – ลือชัย งามสม นักดนตรีชาวไทย (เกิด 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2496)[89]
- 20 มีนาคม -
- ทองใส ทับถนน ศิลปินมรดกอีสาน สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้าน) นักดนตรีและนักแสดงและนักแต่งเพลงชาวไทย (เกิด 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490)[90]
- พีระพงศ์ ตริยเจริญ อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ (เกิด 15 มิถุนายน พ.ศ. 2515)[91]
- วินัย ไกรบุตร นักแสดงชาวไทย (เกิด 16 มิถุนายน พ.ศ. 2512)[92]
- 24 มีนาคม – สราวุธ ประทีปากรชัย นักฟุตบอลชาวไทย (เกิด 10 เมษายน พ.ศ. 2490)[93]
- 31 มีนาคม – ณรงค์ชัย ศิษย์จอมยุทธ นักมวยชาวไทย[94]
เมษายน
- 3 เมษายน -
- ศาตราจารย์ ระวิวรรณ โอฬารรัตน์มณี คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (เกิด 30 เมษายน พ.ศ. 2512)[95]
- พลอากาศเอกเกษตร โรจนนิล ผู้บัญชาการทหารอากาศ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดและรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (เกิด 27 สิงหาคม พ.ศ. 2476)[96]
- 7 เมษายน – สรณัฐ มัสยวานิช นักแสดงชาวไทย (เกิด 7 มีนาคม พ.ศ. 2528)[97]
- 11 เมษายน -
- สมณะโพธิรักษ์ นักบวชชาวไทย เกิด (5 มิถุนายน พ.ศ. 2477)
- วรธนัท อัศกุลโกวิท (อาจารย์หม่า) ปรมาจารย์และนักธุรกิจชาวไทย (เกิด 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2484)[98]
- 12 เมษายน – พระพรหมวชิรโมลี (ทองอยู่ ญาณวิสุทฺโธ) เจ้าอาวาสพระอารามหลวง วัดศาลาลอย (เกิด 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2476)[99]
- 13 เมษายน –
- นายแพทย์กัณฑ์เอนก สวีวงศ์ นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลระแงะ จังหวัดนราธิวาส (เกิด 9 กันยายน พ.ศ. 2532)[100]
- กุศล กมลสิงห์ (บุญเหลือ ผดุงศิลป์) นักร้องเพลงรำวงชาวไทย (เกิด 28 กันยายน พ.ศ. 2477)[101]
- 19 เมษายน –
- กีรติ รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ รองปลัดกระทรวงพาณิชย์และอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศและผู้ตรวจราชการกระทวงพาณิชย์และรองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ (เกิด 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510)[102]
- ทวี ไกรคุปต์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (เกิด 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2482)
- 22 เมษายน –
- กิมไล้ บุญประเสริฐ นักธุรกิจชาวไทย (เกิด 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2477)[103]
- เทิดภูมิ ใจดี นักเขียนชาวไทย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษและแนวร่วมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (เกิด 10 เมษายน พ.ศ. 2487)[104]
- 27 เมษายน – ธีรศักดิ์ บุญเรือง นักโทษคดีฆาตกรชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2523)
พฤษภาคม
- 1 พฤษภาคม — คุณหญิงกุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ อธิบดีกรมศิลปากรและศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ (เกิด 9 มีนาคม พ.ศ. 2474)[105]
- 6 พฤษภาคม — สุขุม สิมะขจรเกียรติ นักฟุตบอลชาวไทย[106]
- 11 พฤษภาคม - กัญจนปกรณ์ แสดงหาญ คีตศิลปินอาวุโส สำนักการสังคีต กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม[107]
- 14 พฤษภาคม –
- พันเอก ณรงค์ กิตติขจร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (เกิด 21 ตุลาคม พ.ศ. 2476)
- เนติพร เสน่ห์สังคม นักกิจกรรมเคลื่อนไหวทางการเมือง (เกิด 8 สิงหาคม พ.ศ. 2538)
- 16 พฤษภาคม – ขวัญจิตร ทรงแสง นักแสดงชาวไทย[108]
- 17 พฤษภาคม – พลเอกวัฒนชัย วุฒิศิริ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม (เกิด 24 มิถุนายน พ.ศ. 2478)
- 23 พฤษภาคม – ศักดิ์ศรี ปัญนาวี สมาชิกสภาเทศบาลเมืองหนองบัวลำภู (เกิด 16 สิงหาคม พ.ศ. 2501)[109]
- 24 พฤษภาคม – สุพรรษา แซ่บ่าง (เอ็นจอย พญาไท) นักร้องชาวไทย[110]
- 27 พฤษภาคม – เชษฐพงษ์ ศรีแสงไทยสุข นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโคกแสมสาร อำเภอโคกเจริญ จังหวัดลพบุรี[111]
มิถุนายน
- 3 มิถุนายน – เจริญ เชาวน์ประยูร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (เกิด 25 กันยายน พ.ศ. 2477)[112]
- 6 มิถุนายน – หม่อมเจ้าปุสาณ สวัสดิวัตน์ พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ (ประสูติ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2472)[113]
- 20 มิถุนายน – โฉมฉาย ฉัตรวิไล นักแสดงหญิงชาวไทย (เกิด 31 ตุลาคม พ.ศ. 2493)[114]
- 27 มิถุนายน – ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ อาจารย์ประจำ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (เกิด 25 มกราคม พ.ศ. 2498)[115]
กรกฎาคม
- 6 กรกฎาคม - อานนท์ สุวรรณเครือ นักแสดงชาวไทย (เกิด 4 สิงหาคม พ.ศ. 2489)
- 7 กรกฎาคม – สันติ์ เทพมณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำพูนและสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดลำพูน (เกิด 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2471)
- 12 กรกฎาคม - พันตำรวจเอกบรรดล ตัณฑไพบูลย์ ตำรวจชาวไทย (เกิด 13 กันยายน พ.ศ. 2491)[116]
- 14 กรกฎาคม – คำปุน ศรีใส ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ประณีตศิลป์–ทอผ้า) (เกิด 5 มกราคม พ.ศ. 2476)[117]
- 29 กรกฎาคม – ล้อม เพ็งแก้ว นักประวัติศาสตร์และนักภาษาศาสตร์ชาวไทย (เกิด 4 ธันวาคม พ.ศ. 2479)[118]
สิงหาคม
- 2 สิงหาคม –
- ฟาโรห์ ตอยยีบี นักร้องนักดนตรีชาวไทย (เกิด 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2492)[119]
- ธนาเศรษฐ์ ยงกิจเดโชพัฒน์ (ไกรสีห์ แก้ววิมล) นักแสดงชาวไทย (เกิด 1 มกราคม พ.ศ. 2489)[120]
- 3 สิงหาคม –
- สมส่วน พรหมสว่าง (เพลิน พรหมแดน) ศิลปินเพลงลูกทุ่งชาวไทย ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยลูกทุ่ง) พ.ศ. 2555 (เกิด 12 มิถุนายน พ.ศ. 2482)[121]
- ประพันธ์ นัยโกวิท อดีตกรรมการการเลือกตั้ง (เกิด 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490)[122]
- 4 สิงหาคม –
- มนัส ตั้งสุข ผู้ประกาศข่าวชาวไทย (เกิด 27 สิงหาคม พ.ศ. 2515)[123]
- นพคุณ รัฐผไท สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ (เกิด 1 มกราคม พ.ศ. 2491)[124]
- นฤชาติ บุญสุวรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา (เกิด 11 มกราคม พ.ศ. 2489)
- 15 สิงหาคม – พระราชญาณโสภณ (จรัส เขมจารี) ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ และเจ้าอาวาสวัดหลวงสุมังคลาราม (ธรรมยุตกนิกาย) (เกิด 8 สิงหาคม พ.ศ. 2470)[125]
- 20 สิงหาคม – ชรินทร์ นันทนาคร นักร้อง นักแสดง ผู้กำกับภาพยนตร์ ผู้สร้างภาพยนตร์ชาวไทย และศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงไทยสากล–ขับร้อง) (เกิด 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2476)[126]
- 23 สิงหาคม – ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (เกิด 10 เมษายน พ.ศ. 2493)[127]
- 25 สิงหาคม – พระราชมงคลวิสุทธิ์ (ก้ำ กลฺยาณธมฺโม) ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 6 จังหวัดพะเยา และเจ้าอาวาสวัดบุญเกิด (เกิด 19 กันยายน พ.ศ. 2464)[128]
- 26 สิงหาคม – ยุวดี มีทำ นักธุรกิจชาวไทย (เกิด 29 ธันวาคม พ.ศ. 2529)[129]
- 30 สิงหาคม – พรพล สำหรับสุข นักเขียนชาวไทย (เกิด 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2514)[130]
กันยายน
- 5 กันยายน – ชวลิต ฉลอมพงษ์ (โก๋ คาราบาว) นักดนตรีชาวไทย (เกิด 15 มกราคม พ.ศ. 2517)[131]
- 6 กันยายน – พยุงศักดิ์ จันทรสุรินทร์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสยาม[132]
- 8 กันยายน – ณัฐนนท์ อนันตะบุตร นักฟุตบอลชาวไทย[133]
- 9 กันยายน – พลวัฒน์ ชนะบุญ นักวิชาการชาวไทย (เกิด 20 มิถุนายน พ.ศ. 2537)[134]
- 10 กันยายน – ประสิทธิ์ ไชยะโท นักดนตรีชาวไทย (เกิด 8 สิงหาคม พ.ศ. 2494)[135]
- 12 กันยายน – โกสินทร์ วิระพรสวรรค์ นักธุรกิจชาวไทย (เกิด 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525)[136]
- 13 กันยายน – บุญฉลอง ภักดีวิจิตร (ฉลอง ภักดีวิจิตร) ผู้กำกับภาพยนตร์และผู้กำกับละครโทรทัศน์และผู้สร้างภาพยนตร์ชาวไทยและศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ผู้สร้าง–ผู้กำกับภาพยนตร์และละครโทรทัศน์) (เกิด 18 มีนาคม พ.ศ. 2474)[137]
- 14 กันยายน –
- 20 กันยายน – กิตติพงษ์ ปถมสุข นักฟุตบอลชาวไทย (เกิด 10 เมษายน พ.ศ. 2538)[140]
- 21 กันยายน – อรรคพันธ์ นะมาตร์ นักแสดงชาวไทย (เกิด 28 มกราคม พ.ศ. 2528)[141]
ตุลาคม
- 1 ตุลาคม – บุคคลจากโรงเรียนวัดเขาพระยาที่เสียชีวิตจากเหตุเพลิงไหม้รถบัสบนถนนวิภาวดีรังสิต
- ครู
- นักเรียน
- ปาณรินทร์ ชูประเสริฐ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (เกิด 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552)[145]
- พิมชนก มีศรี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (เกิด 19 มีนาคม พ.ศ. 2553)[146]
- สุนิชา ยอดนิโรจน์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (เกิด 6 เมษายน พ.ศ. 2552)[147]
- ชาคริต โยศรีธา นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (เกิด 12 เมษายน พ.ศ. 2558)[148]
- ณฐพัชร์ วังพลับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (เกิด 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2558)[149]
- ธนกฤต โพธิ์ตุ้ย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (เกิด 22 มีนาคม พ.ศ. 2558)[150]
- บวรศักดิ์ ถึงทรัพย์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เกิด 25 มกราคม พ.ศ. 2557)[151]
- พีรฉัตร บุญชื่น นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (เกิด 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2558)[152]
- ฤตธวัช สืบสายจันทร์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (เกิด 7 มกราคม พ.ศ. 2558)[153]
- ณัฐพงศ์ ขำกระแสร์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (เกิด 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2558)[154]
- พัสกร พลีดี นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (เกิด 6 ตุลาคม พ.ศ. 2558[155]
- พีรภัทร วังพลับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (เกิด 20 สิงหาคม พ.ศ. 2558)[156]
- องอาจ ใจแสน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (เกิด 10 มีนาคม พ.ศ. 2559)[157]
- อาชวิน วงษ์ดิษฐ์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (เกิด 4 มิถุนายน พ.ศ. 2558)[158]
- ฐิติพา โฉมศรี นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (เกิด 14 เมษายน พ.ศ. 2559)[159]
- กฤษดา พุ่มทอง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 (เกิด 13 กันยายน พ.ศ. 2553)[160]
- สิริณัฏฐ์ แก้วใจ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 [161]
- ธีระพงศ์ เพียรกสิวิทย์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (เกิด 22 มีนาคม พ.ศ. 2561)[162]
- ปฏิณญา เทศจำปา นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (เกิด 20 ตุลาคม พ.ศ. 2560)[163]
- อัจฉรา จำนงค์สังข์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (เกิด 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2560)[164]
- 4 ตุลาคม – กิตติเดช วิมลรัตน์ นักธุรกิจและยูทูบเบอร์ชาวไทย (เกิด 30 เมษายน พ.ศ. 2520)[165]
- 9 ตุลาคม – คุณหญิง วิจันทรา บุนนาค ผู้ก่อตั้งสมาคมเลขานุการสตรีแห่งประเทศไทย ผู้ก่อตั้งและประธานคณะกรรมการสเปเชียลโอลิมปิคแห่งประเทศไทย และผู้ได้รับรางวัลสตรีไทยดีเด่น ปี พ.ศ. 2555 (เกิด 10 สิงหาคม พ.ศ. 2477)
- 12 ตุลาคม –
- พลตำรวจเอกณรงค์ มหานนท์ ที่ปรึกษาวารสารมูลนิธิโรคไตแห่งประเทศไทยและอธิบดีกรมตำรวจ (เกิด 5 มกราคม พ.ศ. 2470)[166]
- เจริญจิตต์ ณ สงขลา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงมหาดไทย ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และสมาชิกวุฒิสภา (เกิด 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2473)
- 13 ตุลาคม – กิตติศักดิ์ ฟูฟุ้ง นักฟุตบอลและผู้รักษาประตูชาวไทย[167]
- 15 ตุลาคม - จักรพันธุ์ ยมจินดา อดีตผู้ประกาศข่าว, อดีตนักพากย์, อดีตผู้บรรยาย, อดีตนักการเมืองชาวไทย (เกิด 22 สิงหาคม พ.ศ. 2497)[168]
พฤศจิกายน
- 12 พฤศจิกายน - อิษณัฐ ชลมูณี นายแบบ นักแสดง และพิธีกรชาวไทย (เกิด 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533)
ธันวาคม
- 10 ธันวาคม – สันติ ลุนเผ่ นักร้องชาวไทย (เกิด 22 มิถุนายน พ.ศ. 2479)[169]
- 13 ธันวาคม – แดน บุรีรัมย์ นักร้อง นักแต่งเพลง (เกิด 1 กันยายน พ.ศ. 2488)
- 26 ธันวาคม – ธนาคาร คันธี (แบงค์ เลสเตอร์) อินฟลูเอนเซอร์ชาวไทย (เกิด 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2540)
ดูเพิ่ม
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2567
- ประเทศไทยในโอลิมปิกฤดูร้อน 2024
- ประเทศไทยในพาราลิมปิกฤดูร้อน 2024
- ไทยลีก ฤดูกาล 2566–67
- ไทยลีก ฤดูกาล 2567–68
อ้างอิง
- ↑ 'ชัชชาติ' ลงนามประกาศเก็บค่าโดยสารสายสีเขียวส่วนต่อขยาย 15 บาท มีผล 2 ม.ค. 67
- ↑ 10 ปริศนาในซองจดหมาย ปรีดี 2024
- ↑ "Dinosaur track find could be a first for Thailand". Bangkok Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-01-24.
- ↑ "Prachuap Khiri Khan's recently appointed governor has died". Hua Hin Today (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2024-01-11. สืบค้นเมื่อ 2024-02-02.
- ↑ คนร้ายบุกกระหน่ำยิงเจ้าของอู่ซ่อมรถ ดับพร้อมเพื่อน 2 ศพ
- ↑ "Cabinet approves diesel tax cut, 2025 budget draft". Bangkok Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-01-24.
- ↑ "โรงงานพลุระเบิดที่ จ.สุพรรณบุรี ทำไมโรงงานที่เคยระเบิดแล้ว กลับมาเปิดใหม่ได้อีกครั้ง". BBC News ไทย. 2024-01-18.
- ↑ "อานนท์ นำภา ถูกศาลพิพากษาจำคุกเพิ่ม 4 ปี จากคดีมาตรา 112 โพสต์เฟซบุ๊กปี 2564 รวมโทษจำคุกทั้งหมด 8 ปี". ไทยรัฐออนไลน์. 2024-01-17.
- ↑ "ศาลอาญา สั่งจำคุก"อานนท์ นำภา" อีก 4 ปี ไม่รอลงอาญา โพสต์เฟซบุ๊ก หมิ่นสถาบัน". มติชนออนไลน์. 2024-01-17.
- ↑ "Saksayam Chidchob: Will share concealment verdict halt political comeback king?". Thai PBS (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2024-01-25.
- ↑ "29-year-old abandons Bhumjaithai and MP seat to pursue local role". nationthailand (ภาษาอังกฤษ). 2024-01-19. สืบค้นเมื่อ 2024-01-25.
- ↑ "Thai court says popular politician Pita Limjaroenrat didn't violate law, can remain a lawmaker". AP News (ภาษาอังกฤษ). 2024-01-24. สืบค้นเมื่อ 2024-01-24.
- ↑ "Teachers no longer required to stay on campus out of school hours". nationthailand (ภาษาอังกฤษ). 2024-01-25. สืบค้นเมื่อ 2024-01-25.
- ↑ "Thai court orders election-winning party to end its royal reform campaign in blow to voters who backed change". CNN (ภาษาอังกฤษ). 2024-01-31. สืบค้นเมื่อ 2024-01-31.
- ↑ "EC asked to seek Move Forward disbandment after court verdict". nationthailand (ภาษาอังกฤษ). 2024-02-01. สืบค้นเมื่อ 2024-02-02.
- ↑ "Thai astronomers discover 13 galaxies with James Webb Space Telescope". nationthailand (ภาษาอังกฤษ). 2024-02-02. สืบค้นเมื่อ 2024-02-02.
- ↑ "UNESCO - Songkran in Thailand, traditional Thai New Year festival". ich.unesco.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-02-07.
- ↑ "Thailand and Muslim separatist rebels agree on roadmap to peace, Malaysian facilitator says". AP News (ภาษาอังกฤษ). 2024-02-07. สืบค้นเมื่อ 2024-02-07.
- ↑ การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น 11 กุมภาพันธ์ 2567 เชิญชวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าคูหากากบาท
- ↑ เร่งล่ามือยิง "นายกมิง" สงขลา ตำรวจตั้ง 3 ปมสังหาร
- ↑ "Thaksin Shinawatra: Former Thai prime minister released on parole". BBC News. February 18, 2024. สืบค้นเมื่อ February 18, 2024.
- ↑ "Thailand's former Prime Minister Thaksin Shinawatra to be freed: Reports". Al Jazeera (ภาษาอังกฤษ). 13 February 2024. สืบค้นเมื่อ 13 February 2024.
- ↑ "ท่านอ้น" เดินทางมาไทยเป็นครั้งที่ 3 วันที่ 6 มี.ค. 2567
- ↑ "เปิดตัวแอนิเมชัน 2475 ประวัติศาสตร์แบบ "ทุกฝ่ายดูได้" ชมฟรีออนไลน์ 13 มี.ค.นี้". Manager Online. 2024-03-09.
- ↑ "'2475 รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ' แอนิเมชันประวัติศาสตร์ที่คนไทยควรดู". กรุงเทพธุรกิจ. 2024-03-09.
