อำเภอสองแคว
อำเภอสองแคว | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Song Khwae |
"ถนนสาย 1148" พะเยา-น่าน
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1148 (ท่าวังผา-เชียงคำ) เชื่อม อ.ท่าวังผา จ.น่าน และ อ.เชียงคำ จ.พะเยา ได้ชื่อว่าเป็นเส้นทางที่มีความสวยงาม ระยะทาง 113 กิโลเมตร ตลอดเส้นทางคดเคี้ยวและขึ้นเขาสูงชันเป็นส่วนใหญ่ | |
คำขวัญ: ทิวทัศน์เลิศหรู ดูวัฒนธรรมหกเผ่า ศาลเจ้าหลวงแฉ่งศักดิ์สิทธิ์ แหล่งผลิตมะแข่นพันธุ์ดี มีจุดผ่อนปรนมหามิตรไทย-ลาว | |
แผนที่จังหวัดน่าน เน้นอำเภอสองแคว | |
พิกัด: 19°21′35″N 100°42′3″E / 19.35972°N 100.70083°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | น่าน |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 544.364 ตร.กม. (210.180 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 12,466 คน |
• ความหนาแน่น | 22.90 คน/ตร.กม. (59.3 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 55160 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 5513 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอสองแคว ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1148 ตำบลนาไร่หลวง อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน 55160 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
สองแคว (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดน่าน
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอสองแควมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับแขวงไชยบุรี (ประเทศลาว)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอทุ่งช้างและอำเภอเชียงกลาง
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอท่าวังผา และอำเภอปง (จังหวัดพะเยา)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอปงและอำเภอเชียงคำ (จังหวัดพะเยา)
ประวัติ
ท้องที่อำเภอสองแควเดิมนั้นเป็นส่วนหนึ่งของตำบลนาไร่หลวง ของอำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน[1] และตำบลยอด ของอำเภอปง จังหวัดเชียงราย (ปัจจุบันเป็นจังหวัดพะเยา) ต่อมาพื้นที่ตำบลนาไร่หลวงได้ย้ายขึ้นกับกิ่งอำเภอเชียงกลางในปี พ.ศ. 2511[2] และอำเภอเชียงกลางในปี พ.ศ. 2514[3] ในวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2515 ได้มีการเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดเชียงรายกับจังหวัดน่าน โดยโอนท้องที่ตำบลยอด อำเภอปง จังหวัดเชียงราย มาขึ้นกับอำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน[4] เข้ามาสมทบในพื้นที่ และในวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2521 มีประกาศกระทรวงมหาดไทยให้แยกหมู่ 1, 3–5, 7–8, 12 และหมู่ 15 (ในขณะนั้น) ของตำบลนาไร่หลวง รวมตั้งเป็นตำบลชนแดน[5]
เมื่อปี พ.ศ. 2534 ราษฎรในพื้นที่ได้ยื่นเรื่องราวต่อราชการ ร่วมกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน รวม 3 ตำบล ได้พิจารณาว่าสภาพทางภูมิศาสตร์ ลักษณะความเป็นอยู่ การประกอบอาชีพ แนวโน้มมีความเจริญในอนาคต และความเห็นชอบของคณะกรรมการหมู่บ้าน สภาตำบล หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ จังหวัด สภาจังหวัด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และกระทรวงมหาดไทย ต่อมาเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2535 จีงได้ประกาศเขตท้องที่อำเภอเชียงกลางแยกตำบลนาไร่หลวง ตำบลชนแดน และตำบลยอด ออกจากอำเภอเชียงกลางและรวมจัดตั้งเป็น กิ่งอำเภอสองแคว[6] โดยใช้ชื่อ กิ่งอำเภอสองแคว ตั้งอยู่ที่บ้านสองแคว หมู่ที่ 5 ตำบลนาไร่หลวง ซึ่งคำว่า “สองแคว” มีความหมายว่า ลำน้ำสองสายไหลมาบรรจบกัน คือ ลำน้ำยาวและลำน้ำยอด และเมื่อถึงวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2540 จึงได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นให้เป็น อำเภอสองแคว จนถึงปัจจุบัน[7]
การแบ่งเขตการปกครอง
การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอสองแควแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 3 ตำบล 25 หมู่บ้าน ได้แก่
ที่ | ชื่อตำบล | ตัวเมือง | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[8] |
---|---|---|---|---|---|
1. | นาไร่หลวง | Na Rai Luang | 10 | 6,296 | |
2. | ชนแดน | Chon Daen | 9 | 3,321 | |
3. | ยอด | Yot | 6 | 2,783 |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอสองแควประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลยอด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลยอดทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนาไร่หลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาไร่หลวงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลชนแดน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชนแดนทั้งตำบล
สถานที่ท่องเที่ยว
- อุทยานแห่งชาติถ้ำสะเกิน
- จุดผ่อนปรนไทย-ลาว บ้านใหม่ชายแดน
- ดอยภูโว
- น้ำตกห้วยหาด
- น้ำตกผาธาร
- น้ำตกตาดแฉ่ง
- น้ำตกตาดทอง
- น้ำตกน้ำกอม
- น้ำตกน้ำเสน
- น้ำตกห้วยตาด
- น้ำตกน้ำพัน
- ถ้ำเวียงแก
- ถ้ำผาหลัก
- สำนักสงฆ์ถ้ำผาหลัก
- น้ำตกหงษ์เวียงจันทร์
อ้างอิง
- ↑ "ประกาศกระทรวงธรรมการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ เพิ่มเติมในท้องที่มณฑลพายัพและมณฑลราชบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 45 (0 ก): 346. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2471
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 85 (54 ง): 1755. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-24. สืบค้นเมื่อ 2022-06-12. วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2511
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอปลาปาก อำเภอเชียงกลาง อำเภอปากชม อำเภอบ้านม่วง อำเภอพังโคน อำเภอดอนสัก อำเภอพนม อำเภอเวียงสระ อำเภอสังคม และอำเภอหัวตะพาน พ.ศ. ๒๕๑๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 88 (123 ก): 745–748. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-24. สืบค้นเมื่อ 2022-06-12. วันที่ 16 พฤศิกายน พ.ศ. 2514
- ↑ "ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๑๓๗" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (70 ก): (ฉบับพิเศษ) 8-9. วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2515
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 95 (62 ง): 1725–1727. วันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2521
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน ตั้งเป็นกิ่งอำเภอสองแคว" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (53 ง ฉบับพิเศษ): 8. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-24. สืบค้นเมื่อ 2007-10-17. วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2535
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอหนองปรือ อำเภอห้วยกระเจา อำเภอทรายทองวัฒนา อำเภอปางศิลาทอง อำเภอเนินสง่า อำเภอนาทม อำเภอพระพรหม อำเภอแม่วงก์ อำเภอสองแคว อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ อำเภอไทยเจริญ อำเภอกาบัง อำเภอพยุห์ อำเภอเมืองจันทร์ อำเภอภูพาน อำเภอคลองหอยโข่ง อำเภอเขาฉกรรจ์ อำเภอนาวัง อำเภอพิบูลย์รักษ์ และอำเภอทุ่งศรีอุดม พ.ศ. ๒๕๔๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (50 ก): 24–27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-27. สืบค้นเมื่อ 2007-10-17. วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2540
- ↑ "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.