อำเภอสันติสุข

อำเภอสันติสุข
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Santi Suk
ป่าแลวหลวง
ป่าแลวหลวง
คำขวัญ: 
ประวัติศาสตร์วัวโพง สรงน้ำพระธาตุ
อภิวาทพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ยึดติดวัฒนธรรมล้านนา
แผนที่จังหวัดน่าน เน้นอำเภอสันติสุข
แผนที่จังหวัดน่าน เน้นอำเภอสันติสุข
พิกัด: 18°54′48″N 100°56′29″E / 18.91333°N 100.94139°E / 18.91333; 100.94139
ประเทศ ไทย
จังหวัดน่าน
พื้นที่
 • ทั้งหมด416.837 ตร.กม. (160.942 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด15,595 คน
 • ความหนาแน่น37.41 คน/ตร.กม. (96.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 55210
รหัสภูมิศาสตร์5511
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอสันติสุข หมู่ที่ 4 ตำบลดู่พงษ์ อำเภอสันติสุข จังหวัดน่าน 55000
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

สันติสุข (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดน่าน

ภูเขาในเขตตำบลดู่พงษ์

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอสันติสุขมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้

พื้นที่ภูเขาในเขตตำบลป่าแลวหลวง

ประวัติ

ท้องที่อำเภอสันติสุขรู้จักกันในชื่อเดิมว่า "เมืองพงษ์" เดิมชื่อเมืองพงษ์ สมัยนั้นมีเชื้อสายเผ่าพันธุ์ได้อพยพมาจากเมืองหลวงพระบางประเทศลาว มาตั้งฐานบ้านเรือนอยู่พื้นที่แห่งสุดท้ายได้แก่บ้านดู่พงษ์-บ้านดอนพงษ์ เมื่ออยู่มานานหลาบปีหลายสมัย ปัญหาเหตุการณ์ที่มักเกิดขึ้นในหมู่บ้าน เช่นปีศาจออกอาละวาดทำให้ชาวบ้านเจ็บไข้ได้ป่วยสงบลงไป วัวป่าตัวดุร้ายกลายเป็นวัวโพง มาอาละวาดกินสัตว์กินคน วัวตัวดังกล่าวก็ตายสงบไป เสือโคร่งตัวหนึ่งดุร้ายออกอาละวาดกินคน เสือตัวดังกล่าวก็ตายสงบไป เมื่อเหตุการณ์ทุกอย่างสงบไปหมดแล้ว ชาวบ้านบางครอบครัวก็แยกย้ายออกจากบ้านดู่พงษ์ไปทำไร่ข้าวอยู่เป็นประจำที่ห้วยกิ่งม่วง ห้วยเก๊าตู้ม ห้วยแฮ้ว ห้วยผึ้ง บางครอบครัวก็แยกย้ายไปอยู่ที่บ้านน้ำโซ้ง พวงพอยม บ้านโป่งคำ ต้นผึ้ง เพราะฉะนั้นจึงมีสำเนียงพูดภาษาลาว เหมือนชาวบ้านดู่พงษ์-ดอนพงษ์ คำว่า ดู่ ได้ชื่อมาจากต้นประดู่ใหญ่อยู่ตรงกลางพื้นที่ที่จะตั้งหมู่บ้านดู่พงษ์ ก่อนจะตั้งเป็นหมู่บ้านชาวบ้านได้ชวยกันตัดโค่นล้มต้นประดู่ใหญ่ดังกล่าวสร้างศาลเจ้าขึ้น 1 หลัง สร้างตรงโคนตอไม้ประดู่ใหญ่ให้ตอไม้ประดู่อยู่ด้านล่างใต้ถุนศาลเจ้านั้น เป็นศาลเจ้าหลวงพ่อฟ้า มาจนปัจจุบัน (ศาลเจ้าพ่อฟ้า) ตั้งอยู่หมู่ 2 ตำบลดู่พงษ์ คำว่าพงษ์ ได้ชื่อมาจากวัวป่าตัวดุร้ายกลายเป็นวัวโพง ที่มาจากป่าเขตเมืองอุตรดิตถ์ มาถึงเมืองแล้วมาตายที่เมือง ชาวบ้านสมัยนั้นตั้งชื่อเมืองของเราว่า เมืองโพง ต่อมาเปลี่ยนคำว่าโพง เป็นพงษ์ เพราะฉะนั้นเมืองนี้ก็มีชื่อว่าเมืองพงษ์ หมู่บ้านดู่ก็มีชื่อว่า บ้านดู่พงษ์ ตำบลก็มีชื่อว่าตำบลดู่พงษ์ เป็นตำบลเก่าแก่ของอำเภอเมืองน่าน[1] ในปี พ.ศ. 2483 ได้ยุบตำบลพงษ์รวมกับท้องที่ตำบลดู่พงษ์ ก่อนที่ต่อมาในวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490 ได้แยกพื้นที่หมู่ 7–10 (ในขณะนั้น) ออกมาจากการปกครองของตำบลดู่พงษ์ ตั้งขึ้นเป็นตำบลพงษ์[2] อีกครั้ง ขึ้นอำเภอเมืองน่าน

