พ.ศ. 2503
ศตวรรษ: | |
---|---|
ปี: |
ปฏิทินสุริยคติไทย | 2503 |
ปฏิทินกริกอเรียน | 1960 MCMLX |
Ab urbe condita | 2713 |
ปฏิทินอาร์มีเนีย | 1409 ԹՎ ՌՆԹ |
ปฏิทินอัสซีเรีย | 6710 |
ปฏิทินบาไฮ | 116–117 |
ปฏิทินเบงกอล | 1367 |
ปฏิทินเบอร์เบอร์ | 2910 |
ปีในรัชกาลอังกฤษ | 8 Eliz. 2 – 9 Eliz. 2 |
พุทธศักราช | 2504 |
ปฏิทินพม่า | 1322 |
ปฏิทินไบแซนไทน์ | 7468–7469 |
ปฏิทินจีน | 己亥年 (กุนธาตุดิน) 4656 หรือ 4596 — ถึง — 庚子年 (ชวดธาตุโลหะ) 4657 หรือ 4597 |
ปฏิทินคอปติก | 1676–1677 |
ปฏิทินดิสคอร์เดีย | 3126 |
ปฏิทินเอธิโอเปีย | 1952–1953 |
ปฏิทินฮีบรู | 5720–5721 |
ปฏิทินฮินดู | |
- วิกรมสมวัต | 2016–2017 |
- ศกสมวัต | 1882–1883 |
- กลียุค | 5061–5062 |
ปฏิทินโฮโลซีน | 11960 |
ปฏิทินอิกโบ | 960–961 |
ปฏิทินอิหร่าน | 1338–1339 |
ปฏิทินอิสลาม | 1379–1380 |
ปฏิทินญี่ปุ่น | ศักราชโชวะ 35 (昭和35年) |
ปฏิทินจูเช | 49 |
ปฏิทินจูเลียน | กริกอเรียนลบ 13 วัน |
ปฏิทินเกาหลี | 4293 |
ปฏิทินหมินกั๋ว | ROC 49 民國49年 |
พุทธศักราช 2503 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1960 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น
- ปีชวด โทศก จุลศักราช 1322 (วันที่ 15 เมษายน เป็นวันเถลิงศก)
ผู้นำประเทศไทย
- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 – 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559)
- นายกรัฐมนตรี: จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ (9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 – 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506)
เหตุการณ์
มกราคม-มิถุนายน
- 4 กุมภาพันธ์ - สถาปนา วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี)
- 13 มีนาคม - วันก่อตั้งขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี
- 16 เมษายน -ประเทศไทยมีแชมป์โลกมวยสากลคนแรกเมื่อ โผน กิ่งเพชร ชิงแชมป์โลกรุ่นฟลายเวท WBA ชนะคะแนน ปาสคาล เปเรซ ที่ สนามมวยเวทีลุมพินี
- 21 เมษายน - ประเทศบราซิลสถาปนาบราซิเลีย เป็นเมืองหลวงอย่างเป็นทางการ
- 1 พฤษภาคม - รัฐบอมเบย์ของอินเดีย ถูกแยกออกเป็น มหาราษฏระ กับ คุชราต
- 1 พฤษภาคม - การบินไทย เปิดให้บริการเที่ยวบินเที่ยวแรก
- 11 พฤษภาคม - มอสซาด หน่วยสืบราชการลับของอิสราเอล จับกุม อดอล์ฟ อิคมานน์ ผู้นำระดับสูงของนาซีเยอรมันและอาชญากรสงคราม ที่ไปลี้ภัยในอาร์เจนตินา
- 15 พฤษภาคม - สหภาพโซเวียตส่งดาวเทียมสปุตนิก 4 ขึ้นสู่อวกาศ
- 21 พฤษภาคม - ประเทศไทยประกาศเปลี่ยนแปลงวันชาติจากวันที่ 24 มิถุนายน มาเป็นวันที่ 5 ธันวาคม
