สถานีสนามไชย
สนามไชย BL31 Sanam Chai | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() | |||||||||||
![]() | |||||||||||
ข้อมูลทั่วไป | |||||||||||
ที่ตั้ง | ถนนสนามไชย เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร | ||||||||||
พิกัด | 13°44′38″N 100°29′38″E / 13.744°N 100.494°E | ||||||||||
เจ้าของ | การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย | ||||||||||
ผู้ให้บริการ | ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) | ||||||||||
สาย | |||||||||||
ชานชาลา | 1 ชานชาลาเกาะกลาง | ||||||||||
ทางวิ่ง | 2 | ||||||||||
การเชื่อมต่อ | ท่าราชินี | ||||||||||
โครงสร้าง | |||||||||||
ประเภทโครงสร้าง | ใต้ดิน | ||||||||||
ข้อมูลอื่น | |||||||||||
รหัสสถานี | BL31 | ||||||||||
ประวัติ | |||||||||||
เริ่มเปิดให้บริการ | 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 | ||||||||||
ผู้โดยสาร | |||||||||||
2564 | 877,862 | ||||||||||
การเชื่อมต่อ | |||||||||||
| |||||||||||
|
สถานีสนามไชย (อังกฤษ: Sanam Chai Station, รหัส BL31) เป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล โดยเป็นสถานีเดียวในระบบรถไฟฟ้าใต้ดินที่ตั้งอยู่บริเวณใจกลางพื้นที่อนุรักษ์เกาะรัตนโกสินทร์ ในแนวถนนสนามไชย กรุงเทพมหานคร บริเวณวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นเส้นทางต่อเนื่องจากสถานีหัวลำโพงผ่านพื้นที่เมืองเก่าก่อนลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณปากคลองตลาด ไปยังฝั่งธนบุรี และยกระดับขึ้นสู่สถานีท่าพระต่อไป
สถานีตั้งอยู่ด้านล่างถนนสนามไชย ด้านทิศเหนือของแยกสะพานเจริญรัช 31 หรือปากคลองตลาด (จุดบรรจบถนนสนามไชย, ถนนมหาราช, ถนนราชินี, ถนนอัษฎางค์ และถนนจักรเพชร) บริเวณด้านหน้าโรงเรียนวัดราชบพิธ, มิวเซียมสยาม และด้านหลังวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ในพื้นที่แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินมายังสถานีนี้ เพื่อทรงเปิดโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ส่วนต่อขยาย หัวลำโพง–หลักสอง และบางซื่อ–ท่าพระ เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563[1]
การออกแบบ


ที่ตั้งของสถานีสนามไชยเป็นสถานีแห่งเดียวในโครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานคร ที่มีตัวสถานีอยู่ใจกลางพื้นที่ชั้นในของเกาะรัตนโกสินทร์ ภายในขอบเขตระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยา และคลองคูเมืองเดิม (นอกเหนือจากสถานีสนามหลวง ของรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม ซึ่งมีทางเข้าออกสถานีที่เชื่อมต่อกับท้องสนามหลวงอยู่ในขอบเขตพื้นที่ดังกล่าว) จึงทำให้การวางแผนก่อสร้างเส้นทางและตัวสถานีสนามไชยเป็นที่จับตามองจากคณะกรรมการกรุงรัตนโกสินทร์ เนื่องจากหลายฝ่ายกังวลว่าโครงสร้างระบบรถไฟฟ้าจะส่งผลกระทบต่อชั้นน้ำใต้ดินและความมั่นคงของโครงสร้างโบราณสถานที่สำคัญใกล้เคียง โดยเฉพาะวัดพระเชตุพนฯ และพระบรมมหาราชวัง นอกจากนี้เพื่อรักษาทัศนียภาพของเมืองและเพื่อลดผลกระทบในระหว่างการก่อสร้าง จึงจำเป็นต้องเลือกวิธีการก่อสร้างเส้นทางแบบไม่เปิดหน้าดิน
