ฟุตบอลหญิงทีมชาติเยอรมนี
ฉายา | ดีนาทีโอนาเลล์ฟ (ชาติที่สิบเอ็ด) | ||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
สมาคม | สมาคมฟุตบอลเยอรมัน (ดอยทเชอร์ฟุสส์บัลล์-บุนด์, เดเอ็ฟเบ) | ||||||||||||||
สมาพันธ์ | ยูฟ่า (ยุโรป) | ||||||||||||||
หัวหน้าผู้ฝึกสอน | Martina Voss-Tecklenburg | ||||||||||||||
กัปตัน | Alexandra Popp | ||||||||||||||
ติดทีมชาติสูงสุด | เบียร์กิท พรินซ์ (214 ครั้ง) | ||||||||||||||
ทำประตูสูงสุด | เบียร์กิท พรินซ์ (128 ประตู) | ||||||||||||||
รหัสฟีฟ่า | GER | ||||||||||||||
| |||||||||||||||
อันดับฟีฟ่า | |||||||||||||||
อันดับปัจจุบัน | 6 4 (25 สิงหาคม 2023)[1] | ||||||||||||||
อันดับสูงสุด | 1 (ตุลาคม ค.ศ. 2003 – ค.ศ. 2007, ธันวาคม ค.ศ. 2014 – มิถุนายน ค.ศ. 2015, มีนาคม ค.ศ. 2017) | ||||||||||||||
อันดับต่ำสุด | 4 (มีนาคม ค.ศ. 2022) | ||||||||||||||
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก | |||||||||||||||
เยอรมนีตะวันตก 5–1 สวิตเซอร์แลนด์ (โคเบลนซ์ ประเทศเยอรมนีตะวันตก; 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1982) | |||||||||||||||
ชนะสูงสุด | |||||||||||||||
เยอรมนี 17–0 คาซัคสถาน (วีสบาเดิน ประเทศเยอรมนี; 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 2011) | |||||||||||||||
แพ้สูงสุด | |||||||||||||||
สหรัฐอเมริกา 6–0 เยอรมนี (ดีเคเตอร์ สหรัฐอเมริกา; 14 มีนาคม ค.ศ. 1996) | |||||||||||||||
ฟุตบอลโลก | |||||||||||||||
เข้าร่วม | 8 (ครั้งแรกใน 1991) | ||||||||||||||
ผลงานดีที่สุด | ชนะเลิศ (2003, 2007) | ||||||||||||||
ชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป | |||||||||||||||
เข้าร่วม | 12 (ครั้งแรกใน 1989) | ||||||||||||||
ผลงานดีที่สุด | ชนะเลิศ (1989, 1991, 1995, 1997, 2001, 2005, 2009, 2013) | ||||||||||||||
เกียรติยศ
|
ฟุตบอลหญิงทีมชาติเยอรมนี (เยอรมัน: Deutsche Fußballnationalmannschaft der Frauen) เป็นตัวแทนสำหรับประเทศเยอรมนีในการแข่งขันฟุตบอลหญิงระหว่างประเทศและกำกับงานโดยสมาคมฟุตบอลเยอรมัน (เดเอ็ฟเบ) โดยในช่วงแรกเรียกในชื่อ "เยอรมนีตะวันตก" ในภาษาอังกฤษอย่างไม่เป็นทางการ โดยทีมนี้เข้าแข่งขันระดับนานาชาติในปี ค.ศ. 1982 ภายหลังการรวมประเทศเยอรมนีใน ค.ศ. 1990 ทีมสมาคมฟุตบอลเยอรมันก็ยังคงอยู่กับสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
ทีมชาติเยอรมนีเป็นหนึ่งในทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในการแข่งขันฟุตบอลหญิง ทีมนี้เคยเป็นแชมป์โลกถึงสองสมัย โดยชนะการแข่งขันฟุตบอลโลกหญิง 2003 และ 2007 เยอรมนีเป็นหนึ่งในสองประเทศที่ชนะการแข่งขันฟุตบอลโลกทั้งชายและหญิง (อีกทีมคือ สเปน) ทีมนี้ยังชนะฟุตบอลหญิงชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปมาแล้วถึงแปดสมัยจากการแข่งขันทั้งหมดสิบเอ็ดสมัย โดยได้เป็นแชมป์ติดต่อกันถึงหกสมัย ฟุตบอลหญิงทีมชาติเยอรมนียังชนะการแข่งขันฟุตบอลในโอลิมปิก โดยได้อันดับสามใน ค.ศ. 2000, 2004 และ 2008 รวมถึงเบียร์กิท พรินซ์ ได้ทำสถิติเป็นผู้ปรากฏตัวและทำประตูสูงสุดตลอดกาล พรินซ์ยังเป็นเจ้าของสถิติระดับนานาชาติ เธอได้รับรางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของโลกแห่งปีถึงสามสมัยและเป็นผู้ทำประตูฟุตบอลโลกหญิงสูงสุด