- 22 พฤษภาคม - เกิดแผ่นดินไหวขนาด 9.5 มาตราริกเตอร์ ซึ่งรุนแรงที่สุดเท่าที่มีการบันทึกมา ในเมืองวาลดีเวีย ประเทศชิลี จนทำให้เกิดคลื่นสึนามิเดินทางไปถึงเมือง ฮิโล รัฐฮาวาย ในวันต่อมา
- 16 มิถุนายน - ภาพยนตร์เรื่อง ไซโค โดยอัลเฟร็ด ฮิตช์ค็อก เปิดฉายรอบปฐมทัศน์ในรัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
- 20 มิถุนายน - ประเทศมาลีและประเทศเซเนกัลได้รับอิสรภาพ
- 26 มิถุนายน - มาดากัสการ์ประกาศเอกราช
- 30 มิถุนายน - คองโกได้รับเอกราชจากประเทศเบลเยียม
กรกฎาคม-ธันวาคม
- 1 กรกฎาคม - ประเทศโซมาเลียประกาศอิสรภาพ
- 10 กรกฎาคม - ทีมฟุตบอลทีมชาติสหภาพโซเวียตชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป ครั้งที่ 1 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
- 1 สิงหาคม - เบนินประกาศเอกราช
- 7 สิงหาคม - โกตดิวัวร์ได้รับเอกราช
- 11 สิงหาคม - ประเทศชาดประกาศเอกราชจากฝรั่งเศส
- 16 สิงหาคม -
- โจเซฟ คิตติงเกอร์ โดดร่มลงมาจากบัลลูนเหนือรัฐนิวเม็กซิโกที่ระดับความสูง 102,800 ฟุต (31,330 เมตร) เป็นสถิติโลกของการกระโดดจากที่สูงโดยการตกอย่างอิสระ และเป็นอัตราเร็วที่สูงที่สุดของมนุษย์โดยไม่ใช้เครื่องบิน
- ไซปรัสได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักร
- 17 สิงหาคม - ประเทศกาบองได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส
- 6 กันยายน - 9 กันยายน - พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเยือนราชอาณาจักรเดนมาร์ก อย่างเป็นทางการ
- 21 ตุลาคม - ทีมฟุตบอลทีมชาติเกาหลีใต้ชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติเอเชีย ครั้งที่ 2 ณ สาธารณรัฐเกาหลี
- 24 ตุลาคม - 27 ตุลาคม - พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเยือน ประเทศเนเธอร์แลนด์ อย่างเป็นทางการ
- 28 พฤศจิกายน - มอริตาเนียประกาศเอกราช
- 26 ธันวาคม - วันสถาปนาแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้
วันเกิด
มกราคม
- 1 มกราคม - อุมัร อัรร็อซซาซ อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศจอร์แดน
- 2 มกราคม - นะโอะกิ อุระซะวะ นักวาดการ์ตูนชาวญี่ปุ่น
- 8 มกราคม -
- ผุสชา โทณะวณิก นักร้อง/พิธีกรชาวไทย
- สุเทพ สีใส นักร้อง นักแสดง และนักแสดงตลกชายชาวไทย
- 10 มกราคม - ไบรอัน โคเวน อดีตนายกรัฐมนตรี
- 12 มกราคม -
- วาเลรี ซารืยเชฟ ผู้รักษาประตูฟุตบอล
- วิทยา บุรณศิริ อดีตรัฐมนตรีชาวไทย
- 17 มกราคม - ฉัตรชัย เปล่งพานิช นักแสดงชาวไทย
- 18 มกราคม - อนาโตลี สตารอสติน อดีตนักปัญจกีฬาสมัยใหม่และแชมป์โอลิมปิกชาวโซเวียต
- 20 มกราคม - วิลล์ ไรต์ นักออกแบบเกมส์ชาวอเมริกัน
