เพียร์ซ บรอสแนน
เพียร์ซ เบรนดัน บรอสแนน โอบีอี (อังกฤษ: Pierce Brendan Brosnan OBE; /ˈbrɒsnən/; เกิดวันที่ 16 พฤษภาคม ค.ศ. 1953)[1] เป็นนักแสดง, ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์และนักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมชาวไอร์แลนด์ เขาเป็นที่รู้จักจากการแสดงเป็นสายลับ เจมส์ บอนด์ คนที่ห้า ในภาพยนตร์ชุดบอนด์ของอีออนโปรดักชันส์ โดยเขาแสดงในภาพยนตร์บอนด์ทั้งหมดสี่เรื่องระหว่างปี ค.ศ. 1995 ถึง 2002 (พยัคฆ์ร้าย 007 รหัสลับทลายโลก, 007 พยัคฆ์ร้ายไม่มีวันตาย, 007 พยัคฆ์ร้ายดับแผนครองโลก และ ดาย อนัทเธอร์ เดย์ 007 พยัคฆ์ร้ายท้ามรณะ) และแสดงเป็นตัวละครในวิดีโอเกมหลายเกม
หลังจากบรอสแนนลาออกจากโรงเรียนเมื่อตอนอายุ 16 ปี เขาเริ่มฝึกวาดภาพประกอบเชิงพาณิชย์และเข้าเรียนที่ ดรามาเซนเตอร์ ใน ลอนดอน เป็นเวลาสามปี หลังเขาเริ่มต้นอาชีพด้วยการแสดงบนเวที เขาเริ่มได้รับความนิยมจากละครชุดทางโทรทัศน์เรื่อง เรมิงตันสตีล (1982–1987) หลังละครชุดจบลง บรอสแนนเริ่มแสดงในภาพยนตร์ เช่น ภาพยนตร์แนวสายลับสมัยสงครามเย็นเรื่อง พยัคฆ์จารชนโค่นแผนพยัคฆ์ร้าย (1987) และ ภาพยนตร์แนวตลกเรื่อง คุณนายเด๊าท์ไฟร์ พี่เลี้ยงหัวใจหนุงหนิง (1993) หลังจากประสบความสำเร็จในบทบาท เจมส์ บอนด์ ที่โด่งดังไปทั่วโลก บรอสแนนก็ได้แสดงนำในภาพยนตร์ใหญ่ ๆ เรื่องอื่น เช่น ภาพยนตร์แนวมหากาพย์ผจญภัยและหายนะเรื่อง ธรณีไฟนรกถล่มโลก (1997) และ ภาพยนตร์แนวโจรกรรมเรื่อง เกมรักหักเหลี่ยมจารกรรม (1999) หลังจากบรอสแนนเลิกรับบทบอนด์ เขาได้แสดงในภาพยนตร์เรื่องอื่น ๆ เช่น ภาพยนตร์แนวมิวสิกคัลและตลกเรื่อง มัมมา มีอา! วิวาห์วุ่น ลุ้นหาพ่อ (2008), ภาพยนตร์แนวระทึกขวัญการเมืองเรื่อง พลิกปริศนา สภาซ่อนเงื่อน (2010), ภาพยนตร์แนวแอกชันแฟนตาซีเรื่อง เพอร์ซีย์ แจ็กสัน กับสายฟ้าที่หายไป (2010), ภาพยนตร์แนวแอกชันสายลับระทึกขวัญเรื่อง พลิกเกมส์ฆ่า ล่าพยัคฆ์ร้าย (2014) และ มามา มียา! 2 (2018)
บรอสแนนได้รับการเสนอชื่อในรางวัลลูกโลกทองคำสองครั้ง ครั้งแรกจากมินิซีรีส์เรื่อง แนนซี แอสเตอร์ (1982) และครั้งที่สองจากภาพยนตร์แนวตลกร้ายเรื่อง พยัคฆ์ร้ายกระสุนตัน (2005) ในปี ค.ศ. 1996 เขากับ โบ เซนต์. แคลร์ ร่วมกันก่อตั้งบริษัทสร้างภาพยนตร์ที่ลอสแอนเจลิสชื่อว่า ไอริชดรีมไทม์[2] เขายังเป็นที่รู้จักจากงานด้านการกุศลและการเคลื่อนไหวเพื่อสิ่งแวดล้อม ในปี ค.ศ. 2020 เขาได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในอันดับที่ 15 ในรายชื่อนักแสดงภาพยนตร์ชาวไอร์แลนด์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของ ดิไอริชไทม์[3] ในปี ค.ศ. 1997 บรอสแนนได้รับดาวบนฮอลลีวูดวอล์กออฟเฟม สำหรับผลงานของเขาในอุตสาหกรรมภาพยนตร์[4]
ผลงาน
ชื่อภาพยนตร์ | ปีที่ฉาย |
The Long Good Friday | ค.ศ. 1980 |
The Mirror Crack'd | ค.ศ. 1980 |
Nomads | ค.ศ. 1986 |
Taffin | ค.ศ. 1987 |
The Fourth Protocol | ค.ศ. 1987 |
The Deceivers | ค.ศ. 1988 |
Mister Johnson | ค.ศ. 1990 |
The Lawnmower Man | ค.ศ. 1992 |
Live Wire | ค.ศ. 1992 |
Mrs. Dobtfire | ค.ศ. 1993 |
Death Train (หรือ Detonator) | ค.ศ. 1993 |
Love Affair | ค.ศ. 1994 |
Night Watch | ค.ศ. 1995 |
พยัคฆ์ร้าย 007 รหัสลับทลายโลก | ค.ศ. 1995 |
The Mirror Has Two Faces | ค.ศ. 1996 |
Mars Attacks! | ค.ศ. 1996 |
Dante's Peak | ค.ศ. 1997 |
Robinson Crusoe | ค.ศ. 1997 |
พยัคฆ์ร้ายไม่มีวันตาย | ค.ศ. 1997 |
Quest for Camelot | ค.ศ. 1998 |
พยัคฆ์ร้ายดับแผนครองโลก | ค.ศ. 1999 |
The Thomas Crown Affair | ค.ศ. 1999 |
Grey Owl | ค.ศ. 1999 |
The Tailor of Panama | ค.ศ. 2001 |
ดาย อนัทเธอร์ เดย์ 007 พยัคฆ์ร้ายท้ามรณะ | ค.ศ. 2002 |
Laws of Attraction | ค.ศ. 2004 |
After the Sunset | ค.ศ. 2004 |
The Matador | ค.ศ. 2005 |
Seraphim Falls | ค.ศ. 2007 |
Butterfly on a Wheel | ค.ศ. 2007 |
Married Life | ค.ศ. 2007 |
Mamma Mia! | ค.ศ. 2008 |
Thomas and Friends the Great Discovery | ค.ศ. 2008 |
The Greatest | ค.ศ. 2009 |
The Ghost Writer | ค.ศ. 2010 |
Percy Jackson & the Olympians: The Lightning Thief | ค.ศ. 2010 |
The November Man | ค.ศ. 2014 |
The Foreigner | ค.ศ. 2017 |
อ้างอิง
- ↑ "Brosnan's personal site". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 November 2013.
- ↑ Barnes, Mike (11 January 2016). "Beau St. Clair, Pierce Brosnan's Producing Partner, Dies at 63". The Hollywood Reporter. สืบค้นเมื่อ 4 February 2016.
- ↑ Clarke, Donald; Brady, Tara. "The 50 greatest Irish film actors of all time – in order". The Irish Times.
- ↑ "Pierce Brosnan". Los Angeles Times (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-07-02.