เพื่อป้องกันมิให้โครงสร้างสถานีบดบังทัศนียภาพของมิวเซียมสยาม การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และผู้รับเหมาก่อสร้างคือ บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) จึงตกลงร่วมกันที่จะก่อสร้างทางขึ้นลงที่ 1 ในรูปแบบการตัดหลังคาออกไป โดยระหว่างการก่อสร้างได้มีการเพิ่มบ่อพักน้ำฝนและเพิ่มท่อระบายน้ำบริเวณที่เป็นโซนพื้นที่กลางแจ้งของสถานี รวมถึงได้มีการติดตั้งบันไดเลื่อนแบบใช้งานกลางแจ้งเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาไฟฟ้ารั่วหรือลัดวงจรแก่ผู้มาใช้บริการ แนวทางการออกแบบอนุรักษ์ คือ ออกแบบทางขึ้นลงของสถานีให้สอดคล้องกับรูปแบบรั้วของมิวเซียมสยาม[2]
การออกแบบภายใน ใช้รูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ออกแบบโดย รศ.ดร. ภิญโญ สุวรรณคีรี ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ให้ความรู้สึกเหมือนเป็นท้องพระโรงในสมัยรัตนโกสินทร์ มีการประดับด้วยเสาสดุมภ์ ที่ตั้งตระหง่านอยู่ระหว่างทางเดิน ลงลายกระเบื้องเป็นดอกพิกุล ปลายเสาประดับด้วยบัวจงกลปิดทองคำเปลว พื้นและผนังจำลองมาจากกำแพงเมือง ประดับด้วยเสาเสมาของพระบรมมหาราชวัง เพดานเป็นลายฉลุแบบดาวล้อมเดือน ปิดทองคำเปลว[3] นอกจากนี้ยังมีการจัดนิทรรศการ แสดงวัตถุโบราณที่ขุดพบ เช่น ฐานรากของพระราชวังของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุขสวัสดี
ระบบปรับอากาศ ไว้ด้านข้างแทนการวางด้านบน ทำให้สถานีนี้มีเพดานสูงกว่าสถานีอื่น[4]
การขุดพบโบราณวัตถุ
ในช่วงการก่อสร้างสถานี ผู้รับเหมาก่อสร้างตามสัญญาที่ 2 (โครงสร้างใต้ดินช่วงสนามไชย - ท่าพระ) คือ บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) ได้มีการขุดเจอวัตถุโบราณระหว่างการก่อสร้างกำแพงกันดิน (Retaining Wall) ในชั้นดินเป็นจำนวนมาก อาทิ ตุ๊กตาดินเผา ถ้วย ชาม กระเบื้องดินเผา สมัยพุทธศตวรรษที่ 24–25 ทั้งภาษาไทยและภาษาจีน ปืนโลหะ ความยาว 14.5 ซม. สลักวลีว่า MEMENTO MORI ซึ่งมีความหมายว่า Remember you will die นอกจากนั้นยังพบเหรียญโลหะสมัยรัชกาลที่ 4-5 เช่น เหรียญโลหะวงกลม มีตราจักร มูลค่า 1 สตางค์ เหรียญโลหะวงกลม พิมพ์อักษรสยามรัฐ มูลค่า 1 สตางค์ เหรียญโลหะ มีตรามหามงกุฎ อีกด้านพิมพ์ลายจักรภายในมีช้าง เป็นต้น ยังขุดพบ คลองราก หรือฐานรากโครงสร้างพระราชวังโบราณ ทำให้ทราบวิธีการก่อสร้างพระราชวังโบราณ[5] การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยและผู้รับเหมาจึงได้ดำเนินการส่งมอบวัตถุโบราณให้กรมศิลปากร และมิวเซียมสยาม นำไปเก็บรักษาและสืบหาที่มาของวัตถุ พร้อมทั้งปรับแบบของสถานีสนามไชยให้มีพื้นที่จัดแสดงวัตถุโบราณหรือไซต์มิวเซี่ยมก่อนลงไปยังพื้นที่ของสถานี[6] โดยปัจจุบันอยู่ในระหว่างการปรับปรุงและตกแต่งพื้นที่บริเวณทางออกที่ 1 เพื่อจัดแสดงเป็นนิทรรศการถาวรภายใต้ชื่อ ไซต์มิวเซี่ยม โดย รฟม. ได้มอบพื้นที่ให้มิวเซียมสยามเข้ามาตกแต่งและดูแลรักษาพื้นที่แห่งนี้
-
พื้นที่พิพิธภัณฑ์
-
โครงกระดูกวัวโบราณ
-
ฐานรากของพระราชวังโบราณ
แผนผังสถานี
G ระดับถนน |