- 22 มกราคม - ไมเคิล ฮัตเชนซ์ นักร้อง-นักแต่งเพลงและนักแสดงชาวออสเตรเลีย (ถึงแก่กรรม 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540)
- 26 มกราคม -
- ไชยา พรหมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดหนองบัวลำภู
- โรดวอริเออร์แอนิมอล นักมวยปล้ำอาชีพชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 22 กันยายน พ.ศ. 2563)
- 29 มกราคม -
- พิสิษฐ์ ฐิติธนพันธ์ โปรดิวเซอร์เพลงลูกทุ่งชาวไทย
- เกร็ก ลูเกนิส นักว่ายน้ำชาวอเมริกัน
- 31 มกราคม -
- เดฟ ฟินเลย์ นักมวยปล้ำอาชีพชาวไอริส
- ยีน เธอร์รียลต์ นักการเมืองจากสหรัฐอเมริกา
กุมภาพันธ์
- 3 กุมภาพันธ์ -
- เคอร์รี วอน เอริช นักมวยปล้ำอาชีพชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536)
- มาร์ตี เจนเนตตี นักมวยปล้ำอาชีพชาวอเมริกัน
- โยอาคิม เลิฟ นักฟุตบอลชาวเยอรมัน
- 7 กุมภาพันธ์ - เจมส์ สเปเดอร์ นักแสดงชาวอเมริกัน
- 8 กุมภาพันธ์ - เบนิกโน อากีโนที่ 3 นักการเมืองฟิลิปปินส์
- 11 กุมภาพันธ์ - ช็อน กวัง-รย็อล นักแสดงชาวเกาหลีใต้
- 12 กุมภาพันธ์ -
- นลินี ทวีสิน อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- วัน แมน แกงค์ นักมวยปล้ำอาชีพชาวอเมริกัน
- อภิชาติ ดำดี วิทยากร, นักพูด, นักการเมืองชาวไทย, พิธีกรไทย
- 13 กุมภาพันธ์ -
- ปีแอร์ลุยจี กอลลีนา อดีตผู้ตัดสินฟุตบอลชาวอิตาลี
- เพีย ซุนด์ฮาแก อดีตนักฟุตบอลชาวสวีเดน
- อัสนี เชิดชัย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
- 15 กุมภาพันธ์ - กัญจนา ศิลปอาชา อดีตรัฐมนตรีชาวไทย
- 17 กุมภาพันธ์ - พรทิพย์ โล่ห์วีระ จันทร์รัตนปรีดา อดีตสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดชัยภูมิ อดีตรองประธานวุฒิสภา คนที่สอง
- 19 กุมภาพันธ์ - เจ้าชายแอนดรูว์ ดยุกแห่งยอร์ก พระราชโอรสพระองค์รองใน สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 กับ เจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ
- 23 กุมภาพันธ์ -
- สมเด็จพระจักรพรรดินารูฮิโตะ สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่นพระองค์ปัจจุบันแห่งประเทศญี่ปุ่น
- โกลรีอา เจ้าหญิงแห่งทวร์นและทัคซิส
มีนาคม
- 1 มีนาคม - เหวิน เสฺว่เอ๋อร์ อดีตนักแสดงหญิงชาวฮ่องกง
- 7 มีนาคม - อิวาน เลนเดิล นักเทนนิสชาวอเมริกัน
- 8 มีนาคม - เจฟฟรีย์ ยูจินนีดีส นักเขียนชาวอเมริกัน
- 9 มีนาคม - ฮิเดะอะกิ โอมุระ นักการเมืองญี่ปุ่น
- 12 มีนาคม - เฉิน อฺวี้เหลียน นักแสดงหญิงชาวฮ่องกง
- 13 มีนาคม - เกษม ดวงแพงมาต
- 16 มีนาคม - อีเลน บีช นักการเมืองชาวอเมริกัน
- 17 มีนาคม - พรพิพัฒน์ เบญญศรี อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด
- 19 มีนาคม - สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ นักธุรกิจชาวไทย
- 21 มีนาคม - อาอีร์ตง เซนนา นักแข่งรถสูตรหนึ่ง (ถึงแก่กรรม 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2537)
- 23 มีนาคม -
- กริช ทอมมัส นักธุรกิจชาวไทย
- อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ทหารบกชาวไทย
- 24 มีนาคม - เอ็ลลียัซ ปีกัล นักมวยสากลชาวอินโดนีเซียประเทศอินโดนีเซีย
- 26 มีนาคม - สมิตา สรสุชาติ นักการเมืองสตรีชาวไทย
- 27 มีนาคม - เรนาตู รูซู นักร้องบราซิล/นักแต่งเพลงชาวบราซิล (ถึงแก่กรรม 11 ตุลาคม พ.ศ. 2539)
- 28 มีนาคม - ฌูแซ มารีอา แนวึช นักการเมืองกาบูเวร์ดี
- 29 มีนาคม -
- แอนนาเบลลา ไซออร์รา นักแสดงหญิงชาวอเมริกัน
- ฮิโรมิ สึรุ นักพากย์ชาวญี่ปุ่น (ถึงแก่กรรม 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560)
เมษายน
- 1 เมษายน -
- เจริญ จรรย์โกมล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยภูมิ
- ประเสริฐ จันทรรวงทอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา พรรคเพื่อไทย และอดีตสมาชิกสภาจังหวัดนครราชสีมา 2 สมัย
- 4 เมษายน -
- คะนะโกะ ฟุกะอุระ นักแสดงหญิงชาวญี่ปุ่น (ถึงแก่กรรม 25 สิงหาคม พ.ศ. 2551)
- หลิว เหว่ยเฉียง ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวฮ่องกง
- ฮิวโก วีฟวิง นักแสดงชายชาวออสเตรเลีย
- 9 เมษายน - จาอัค อาอับ นักการเมืองชาวเอสโตเนีย
- 10 เมษายน - มนตรี ตั้งเจริญถาวร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนนทบุรี เขต 4
- 11 เมษายน - ขยัน วิพรหมชัย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำพูน
- 13 เมษายน - วัชระ ปานเอี่ยม นักร้องไทย/พิธีกรไทย/นักแสดงไทย
- 15 เมษายน -
- สมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิปแห่งเบลเยียม
- อนุชา นาคาศัย นักการเมืองไทย
- 16 เมษายน - ราฟาเอล เบนิเตซ ฟุตบอลในประเทศอังกฤษ
- 17 เมษายน - เจ้าชายโบริสแห่งไลนิงเงิน
- 18 เมษายน - เบเนดิกต์ เทย์เลอร์ นักแสดงชาวอังกฤษ
- 19 เมษายน - แอฟริกา แบมบาตา ดีเจอเมริกัน
- 20 เมษายน - มิเกล ดิอัซ-กาเนล ประธานาธิบดีคิวบา
- 22 เมษายน - สุชาติ ชวางกูร นักแสดงไทย/นักร้องไทย
- 23 เมษายน - วันชัย เจริญนนทสิทธิ์ นักการเมืองไทย
- 27 เมษายน - สิรินทร รามสูต นักการเมืองสตรีชาวไทย
- 29 เมษายน - วงศกร รัศมิทัต นักแสดงไทย/นักดนตรีชาวไทย
พฤษภาคม
- 1 พฤษภาคม - สรชาติ วิชย สุวรรณพรหม ทหารบกชาวไทย
- 4 พฤษภาคม - แวร์เนอร์ ไฟมัน อดีตนักการเมืองออสเตรีย
- 5 พฤษภาคม -
- เจเรมี เวด พิธีกรชาวอังกฤษ
- พีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติคนที่ 2
- 8 พฤษภาคม -
- ธนา สินประสาธน์ นักแสดงชาวไทย
- ฟรันโก บาเรซี นักฟุตบอลชาวอิตาลี
- 9 พฤษภาคม - สรนิต ศิลธรรม ข้าราชการชาวไทย
- 17 พฤษภาคม - อมรวิชช์ นาครทรรพ อดีตอาจารย์ในสาขาชีววิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- 18 พฤษภาคม -
- ยันนิก โนอาห์ นักเทนนิสชายชาวฝรั่งเศส
- ประภาส ชลศรานนท์ นักคิด นักเขียน นักแต่งเพลง ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน)
- 19 พฤษภาคม - อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมไทย
- 22 พฤษภาคม - ฮิเดอากิ อันโนะ ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวญี่ปุ่น
- 24 พฤษภาคม - ปริภัณฑ์ วัชรานนท์ นักพากย์ภาพยนตร์จีน
- 26 พฤษภาคม -
- ชินอิจิ อิชิฮาระ นักร้องชายชาวญี่ปุ่น
- ลือชัย รุดดิษฐ์ รองผู้บัญชาการทหารเรือ ว่าที่ผู้บัญชาการทหารเรือ
- 29 พฤษภาคม - โอภาส ทศพร นักร้องชาวไทย
มิถุนายน
- 5 มิถุนายน -
- นิติภูมิธณัฐ มิ่งรุจิราลัย พิธีกรไทย
- นิติภูมิ นวรัตน์ หัวหน้าพรรคสุวรรณภูมิ
- ร็อบ กามัน นักมวยไทยชาวดัตช์
- 7 มิถุนายน -
- เจ้าชายราดูแห่งโรมาเนีย
- ฮิโรฮิโกะ อารากิ นักเขียนการ์ตูนชาวญี่ปุ่น
- 9 มิถุนายน -
- เจ้า เหวินซวน นักแสดงชายชาวไต้หวัน
- มามิ โฮริโกชิ นักพากย์หญิงชาวญี่ปุ่น
- วีรชัย พลาศรัย นักการทูตชาวไทย
- 10 มิถุนายน - แดน เฟาท์ส นักอเมริกันฟุตบอลอาชีพ
- 13 มิถุนายน -
- เดอะเมาน์ที นักมวยปล้ำอาชีพชาวแคนาดา
- สุธา ชันแสง นักการเมืองไทย
- 14 มิถุนายน - เจ้าชายเออร์เมส ซาห์เล เซลาสซีแห่งเอธิโอเปีย
- 15 มิถุนายน - สาธิต กรีกุล ผู้ประกาศข่าวช่อง 3
- 18 มิถุนายน -
- พระเทพศากยวงศ์บัณฑิต (อนิลมาน ธมฺมสากิโย)
- โอมาร์ อับดีราซิด อาลี ชาร์มาร์กี นายกรัฐมนตรีโซมาเลีย
- 23 มิถุนายน - นิติพงษ์ ห่อนาค นักแต่งเพลงชาวไทย
- 25 มิถุนายน - เคร็ก จอห์นสตัน อดีตนักฟุตบอล
กรกฎาคม
- 4 กรกฎาคม -
- ซิด ยูดี้ นักมวยปล้ำอาชีพชาวอเมริกัน
- แบร์รี วินแดม นักมวยปล้ำอาชีพชาวอเมริกัน
- 5 กรกฎาคม - เสริมคุณ คุณาวงศ์ นักถ่ายภาพชาวไทย
- 7 กรกฎาคม - แยม พนหฤทธิ์ นักการเมืองและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
- 8 กรกฎาคม - บุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
- 11 กรกฎาคม - จาฟาร์ ปานาฮี ผู้กำกับภาพยนตร์
- 12 กรกฎาคม -
- ก้องธรณี พยัคฆ์อรุณ นักมวยสากลชาวไทยรุ่นซูเปอร์ฟลายเวท
- บัรฮัม ศอเลียะห์ ประธานาธิบดีคนที่แปด
- 15 กรกฎาคม - มานัต วงษ์วาทย์ สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 , ผู้บัญชาการทหารอากาศ
