สกอเปีย
สกอเปีย | |
---|---|
นคร | |
นครสกอเปีย Град Скопје Qyteti i Shkupit | |
จากบนสุด ตามเข็มนาฬิกา: สกอเปียกลางมองจากป้อมปราการกาเล, กูรชูมลีอัน, ปสานเก่า, สถานีรถไฟสกอเปียเก่า, โบสถ์นักบุญคลีเมนต์แห่งโอฮรีด, สะพานหิน | |
พิกัด: 42°0′N 21°26′E / 42.000°N 21.433°E | |
ประเทศ | มาซิโดเนียเหนือ |
ภูมิภาค | สกอเปีย |
เทศบาล | เกรทเตอร์สกอเปีย |
การปกครอง | |
• ประเภท | หน่วยพิเศษรัฐบาลท้องถิ่น |
• องค์กร | สภานครสกอเปีย |
• นายกเทศมนตรี | เปเตร ซีเลกอฟ (SDSM) |
พื้นที่ | |
• นคร | 571.46 ตร.กม. (220.64 ตร.ไมล์) |
• เขตเมือง | 337.80 ตร.กม. (130.43 ตร.ไมล์) |
• รวมปริมณฑล | 1,854.00 ตร.กม. (715.83 ตร.ไมล์) |
ความสูง | 240 เมตร (790 ฟุต) |
ประชากร (ค.ศ. 2015)[1] | |
• นคร | 544,086 คน |
• ความหนาแน่น | 950 คน/ตร.กม. (2,500 คน/ตร.ไมล์) |
• รวมปริมณฑล | 630,873 คน |
เดมะนิม | สโกปยัน[2] |
เขตเวลา | UTC+1 (CET) |
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) | UTC+2 (CEST) |
รหัสไปรษณีย์ | МК-10 00 |
รหัสพื้นที่ | +389 2 |
รหัส ISO 3166 | MK-85 |
ทะเบียนรถ | SK |
ภูมิอากาศ | BSk |
เว็บไซต์ | www |
สกอเปีย[3] (มาซิโดเนีย: Скопје, ออกเสียง: [ˈskɔpjɛ] , แอลเบเนีย: Shkup) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศมาซิโดเนียเหนือ นับเป็นศูนย์กลางด้านการเมือง วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการศึกษาของประเทศ
พื้นที่ของนครสกอเปียมีการถิ่นฐานมาตั้งแต่ 4,000 ปีก่อนคริสตกาล หลักฐานที่บ่งบอกถึงการตั้งถิ่นฐานในยุคหินใหม่ถูกพบในประภาคารกาเลอันเก่าแก่ ซึ่งสามารถมองเห็นทิวทัศน์ของใจกลางนคร แรกเริ่มเดิมที สกูปีเป็นนครของอาณาจักรแพโอเนีย ต่อมาได้กลายเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรดาร์ดาเนียในช่วง 200 ปีก่อนคริสตกาล ต่อมาในช่วงก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 1 พื้นที่แห่งนี้ได้ถูกทหารโรมันยึดครองและใช้เป็นฐานทัพ[4][5] เมื่อจักรวรรดิโรมันถูกแบ่งออกเป็นตะวันตกและตะวันออกใน ค.ศ. 395 สกูปีได้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรไบแซนไทน์ซึ่งรับอำนาจมาจากคอนสแตนติโนเปิล ช่วงเวลาส่วนใหญ่ของต้นยุคกลาง เมืองนี้มักถูกจักรวรรดิไบแซนไทน์และบัลแกเรียที่ 1 สลับกันยึดครอง เมืองนี้เคยเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิบัลแกเรียที่ 1 ระหว่าง ค.ศ. 972–992
นับตั้งแต่ ค.ศ. 1282 เมืองนี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิเซอร์เบีย และได้รับการจัดตั้งให้เป็นเมืองหลวงระหว่าง ค.ศ. 1346–1371 ต่อมาใน ค.ศ. 1392 สกอเปียถูกยึดครองโดยกลุ่มเติร์กของออตโตมันที่เรียกตนเองว่า อุซกุบ ซึ่งชื่อนี้ได้ถูกใช้อย่างแพร่หลายในภาษาอังกฤษ เมืองอยู่ภายใต้การปกครองของออตโตมันเป็นระยะเวลากว่า 500 ปี โดยเคยเป็นเมืองศูนย์กลางของกลุ่มอุซกุบและจังหวัดคอซอวอ ใน ค.ศ. 1912 เมืองถูกยึดครองโดยราชอาณาจักรเซอร์เบียในช่วงสงครามบอลข่าน[6] ต่อมาได้ถูกยึดครองโดยราชอาณาจักรบัลแกเรียในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง หลังจากสงคราม เมืองได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรยูโกสลาเวียในฐานะเมืองศูนย์กลางของจังหวัดวาร์ดาร์บานอวีนา ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เมืองถูกยึดครองโดยบัลแกเรียอีกครั้ง และใน ค.ศ. 1944 ได้กลายเป็นเมืองหลวงของมาซิโดเนีย ซึ่งเป็นรัฐสหพันธ์ของยูโกสลาเวีย ตัวนครพัฒนาอย่างรวดเร็วแต่ก็มาหยุดชะงักเมื่อเกิดแผ่นดินไหวใน ค.ศ. 1963
สกอเปียตั้งอยู่บริเวณทางตอนต้นของแม่น้ำวาร์ดาร์ และตั้งอยู่บนเส้นทางหลักแนวเหนือ-ใต้ของคาบสมุทรบอลข่าน ระหว่างกรุงเบลเกรดกับกรุงเอเธนส์ นครเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมแปรรูปโลหะ เคมีภัณฑ์ ไม้ สิ่งทอ หนังสัตว์ และการพิมพ์ การพัฒนาด้านอุตสาหกรรมของนครพัฒนาขึ้นพร้อมกับการพัฒนาการค้า ลอจิสติก การธนาคาร การขนส่ง วัฒนธรรม และกีฬา ในการสำมะโนปี 2002 สกอเปียมีประชากร 506,926 คน และเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2015 มีประชากร 544,086 คน แสดงให้เห็นว่า ประชากรมากกว่าหนึ่งในสี่ของประเทศอาศัยอยู่ที่นครแห่งนี้รวมถึงพื้นที่ปริมณฑล[7]