- | ป้ายรถประจำทาง, มิวเซี่ยมสยาม, โรงเรียนวัดราชบพิธ โรงเรียนราชินี, ท่าเรือราชินี, สน.พระราชวัง, ปากคลองตลาด วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม |
B1 ทางเดินระหว่างชั้นระดับถนน กับ ชั้นขายตั๋วโดยสาร |
ชั้น Subway | ชั้นคั่นกลาง ระหว่างระดับถนน กับ ชั้นขายตั๋วโดยสาร, ทางออก 3-5 |
B2 ชั้นขายบัตรโดยสาร ไซต์มิวเซี่ยม |
ชั้นขายบัตรโดยสาร | ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร ไซต์มิวเซี่ยม, ทางเดินลอดถนน, ทางออก 1-2 |
B3 ทางเดินระหว่างชั้นขายบัตรโดยสาร กับ ชั้นชานชาลา |
ชั้น Plant | ชั้นคั่นกลาง ระหว่างชั้นขายบัตรโดยสาร กับ ชั้นชานชาลา |
B4 ชานชาลา |
ชานชาลา 2 | สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า ท่าพระ (ผ่าน บางซื่อ) |
ชานชาลา 1 | สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า หลักสอง |
รายละเอียดสถานี
รูปแบบของสถานี
เป็นชานชาลาแบบเกาะกลาง (Station with Central Platform) โดยชั้นออกบัตรโดยสารตกแต่งโดยใช้สถาปัตยกรรมรัตนโกสินทร์ตอนต้น ออกแบบโดยรองศาสตราจารย์ ดร. ภิญโญ สุวรรณคีรี
ทางเข้า-ออกสถานี
- 1 มิวเซียม สยาม, พระบรมมหาราชวัง, วัดพระศรีรัตนศาสดาราม, วัดโพธิ์ (ลิฟต์, บันไดเลื่อนขึ้นและลง)
- 2 โรงเรียนวัดราชบพิธ (ลิฟต์, บันไดเลื่อนขึ้นและลง / ไม่มีบันไดธรรมดา)
- 3 สถานีตำรวจนครบาลพระราชวัง (บันไดเลื่อนขึ้นและลง / ไม่มีบันไดธรรมดา)
- 4 ปากคลองตลาด
- 5 ท่าเรือราชินี, โรงเรียนราชินี (บันไดเลื่อนขึ้น)
-
ทางออกที่ 1 มิวเซียมสยาม
-
ทางออกที่ 2 บริเวณด้านหน้าโรงเรียนวัดราชบพิธ
-
ลายไทยบนหลังคาทางเข้าที่ 2
-
ทางออกที่ 3 บริเวณสถานีตำรวจนครบาลพระราชวัง
-
ป้ายทางออกภายในสถานี
-
บริเวณพื้นที่จัดแสดงวัตถุโบราณ ขณะก่อสร้างสถานี บริเวณทางออกที่ 1 (มิวเซียมสยาม)
-
บริเวณพื้นที่จัดแสดงวัตถุโบราณ (ขวา) เชื่อมต่อกับชั้นออกบัตรโดยสาร (ซ้าย)
การจัดพื้นที่ในตัวสถานี
แบ่งเป็น 4 ชั้น ประกอบด้วย
- G ชั้นระดับถนน (Ground level)
- B1 ชั้นระหว่างชั้นระดับถนน กับชั้นออกบัตรโดยสาร
- B2 ชั้นออกบัตรโดยสาร เหรียญโดยสาร และห้องประชาสัมพันธ์ (Concourse level)
- B3 ชั้นระหว่างชั้นออกบัตรโดยสาร กับชั้นชานชาลา
- B4 ชั้นชานชาลา (Platform level) ชานชาลา 1 มุ่งหน้าสถานีหลักสอง และชานชาลา 2 มุ่งหน้าสถานีท่าพระ (ผ่านบางซื่อ)
เวลาให้บริการ
ปลายทาง | วัน | ขบวนแรก | ขบวนสุดท้าย | |||
---|---|---|---|---|---|---|
สายเฉลิมรัชมงคล[7] | ||||||
ชานชาลาที่ 1 | ||||||
BL38 | หลักสอง | จันทร์ – ศุกร์ | 05:50 | 00:13 | ||
เสาร์ – อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ | 05:55 | 00:13 | ||||
ชานชาลาที่ 2 | ||||||
BL01 | ท่าพระ (ผ่านบางซื่อ) |
จันทร์ – ศุกร์ | 05:48 | 23:24 | ||
เสาร์ – อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ | 05:56 | 23:24 | ||||
ขบวนสุดท้ายเชื่อมต่อสายสีม่วง | – | 22:38 |
รถโดยสารประจำทาง
ถนนสนามไชย (หน้ามิวเซียมสยาม)
องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
สายที่ | เขตการเดินรถที่ | จุดเริ่มต้น | จุดสิ้นสุด | ประเภทของรถที่ให้บริการ | ผู้ให้บริการ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|---|
