สถาบันวิทยาไวรัสอู่ฮั่น
中国科学院武汉病毒研究所 | |
ชื่อย่อ | WIV |
---|---|
ก่อนหน้า |
|
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2499 |
ผู้ก่อตั้ง | เฉิน หฺวากุ่ย (陈华癸), เกา ช่างอิน (高尚荫) |
สํานักงานใหญ่ | 44 เสี่ยวหงชาน (小洪山中区), เขตอู่ชาง (武昌区), อู่ฮั่น, หูเป่ย์ |
พิกัด | 30°22′35″N 114°15′45″E / 30.37639°N 114.26250°E |
ผู้อำนวยการใหญ่ | หวัง เหยียนอี้ (王延轶) |
เลขาธิการคณะกรรมการพรรค | เซี่ยว เกิงฟู่ (肖庚富)[1] |
รองผู้อำนวยการใหญ่ | กง เผิง (龚鹏), กวน อู่เสียง (关武祥), เซี่ยว เกิงฟู่ (肖庚富) |
องค์กรปกครอง | สถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน |
เว็บไซต์ | whiov.cas.cn |
สถาบันวิทยาไวรัสอู่ฮั่น | |||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 中国科学院武汉病毒研究所 | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวเต็ม | 中國科學院武漢病毒研究所 | ||||||
|
สถาบันวิทยาไวรัสอู่ฮั่น, สถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน (WIV; จีน: 中国科学院武汉病毒研究所) เป็นสถาบันวิจัยที่ครอบคลุมเกี่ยวกับการวิจัยวิทยาไวรัสพื้นฐานและนวัตกรรมเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการโดยสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน (CAS; จีน: 中国科学院) ตั้งอยู่ในเขตอู่ชาง นครอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ ได้เปิดดำเนินการห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยระดับ 4 (BSL–4) เป็นแห่งแรกของจีนในปี พ.ศ. 2558[2] สถาบันมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับห้องปฏิบัติการแห่งชาติกัลเวสตัน (GNL; Galveston National Laboratory) ในสหรัฐ, ศูนย์วิจัยโรคติดเชื้อนานาชาติ (CIRI; Centre International de Recherche en Infectiologie) ในฝรั่งเศส และห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาแห่งชาติในแคนาดา
สถาบันแห่งนี้เป็นศูนย์การวิจัยเชิงรุกสำหรับการศึกษาไวรัสโคโรนา จากการระบาดของโรคโควิด-19 มีเรื่องของทฤษฎีสมคบคิดหลายประการอ้างถึงสถาบันเกี่ยวกับต้นกำเนิดของไวรัส[3][4] อย่างไรก็ตามไม่มีหลักฐานสนับสนุนการกล่าวอ้างดังกล่าว[5]
ประวัติ
สถาบันก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2499 ในฐานะห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาอู่ฮั่น ภายใต้สถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน (CAS) โดยความร่วมมือของมหาวิทยาลัยอู่ฮั่น (武汉大学) และวิทยาลัยการเกษตรหฺวาจง (华中农学院) ในปี พ.ศ. 2504 ได้จัดตั้งเป็นสถาบันจุลชีววิทยาของจีนตอนใต้ และในปีต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นสถาบันจุลชีววิทยาอู่ฮั่น ในปี พ.ศ. 2513 เมื่อคณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมณฑลหูเป่ย์เข้ามาบริหาร จึงได้ปรับเปลี่ยนเป็นสถาบันจุลชีววิทยาของมณฑลหูเป่ย์ ต่อมาในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2521 สถาบันได้ถูกโอนคืนไปยัง CAS และเปลี่ยนชื่อเป็นสถาบันวิทยาไวรัสอู่ฮั่น[6]
