หนุมานพบ 7 ยอดมนุษย์
หนุมานพบ 7 ยอดมนุษย์ | |
---|---|
![]() | |
กำกับ | พีรศิษฏ์ โชเฮอิ โทโจ |
เขียนบท | ป.พิมล บุงโค วากาสุกิ |
อำนวยการสร้าง | สมโพธิ แสงเดือนฉาย |
นักแสดงนำ | ยอดชาย เมฆสุวรรณ ภาวนา ชนะจิต สีเผือก ศรีสุริยา พันธ์ ไชโย |
กำกับภาพ | มา จินดา (โทชิยูกิ มาจิดะ) |
ผู้จัดจำหน่าย | ไชโยภาพยนตร์ สึบุรายะโปรดักชั่น |
วันฉาย | ![]() ![]() |
ประเทศ | ![]() ![]() |
ภาษา | ไทย |
ทุนสร้าง | 120,000 ดอลลาร์สหรัฐ |
ก่อนหน้านี้ | ยักษ์วัดแจ้งพบจัมโบ้เอ (2517) |
ต่อจากนี้ | หนุมานพบ 5 ไอ้มดแดง (2518) |
ข้อมูลจาก IMDb | |
ข้อมูลจากฐานข้อมูลภาพยนตร์ไทย |
หนุมานพบ 7 ยอดมนุษย์ เป็นภาพยนตร์ไทยที่มีการร่วมมือระหว่างไชโยภาพยนตร์ ของไทย โดยสมโพธิ แสงเดือนฉาย และสึบูรายะพรอดักชันส์ ของญี่ปุ่น เข้าฉายในประเทศไทยเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 และได้กลับนำถูกฉายใหม่อีกครั้งเมื่อปี พ.ศ. 2544 โดยได้ปรับปรุงส่วนเสียงพากย์และดนตรีประกอบเข้ามาใหม่
ในประเทศญี่ปุ่นก็ได้ถูกฉายในชื่อว่า 6 พี่น้องอุลตร้า VS กองทัพสัตว์ประหลาด (ญี่ปุ่น: ウルトラ6兄弟VS怪獣軍団; โรมาจิ: Urutora Roku Kyōdai tai Kaijū Gundan) เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1979 (พ.ศ. 2522)
ภาพรวม
การสร้าง
หนุมานพบ 7 ยอดมนุษย์ เกิดขึ้นจากการที่เอจิ สึบุระยะ ผู้ก่อตั้งบริษัทสึบุรายะโปรดักชั่น จำกัด ถึงแก่กรรมไป และได้ทิ้งหนี้สินไว้ให้แก่บริษัทเป็นจำนวน 500,000 ดอลลาร์สหรัฐ โดยผู้บริหารและประธานของสึบุรายะโปรดักชันในขณะนั้นคือ โนโบรุ สึบุรายะ บุตรชายของเอย์จิ ได้เดินทางมาประเทศไทยเพื่อขอพบกับสมโพธิ ซึ่งเคยร่วมงานกันมาก่อน เพื่อขอความช่วยเหลือ ในตอนแรกสมโพธิเสนอที่จะให้เงินช่วยเหลือ แต่ทางโนโบรุได้ปฏิเสธ ก่อนที่จะตกลงสร้างภาพยนตร์ชุดนี้ด้วยกัน ทั้งหมด 2 เรื่อง โดยเรื่องก่อนหน้านั้น คือ ยักษ์วัดแจ้งพบจัมโบ้เอ ในปีเดียวกัน แต่เข้าฉายในช่วงต้นปี[1]
การตอบรับ
ภาพยนตร์เข้าฉายในประเทศไทย รับช่วงปิดเทอมปลายปี ได้รับความนิยมอย่างมากทำรายได้เพียง 7 วัน 1 ล้านบาท โดยเข้าฉายที่โรงภาพยนตร์เฉลิมกรุงเพียงที่เดียว เฉพาะ 2 วันแรก ก็ทำรายได้กว่า 3 แสนบาทแล้ว โดยมีหุ่นจำลองขนาดใหญ่ของหนุมานตั้งแสดงอยู่หน้าโรง[1]
ในต่างประเทศ รัน รัน ชอว์ ประธานบริษัทชอว์บราเดอร์ส แห่งฮ่องกง ได้เดินทางมายังประเทศไทยด้วยตนเอง เพื่อติดต่อขอซื้อลิขสิทธิ์ไปฉายยังต่างประเทศ ด้วยราคา 120,000 ดอลลาร์สหรัฐ กับลิขสิทธิ์จัดจำหน่ายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเป็นเวลา 7 ปี โดยทำการลงนามเซ็นสัญญากันที่โรงแรมดุสิตธานี[1][2] เฉพาะในประเทศญี่ปุ่นทำรายได้ถึง 70 ล้านบาท[1]
แต่ขณะที่เข้าฉาย ก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์มาจาก รังสฤษดิ์ เชาวน์ศิริ ผู้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากรในขณะนั้น ว่าไม่เหมาะสม ที่จะนำหนุมานซึ่งเป็นตัวละครเอกในวรรณคดีไทย มาพบกับอุลตร้าแมน ซึ่งเป็นซูเปอร์ฮีโร่ในวัฒนธรรมร่วมสมัยของญี่ปุ่น แต่ทว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับรางวัลเชิดชูวัฒนธรรมของเอเชีย ในงานประกวดภาพยนตร์เอเชียที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย[3]
