พ.ศ. 2470
พุทธศักราช 2470 (นับแบบใหม่) ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1927 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน
- ปีเถาะ นพศก จุลศักราช 1289 (วันที่ 15 เมษายน เป็นวันเถลิงศก)
ผู้นำ
- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 – 2 มีนาคม พ.ศ. 2478)
- เจ้าประเทศราช:
เหตุการณ์
- 21 พฤษภาคม – ชาร์ลส์ ลินด์เบิร์ก ประสบความสำเร็จในเดินทางคนเดียวโดยไม่หยุดพัก ด้วยเครื่องบิน สปิริตออฟเซนต์หลุยส์ ในเที่ยวบินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก
- 1 สิงหาคม – พรรคคอมมิวนิสต์จีนก่อตั้งกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน
- 7 สิงหาคม – สะพานพีซที่เชื่อมระหว่างเมืองฟอร์ตอีรี รัฐออนแทรีโอ ประเทศแคนาดา กับเมืองบัฟฟาโล รัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เปิดใช้งานเป็นครั้งแรก
- 23 สิงหาคม – แซคโคและวานเซตตี ผู้นิยมลัทธิอนาธิปไตยชาวอิตาลี ถูกประหารชีวิต
- 6 ตุลาคม – "เดอะแจสซิงเกอร์" ภาพยนตร์เสียงในฟิล์มเรื่องแรกของโลก ออกฉายรอบปฐมทัศน์
- 27 พฤศจิกายน – ทีมฟุตบอลทีมชาติอาร์เจนตินาชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอเมริกาใต้ ครั้งที่ 11 ณ สนามกีฬานาซีโอนัล กรุงลิมา ประเทศเปรู
- 30 ธันวาคม – รถไฟใต้ดินของญี่ปุ่นสายแรกเปิดใช้งาน สายกินซาในโตเกียว
วันเกิด
- 18 มกราคม - ฟรีดริช มักนุส เคานต์ที่ 6 แห่งซาล์ม-วิลเดนเฟลส์
- 21 กุมภาพันธ์ - ฮิวเบิร์ท เดอ จีวองชี แฟชันดีไซเนอร์ชาวฝรั่งเศส
- 1 มีนาคม - ทูล ทองใจ นักร้องเพลงไทยสากลชาวไทย
- 6 มีนาคม - กาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ กวีชาวโคลอมเบีย (ถึงแก่กรรม 17 เมษายน พ.ศ. 2557)
- 5 เมษายน - ธานินทร์ กรัยวิเชียร นายกรัฐมนตรีคนที่ 14 ของไทย
- 10 เมษายน - มาร์แชลล์ วอร์เรน ไนเรนเบิร์ก นักชีวเคมีและนักพันธุศาสตร์ชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 15 มกราคม พ.ศ. 2553)
- 16 เมษายน - สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16
- 3 พฤษภาคม - ขุนทอง ภูผิวเดือน อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง (ถึงแก่กรรม 7 สิงหาคม พ.ศ. 2538)
- 28 พฤษภาคม - หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ ศิลปินแห่งชาติ นักร้อง นักเขียน นักจัดรายการโทรทัศน์
- 29 พฤษภาคม - สมเด็จพระราชินีฮาลาเอวาลู มาตาอาโฮ อาโฮเมเอ อดีตสมเด็จพระราชินีตองงา พระราชมารดาในสมเด็จพระราชาธิบดีตูโปอูที่ 6 แห่งตองงา รัชกาลที่6 รัชกาลปัจจุบัน และสมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จ ตูโปอูที่ 5 แห่งตองงา รัชกาลที่5 (สวรรคต 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560)
- 26 มิถุนายน - สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อัมพร อมฺพโร) พระสังฆราชองค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
- 11 สิงหาคม - ประสงค์ สุ่นศิริ
- 18 สิงหาคม - โรซาลีนน์ คาร์เตอร์ อดีตสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งแห่งสหรัฐอเมริกา ภรรยาของอดีตประธานาธิบดีจิมมี คาร์เตอร์
- 22 กรกฎาคม - สำราญ เกิดผล ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ถึงแก่กรรม 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560)
- 11 ตุลาคม - อาจินต์ ปัญจพรรค์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ นักเขียน (ถึงแก่กรรม 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561)
- 13 ตุลาคม - เตอร์กุต โอซิล นักการเมืองตุรกี (ถึงแก่กรรม 17 เมษายน พ.ศ. 2536)
- 14 ตุลาคม - โรเจอร์ มัวร์ นักแสดงชาวอังกฤษ
- 16 ตุลาคม - กึนเทอร์ กรัสส์ นักเขียนนวนิยายชาวเยอรมัน (ถึงแก่กรรม 13 เมษายน พ.ศ. 2558)
- 28 พฤศจิกายน - สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านตวนกู อับดุล ฮาลิม มูอัซซัม ชาห์ แห่งมาเลเซีย (สวรรคต 11 กันยายน พ.ศ. 2560)
- 5 ธันวาคม - พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระมหากษัตริย์ลำดับที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี (สวรรคต 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559)
- 25 ธันวาคม - ราม นารายัณ นักดนตรีชาวอินเดีย
วันถึงแก่กรรม
- 18 พฤษภาคม - พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นกวีพจน์สุปรีชา (ประสูติ 25 กันยายน พ.ศ. 2414)
- 9 กรกฎาคม - สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี (ประสูติ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2404)
- 9 สิงหาคม - พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา
- 24 ตุลาคม - อดอลฟัส แคมบริดจ์ มาร์ควิสที่ 1 แห่งแคมบริดจ์
รางวัล
รางวัลโนเบล
- สาขาเคมี – Heinrich Otto Wieland
- สาขาวรรณกรรม – อองรี แบร์กซอง
- สาขาสันติภาพ – แฟร์ดินอง บุยซอง, Ludwig Quidde
- สาขาฟิสิกส์ – Arthur Compton, Charles Thomson Rees Wilson
- สาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ – ยูเลียส วากเนอร์-เยาเรกก์