ในปี พ.ศ. 2558 ห้องปฏิบัติการความปลอดภัยทางชีวภาพแห่งชาติของสถาบันได้เสร็จสมบูรณ์ในงบประมาณก่อสร้าง 300 ล้านหยวน (44 ล้านเหรียญสหรัฐ) โดยความร่วมมือกับห้องปฏิบัติการ CIRI ของรัฐบาลฝรั่งเศส และเป็นห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยระดับ 4 (BSL–4) แห่งแรกที่สร้างขึ้นในจีนแผ่นดินใหญ่[2][7] การจัดตั้งห้องปฏิบัติการได้รับเงินทุนบางส่วนจากรัฐบาลสหรัฐ และใช้เวลากว่าทศวรรษกว่าจะเสร็จสมบูรณ์หลังจากการริเริ่มแนวคิดในปี พ.ศ. 2546[2]
ห้องปฏิบัติการมีความผูกพันกับห้องทดลองแห่งชาติกัลเวสตัน (GNL) ในสังกัดมหาวิทยาลัยเท็กซัส ของสหรัฐ[8] นอกจากนี้ยังมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาแห่งชาติ (NML; National Microbiology Laboratory) ของแคนาดา
สถาบันเป็นหัวข้อของความขัดแย้งในช่วงเวลาเริ่มมีรายงานการระบาดของโรคโควิด-19 ในปี พ.ศ. 2563 มีการกล่าวอ้างจากนักชีววิทยาในสหรัฐ ว่าสถาบันเป็น "สถาบันวิจัยระดับโลกที่ทำการวิจัยระดับโลกในด้านวิทยาไวรัสและภูมิคุ้มกันวิทยา" และเขาได้ตั้งข้อสังเกตว่า สถาบันเป็นผู้นำในการศึกษาไวรัสโคโรนาในค้างคาว[8]
การวิจัยไวรัสโคโรนา
ในปี พ.ศ. 2548 กลุ่มวิจัยซึ่งนักวิจัยจากสถาบันวิทยาไวรัสอู่ฮั่นมีส่วนร่วม ได้ตีพิมพ์งานวิจัยเกี่ยวกับต้นกำเนิดของไวรัสโคโรนาโรคซาร์ส ซึ่งค้นพบว่าค้างคาวสกุล ค้างคาวมงกุฎ ในจีนนั้นเป็นแหล่งรังโรคตามธรรมชาติของไวรัสโคโรนาที่คล้ายคลึงกับโรคซาร์ส (SARS-like)[9] งานวิจัยได้ทำต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี โดยนักวิจัยจากสถาบันได้เก็บตัวอย่างค้างคาวมงกุฎ นับพันตัวอย่างในสถานที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศจีน โดยแยกลำดับของสารพันธุกรรมของไวรัสจากค้างคาวได้มากกว่า 300 ลำดับ[10]
ในปี พ.ศ. 2558 ทีมงานนานาชาติซึ่งรวมถึงนักวิทยาศาสตร์สองคนจากสถาบันได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยว่า ประสบความสำเร็จสามารถทำให้เกิดการติดเชื้อไวรัสโคโรนาจากค้างคาว (SHC014-CoV) ในเซลล์เฮลา (HeLa) ได้ ทีมวิจัยอ้างว่าได้สร้างไวรัสลูกผสม ซึ่งประกอบไปด้วยไวรัสโคโรนาจากค้างคาวกับไวรัสโรคซาร์ส ซึ่งได้รับการดัดแปลงให้ก่อโรคที่เกิดในมนุษย์ ขึ้นในหนูและเซลล์เลียนแบบระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ (MIMIC) และไวรัสไฮบริดนั้นสามารถติดเชื้อในเซลล์ของมนุษย์ได้[11][12]
ในปี พ.ศ. 2560 ทีมจากสถาบันประกาศว่าไวรัสโคโรนาที่พบในค้างคาวมงกุฎในถ้ำในมณฑลยูนนานนั้น มีชิ้นส่วนทั้งหมดของรหัสพันธุกรรมของไวรัสโรคซาร์ส ทีมที่ใช้เวลาห้าปีเก็บตัวอย่างค้างคาวในถ้ำได้สังเกตเห็น การตั้งถิ่นฐานของหมู่บ้านแห่งหนึ่งห่างออกไปเพียงหนึ่งกิโลเมตร และได้เตือนว่า "มีความเสี่ยงของการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสไปสู่ผู้คนและอุบัติการณ์ของโรคที่คล้ายกับโรคซาร์ส"[10][13]
ในปี พ.ศ. 2561 เอกสารจากทีมสถาบันรายงานผลการศึกษาทางวิทยาเซรุ่มของตัวอย่างจากชาวบ้านที่อาศัยอยู่ใกล้ถ้ำที่อาศัยของค้างคาวเหล่านี้ (ใกล้กับตำบลซีหยาง (夕阳乡) ในเขตจินหนิง เมืองคุนหมิง ยูนนาน) จากรายงานนี้พบว่าจากผู้อาศัยในพื้นที่ทั้งหมด 218 คน มี 6 คนที่มีแอนติบอดีต่อไวรัสโคโรนาจากค้างคาวในตัวอย่างเลือดของพวกเขา ซึ่งบ่งบอกถึงความเป็นไปได้ในการแพร่เชื้อจากค้างคาวสู่คน[14]
การระบาดทั่วของโควิด-19
ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 มีการรายงานผู้ป่วยโรคปอดบวมที่เกี่ยวข้องกับไวรัสโคโรนาต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในนครอู่ฮั่น สถาบันได้ทำการตรวจสอบฐานข้อมูลของไวรัสโคโรนา และพบว่าไวรัสตัวใหม่นั้นมีสารพันธุกรรม 96 เปอร์เซ็นต์ที่เหมือนกับตัวอย่างที่นักวิจัยได้นำมาจากค้างคาวมงกุฎจากทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน[15]
เมื่อไวรัสแพร่กระจายไปทั่วโลกสถาบันได้ดำเนินการตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 หนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์รายงานว่าทีมที่นำโดยฉือ เจิ้งลี่ (石正丽) จากสถาบันเป็นคณะแรกที่วิเคราะห์และระบุลำดับทางพันธุกรรมของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (ขณะนั้นเรียกว่า 2019-nCoV) และอัปโหลดไปยังฐานข้อมูลสาธารณะสำหรับการศึกษาวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก[16][17] และเผยแพร่เป็นบทความในนิตยสารเนเจอร์[18] ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ห้องปฏิบัติการเผยแพร่จดหมายข่าวบนเว็บไซต์อธิบายว่า พวกเขาประสบความสำเร็จในการถอดรหัสจีโนมของไวรัสทั้งหมดได้อย่างไร: "ในตอนเย็นของวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2562 หลังจากได้รับตัวอย่างจากโรคปอดบวมที่ไม่มีคำอธิบายเพิ่มเติมมาจากโรงพยาบาลอู่ฮั่นจินอินถาน (武汉市金银潭医院) สถาบันดำเนินการด้วยความเข้มแข็งตลอดคืนและทำงานต่อเนื่องเป็นเวลา 72 ชั่วโมงเพื่อแก้ปัญหา ในวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2563 ลำดับจีโนมทั้งหมดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ได้ถูกระบุ"[19] ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 สถาบันได้ยื่นขอจดสิทธิบัตรในประเทศจีนเพื่อใช้ยาเรมเดซิเวียร์ (Remdesivir) ซึ่งเป็นยาทดลองที่เป็นของบริษัทกิลเลียด ไซแอนเซส (Gilead Sciences) ซึ่งสถาบันพบว่ามีการยับยั้งไวรัสในหลอดทดลอง[20] เป็นการเคลื่อนไหวที่ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา.[21] สถาบันกล่าวว่าจะไม่บังคับใช้สิทธิ์ในสิทธิบัตรใหม่ในประเทศจีน "หากบริษัทต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ตั้งใจจะมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคในจีน"[22]
ข้อกังวลในฐานะการเป็นแหล่งกำเนิด
ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2563 ทฤษฎีสมคบคิดแพร่หลายในวงสังคมว่าโควิด-19 เป็นโรคระบาดที่เกิดจากไวรัสที่ได้รับการออกแบบโดยสถาบัน WIV ซึ่งได้ถูกหักล้างบนพื้นฐานของหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ว่าไวรัสมีต้นกำเนิดจากธรรมชาติ[23][24] ในช่วงกลางเดือนมกราคมสำนักข่าวกรองของสหรัฐรายงานต่อเจ้าหน้าที่ว่า พวกเขาไม่ได้ตรวจพบสัญญาณเตือนใด ๆ ภายในรัฐบาลจีนที่จะชี้นำให้เกิดการระบาดขึ้นจากห้องปฏิบัติการของรัฐบาล[25] จอช โรกิน (Josh Rogin) เขียนในคอลัมน์ความคิดเห็นในหนังสือพิมพ์เดอะวอชิงตันโพสต์ว่า จดหมายข่าวของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐในปี พ.