3 | 8 (กปด.18) | ![]() |
คลองสาน | รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง | ขสมก. | |
3 | รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) |
รถเอกชน
ถนนสนามไชย (ฝั่งสวนเจ้าเชตุ)
องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
สายที่ | เขตการเดินรถที่ | จุดเริ่มต้น | จุดสิ้นสุด | ประเภทของรถที่ให้บริการ | ผู้ให้บริการ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|---|
3 | 8 (กปด.18) | ![]() |
คลองสาน | รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง | ขสมก. | |
3 | รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) | |||||
12 | 4 (กปด.34) | ห้วยขวาง | ปากคลองตลาด | รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง | ||
53 | 7 (กปด.27) | สนามหลวง | เทเวศร์ | เส้นทางรถวิ่งเป็นวงกลม ผ่านเฉพาะวนซ้าย | ||
82 | 5 (กปด.15) | ![]() |
สนามหลวง | ผ่านเฉพาะขากลับท่าน้ำพระประแดง |
รถเอกชน
ถนนมหาราช
องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
สายที่ | เขตการเดินรถที่ | จุดเริ่มต้น | จุดสิ้นสุด | ประเภทของรถที่ให้บริการ | ผู้ให้บริการ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|---|
47 | 4 (กปด.14) | ปากคลองตลาด | คลองเตย | รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง | ขสมก. | |
53 | 7 (กปด.27) | สนามหลวง | เทเวศร์ | เส้นทางรถวิ่งเป็นวงกลม | ||
82 | 5 (กปด.15) | ![]() |
สนามหลวง |
รถเอกชน
สายที่ | จุดเริ่มต้น | จุดสิ้นสุด | ประเภทของรถที่ให้บริการ | ผู้ให้บริการ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
82 (4-15) ![]() |
![]() |
สนามหลวง | รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) | บจก.ไทยสมายล์บัส |
- ถนนอัษฎางค์ สาย 7ก 8 42(วนซ้าย) 73
- รถรับส่งนักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาเขตท่าพระจันทร์
สถานที่สำคัญใกล้เคียง
- วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร
- หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน (สวนเจ้าเชตุ)
- สวนสราญรมย์
- อาคารสำนักงานสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม)
- ยอดพิมานริเวอร์วอล์ค
- ปากคลองตลาด
- ท่าเตียน
- กรมที่ดิน
- โรงเรียนวัดราชบพิธ
- โรงเรียนราชินี
- ถนนบ้านหม้อ
- โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
อ้างอิง
- ↑ "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดโครงการรถไฟฟ้ามหานครสาย "เฉลิมรัชมงคล" (สายสีน้ำเงิน) ส่วนต่อขยาย". www.mrta.co.th.
- ↑ "เรื่องเล่าสองข้างราง MRT สีน้ำเงิน". p. 38.
- ↑ สถานีสนามไชย สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสวยที่สุดในไทย
- ↑ เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ “สถานีสนามไชย” สถานีรถไฟใต้ดินที่สวยที่สุดในประเทศไทย
- ↑ ขุดรถไฟฟ้าพบประวัติศาสตร์ โบราณวัตถุสมัยรัชกาลที่ 4–5 ไทยรัฐออนไลน์
- ↑ MRT สนามไชย “พิพิธภัณฑ์ใต้ดิน” แห่งแรกของไทย! - บ้านและสวน
- ↑ "รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ตารางเดินรถไฟฟ้า". www.mrta.co.th.