- 16 กรกฎาคม - ไชยยศ จิรเมธากร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- 23 กรกฎาคม -
- เค็นจิ มัตสึมูระ นักมวยสากลชาวญี่ปุ่น
- จอน แลนเดา ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ชาวอเมริกัน
- 24 กรกฎาคม - วิชาญ มีนชัยนันท์ นักการเมืองไทย
- 26 กรกฎาคม -
- ยงยศ อรุณเวสสะเศรษฐ นักการเมืองไทย (ถึงแก่กรรม 17 ธันวาคม พ.ศ. 2553)
- ลี ซึงฮุน นักมวยสากลชาวเกาหลีใต้
- 30 กรกฎาคม - ริชาร์ด ลินเคลเตอร์ นักเขียนบทชาวอเมริกัน
สิงหาคม
- 1 สิงหาคม - ไมเคิล มาร์ติน นักการเมืองชาวไอริช
- 2 สิงหาคม -
- กู้เกียรติ ศรีนาคา สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- วิลเฟรโด บัซเกซ นักมวยสากลชาวปวยร์โตรีโก
- 3 สิงหาคม - อนุรักษ์ จุรีมาศ นักการเมืองไทย
- 4 สิงหาคม - ดีน มาเลนโก อดีตนักมวยปล้ำอาชีพชาวอเมริกัน
- 5 สิงหาคม - เวง สาคร รัฐมนตรีว่าการกระทรงเกษตร ทรัพยากรธรรมชาติ
- 6 สิงหาคม - เจ้าหญิงมารีอา-พีอาแห่งลิกเตนสไตน์
- 7 สิงหาคม -
- เดวิด ดูคอฟนี นักแสดงชาวอเมริกัน
- พระราชวิเทศปัญญาคุณ (เหลา ปญฺญาสิริ)
- 9 สิงหาคม - เกียน นิโคลา เบอร์ติ ผู้ครองนครร่วมแห่งซานมารีโน
- 10 สิงหาคม - อันโตนิโอ บันเดรัส นักแสดงชาวสเปน
- 11 สิงหาคม - ธานินทร์ ใจสมุทร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสตูล
- 14 สิงหาคม - ซาราห์ ไบรท์แมน นักร้องอังกฤษ นักแสดงอังกฤษ
- 16 สิงหาคม -
- ทีโมธี ฮัตตัน นักแสดงและผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอเมริกัน
- นันทิดา แก้วบัวสาย นักร้องและนักแสดงชาวไทย
- 17 สิงหาคม - ฌอน เพนน์ นักแสดง/ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอเมริกัน
- 23 สิงหาคม - จิน เป๋ยต๋า คีตกวี ชาวฮ่องกง
- 24 สิงหาคม - ปวิณ ชำนิประศาสน์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่
- 30 สิงหาคม - ญาณี จงวิสุทธิ์ นักแสดง และพิธีกรชาวไทย
- 31 สิงหาคม - นัศรุลลอหฺ ชาวเลบานอน
กันยายน
- 2 กันยายน - แคลร์ เมานต์แบ็ตเทน มาร์เชอนิสแห่งมิลฟอร์ด ฮาเวน
- 3 กันยายน - สุรสิทธิ์ ตรีทอง นักการเมืองไทย
- 9 กันยายน - ฮิว แกรนต์ นักแสดงชาวอังกฤษ
- 10 กันยายน -
- โคลิน เฟิร์ธ นักแสดงชาวอังกฤษ
- ฐากร ตัณฑสิทธิ์ ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- 14 กันยายน - เมลิสซา ลีโอ นักแสดงอเมริกัน
- 15 กันยายน - รอด เซเกนัน นักมวยสากลชาวฟิลิปปินส์รุ่นซูเปอร์เฟเธอร์เวท
- 17 กันยายน - ภูษิต ไล้ทอง นักดนตรีชาวไทย
- 19 กันยายน - กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
- 23 กันยายน - สฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกระบี่ เขต 2