- ↑ ""ทักษิณ" I'm back เหยียบพรรคเพื่อไทยครั้งแรกในรอบ 17 ปี". ไทยพีบีเอส. 2024-03-26.
- ↑ ""ทักษิณ" เข้าพรรคเพื่อไทย รัฐมนตรี-สส.-คนเสื้อแดง รอรับคึกคัก!". PPTV Online. 2024-03-26.
- ↑ "MSN". www.msn.com. สืบค้นเมื่อ 2024-03-27.
- ↑ รู้ที่มาแล้วปมกระสุนปริศนา คามุ้งลวดบ้านที่แม่สอด จ.ตาก
- ↑ "ด่วน! "บุ้ง ทะลุวัง" เสียชีวิตแล้ว". ผู้จัดการออนไลน์. 2024-05-14.
- ↑ ""บุ้ง ทะลุวัง" เสียชีวิตแล้ว หลังหัวใจหยุดเต้น". PPTV Online. 2024-05-14.
- ↑ "ประติมากรรม "Golden Boy" กลับถึงไทยแล้ว". ไทยพีบีเอส. 2024-05-20.
- ↑ เสียชีวิตเพิ่ม 1 นาย เหตุลอบวางระเบิดชุด รปภ.ครู 2 จุด นราธิวาส
- ↑ "ครม.อนุมัติส่งโบราณวัตถุ20รายการคืนกัมพูชา". เดลินิวส์. 2024-05-21.
- ↑ "เปิดโบราณวัตถุ 20 รายการ ไทยเตรียมส่งคืนให้กัมพูชา". ไทยพีบีเอส. 2024-05-22.
- ↑ ""ทักษิณ" เดินทางถึงโคราชแล้ว มวลชนรอรับแน่นสนามบิน ตะโกน "เรารักทักษิณ"". ไทยรัฐออนไลน์. 2024-05-25.
- ↑ "ทักษิณ ถึงโคราช ชาวบ้านแห่ต้อนรับแน่นสนามบิน ผูกผ้าขาวม้าให้ ตะโกนก้อง "เรารักทักษิณ". มติชนออนไลน์. 2024-05-25.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง สถาปนาพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคล. 2567.
- ↑ "สมรสเท่าเทียม: สว. ผ่านร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมแล้ว บังคับใช้ 120 วัน หลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา". BBC News ไทย. 2024-06-18.
- ↑ "ในหลวง โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระยศ "เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ" เป็น พลโทหญิง". ไทยพีบีเอส. 2024-07-22.
- ↑ "ในหลวง โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ พระราชทานพระยศทหารเป็น พลโทหญิง". มติชน. 2024-07-22.
- ↑ Flight P4787
- ↑ "เช็ก 107 เส้นทางใหม่ ตามแผนปฏิรูปรถเมล์ เริ่มบริการ 25 ก.ค.67". ไทยพีบีเอส. 2024-07-25.
- ↑ "ปิดฉาก "ปารีส 2024" ยิ่งใหญ่ "ทอม ครูซ" โรยตัวรับธงโอลิมปิกส่งเจ้าภาพ | ทันโลก DAILY | 12 ส.ค. 67". pptvhd36.com. 2024-08-12.
- ↑ "ระทึก! เครื่องบินเล็กตกลงบ้านคน จ.สมุทรสาคร สลดนักบินเสียชีวิตทันที". เดลินิวส์. 2024-08-03.
- ↑ "ระทึก! ด่วนที่สุด!!! 'ก้าวไกล'ไม่รอด ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย'ยุบพรรค' ตัดสิทธิ์กก.บห. 10 ปี". แนวหน้า. 2024-08-07.
- ↑ "'เศรษฐา' ไม่รอด! ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ชี้ชะตาเศรษฐาพ้นเก้าอี้นายกฯ ทันที". เดอะ แมทเทอร์. 14 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2024.
{cite news}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ด่วน! 'เครื่องบินเล็กตก' พื้นที่เขาดินบางปะกง ฉะเชิงเทรา เร่งค้นหานักบิน-ผู้โดยสาร". เดลินิวส์. 2024-08-22.
- ↑ "ด่วน! อุโมงค์รถไฟความเร็วสูงโคราช ดินถล่ม คนงานสูญหาย 3 ราย เร่งระดมค้นหา". ฐานเศรษฐกิจ. 2024-08-25.
- ↑ "ขสมก.แจ้งหยุดเดินรถเมล์ 49 เส้นทาง 31 ส.ค.นี้ ตามแผนปฏิรูปฯ". ไทยพีบีเอส. 2024-08-17.
- ↑ "'หมูเด้ง' ดังทั่วโลก 'สื่อนอกแห่ทำข่าว' หลงรักฮิปโปแคระสุดน่ารักของไทย". กรุงเทพธุรกิจ. 2024-09-14.
- ↑ "ราชกิจจาฯ ประกาศแล้ว "พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม" มีผล 22 ม.ค.68". ไทยพีบีเอส. 2024-09-24.
- ↑ "ด่วน! ไฟไหม้รถบัสนักเรียนนำเที่ยวเจ็บ-ตายนับ 10 คน". ไทยพีบีเอส. 2024-10-01.
- ↑ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2567, 13 มิถุนายน). นายกฯ ติดตามความก้าวหน้า การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค และการซ่อมแซมการประดับตกแต่งเรือพระที่นั่ง เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567. ทำเนียบรัฐบาล. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2567.
- ↑ ""ยูเนสโก" ยกย่องท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ติดอันดับ 1 ใน 6 สนามบินสวยที่สุดในโลกปี 2567 "อาคาร SAT-1" รับรางวัลสถาปัตยกรรมสวยที่สุดของโลก". www.prd.go.th.
- ↑ ฐานเศรษฐกิจ (2024-11-14). "ยูเนสโก ยก "สนามบินสุวรรณภูมิ"ติดอันดับ 1 ใน 6 สนามบินสวยที่สุดในโลก 2567". thansettakij.
- ↑ "ในหลวง โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระยศ 'พลเอกหญิง' เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี". มติชน. 2024-11-16.
- ↑ "โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระยศ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ เป็น 'พลเอกหญิง'". ไทยโพสต์. 2024-11-16.
- ↑ "ศาลพิพากษาประหารชีวิต "แอม ไซยาไนด์" อดีตสามี-ทนายพัช โดนโทษจำคุก". ไทยรัฐ. 2024-11-20.
- ↑ "กทม. ททท. และเดอะมอลล์ กรุ๊ป จัดกิจกรรมวิ่งเพื่อพ่อ พร้อมแสดงม่านน้ำเฉลิมพระเกียรติสุดตระการตา". สํานักงานประชาสัมพันธ์. 2024-11-30.