ศ. 2561 ได้หยิบยกประเด็นด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับงานวิจัยของสถาบัน WIV เกี่ยวกับการตรวจไวรัสโคโรนาในค้างคาว[26] ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 ตามคำร้องขอของเจ้าหน้าที่บริหารของประธานาธิบดีดอนัลด์ ทรัมป์ หน่วยงานข่าวกรองของสหรัฐเริ่มตรวจสอบว่า การระบาดเกิดจากอุบัติเหตุรั่วไหลโดยไม่ตั้งใจโดยนักวิทยาศาสตร์ของสถาบัน WIV ที่ศึกษาไวรัสโคโรนาตามธรรมชาติในค้างคาวหรือไม่[27][25] หนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์รายงานว่าเจ้าหน้าที่ระดับสูงในรัฐบาลทรัมป์ กำลังกดดันหน่วยงานข่าวกรองเพื่อให้หาหลักฐานสำหรับทฤษฎีที่ไม่ยืนยันว่าไวรัสรั่วจากห้องปฏิบัติการ ซึ่งนำไปสู่ความกังวลในหมู่นักวิเคราะห์ข่าวกรองบางส่วนว่า การประเมินข่าวกรองจะถูกบิดเบือนเพื่อใช้ในการรณรงค์ทางการเมือง เพื่อตำหนิประเทศจีนสำหรับการระบาดของโรค[28] ประธานาธิบดี ทรัมป์ และรัฐมนตรีต่างประเทศ ไมเคิล พอมเพโอ อ้างว่ามีหลักฐานของทฤษฎีแล็บ แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติม[29][30]
นักวิทยาไวรัสชั้นนำได้โต้แย้งความคิดที่ว่าเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 รั่วไหลออกมาจากสถาบัน[31][32] นักวิทยาไวรัส ปีเตอร์ ดาสซัค (Peter Daszak) ประธานองค์กร EcoHealth Alliance (ซึ่งศึกษาโรคติดเชื้อที่เกิดขึ้นใหม่และมีความร่วมมือกับนักวิทยาไวรัสชั้นนำของ WIV เพื่อศึกษาไวรัสโคโรนาในค้างคาว)[33] ได้ตั้งข้อสังเกตว่า ในแต่ละปีมีผู้คนหลายล้านคนที่อาศัยหรือทำงานในบริเวณใกล้เคียงกับค้างคาว ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา[31] ในการให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์ข่าว Vox ดาสซัคให้ความเห็นว่า "อาจมี 6 คนที่ทำงานในห้องปฏิบัติการเหล่านั้นดังนั้นลองเปรียบเทียบจำนวน 1 ถึง 7 ล้านคนต่อปี กับคน 6 คน มันไม่สมเหตุสมผล"[32] จานนา แมเซต์ (Jonna Mazet) ศาสตราจารย์ด้านระบาดวิทยาของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เดวิส และผู้อำนวยการโครงการ PREDICT ซึ่งเป็นโครงการเฝ้าระวังไวรัสที่เกิดขึ้นใหม่ได้แสดงความคิดเห็นว่า เจ้าหน้าที่ของสถาบันวิทยาไวรัสอู่ฮั่นได้รับการฝึกอบรมจากนักวิทยาศาสตร์ชาวสหรัฐ โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ PREDICT และมีการปฏิบัติงานตามมาตรฐานที่มีความปลอดภัยสูง เธอกล่าวว่า "หลักฐานทั้งหมดชี้ให้เห็นว่านี่ไม่ใช่อุบัติเหตุในห้องปฏิบัติการ"[31]
ศูนย์วิจัย
สถาบันประกอบด้วยศูนย์วิจัยดังต่อไปนี้:[34]
- ศูนย์วิจัยโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ (新发传染病研究中心)
- ศูนย์ทรัพยากรไวรัสจีนและชีวสารสนเทศ (中国病毒资源与生物信息中心)
- ศูนย์วิจัยจุลชีววิทยาสิ่งแวดล้อมและการประยุกต์ (应用环境与微生物研究中心)
- ห้องปฏิบัติการชีวเคมีวิเคราะห์และเทคโนโลยีชีวภาพ (分析生物技术研究室)
- ห้องปฏิบัติการวิทยาไวรัสโมเลกุล (分子病毒学研究室)
ดูเพิ่ม
- ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งประเทศจีน – (CCDC; 中国疾病预防控制中心)
- ข้อมูลที่ผิดเกี่ยวกับการระบาดทั่วของโคโรนาไวรัส พ.ศ. 2562–2563
- ฉือ เจิ้งลี่ – นักวิจัยกลุ่มไวรัสอุบัติใหม่
- โรครับจากสัตว์
อ้างอิง
- ↑ "Organization Overview ≫ Current Leader" (机构概况 ≫ 现任领导). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2020. สืบค้นเมื่อ 24 February 2020.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Cyranoski, David (23 February 2017). "Inside the Chinese lab poised to study world's most dangerous pathogens". Nature. 542 (7642): 399–400. Bibcode:2017Natur.542..399C. doi:10.1038/nature.2017.21487. PMID 28230144.