- 25 กันยายน - กษมา นิสสัยพันธ์ นักแสดงชาวไทย
- 27 กันยายน - ศิรินภา สว่างล้ำ นางงาม/นักแสดงไทย
- 28 กันยายน - พระเทพวัชรบัณฑิต (สมจินต์ สมฺมาปญฺโญ) พระราชาคณะฝ่ายมหานิกาย อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ตุลาคม
- ตุลาคม - เอียน รอเจอร์สัน นักแสดงสหราชอาณาจักร (ถึงแก่กรรม 13 ตุลาคม พ.ศ. 2560)
- 1 ตุลาคม - คำรณ หว่างหวังศรี นักข่าวและพิธีกร
- 4 ตุลาคม -
- นริศ ขำนุรักษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพัทลุง
- เบลก นอร์ดสตรอม นักธุรกิจและนายธนาคารชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 2 มกราคม พ.ศ. 2562)
- 6 ตุลาคม - อีฟว์ เลอแตร์ม นายกรัฐมนตรีเบลเยียม
- 9 ตุลาคม - อภิชาต ศักดิเศรษฐ์ นักหนังสือพิมพ์ชาวไทย
- 12 ตุลาคม - ฮิโรยูกิ ซานาดะ นักแสดงชาวญี่ปุ่น
- 13 ตุลาคม - ภักดี แสนทวีสุข นักเขียนการ์ตูนชาวไทย
- 17 ตุลาคม - ศรัณยู วงษ์กระจ่าง นักแสดง/ผู้กำกับละคร/พิธีกรชาวไทย (ถึงแก่กรรม 10 มิถุนายน พ.ศ. 2563)
- 18 ตุลาคม -
- ฌ็อง-โกลด ว็อง ดาม นักแสดง
- โห่ อัญ ท้าย นักเขียนชาวเวียดนาม
- 19 ตุลาคม - บุปผา กิ่งชัชวาลย์ อดีตนักร้องหญิงชาวไทย
- 21 ตุลาคม - บัวลา สาสกุล นักมวยสากลสมัครเล่นชาวไทย
- 26 ตุลาคม - เอดูอาร์โด อาโญ ผู้บริหารประเทศชาวฟิลิปปินส์
- 29 ตุลาคม - สมเกียรติ คุณานิธิพงศ์ พิธีกรไทย/นักแสดงไทย
- 30 ตุลาคม - ดิเอโก มาราโดนา นักฟุตบอลชาวอาร์เจนตินา (ถึงแก่กรรม 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563)
- 31 ตุลาคม -
- เจ้าชายเรซา ปาห์ลาวี มกุฎราชกุมารแห่งอิหร่าน ผู้อ้างราชบัลลังก์แห่งประเทศอิหร่าน
- ประชา ประสพดี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
พฤศจิกายน
- 1 พฤศจิกายน - ทิม คุก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
- 2 พฤศจิกายน -
- เด่น ชูวัฒนะ แชมป์ OPBF ชาวไทย
- พรศักดิ์ ส่องแสง นักร้องลูกทุ่งชาวไทย
- 3 พฤศจิกายน - คาร์ช คิราย ทั้งนักกีฬาวอลเลย์บอล, ผู้ฝึกสอน และผู้ประกาศข่าวชาวอเมริกัน
- 5 พฤศจิกายน - ทิลดา สวินตัน นักแสดงชาวอังกฤษ
- 6 พฤศจิกายน -
- ชาติชาย เจียมศรีพงษ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตร
- ไมเคิล เคิร์ฟริส นักแสดง, นักร้อง และนักกีตาร์ชาวอเมริกัน
- 10 พฤศจิกายน -
- นีล ไกแมน นักเขียนนวนิยายและการ์ตูนชาวอังกฤษ
- นาโอมิ คาวาชิมะ นักแสดงหญิงชาวญี่ปุ่น (ถึงแก่กรรม 24 กันยายน พ.ศ. 2558)
- 11 พฤศจิกายน -
- ดัมป์ มัตสึโมโตะ นักมวยปล้ำอาชีพหญิงชาวญี่ปุ่น
- เนาวรัตน์ ซื่อสัตย์ นักแสดงชาวไทย
- มาร์เซ็ล ค็อลเลอร์ อดีตนักฟุตบอลชาวสวิส