ต่อมา หนุมานพบ 7 ยอดมนุษย์ เป็นหนึ่งในภาพยนตร์ 25 เรื่อง ที่กระทรวงวัฒนธรรม เลือกให้เป็นมรดกของชาติ เนื่องในวันอนุรักษ์ภาพยนตร์ไทย ประจำปี 2555 [4]
อย่างไรก็ตามเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ได้มีคำพิพากษาว่าให้ภาพยนตร์เรื่องนี้และเรื่องอื่นๆ ที่ผลิตโดยไชโยภาพยนตร์ (ไชโยโปรดักชัน) ถูกตกเป็นของบริษัทสึบุรายะ โปรดักชันเพียงผู้เดียว[5]
เนื้อเรื่องย่อ
เป็นเรื่องราวของเด็กชายโก๊ะที่ถูกโจรที่ขโมยตัดเศียรพระยิงตาย จนเจ้าแม่อุลตร้าเห็นความดีของโก๊ะ จึงเรียกวิญญาณของหนุมานเพื่อให้เป็นร่างที่อาศัยอยู่ของหนุมาน ต่อมาในวันหนึ่ง การทดลองจรวดของดร.วิสุทธิ์ เกิดการผิดพลาดจนทำให้สัตว์ประหลาด 5 ตัวอาละวาดจนทำให้หนุมานสู้คนเดียวจนพ่ายแพ้ เหล่าพี่น้องอุลตร้าทั้งหกต้องไปช่วยจนชนะเหล่าสัตว์ประหลาดได้[6]
ตัวละคร
- โก๊ะ
- อนันต์
- ดร. วิสุทธิ์
- มาริษา
- ศรีเผือก, ศรีสุริยา
- 6 พี่น้องอุลตร้า (โซฟี่, อุลตร้าแมน, อุลตร้าเซเว่น, อุลตร้าแมนแจ็ค, อุลตร้าแมน เอซ, อุลตร้าแมนทาโร่)
- เจ้าแม่อุลตร้า
สัตว์ประหลาด
- โกโมร่า (古代怪獣ゴモラ)
- โดโรบอน (泥棒怪獣ドロボン)
- ไทแรนท์ (暴君怪獣タイラント)
- แอสโตรมอนส์ (宇宙大怪獣アストロモンス)
- ดัสท์แปง (妖怪怪獣ダストパン)
- มาจากสัตว์ประหลาดที่มาจากเรื่องมิลเลอร์แมน
เพลงประกอบ
- ขับร้องโดย ชาย เมืองสิงห์[7]
- "โบคุระ โนะ อุลตร้าแมน" (ญี่ปุ่น: ぼくらのウルトラマン; โรมาจิ: Bokura no Urutoraman) (เฉพาะในประเทศญี่ปุ่น)
- ร้องโดย ซาซากิ อิซาโอะ
หนุมานพบ 11 ยอดมนุษย์
หนุมานพบ 11 ยอดมนุษย์ เป็นภาพยนตร์ไทยที่ฉายในช่วงปี พ.ศ. 2527 เป็นการนำ หนุมานพบ 7 ยอดมนุษย์ มาฉายใหม่อีกครั้ง โดยเพิ่มฉากของภาพยนตร์ อุลตร้าแมน ZOFFY นักรบอุลตร้า VS กองทัพสัตว์ประหลาด มาตัดต่อใหม่เพิ่มเติม ซึ่งได้เพิ่มตัวละครที่ปรากฏในภาพยนตร์คือ เจ้าพ่ออุลตร้า, อุลตร้าแมนเลโอ, แอสตร้า, อุลตร้าแมนคิง, อุลตร้าแมน 80, ยูเลี่ยน[8]
นอกจากนี้ในประเทศอเมริกาได้ซื้อลิขสิทธิ์ในการฉายในประเทศตัวเองโดยใช้ชื่อว่า SPACE WARRIORS 2000 (The Year of the Monkey Wrench)
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 "ลายกนก ย้อนหลัง 08 พฤศจิกายน 2558 ตอน บันไดชีวิต สมโพธิ แสงเดือนฉาย". เนชั่นทีวี. 8 November 2015. สืบค้นเมื่อ 21 September 2016.
- ↑ "ลายกนก ย้อนหลัง 15 พฤศจิกายน 2558 ตอน บันไดชีวิต สมโพธิ แสงเดือนฉาย (2)". เนชั่นทีวี. 15 November 2015. สืบค้นเมื่อ 16 November 2015.
- ↑ "บทสัมภาษณ์คุณสมโพธิ แสงเดือนฉาย เมื่อวันที่ 9 พ.ย. 2550". โอเคเนชั่น. 3 June 2008. สืบค้นเมื่อ 15 December 2015.
- ↑ ซิเดอร์ บางนา. มายาประเทศ. เนชั่นสุดสัปดาห์. ปีที่ 21 ฉบับที่ 1063. วันที่ 12 ตุลาคม 2555. ISSN 15135705. หน้า 35
- ↑ หวั่นไทยเสียมรดกชาติ! บ.ไชโยฯ ร้อง 2 กระทรวงช่วย หลังแพ้คดีลิขสิทธิ์อุลตร้าแมน
- ↑ คำเตือนการอ้างอิง:
<ref>
tag with nameหนุมาน
cannot be previewed because it is defined outside the current section or not defined at all. - ↑ "(เพลงไตเติ้ล)หนุมาน พบ 7 ยอดมนุษย์ เสียงร้องคุณ ชาย เมือง สิงห์ ใช่ไหมครับ". thai-toku.com. 24 August 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 16 November 2015.
- ↑ "ไฟเขียว "หอภาพยนตร์" รับบริจาคหนัง "หนุมานพบ 11 ยอดมนุษย์" ปลอดภาษี". Isranews. 2012-12-14. สืบค้นเมื่อ 2020-10-01.