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
เมืองฝาแฝด
สกอเปียเป็นเมืองฝาแฝดกับ:[8]
- แบรดฟอร์ด สหราชอาณาจักร (ตั้งแต่ ค.ศ. 1961)
- ดีฌง ฝรั่งเศส (ตั้งแต่ ค.ศ. 1961)
- เดรสเดิน เยอรมนี (ตั้งแต่ ค.ศ. 1967)
- เทมเป สหรัฐ (ตั้งแต่ ค.ศ. 1971)
- รูแบ ฝรั่งเศส (ตั้งแต่ ค.ศ. 1973)
- Waremme เบลเยียม (ตั้งแต่ ค.ศ. 1974)
- เนือร์นแบร์ค เยอรมนี (ตั้งแต่ ค.ศ. 1982)
- Chlef แอลจีเรีย (ตั้งแต่ ค.ศ. 1983)
- หนานชาง จีน (ตั้งแต่ ค.ศ. 1985)
- มานิซา ตุรกี (ตั้งแต่ ค.ศ. 1985)
- สุเอซ อียิปต์ (ตั้งแต่ ค.ศ. 1985)
- พิตต์สเบิร์ก สหรัฐ (ตั้งแต่ ค.ศ. 2002)
- อิสตันบูล ตุรกี (ตั้งแต่ ค.ศ. 2003)
- ลูบลิยานา สโลวีเนีย (ตั้งแต่ ค.ศ. 2007)
- พอดกอรีตซา มอนเตเนโกร(ตั้งแต่ ค.ศ. 2007)
- ซาราโกซา สเปน (ตั้งแต่ ค.ศ. 2008)
- ซาเกร็บ โครเอเชีย (ตั้งแต่ ค.ศ. 2011)
- ติรานา แอลเบเนีย (ตั้งแต่ ค.ศ. 2016)
- ซาราเยโว บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา (ตั้งแต่ ค.ศ. 2017)
ภาคี
อ้างอิง
- ↑ "Census of Population, Households and Dwellings 2002, Book XIII:Total population, households and dwellings, According to the territorial organization of The Republic of Macedonia, 2004, 2002" (PDF). State Statistical Office of the Republic of Macedonia. สืบค้นเมื่อ 14 October 2012.
- ↑ "Skopjan dictionary definition | skopjan defined". www.yourdictionary.com.
- ↑ "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
- ↑ Syme, Ronald; Birley, Anthony (1 January 1999). The Provincial at Rome: And, Rome and the Balkans 80BC-AD14. University of Exeter Press. ISBN 9780859896320 – โดยทาง Google Books.
- ↑ Mócsy, András (1 January 1974). Pannonia and Upper Moesia: A History of the Middle Danube Provinces of the Roman Empire. Routledge & K. Paul. ISBN 9780710077141 – โดยทาง Google Books.
- ↑ Ramet 2006, p. 40.
- ↑ http://www.stat.gov.mk/Publikacii/2.4.16.10.pdf
- ↑ "Skopje Sister cities". starportal.skopje.gov.mk. Skopje. สืบค้นเมื่อ 2019-12-23.
- ↑ "Sister Cities of Ankara". ankara.bel.tr. Ankara. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-28. สืบค้นเมื่อ 2019-12-23.
- ↑ "Belgrade has five twin cities in the world". ekapija.com. Belgrade. 2018-06-18. สืบค้นเมื่อ 2020-01-06.
บรรณานุกรม
- Ramet, Sabrina P. (2006). The Three Yugoslavias: State-Building and Legitimation, 1918–2005. Indiana University Press. ISBN 9780253346568.
- Papazoglu, Fanula (1978). The Central Balkan Tribes in pre-Roman Times: Triballi, Autariatae, Dardanians, Scordisci and Moesians. Amsterdam: Hakkert. ISBN 9789025607937.
- Herold, Stephanie; Langer, Benjamin & Lechler, Julia (2010). Reading the city: Urban Space and Memory in Skopje. Universitätsverlag der Technischen Universität Berlin. ISBN 9783798321298.
หนังสืออ่านเพิ่มเติม
- Ilká Thiessen (2007). Waiting for Macedonia: Identity in a Changing World. University of Toronto Press. ISBN 9781551117195.
- Ivan Tomovski (1978). Skopje between the past and the future. Macedonian Review Editions.
- Jovan Šćekić (1963). This Was Skopje. Yugoslav Federal Secretariat for Information.
- M. Tokarev (2006). 100 години модерна архитектура. Pridonesot na Makedonija i Jugoslavija.
- Danilo Kocevski (2008). Чај од јужните мориња. Маgor. ISBN 9789989183447.
- D. Gjorgiev (1997). Скопје од турското освојување до крајот на XVIII vek. Institut za nacionalna istorija.
- L. Kumbaracı-Bogoyeviç (2008). Üsküp'te osmanlı mimarî eserleri. ENKA.
แหล่งข้อมูลอื่น
- Discover Skopje
- City of Skopje Official Portal
- Skopje at night, picture gallery.
- Skopje | Between Byzantine and Ottomans เก็บถาวร 2019-07-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน