พรรคแรงงาน (เนเธอร์แลนด์)
พรรคแรงงาน Partij van de Arbeid | |
---|---|
ชื่อย่อ | PvdA |
หัวหน้า | โลเดอไวก์ อัชเชอร์ |
ประธาน | เน็ลเลอเกอ เฟเดอลาร์ |
ผู้นำในวุฒิสภา | ไม ลี โฟส |
ผู้นำในสภาผู้แทนราษฏร | โลเดอไวก์ อัชเชอร์ |
ผู้นำในรัฐสภายุโรป | เปาล์ ตัง |
ก่อตั้ง | 9 February 1946 |
รวมตัวกับ | พรรคกรรมกรประชาธิปไตยสังคมนิยม สันนิบาตประชาธิปไตยเพื่อเสรีภาพทางความคิด สหภาพประชาธิปไตยคริสเตียน |
ที่ทำการ | Partijbureau PvdA Leeghwaterplein 45 เดอะเฮก |
ฝ่ายเยาวชน | เยาวชนสังคมนิยม |
สมาชิกภาพ (ปี 2020) | 41,078 คน[1] |
อุดมการณ์ | ประชาธิปไตยสังคมนิยม[2] อดีต: ทางเลือกที่สาม คริสเตียนฝ่ายซ้าย[3] |
จุดยืน | กลางซ้าย[4][5] |
สี | แดง |
วุฒิสภา | 6 / 75
|
สภาผู้แทนราษฎร | 9 / 150
|
ข้าหลวงในพระมหากษัตริย์ | 3 / 12
|
สภาจังหวัด | 53 / 570
|
รัฐสภายุโรป | 6 / 26
|
เว็บไซต์ | |
www.pvda.nl | |
การเมืองเนเธอร์แลนด์ รายชื่อพรรคการเมือง การเลือกตั้ง |
พรรคแรงงาน (ดัตช์: Partij van de Arbeid หรือย่อเป็น PvdA) เป็นพรรคการเมืองในประเทศเนเธอร์แลนด์ฝ่ายประชาธิปไตยสังคมนิยม[6] ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1946 จากการรวมตัวกันของพรรคกรรมกรประชาธิปไตยสังคมนิยม สันนิบาตประชาธิปไตยเพื่อเสรีภาพทางความคิด และสหภาพประชาธิปไตยคริสเตียน มีนายกรัฐมนตรีมาจากพรรคแรงงานมาแล้ว 3 คน ได้แก่ วิลเลิม ดรีส (ค.ศ. 1948-1958) โยป เดน เอาล์ (ค.ศ. 1973-1977) และวิม โกก (ค.ศ. 1994-2002)
ช่วงระหว่างปี ค.ศ. 2012 ถึง 2017 พรรคแรงงานเป็นพรรคที่ได้ที่นั่งในสภามากที่สุดเป็นอันดับที่สอง และได้จัดตั้งรัฐบาลร่วมกับพรรคประชาชนเพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตย ทว่าในการเลือกตั้งปี ค.ศ. 2017 ได้มาเพียง 9 ที่นั่งและไม่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมรัฐบาล
อุดมการณ์
พรรคแรงงานเป็นพรรคประชาธิปไตยสังคมนิยม มีส่วนสำคัญในการสร้างผลักดันระบบรัฐสวัสดิการขึ้นในเนเธอร์แลนด์ ได้ออกมาสนับสนุนสิทธิเสรีภาพของสตรี การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการพัฒนาโลกที่สามโดยในช่วงทศวรรษที่ 1970 ราวสองทศวรรษต่อมาได้มีการปรับโครงสร้างระบบโดยทำให้เศรษฐกิจและสังคมมีความเป็นกลางมากขึ้น มีการปรับระบรัฐสวัสดิการและส่งเสริมให้รัฐวิสาหกิจแปรรูปเป็นเอกชน ต่อมาในปี ค.ศ. 2005 พรรคได้ประกาศว่าจะใช้นโยบายกลางซ้าย โดยเน้นเรื่องการจ้างงาน ประกันสังคม สวัสดิการ และการลงทุนในการศึกษา ความปลอดภัย และสาธารณสุข
อ้างอิง
- ↑ "Forum voor Democratie qua ledental de grootste partij van Nederland" (PDF). Documentatiecentrum Nederlandse Politieke Partijen (ภาษาดัตช์). สืบค้นเมื่อ 27 January 2020.
- ↑ Nordsieck, Wolfram (2017). "Netherlands". Parties and Elections in Europe. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2018.
- ↑ Notermans, Ton (2001). Social Democracy and Monetary Union. ISBN 9781571818065.
- ↑ Josep M. Colomer (24 July 2008). Comparative European Politics. Taylor & Francis. p. 221f. ISBN 978-0-203-94609-1. สืบค้นเมื่อ 13 July 2013.
- ↑ Score 4.0/10 in 2003 Chapel Hill expert survey, see Hooghe et al. (2003) Chapel Hill Survey เก็บถาวร 25 กรกฎาคม 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ พรรคแรงงานเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นพรรคฝักใฝ่ประชาธิปไตยแบบสังคมนิยม:
- Andeweg, R. B.; Galen A. Irwin (2002). Governance and politics of the Netherlands. Basingstoke: Palgrave Macmillan. p. 51. ISBN 978-0-333-96157-5.
- Merkel, Wolfgang; Alexander Petring; Christian Henkes; Christoph Egle (2008). Social Democracy in Power: the capacity to reform. London: Taylor & Francis. ISBN 978-0-415-43820-9.
- Rudy W Andeweg; Lieven De Winter; Patrick Dumont (5 April 2011). Government Formation. Taylor & Francis. p. 147. ISBN 978-1-134-23972-6. สืบค้นเมื่อ 20 August 2012.
- Ricky Van Oers; Eva Ersbøll; Dora Kostakopoulou; Theodora Kostakopoulou (30 June 2010). A Re-Definition of Belonging?: Language and Integration Tests in Europe. BRILL. p. 60. ISBN 978-90-04-17506-8. สืบค้นเมื่อ 20 August 2012.
- Barbara Wejnert (26 July 2010). Democratic Paths and Trends. Emerald Group Publishing. p. 28. ISBN 978-0-85724-091-0. สืบค้นเมื่อ 20 August 2012.
- Dimitri Almeida (27 April 2012). The Impact of European Integration on Political Parties: Beyond the Permissive Consensus. CRC Press. p. 71. ISBN 978-1-136-34039-0. สืบค้นเมื่อ 14 July 2013.