ฮิซบุลลอฮ์

ฮิซบุลลอฮ์
حزب الله
Ḥizbu 'llāh
เลขาธิการนะอิม เกาะศีม[1]
ก่อตั้ง1985; 40 ปีที่แล้ว (1985) (ทางการ)
ที่ทำการเบรุต, เลบานอน
อุดมการณ์
  • ชาตินิยมศาสนาอิสลาม[2]
  • ต่อต้านไซออนิสต์
  • ต่อต้านจักรวรรดิตะวันตก[3]
  • ชีอะฮ์ญีฮัด[4]
  • โคมัยนีนิยม[4]
  • ต่อต้านตะวันตก[5][6]
  • ต่อต้านยิว[7]
ศาสนาชีอะฮ์
กลุ่มระดับชาติพันธมิตร 8 มีนาคม
กลุ่มระดับสากลอักษะแห่งการต่อต้าน
สี
  • เหลือง
  • เขียว
รัฐสภาเลบานอน
12 / 128
คณะรัฐมนตรีเลบานอน
2 / 30
เว็บไซต์
www.moqawama.org (ถูกยึดโดเมนโดยกระทรวงยุติธรรมสหรัฐ)
การเมืองเลบานอน
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

ฮิซบุลลอฮ์ (อังกฤษ: Hezbollah; อาหรับ: حزب الله "พรรคแห่งอัลลอฮ์") สื่อเมืองไทยสะกด ฮิซบอลเลาะห์ หรือ ฮิซบอลลาห์ เป็นองค์กรและพรรคการเมืองของชาวมุสลิมชีอะฮ์ในเลบานอน ซึ่งมีกองทัพของตนเอง ก่อตั้งใน ค.ศ. 1982 อันเป็นปีที่อิสราเอลบุกรุกเลบานอน โดยมีจุดประสงค์เพื่อขับไล่กองกำลังป้องกันอิสราเอลที่ยึดครองเลบานอน จนสามารถต่อสู้และขับไล่ทัพอิสราเอลออกจากเลบานอนได้ใน ค.ศ. 2000 ฮะซัน นัศรุลลอฮ์ดำรงตำแหน่งเลขาธิการใหญ่ของพรรคฮิซบุลลอฮ์ตั้งแต่ ค.ศ. 1992 จนกระทั่งถูกลอบสังหารใน ค.ศ. 2024[8]

ประวัติ

การก่อตั้งฮิซบุลลอฮ์ได้รับแรงบันดาลใจจากความสำเร็จในการปฏิวัติอิสลามของ อะยะตุลลอหฺ โคไมนี ผู้นำอิหร่านในสมัยนั้น โดยวัตถุประสงค์ในการก่อตั้งก็เพื่อปกป้องอนาธิปไตยของมุสลิม และปกป้องมาตุภูมิเลบานอนให้พ้นจากการรุกรานของชาวอิสราเอล ฮิซบุลลอฮ์ก่อตั้งโดยกลุ่มอุละมาอ์ในพรรคอัลอะมัล ที่ได้แยกตัวออกมาตั้งพรรคการเมืองต่างหาก พรรคอะมัลเป็นการเมืองของมุสลิมชีอะฮ์ ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลซีเรีย เมื่อพรรคฮิซบุลลอฮ์มีสมาชิกและฐานเสียงมากขึ้น ซีเรียก็ให้การสนับสนุนเทียบเท่ากับพรรคอัลอะมัล

ในช่วงแรกของการก่อตั้ง ฮิซบุลลอฮ์เป็นเพียงขบวนการใต้ดิน จนกระทั่งใน ค.ศ. 1985 จึงมีการประกาศสถานภาพของกลุ่มอย่างเป็นทางการต่อสาธารณชน เนื่องจากพรรคฮิซบุลลอฮ์เน้นนโยบายอิสลามที่สนับสนุนความปรองดองระหว่างชาวเลบานอน เคารพสิทธิเสรีภาพของทุกศาสนาและลัทธิ และต่อสู้การรุกรานของอิสราเอล ฮิซบุลลอฮ์จึงเป็นที่ยอมรับของชาวเลบานอน

ผู้ทีที่มีอิทธิพลต่ออุดมการณ์ของฮิซบุลลอฮ์คือ อายะตุลลอหฺ มุฮัมมัด ฮุเซน ฟัฎลุลลอหฺ แต่ไม่ปรากฏว่าผู้ใดเป็นผู้นำ จนกระทั่งได้เริ่มมีการเลือกตั้งผู้นำในเวลาต่อมา เลขาธิการใหญ่ของพรรคคนแรก คือ เชค ศุบฮีย์ อัฏตุฟัยลีย์ (1989–1991) และ ซัยยิด อับบาส อัลมูสะวีย์ (1991–1992) ที่ถูกอิสราเอลลอบสังหาร