- ↑ Allen-Ebrahimian, Bethany. "What we know about the Chinese lab at the center of the coronavirus controversy". Axios (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 26 May 2020.
- ↑ CNN, Nectar Gan. "The Wuhan lab at the center of the US-China blame game: What we know and what we don't". CNN. สืบค้นเมื่อ 26 May 2020.
- ↑ Staff, Science News (4 May 2020). "Pressure grows on China for independent investigation into pandemic's origins". Science | AAAS (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 25 May 2020.
- ↑ "History". Wuhan Institute of Virology, CAS. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 July 2019. สืบค้นเมื่อ 26 January 2020.
- ↑ "China Inaugurates the First Biocontainment Level 4 Laboratory in Wuhan". Wuhan Institute of Virology, Chinese Academy of Sciences. 3 February 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 March 2016. สืบค้นเมื่อ 9 April 2016.
- ↑ 8.0 8.1 Taylor, Adam (29 January 2020). "Experts debunk fringe theory linking China's coronavirus to weapons research". Washington Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 January 2020. สืบค้นเมื่อ 3 February 2020.
- ↑ Li, Wendong; Shi, Zhengli; Yu, Meng; และคณะ (28 Oct 2005). "Bats Are Natural Reservoirs of SARS-Like Coronaviruses". Science. 310 (5748): 676–679. Bibcode:2005Sci...310..676L. doi:10.1126/science.1118391. PMID 16195424.
- ↑ 10.0 10.1 Cyranoski, David (1 December 2017). "Bat cave solves mystery of deadly SARS virus — and suggests new outbreak could occur". Nature. 552 (7683): 15–16. Bibcode:2017Natur.552...15C. doi:10.1038/d41586-017-07766-9.
- ↑ Vineet D. Menachery; Boyd L Yount; Kari Debbink; Sudhakar Agnihothram; Lisa E. Gralinski; Jessica A Plante; Rachel L Graham; Trevor Scobey; Xing-Yi Ge; Eric F Donaldson; Scott H Randell; Antonio Lanzavecchia; Wayne A Marasco; Zhengli-Li Shi; Ralph S. Baric (9 พฤศจิกายน 2015), "A SARS-like cluster of circulating bat coronaviruses shows potential for human emergence", Nature Medicine, 21 (12): 1508–1513, doi:10.1038/NM.3985, PMC 4797993, PMID 26552008, Wikidata Q36702376
- ↑ Butler, Declan (12 November 2015). "Engineered bat virus stirs debate over risky research". Nature. doi:10.1038/nature.2015.18787.
- ↑ Drosten, C.; Hu, B.; Zeng, L.-P.; และคณะ (2017). "Discovery of a rich gene pool of bat SARS-related coronaviruses provides new insights into the origin of SARS coronavirus". PLOS Pathogens. 13 (11): e1006698. doi:10.1371/journal.ppat.1006698. PMC 5708621. PMID 29190287.
- ↑ "Wang N, Li SY, Yang XL, et al. Serological Evidence of Bat SARS-Related Coronavirus Infection in Humans, China. Virol Sin. 2018;33(1):104‐107. doi:10.1007/s12250-018-0012-7". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 April 2020. สืบค้นเมื่อ 13 May 2020.
- ↑ Qiu, Jane (11 March 2020). "How China's "Bat Woman" Hunted Down Viruses from SARS to the New Coronavirus". Scientific American. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 March 2020. สืบค้นเมื่อ 18 March 2020.
- ↑ Buckley, Chris; Steven Lee Myers (1 February 2020). "As New Coronavirus Spread, China's Old Habits Delayed Fight". The New York Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 March 2020. สืบค้นเมื่อ 3 February 2020.
- ↑ Cohen, Jon (1 February 2020). "Mining coronavirus genomes for clues to the outbreak's origins". Science. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 February 2020. สืบค้นเมื่อ 4 February 2020.
The viral sequences, most researchers say, also knock down the idea the pathogen came from a virology institute in Wuhan.