- ↑ "ในหลวง พระราชินี พระราชทานพระบรมราชวโรกาส ให้ เอลีอุด คิปโชกี นักวิ่งชื่อดัง เฝ้าฯ". mgronline.com. 2024-11-30.
- ↑ "พระราชินี ทรงพาคณะนายเอลีอุด คิปโชกี นักวิ่งทางไกลชาวเคนยาชมสถานที่สำคัญใน กทม". mgronline.com. 2024-12-01.
- ↑ "Wayback Machine". www.thaigov.go.th.
- ↑ "ด่วน ยูเนสโก ขึ้นทะเบียน "ต้มยำกุ้ง" เป็นมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้". thansettakij. 2024-12-04.
- ↑ ""ต้มยำกุ้ง" ระดับโลก "ยูเนสโก" มีมติรับรอง เป็นมรดกวัฒนธรรม อิ๊งค์ปลื้มชวนลิ้มลอง". www.thairath.co.th. 2024-12-05.
- ↑ chanhena, Bandit. "คนไทยได้เฮอีก 'ยูเนสโก' รับรอง 'เคบายา' เป็น 'มรดกวัฒนธรรมของมนุษยชาติ'". เดลินิวส์.
- ↑ "ยูเนสโกรับรอง "เคบายา" มรดกวัฒนธรรมร่วม 5 ประเทศอาเซียน". www.thairath.co.th. 2024-12-05.
- ↑ ""ในหลวง" เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดสะพาน "ทศมราชัน"". ไทยรัฐ. 2024-12-14.
{cite web}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ประเทศไทยเข้าร่วม Artemis Accords โอกาสและความพร้อมของไทย หลังลงนามข้อตกลงอาร์ทีมิส". GISTDA - อนาคตประเทศไทยอยู่ในอวกาศ.
- ↑ ""มีผลแล้ว จำกัดความเร็วรถไม่เกิน 60 กม./ชม.ถนนทุกสาย กทม.เว้น 13 เส้นทาง"". ไทยพีบีเอส. 2024-12-24.
{cite web}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "คาด ก.พ.67 เริ่มขนย้ายรถไฟมือสองญี่ปุ่น Kiha 40 และ 48 รวม 20 คัน หลังได้ผู้รับจ้าง ราคา 48.6 ล้านบาท". เดลินิวส์. 2023-12-19.
- ↑ "เก่าเขาใหม่เรา เปิดตัวทางการ SRT Royal Blossom รถไฟบริจาคของญี่ปุ่น เวอร์ชั่นปรับปรุง". อีจัน. 2024-03-16.
- ↑ "อาลัย อังศณา ช้างเศวต นักร้องดังยุค 80 เจ้าของเพลง 'คู่กรรม' เสียชีวิต". มติชนออนไลน์. 1 January 2024. สืบค้นเมื่อ 1 January 2024.
- ↑ "สิ้น 'ศาสตราจารย์ คุณหญิง นงเยาว์ ชัยเสรี' อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์". มติชนออนไลน์. 2 January 2024. สืบค้นเมื่อ 2 January 2024.
- ↑ "ผู้ว่าประจวบฯ เสียชีวิตหลังผ่าตัด-หัวใจวายเฉียบพลัน". พีพีทีวี. 11 January 2024. สืบค้นเมื่อ 11 January 2024.
- ↑ "วงการบันเทิงเศร้า หญิง-จุฬาลักษณ์ อดีตเซ็กซี่สตาร์ชื่อดัง เสียชีวิตแล้ว". มติชนออนไลน์. 16 January 2024. สืบค้นเมื่อ 16 January 2024.
- ↑ "เอฟซีอาลัย 'ต๊ะ ยมทูต' เจ้าของวลี เซ็ตหย่อ 2 ห่อใส่ไข่ เสียชีวิตแล้ว". มติชนออนไลน์. 1 February 2024. สืบค้นเมื่อ 1 February 2024.
- ↑ ""เริงชัย ประภาษานนท์" ศิลปินแห่งชาติ 2562 นักเขียนผลงานอินทรีแดง เสียชีวิต วัย 94 ปี". ไทยพีบีเอส. 5 February 2024. สืบค้นเมื่อ 5 February 2024.
- ↑ "สิ้น พระราชจินดานายก มหาเถระเมืองลำปาง ละสังขารอย่างสงบ สิริอายุ 87 ปี". มติชนออนไลน์. 5 February 2024. สืบค้นเมื่อ 5 February 2024.
- ↑ "วงการมวยไทยสิ้น ฉลามเพชร ศรพิสัย เสียชีวิตก่อนขึ้นชกไม่กี่วัน". มติชนออนไลน์. 5 February 2024. สืบค้นเมื่อ 5 February 2024.
- ↑ "เพียงใจ หาญพาณิชย์ ผู้ก่อตั้ง แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เสียชีวิต อายุ 100 ปี". มติชนออนไลน์. February 8, 2024. สืบค้นเมื่อ February 8, 2024.
- ↑ "อาลัย 'เศรษฐภัทร จีระกุลธนันต์' นักธุรกิจใจบุญเมืองโคราช สิ้นใจอย่างสงบ". มติชนออนไลน์. February 8, 2024. สืบค้นเมื่อ February 8, 2024.
- ↑ "เพื่อนตลก อาลัย 'เจมส์ เชิญยิ้ม' เสียชีวิต หลังเข้ารักษาตัวในไอซียู". มติชนออนไลน์. February 22, 2024. สืบค้นเมื่อ February 22, 2024.
- ↑ "สิ้น "พลเอกบุญรอด สมทัศน์" อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เสียชีวิตแล้ว". TOP News. 25 February 2024. สืบค้นเมื่อ 25 February 2024.
- ↑ "แห่อาลัย อาจารย์วสันต์ พงศ์สุประดิษฐ์ วิทยากร-นักพูดชื่อดัง จากไปอย่างสงบ". มติชนออนไลน์. 27 February 2024. สืบค้นเมื่อ 27 February 2024.
- ↑ "ส.ว.มณเฑียร บุญตัน อดีตนายกสมาคมคนตาบอด ถึงแก่อนิจกรรม". มติชนออนไลน์. 2 March 2024. สืบค้นเมื่อ 2 March 2024.
- ↑ "สิ้นจิตรกรชื่อดัง "อาจารย์สุรเดช แก้วท่าไม้" เสียชีวิตแล้ว สิริอายุ 60 ปี". ผู้จัดการออนไลน์. 8 March 2024. สืบค้นเมื่อ 8 March 2024.
- ↑ ""เอฟ นนทพัฒน์" เสียชีวิตอย่างสงบด้วยโรคมะเร็งในวัย 47 ปี". พีพีทีวี. 2024-03-13.