- สแตนลีย์ ทุชชี นักแสดงอเมริกัน
- 13 พฤศจิกายน - ฐิติมา ฉายแสง อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดฉะเชิงเทรา
- 16 พฤศจิกายน -
- เจ้าหญิงซานา อาซิม
- นพดล อินนา อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
- พรพรรณ เกษมมัสสุ นักแสดงชาวไทย
- 18 พฤศจิกายน -
- คิม ไวลด์ นักร้องอังกฤษ
- นริศร ทองธิราช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนคร เขต 3
- พจนารถ แก้วผลึก พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
- 22 พฤศจิกายน -
- นัจมุดดีน อูมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนราธิวาส 3 สมัย
- วัชระ แวววุฒินันท์ นักเขียนชาวไทย
- 25 พฤศจิกายน - เอมี แกรนต์ นักร้องอเมริกัน
- 27 พฤศจิกายน -
- ยูลียา ตือมอแชนกอ นายกรัฐมนตรียูเครน
- สิทธิชัย โควสุรัตน์ นักการเมืองไทย
- 28 พฤศจิกายน - ผดุง ไกรศรี นักเขียนการ์ตูนชาวไทย
ธันวาคม
- 2 ธันวาคม -
- ม่อ เส้าชง นักร้องและนักแสดงชาวฮ่องกง
- ลลนา สุลาวัลย์ นักแสดงไทย
- 3 ธันวาคม - จูเลียน มัวร์ นักแสดงชาวอเมริกัน
- 10 ธันวาคม - หลาง ผิง ผู้ฝึกสอนวอลเลย์บอลอเมริกัน
- 14 ธันวาคม -
- คริส วอดเดิล นักฟุตบอลชาวอังกฤษ
- เอบรอฮีม แรอีซี นักกฎหมายและนักการเมืองชาวอิหร่าน
- 16 ธันวาคม - ปณิธาน วัฒนายากร ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- 20 ธันวาคม -
- คิม กี-ด็อก ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวเกาหลีใต้ (ถึงแก่กรรม 11 ธันวาคม พ.ศ. 2563)
- ทรงยศ รามสูต อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดหนองคาย
- 23 ธันวาคม - สุรวุธ กิจกุศล ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย คนที่ 10
- 27 ธันวาคม - อิสราเอล กอนเตรรัส นักมวยสากลชาวเวเนซุเอลา
- 31 ธันวาคม - สตีฟ บรูซ ผู้จัดการทีมฟุตบอลชาวอังกฤษ
ไม่ทราบ
- เฉิน ซิ่วเหวิน อดีตนักแสดงหญิงยอดนิยมชาวฮ่องกง
- ซัสกียา ฟัน ไรส์ไวก์ นักแสดงหญิง
- ดีเซลน้อย ช.ธนะสุกาญจน์ อดีตยอดนักมวยไทย
- ทอม อุฬุนนาลิล นักบวชโรมันคาทอลิกชาวเกรละ
- เปาโล โบลลีนี นักการเมืองประเทศซานมารีโน
- ฝั่ม ถิ ฮหว่าย นักเขียนชาวเวียดนาม
- สายัณห์ ดอกสะเดา นักแสดงตลกไทย (ถึงแก่กรรม 14 ธันวาคม พ.ศ. 2551)
วันถึงแก่กรรม
- 25 มกราคม - เบโน กูเทนเบิร์ก นักวิทยาแผ่นดินไหวชาวอเมริกัน (เกิด พ.ศ. 2432)
รางวัล
รางวัลโนเบล
- สาขาเคมี – Willard Libby
- สาขาวรรณกรรม – แซงต์ ฌอน แพร์ส
- สาขาสันติภาพ – Albert Lutuli
- สาขาฟิสิกส์ – Donald Arthur Glaser
- สาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ – แฟรงค์ แมคฟาร์เลน เบอร์เน็ท, ปีเตอร์ ไบรอัน เมดาวาร์