การสนับสนุน

สหรัฐอเมริกาและอิสราเอลระบุว่า กลุ่มฮิซบุลลอฮ์ได้รับความช่วยเหลือทางด้านการเงินและการเมือง รวมทั้งด้านอาวุธและการฝึกฝนจากอิหร่านและซีเรีย ซึ่งทางซีเรียเองก็ยอมรับว่าให้การสนับสนุนฮิซบุลลอฮ์จริงแต่ปฏิเสธเรื่องการส่งอาวุธให้

พรรคฮิซบุลลอฮ์ได้รับการสนับสนุนจากชาวมุสลิมในเลบานอนเป็นอย่างดี ในเวลาปัจจุบันมีเก้าอี้ในรัฐสภาเลบานอน 23 ที่นั่ง จากทั้งหมด 128 ที่นั่ง ฮิซบุลลอฮ์มีนโยบายสาธารณะหลัก ๆ คือการสร้างโรงพยาบาล สร้างสถานศึกษา และให้บริการด้านสังคมอื่น ๆ

ปฏิบัติการ

ฮิซบุลลอฮ์ถูกรัฐบาลสหรัฐอเมริกาและรัฐบาลอิสราเอล ขึ้นบัญชีดำว่าเป็นกลุ่มก่อการร้ายไม่ต่างจากกลุ่มฮามาสของปาเลสไตน์ แม้ว่าฮิซบุลลอฮ์จะมีสถานะอันชอบธรรมถึงขั้นสามารถส่งตัวแทนลงเลือกตั้ง และเข้าร่วมรัฐบาลเลบานอนได้ก็ตาม โดยรัฐบาลสหรัฐอเมริกาเชื่อว่า กลุ่มฮิซบุลลอฮ์เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการจับตัวประกันชาวอเมริกันหลายต่อหลายครั้ง แม้ว่าจะไม่สามารถหาหลักฐานมายืนยันได้ก็ตาม เช่นเดียวกับรัฐบาลอิสราเอลที่เป็นไม้เบื่อไม้เมากับกลุ่มกองกำลังดังกล่าวตลอดเวลา

ผลงานชิ้นสำคัญอย่างหนึ่งของกลุ่มฮิซบุลลอฮ์คือ การขับไล่อิสราเอลออกจากพื้นที่ทางตอนใต้ของเลบานอน เดือนพฤษภาคม ปี ค.ศ. 2000 ซึ่งอิสราเอลยึดครองมาตั้งแต่การรุกรานครั้งที่ 2 ใน ค.ศ. 1982 และทางสหประชาชาติก็ได้ประกาศให้พื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็นของเลบานอน

ความบาดหมางระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮิซบุลลอฮ์ยังไม่สิ้นสุด เพราะพรรคฮิซบุลลอฮ์ยังต่อสู้เพื่อให้อิสราเอลถอนทัพออกจาก 'ชีบาฟามส์' ซึ่งชาวเลบานอนได้เคยยื่นหลักฐานต่อสหประชาชาติว่าเป็นส่วนหนึ่งของเลบานอน ด้วยเหตุนี้ การประทะกันระหว่างกลุ่มฮิซบุลลอฮ์กับกองทัพอิสราเอลจึงเกิดขึ้นเป็นระยะ ๆ

ใน ค.ศ. 2004 กลุ่มฮิซบุลลอฮ์ได้แลกเปลี่ยนนักโทษกับอิสราเอลหลังผ่านพ้นการเจรจาอันยาวนานถึง 3 ปี โดยอิสราเอลได้ปล่อยตัวนักโทษมากกว่า 400 คน และคืนศพของนักรบเลบานอน 59 ศพ เพื่อแลกกับนักธุรกิจชาวอิสราเอลที่ถูกลักพาตัวไป 1 คน และศพของทหารอิสราเอลอีก 3 ศพ ล่าสุด ชนวนเหตุที่ทำให้สถานการณ์ของทั้ง 2 ฝ่ายเริ่มร้อนระอุขึ้นอีกครั้งก็คือ การที่กลุ่มฮิซบุลลอฮ์ได้จับตัวทหารอิสราเอล 2 คน และสังหารทหารยิวอีก 8 คน เมื่อวันพุธที่ 12 ก.ค. 2006 หลังจากที่อิสราเอลได้จับกุมคณะรัฐมนตรีของปาเลสไตน์ ทำให้อิสราเอลถือเป็นข้ออ้างในการโจมตีเลบานอนเพื่อเป็นการตอบโต้ทันที แม้ว่าตามความเป็นจริงแล้วอิสราเอลได้เตรียมตัวโจมตีก่อนหน้านั้นก็ตาม [ต้องการอ้างอิง] อิสราเอลได้ยกสามเหล่าทัพโจมตีเลบานอน เริ่มต้นด้วยการโจมตีท่าอากาศยานเบรุต และสถานีโทรทัศน์อัลมะนารของฮิซบุลลอฮ์

ปัจจุบันนี้กองทัพของฮิซบุลลอฮ์มีศักยภาพเหนือกว่ากองทัพของประเทศเลบานอน[9][10]

อ้างอิง

  • ได้รับอนุมัติจากสยามิคดอตคอม

ตัวอย่างการอ้างอิง

  1. "Hezbollah elects Naim Qassem as head to succeed Nasrallah". Reuters. October 29, 2024. สืบค้นเมื่อ October 29, 2024.
  2. Ekaterina Stepanova, Terrorism in Asymmetrical Conflict: Ideological and Structural Aspects เก็บถาวร 10 มีนาคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Stockholm International Peace Research Institute, Oxford University Press 2008, p. 113
  3. Elie Alagha, Joseph (2011). Hizbullah's Documents: From the 1985 Open Letter to the 2009 Manifesto. Amsterdam University Press. pp. 15, 20. ISBN 90-8555-037-8.
    Shehata, Samer (2012). Islamist Politics in the Middle East: Movements and Change. Routledge. p. 176. ISBN 0-415-78361-5.
    Husseinia, Rola El (2010). "Hezbollah and the Axis of Refusal: Hamas, Iran and Syria". Third World Quarterly. 31 (5). doi:10.1080/01436597.2010.502695.
  4. 4.0 4.1 Philip Smyth (February 2015). The Shiite Jihad in Syria and Its Regional Effects (PDF) (Report). The Washington Institute for Near East Studies. pp. 7–8. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-04-02. สืบค้นเมื่อ 13 March 2015.
  5. Levitt, Matthew (2013). Hezbollah: The Global Footprint of Lebanon's Party of God. p. 356. Hezbollah's anti-Western militancy began with attacks against Western targets in Lebanon, then expanded to attacks abroad intended to exact revenge for actions threatening its or Iran's interests, or to press foreign governments to release captured operatives.
    An International History of Terrorism: Western and Non-Western Experiences. p. 267. Based upon these beliefs, Hezbollah became vehemently anti-West and anti-Israel.
    Criminology: Theories, Patterns & Typology. p. 396. Hezbollah is anti-West and anti-Israel and has engaged in a series of terrorist actions including kidnappings, car bombings, and airline hijackings.
  6. Levitt, Matthew (2013). Hezbollah: The Global Footprint of Lebanon's Party of God. Hurst Publishers. p. 356. ISBN 978-1-84904-333-5. Hezbollah's anti-Western militancy began with attacks against Western targets in Lebanon, then expanded to attacks abroad intended to exact revenge for actions threatening its or Iran's interests, or to press foreign governments to release captured operatives.
  7. Julius, Anthony. "Trials of the Diaspora: A History of Anti-Semitism in England." Google Books. 1 May 2015.
    Michael, Robert and Philip Rosen. "Dictionary of Antisemitism from the Earliest Times to the Present." Google Books. 1 May 2015.
    Perry, Mark. "Talking to Terrorists: Why America Must Engage with Its Enemies." Google Books. 1 May 2015
    "Analysis: Hezbollah's lethal anti-Semitism". The Jerusalem Post – JPost.com.
  8. "Hezbollah leader Hassan Nasrallah killed in Israeli strike". CNN. September 29, 2024. สืบค้นเมื่อ October 1, 2024.
  9. Barnard, Anne (20 May 2013). "Hezbollah's Role in Syria War Shakes the Lebanese". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 20 June 2013. Hezbollah, stronger than the Lebanese Army, has the power to drag the country into war without a government decision, as in 2006, when it set off the war by capturing two Israeli soldiers
  10. Morris, Loveday (12 June 2013). "For Lebanon's Sunnis, growing rage at Hezbollah over role in Syria". The Washington Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 November 2013. สืบค้นเมื่อ 20 June 2013. ... Hezbollah, which has a fighting force generally considered more powerful than the Lebanese army.