ในปี พ.ศ. 2520 ราษฎรในพื้นที่ได้ยื่นเรื่องราวต่อราชการ ขอให้ตั้งกิ่งอำเภอขึ้นที่ตำบลดู่พงษ์ โดยกระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาเห็นว่าเป็นตำบลที่อยู่ไกลท้องที่ทุรกันดาร และห่างไกลจากตัวอำเภอ เจ้าหน้าที่มีโอกาสตรวจเยี่ยมเยือนดูแลทุกข์สุขของราษฎรน้อยมาก เพราะทางคมนาคมไม่สะดวก ซึ่งอาจเป็นการเสียหายในด้านการปกครอง ประกอบกับหมู่บ้านดังกล่าวมีโอกาสที่จะเจริญในอนาคต เพราะราษฎรอาศัยอยู่กันหนาแน่นมาก และมีพื้นที่ทำมาหากินได้ โดยเฉพาะมีทรัพยากรทางธรรมชาติ พอที่จะยกระดับการครองชีพของราษฎรในตำบลดังกล่าวนี้ให้ดียิ่งขึ้น จึงแนะนำประชุมชี้แจงร่วมกับทางอำเภอเมืองน่าน รายงานต่อกระทรวงมหาดไทย ขอจัดตั้งที่ว่าการกิ่งอำเภอขึ้น ซึ่งต่อมาได้ตั้งตำบลป่าแลวหลวงขึ้นในวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2521 โดยแยกหมู่ 4–6, 8, 10 และหมู่ 12 (ในขณะนั้น) ออกมาจากการปกครองของตำบลดู่พงษ์[3] เพื่อเตรียมจัดตั้งกิ่งอำเภอ และเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2524 จึงประกาศให้แยกท้องที่ตำบลป่าแลวหลวง และตำบลดู่พงษ์ ของอำเภอเมืองน่าน ออกมาตั้งเป็น กิ่งอำเภอสันติสุข[4][5] โดยให้มีผลภายในวันที่ 4 สิงหาคม ปีเดียวกัน

ขณะจัดตั้งกิ่งอำเภอได้เพียง1 ปี เขตตำบลพงษ์ ของอำเภอแม่จริมได้แจ้งแก่ทางราชการว่าประชาชนตำบลพงษ์ ไปติดต่อราชการกับกิ่งอำเภอสันติสุข อำเภอเมืองน่าน สะดวกกว่าไปติดต่อกับอำเภอแม่จริม แต่ยังมีพื้นที่ 2 หมู่บ้านที่ยังสะดวกในการติดต่อราชการกับอำเภอแม่จริม ในวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2525 จึงแยกพื้นที่ 2 หมู่บ้านของตำบลพงษ์ ได้แก่ หมู่ 4 บ้านตอง และหมู่ 9 บ้านนาหมัน (ในขณะนั้น) รวมกับพื้นที่อีก 3 หมู่บ้านในเขตตำบลหนองแดง ตั้งขึ้นเป็นตำบลแม่จริม[6] เพื่อให้ 2 หมู่บ้านนั้นได้ขึ้นอำเภอสังกัดเดิม ปีถัดมาในวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2526 ทางราชการจึงได้โอนท้องที่ตำบลพงษ์ (ส่วนที่เหลือจากการแยกตำบลแม่จริม) ของอำเภอแม่จริม เข้ามาสมทบในการปกครองของทางกิ่งอำเภอ[7] โดยให้มีผลภายในวันที่ 21 เมษายน ปีเดียวกัน และเมื่อถึงวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 จึงยกฐานะขึ้นเป็น อำเภอสันติสุข[8] จนถึงปัจจุบัน

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอสันติสุขแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 3 ตำบล 31 หมู่บ้าน ได้แก่

ที่ ชื่อตำบล ตัวเมือง อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร

(ธันวาคม 2565)[9]

1. ดู่พงษ์ Du Phong 8 4,994
2. ป่าแลวหลวง Pa Laeo Luang 10 4,308
3. พงษ์ Phong 13 6,344

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอสันติสุขประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3 แห่ง ได้แก่

  • องค์การบริหารส่วนตำบลดู่พงษ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดู่พงษ์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลป่าแลวหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่าแลวหลวงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลพงษ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพงษ์ทั้งตำบล

อ้างอิง

  1. "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๔๖๔ ในท้องที่มณฑลมหาราษฎร์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 39 (0 ก): 336–341. วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2022-06-10. วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองน่านและอำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน" (PDF). ราชกิจจาบุเบกษา. 95 (83 ง): 2622–2625. วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2521
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ตั้งเป็นกิ่งอำเภอสันติสุข" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 98 (125 ง): 2579. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-27. สืบค้นเมื่อ 2012-05-04. วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2524
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ตั้งเป็นกิ่งอำเภอสันติสุข" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 98 (130 ง): 2703. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-27. สืบค้นเมื่อ 2012-05-04. วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2524
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอปัว อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 99 (60 ง): 1317–1328. วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2525
  7. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอแม่จริม กับกิ่งอำเภอสันติสุข อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน พ.ศ. ๒๕๒๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (63 ก): (ฉบับพิเศษ) 1-2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-27. สืบค้นเมื่อ 2019-07-16. วันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2526
  8. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเปือยน้อย อำเภอภูผาม่าน อำเภอราชสาส์น อำเภอเกาะสีชัง อำเภอไชยปราการ อำเภอนาหมื่น อำเภอสันติสุข อำเภอพลับพลาชัย อำเภอทุ่งยางแดง อำเภอไม้แก่น อำเภอศรีสมเด็จ อำเภอน้ำเกลี้ยง อำเภอบึงบูรพ์ อำเภอเจริญศิลป์ อำเภอนิคมน้ำอูน อำเภอกระแสสินธุ์ อำเภอนาหม่อม อำเภอท่าแพ อำเภอชัยบุรี และอำเภอศรีวิไล พ.ศ. ๒๕๓๗" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 111 (21 ก): 32–34. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2007-10-17. วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2537
  9. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.