{cite web}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "แฟนเพลงเศร้า สิ้น ป๋าดุก คาราบาว มือคีย์บอร์ดเพื่อชีวิต ในวัย 70 ปี". มติชนออนไลน์. 18 March 2024. สืบค้นเมื่อ 18 March 2024.
- ↑ "สิ้น 'ทองใส ทับถนน' ครูพิณ ตำนานวงเพชรพิณทอง ศิลปินมรดกอีสาน". มติชนออนไลน์. 20 March 2024. สืบค้นเมื่อ 20 March 2024.
- ↑ "พีระพงศ์ ตริยเจริญ อดีตผู้จัดการระบบ TCAS เสียชีวิตแล้ว". มติชนออนไลน์. 20 March 2024. สืบค้นเมื่อ 20 March 2024.
- ↑ "สุดอาลัย "เมฆ วินัย" เสียชีวิต ปิดตำนานพระเอกร้อยล้าน". พีพีทีวี. 2024-03-20.
{cite web}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "วงการลูกหนังไทยเศร้า! สิ้น "สราวุธ ประทีปากรชัย" นายด่านอลป.ที่เม็กซิโก". SIA Msport. 24 March 2025. สืบค้นเมื่อ 24 March 2024.
- ↑ "วงการมวยเศร้า สิ้น 'ณรงค์ชัย ศิษย์จอมยุทธ' นักชกดาวรุ่งเมืองย่าโม". มติชนออนไลน์. 31 March 2024. สืบค้นเมื่อ 31 March 2024.
- ↑ "สุดอาลัย! มะเร็งปอดคร่า 'อาจารย์ มช.' เผยสูญเสียเป็นรายที่ 4 เชื่อสาเหตุจากฝุ่น PM 2.5". เดลินิวส์. 3 April 2024. สืบค้นเมื่อ 3 April 2024.
- ↑ "สิ้น 'บิ๊กเต้' พลอากาศเอกเกษตร โรจนนิล อดีตผบ.ทอ.-อดีตผบ.สส. วัย 90 ปี". มติชนออนไลน์. 3 April 2024. สืบค้นเมื่อ 3 April 2024.
- ↑ "อาลัย! "เบียร์ สรณัฐ มัสยวานิช" อดีตนักแสดงซิตคอม เสียชีวิต". พีพีทีวี. 7 April 2024. สืบค้นเมื่อ 7 April 2024.
- ↑ "ลูกศิษย์อาลัย มิสเตอร์หม่า อาจารย์ฮวงจุ้ยชื่อดัง เสียชีวิตแล้ว". มติชนออนไลน์. 11 April 2024. สืบค้นเมื่อ 11 April 2024.
- ↑ "ลูกศิษย์อาลัย สิ้น พระพรหมวชิรโมลี รองอธิการบดี มหาจุฬาฯ มรณภาพ สิริอายุ 90 ปี". มติชนออนไลน์. 12 April 2024. สืบค้นเมื่อ 12 April 2024.
- ↑ "อาลัย นายแพทย์กัณฑ์เอนก หมอใจดีรพ.ระแงะ ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต". มติชนออนไลน์. 13 April 2024. สืบค้นเมื่อ 13 April 2024.
- ↑ "อาลัย 'กุศล กมลสิงห์' ราชาเพลงรำวง ตำนานเพลง 'รักกลางจันทร์' ด้วยวัย 90 ปี". bangkokbiznews. 2024-04-13.
- ↑ "กีรติ รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เสียชีวิต อายุ 56 ปี". ประชาชาติธุรกิจ. 19 April 2024. สืบค้นเมื่อ 19 April 2024.
- ↑ "อาลัย "แม่กิมไล้" ยอดหญิงแกร่งเจ้าของร้านขนมหม้อแกงเพชรบุรี". พีพีทีวี. 22 April 2024. สืบค้นเมื่อ 22 April 2024.
- ↑ "อาลัย เทิดภูมิ ใจดี อดีตส.ส.ผู้นำแรงงานยุค 14 ตุลา เสียชีวิตอย่างสงบด้วยวัย 80 ปี". มติชนออนไลน์. 22 April 2024. สืบค้นเมื่อ 22 April 2024.
- ↑ chanhena, Bandit. "อาลัย ศิลปินแห่งชาติ "คุณหญิงกุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ" ถึงแก่กรรม สิริอายุ 93 ปี". เดลินิวส์.
- ↑ "แห่อาลัยเพียบ "อดีตนักเตะไทยลีก" เสียชีวิตสุดช็อก พบศพในแม่น้ำบางปะกง". ไทยรัฐออนไลน์. 6 May 2024. สืบค้นเมื่อ 6 May 2024.
- ↑ "วงการบันเทิงเศร้า ครูแป๊ะ กัญจนปกรณ์ แสดงหาญ ศิลปินดัง เสียชีวิตด้วยโรคระเม็งปอด". มติชนออนไลน์. 11 May 2024. สืบค้นเมื่อ 11 May 2024.
- ↑ ""จอย ชวนชื่น" เผยเคยแอบร้องไห้เพราะ"ขวัญจิตร ทรงแสง" ด้าน "โหน่ง ชะช่าช่า" โพสต์อาลัย".
{cite web}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ช็อก! 'สท.หนองบัวลำภู' เสียชีวิตคาห้องประชุม ขณะอภิปรายเรื่องการใช้จ่ายงบประมาณ". เดลินิวส์. 23 May 2024. สืบค้นเมื่อ 23 May 2024.
- ↑ "แฟนคลับอาลัย 'เอ็นจอย พญาไท' เสียชีวิต ตร.คาดโหมงานหนัก-หัวใจวาย". เดลินิวส์. 24 May 2024. สืบค้นเมื่อ 24 May 2024.
- ↑ Chaipetch, Paisarn. "อาลัย! นายกอบต. ลงสนามฟาดแข้ง ช็อกหมดสติปั๊มหัวใจสุดยื้อเสียชีวิต". เดลินิวส์.
- ↑ "'เจริญ เชาวน์ประยูร' อดีต รมช.คมนาคม และอดีต สส.เชียงใหม่ 7 สมัย เสียชีวิตอย่างสงบ". 2024-06-04.
{cite web}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ม.จ.ปุสาณ สวัสดิวัตน์ พระอนุวงศ์ผู้ใหญ่ สิ้นชีพิตักษัย". 2024-06-06.
{cite web}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "สุดอาลัย "แอ๊ด โฉมฉาย ฉัตรวิไล" เสียชีวิตในวัย 74 ปี". ข่าวสด. 21 June 2024. สืบค้นเมื่อ 21 June 2024.