สิ่งที่น่าฉงนที่สุดของทีมฟุตบอลหญิงในประเทศเยอรมนีรวมถึงการแข่งขันอย่างเป็นทางการ คือการถูกห้ามการแข่งโดยสมาคมฟุตบอลเยอรมันถึงจนกระทั่งปี ค.ศ. 1970 แต่แล้วทีมฟุตบอลหญิงก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นนับตั้งแต่ชนะการแข่งขันฟุตบอลโลกหญิงใน ค.ศ. 2003 ซึ่งเป็นเวลาที่ทีมนี้ได้รับเลือกให้เป็นทีมแห่งปีของเยอรมนี ส่วนซิลฟีอา ไนด์ ได้รับหน้าที่เป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนตั้งแต่ ค.ศ. 2005 โดยรับช่วงต่อจากทีนา ทอยเน หลังจากเก้าปีของการทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยของเธอ ตามข้อมูลเดือนกันยายน ค.ศ. 2013 ฟุตบอลหญิงทีมชาติเยอรมนีได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับ 2 ของอันดับโลกหญิงฟีฟ่า
ประวัติ
ประวัติช่วงต้น
ใน ค.ศ. 1955 สมาคมฟุตบอลเยอรมันได้ตัดสินใจไม่อนุญาตให้มีการแข่งขันฟุตบอลหญิงในทุกสโมสรที่ประเทศเยอรมนีตะวันตก โดยได้มีคำอธิบายของสมาคมฟุตบอลเยอรมันที่อ้างว่า "กีฬาห้าวนี้มีฐานเดิมจากต่างประเทศ เมื่อพิจารณาถึงผู้หญิงโดยธรรมชาติ" และได้กล่าวว่า "ร่างกายและจิตวิญญาณย่อมจะได้รับความเสียหาย" นอกจากนี้ "ยังเป็นการแสดงถึงการฝ่าฝืนในด้านสมบัติของผู้ดีและความเหมาะสม"[2] ทั้ง ๆ ที่มีการห้ามนี้ ก็ยังมีการแข่งขันระหว่างประเทศอย่างไม่เป็นทางการขึ้นกว่า 150 ครั้งในคริสต์ทศวรรษ 1950 และ 1960 เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม ค.ศ. 1970 การห้ามแข่งของฟุตบอลหญิงได้รับการเพิกถอนในการประชุมประจำปีของสมาคมฟุตบอลเยอรมัน[3]
ฟุตบอลหญิงทีมชาติได้เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการในคริสต์ทศวรรษ 1970 สมาคมฟุตบอลเยอรมันยังคงไม่เกี่ยวข้องในฟุตบอลหญิงมาอย่างยาวนาน ในปี ค.ศ. 1981 ฮอร์สท์ แอร์. ชมิดท์ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของสมาคมฟุตบอลเยอรมันได้รับเชิญให้ส่งทีมดังกล่าวสู่การแข่งขันฟุตบอลหญิงชิงแชมป์โลกอย่างไม่เป็นทางการ ชมิดท์ยอมรับคำเชิญแต่ได้ปกปิดความจริงที่ว่าเยอรมนีตะวันตกไม่มีฟุตบอลหญิงทีมชาติในขณะนั้น[3] เพื่อหลีกเลี่ยงความอัปยศอดสู สมาคมฟุตบอลเยอรมันได้ส่งทีมแชมป์สโมสรเยอรมันอย่างแบร์กิชกลัดบาค 09 ซึ่งเป็นทีมที่ได้ชนะการแข่งขันรายการดังกล่าว[4] เมื่อเห็นถึงความจำเป็น สมาคมฟุตบอลเยอรมันจึงได้จัดตั้งทีมชาติหญิงขึ้นในปี ค.ศ. 1982 แฮร์มันน์ นอยเบอร์เกอร์ ซึ่งเป็นประธานของสมาคมฟุตบอลเยอรมัน ได้แต่งตั้ง เกโร บีซันซ์ ผู้เป็นอาจารย์ที่วิทยาลัยกีฬาโคโลญ ให้เข้ามาจัดตั้งทีม[5]
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
- ↑ "The FIFA/Coca-Cola Women's World Ranking". FIFA. 25 สิงหาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2023.
- ↑ Theweleit, Daniel. Mannschaftsporträt Deutschland. Bundeszentrale für politische Bildung. 10 September 2007. Retrieved 5 August 2008. "Diese Kampfsportart der Natur des Weibes im wesentlichen fremd ist", "Körper und Seele erleiden unweigerlich Schaden", "verletze es Schicklichkeit und Anstand." (เยอรมัน)
- ↑ 3.0 3.1 Hoffmann, Eduard and Nendza, Jürgen. Geschichte des Frauenfußballs. Bundeszentrale für politische Bildung. 1 May 2006. Retrieved 5 August 2008. (เยอรมัน)
- ↑ Hoffmann, Eduard and Nendza, Jürgen. (2005). "Verlacht, verboten und gefeiert – Zur Geschichte des Frauenfußballs in Deutschland", Landpresse, p. 48. (เยอรมัน)
- ↑ Kittmann, Matthias. Aus einer Peinlichkeit wurden Weltmeisterinnen. Die Welt. 22 August 2007. Retrieved 7 August 2008. (เยอรมัน)
แหล่งข้อมูลอื่น
- Germany women's national football team – official website at DFB (ในภาษาเยอรมัน)
- FIFA profile