- ↑ Zhengli, Shi; Team of 29 researchers at the WIV (3 February 2020). "A pneumonia outbreak associated with a new coronavirus of probable bat origin". Nature. 579 (7798): 270–273. doi:10.1038/s41586-020-2012-7. PMC 7095418. PMID 32015507.
- ↑ "A letter to all staff and graduate students". WIV Official Website (ภาษาจีน). 19 February 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 April 2020. สืบค้นเมื่อ 24 May 2020.
- ↑ Zhengli, Shi; Team of 10 researchers at the WIV (4 February 2020). "Remdesivir and chloroquine effectively inhibit the recently emerged novel coronavirus (2019-nCoV) in vitro". Nature. 30 (3): 269–271. doi:10.1038/s41422-020-0282-0. PMC 7054408. PMID 32020029.
- ↑ "China Wants to Patent Gilead's Experimental Coronavirus Drug". Bloomberg News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 February 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-02-05.
- ↑ Grady, Denise (6 February 2020). "China Begins Testing an Antiviral Drug in Coronavirus Patients". New York Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 February 2020. สืบค้นเมื่อ 8 February 2020.
- ↑ Fisher, Max (2020-04-08). "Why Coronavirus Conspiracy Theories Flourish. And Why It Matters". The New York Times (ภาษาอังกฤษ). ISSN 0362-4331. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 April 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-04-20.
- ↑ Noor, Poppy (2020-04-13). "A third of Americans believe Covid-19 laboratory conspiracy theory – study". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). ISSN 0261-3077. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 April 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-04-20.
- ↑ 25.0 25.1 Lipton, Eric; Sanger, David E.; Haberman, Maggie; Shear, Michael D.; Mazzetti, Mark; Barnes, Julian E. (11 April 2020). "He Could Have Seen What Was Coming: Behind Trump's Failure on the Virus". New York Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 April 2020. สืบค้นเมื่อ 16 April 2020.
- ↑ Rogin, John (14 April 2020). "State Department cables warned of safety issues at Wuhan lab studying bat coronaviruses". Washington Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 April 2020. สืบค้นเมื่อ 14 April 2020.
- ↑ Rincon, Paul (16 April 2020). "Coronavirus: Is there any evidence for lab release theory?". BBC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 April 2020. สืบค้นเมื่อ 16 April 2020.
- ↑ Mazzetti, Mark; Barnes, Julian E.; Wong, Edward; Goldman, Adam (30 April 2020). "Trump Officials Are Said to Press Spies to Link Virus and Wuhan Labs". New York Times. สืบค้นเมื่อ 27 May 2020.
- ↑ "Donald Trump contradicts US intelligence by saying evidence links coronavirus to Wuhan lab in China". Telegraph Media Group Limited. 1 May 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 May 2020. สืบค้นเมื่อ 1 May 2020.
- ↑ Borger, Julian (2020-05-03). "Mike Pompeo: 'enormous evidence' coronavirus came from Chinese lab". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). ISSN 0261-3077. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 May 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-05-04.
- ↑ 31.0 31.1 31.2 Brumfiel, Geoff; Kwong, Emily (23 April 2020). "Virus Researchers Cast Doubt On Theory Of Coronavirus Lab Accident". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 April 2020. สืบค้นเมื่อ 29 April 2020.
- ↑ 32.0 32.1 Barclay, Eliza (23 April 2020). "Why these scientists still doubt the coronavirus leaked from a Chinese lab". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 April 2020. สืบค้นเมื่อ 29 April 2020.
- ↑ Wadman, Meredith; Cohen, Jon (8 May 2020). "NIH move to ax bat coronavirus grant draws fire". Science (ภาษาอังกฤษ). pp. 561–562. doi:10.1126/science.368.6491.561. สืบค้นเมื่อ 28 May 2020.
- ↑ "Administration". Wuhan Institute of Virology, CAS. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 July 2019. สืบค้นเมื่อ 26 January 2020.
แหล่งข้อมูลอื่น
- วิกิข่าว มีข่าวที่เกี่ยวข้อง: สถาบันวิทยาไวรัสอู่ฮั่น (ภาษารัสเซีย)
- เว็บไซต์ทางการ (ภาษาอังกฤษ)
- เว็บไซต์ของสถาบันวิทยาไวรัสอู่ฮั่น เก็บถาวร 2020-12-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน (ภาษาจีน)