- ↑ "อาลัย สิ้น ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ อาจารย์รัฐศาสตร์ชื่อดัง ในวัย 69 ปี". มติชนออนไลน์. 27 June 2024. สืบค้นเมื่อ 27 June 2024.
- ↑ "สิ้น เหยี่ยวดำ พลตำรวจเอกบรรดล ตัณฑไพบูลย์ มือปราบตี๋ใหญ่". มติชนออนไลน์. 12 July 2024. สืบค้นเมื่อ 12 July 2024.
- ↑ "สิ้น 'แม่คำปุน ศรีใส' ศิลปินแห่งชาติ ปี 2561 ผู้สืบสานผ้าทออีสาน". มติชนออนไลน์. 14 July 2024. สืบค้นเมื่อ 14 July 2024.
- ↑ สิ้นแล้ว! ศาสตราภิชาน ล้อม เพ็งแก้ว ‘ปราชญ์เมืองเพชร’ ปูชนียบุคคล
- ↑ ""อ๊อด ฟาโรห์ ตอยยีบี" เจ้าของเพลง "ว้าเหว่" เสียชีวิตแล้ว". mgronline.
- ↑ "ช็อก! "ต้อ ไกรสีห์" ดาราอาวุโสที่ "อั้ม พัชราภา" เคยช่วยเหลือ ลื่นล้มในห้องน้ำ เสียชีวิตแล้ว". mgronline.
- ↑ "วงการเพลงเศร้า สิ้น เพลิน พรหมแดน ศิลปินแห่งชาติ ราชาเพลงพูด สิริอายุ 85 ปี". มติชน. 3 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2024.
{cite news}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ""อาลัย "ประพันธ์ นัยโกวิท" อดีต กกต. เสียชีวิตอย่างสงบ ในวัย 77 ปี". sanook.com.
- ↑ "ผู้ประกาศข่าว ดร.มนัส ตั้งสุข เสียชีวิต หลังเกิดอุบัติเหตุล้มหัวฟาดพื้น". ไทยรัฐ. 4 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2024.
- ↑ "อาลัย 'นพคุณ รัฐผไท' อดีตสส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ถึงแก่กรรม อายุ 76 ปี". สำนักข่าวอิศรา. 4 August 2024. สืบค้นเมื่อ 4 August 2024.
- ↑ chanhena, Bandit. "ศิษยานุศิษย์อาลัย 'หลวงปู่ห้วย' ละสังขารสงบ สิริอายุ 97 ปี". เดลินิวส์.
- ↑ "สิ้น "ชรินทร์ นันทนาคร" ศิลปินแห่งชาติ นักร้องลูกกรุงเสียงทอง ในวัย 91 ปี". พีพีทีวี. 20 August 2024. สืบค้นเมื่อ 20 August 2024.
- ↑ "อาลัย 'ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์' อดีตรมว.คลัง–อดีตประธาน TDRI". เดลินิวส์. 23 August 2024. สืบค้นเมื่อ 23 August 2024.
- ↑ "ศิษยานุศิษย์อาลัย 'หลวงปู่ก้ำ' พระเกจิดัง 5 แผ่นดิน อายุ 103 ปี ละสังขารแล้ว". เดลินิวส์. 25 August 2024. สืบค้นเมื่อ 25 August 2024.
- ↑ "อาลัย นักธุรกิจสาว เจ้าของ 'แคบหมึก' ยี่ห้อแรก เสียชีวิตกะทันหันในวัย 38 ปี". มติชนออนไลน์. 26 August 2024. สืบค้นเมื่อ 26 August 2024.
- ↑ "แฟนการ์ตูนสุดอาลัย น็อต ขายหัวเราะ นักวาดการ์ตูนชื่อดัง เสียชีวิต". มติชนออนไลน์. 30 August 2024. สืบค้นเมื่อ 30 August 2024.
- ↑ "อาลัย! วงคาราบาวแจ้งข่าวเศร้า "โก๋ คาราบาว" มือกลองประจำวง เสียชีวิต". พีพีทีวี. 5 September 2024. สืบค้นเมื่อ 5 September 2024.
- ↑ "พบศพ อดีตบิ๊กศธ.–รองอธิการบดีม.ดัง เสียชีวิตในอ่างน้ำโรงแรม". มติชนออนไลน์. 6 September 2024. สืบค้นเมื่อ 6 September 2024.
- ↑ "อาลัย 'ณัฐนนท์ อนันตะบุตร' มิดฟิลด์วัย 20 ปี นิสิตจุฬาฯ เสียชีวิต". ข่าวสด. 8 September 2024. สืบค้นเมื่อ 8 September 2024.
- ↑ "เศร้าสูญเสียผู้พิทักษ์ปกป้องผืนป่า เสียชีวิตจากอุบัติเหตุขณะปฏิบัติหน้าที่". เดลินิวส์. 9 September 2024. สืบค้นเมื่อ 9 September 2024.
- ↑ "วงการบันเทิงเศร้า เบิ้ม ประสิทธิ์ ไชยะโท มือกลองวงแกรนด์เอ็กซ์ เสียชีวิตในวัย 73 ปี". มติชนออนไลน์. 10 September 2024. สืบค้นเมื่อ 10 September 2024.
- ↑ "อาลัย "โกสินทร์ วิระพรสวรรค์" ผู้บริหารแบรนด์ของเล่นไม้ส่งออกทั่วโลก". พีพีทีวี. 12 September 2024. สืบค้นเมื่อ 12 September 2024.
- ↑ "สิ้น "ฉลอง ภักดีวิจิตร" ศิลปินแห่งชาติ เจ้าพ่อหนังแอ็กชัน ในวัย 93 ปี". พีพีทีวี. 13 September 2024. สืบค้นเมื่อ 13 September 2024.
- ↑ "สิ้น 'ร.ต.ต.เกรียงศักดิ์ โลหะชาละ' อดีตปลัด กทม. สิริรวมอายุ 83 ปี". มติชนออนไลน์. 14 September 2024. สืบค้นเมื่อ 14 September 2024.
- ↑ "สุดอาลัย กู้ภัยช่วยน้ำท่วมเชียงราย เอส มูลนิธิ ดิ อาร์ค เสียชีวิตกะทันหัน หลังเสร็จภารกิจ". มติชนออนไลน์. 14 September 2024. สืบค้นเมื่อ 14 September 2024.
- ↑ "อาลัย อดีตแข้งดัง ขับเบนซ์ พุ่งชนแบริเออร์ ร่างกระเด็นนอนดับคู่ภรรยา กลางถนน". มติชนออนไลน์. 20 September 2024. สืบค้นเมื่อ 20 September 2024.
- ↑ ""อ๋อม อรรคพันธ์" พระเอกชื่อดังเสียชีวิตแล้ว หลังป่วยด้วยโรคมะเร็ง". สนุก.คอม. 22 กันยายน 2024. สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2024.
- ↑ "เปิดรายชื่อ นักเรียน-ครู 23 ราย เสียชีวิตจากเหตุรถบัสไปทัศนศึกษาไฟไหม้". www.thairath.co.th. 2024-10-01.
- ↑ "เปิดรายชื่อ นักเรียน-ครู 23 ราย เสียชีวิตจากเหตุรถบัสไปทัศนศึกษาไฟไหม้". www.thairath.co.th. 2024-10-01.
- ↑ "เปิดรายชื่อ นักเรียน-ครู 23 ราย เสียชีวิตจากเหตุรถบัสไปทัศนศึกษาไฟไหม้". www.thairath.co.th. 2024-10-01.
- ↑ "เปิดรายชื่อ นักเรียน-ครู 23 ราย เสียชีวิตจากเหตุรถบัสไปทัศนศึกษาไฟไหม้". www.thairath.co.th. 2024-10-01.
- ↑ "เปิดรายชื่อ นักเรียน-ครู 23 ราย เสียชีวิตจากเหตุรถบัสไปทัศนศึกษาไฟไหม้". www.thairath.co.th. 2024-10-01.
- ↑ "เปิดรายชื่อ นักเรียน-ครู 23 ราย เสียชีวิตจากเหตุรถบัสไปทัศนศึกษาไฟไหม้". www.thairath.co.th. 2024-10-01.
- ↑ "เปิดรายชื่อ นักเรียน-ครู 23 ราย เสียชีวิตจากเหตุรถบัสไปทัศนศึกษาไฟไหม้". www.thairath.co.th. 2024-10-01.
- ↑ "เปิดรายชื่อ นักเรียน-ครู 23 ราย เสียชีวิตจากเหตุรถบัสไปทัศนศึกษาไฟไหม้". www.thairath.co.th. 2024-10-01.
- ↑ "เปิดรายชื่อ นักเรียน-ครู 23 ราย เสียชีวิตจากเหตุรถบัสไปทัศนศึกษาไฟไหม้". www.thairath.co.th. 2024-10-01.
- ↑ "เปิดรายชื่อ นักเรียน-ครู 23 ราย เสียชีวิตจากเหตุรถบัสไปทัศนศึกษาไฟไหม้". www.thairath.co.th. 2024-10-01.
- ↑ "เปิดรายชื่อ นักเรียน-ครู 23 ราย เสียชีวิตจากเหตุรถบัสไปทัศนศึกษาไฟไหม้". www.thairath.co.th. 2024-10-01.
- ↑ "เปิดรายชื่อ นักเรียน-ครู 23 ราย เสียชีวิตจากเหตุรถบัสไปทัศนศึกษาไฟไหม้". www.thairath.co.th. 2024-10-01.
- ↑ "เปิดรายชื่อ นักเรียน-ครู 23 ราย เสียชีวิตจากเหตุรถบัสไปทัศนศึกษาไฟไหม้". www.thairath.co.th. 2024-10-01.
- ↑ "เปิดรายชื่อ นักเรียน-ครู 23 ราย เสียชีวิตจากเหตุรถบัสไปทัศนศึกษาไฟไหม้". www.thairath.co.th. 2024-10-01.
- ↑ "เปิดรายชื่อ นักเรียน-ครู 23 ราย เสียชีวิตจากเหตุรถบัสไปทัศนศึกษาไฟไหม้". www.thairath.co.th. 2024-10-01.
- ↑ "เปิดรายชื่อ นักเรียน-ครู 23 ราย เสียชีวิตจากเหตุรถบัสไปทัศนศึกษาไฟไหม้". www.thairath.co.th. 2024-10-01.
- ↑ "เปิดรายชื่อ นักเรียน-ครู 23 ราย เสียชีวิตจากเหตุรถบัสไปทัศนศึกษาไฟไหม้". www.thairath.co.th. 2024-10-01.
- ↑ "เปิดรายชื่อ นักเรียน-ครู 23 ราย เสียชีวิตจากเหตุรถบัสไปทัศนศึกษาไฟไหม้". www.thairath.co.th. 2024-10-01.
- ↑ "เปิดรายชื่อ นักเรียน-ครู 23 ราย เสียชีวิตจากเหตุรถบัสไปทัศนศึกษาไฟไหม้". www.thairath.co.th. 2024-10-01.
- ↑ "เปิดรายชื่อ นักเรียน-ครู 23 ราย เสียชีวิตจากเหตุรถบัสไปทัศนศึกษาไฟไหม้". www.thairath.co.th. 2024-10-01.
- ↑ "เปิดรายชื่อ นักเรียน-ครู 23 ราย เสียชีวิตจากเหตุรถบัสไปทัศนศึกษาไฟไหม้". www.thairath.co.th. 2024-10-01.
- ↑ "เปิดรายชื่อ นักเรียน-ครู 23 ราย เสียชีวิตจากเหตุรถบัสไปทัศนศึกษาไฟไหม้". www.thairath.co.th. 2024-10-01.
- ↑ "เปิดรายชื่อ นักเรียน-ครู 23 ราย เสียชีวิตจากเหตุรถบัสไปทัศนศึกษาไฟไหม้". www.thairath.co.th. 2024-10-01.
- ↑ "อาลัย แทน กิตติเดช วิมลรัตน์ ยูทูบเบอร์ดัง–หุ้นส่วนร้านเผ็ดมาร์ค เสียชีวิต". มติชนออนไลน์. 4 October 2024. สืบค้นเมื่อ 4 October 2024.
- ↑ "อาลัย พลตำรวจเอกณรงค์ มหานนท์ อดีตอธิบดีกรมตำรวจ เสียชีวิตแล้ว สิริอายุ 97 ปี". มติชนออนไลน์. 12 October 2024. สืบค้นเมื่อ 12 October 2024.
- ↑ "อาร์ท กิตติศักดิ์ ผู้รักษาประตูปลวกแดง เสียชีวิตอย่างสงบ หลังถูกฟ้าผ่าที่ระยอง". มติชนออนไลน์. 13 October 2024. สืบค้นเมื่อ 13 October 2024.
- ↑ ""จักรพันธุ์ ยมจินดา" ผู้ประกาศข่าวชื่อดัง เสียชีวิต". ไทยพีบีเอส. 15 October 2024. สืบค้นเมื่อ 15 October 2024.
- ↑ "สิ้นนักร้องเสียงทรงพลัง "สันติ ลุนเผ่" เสียชีวิตในวัย 88 ปี". ไทยพีบีเอส. 10 December 2024. สืบค้นเมื่อ 10 December 2024.