เส้นเวียนก้นหอยลอการิทึม
เส้นเวียนก้นหอยลอการิทึม (logarithmic spiral) เป็นเส้นเวียนก้นหอยประเภทหนึ่งที่พบได้ทั่วไปในธรรมชาติ อาจเรียกอีกอย่างว่า เส้นเวียนก้นหอยมุมเท่า (equiangular spiral) หรือ เส้นเวียนก้นหอยแบร์นุลลี (Bernoulli spiral) โดยตั้งชื่อตาม ยาค็อพ แบร์นุลลี นักคณิตศาสตร์ชาวสวิส ในคริสต์ศตวรรษที่ 17
คำนิยาม
ในระบบพิกัดเชิงขั้ว (r, θ) เขียนได้เป็น
เส้นโค้งที่ได้นี้จะเรียกว่าเป็นเส้นเวียนก้นหอยลอการิทึม โดยที่ e คือ ค่าคงตัว e และ a และ b เป็นค่าคงที่จำนวนจริง เนื่องจาก r คือระยะห่างจากจุดกำเนิด a จึงต้องมีค่าเป็นบวกเท่านั้น แต่ b อาจเป็นค่าบวกหรือลบก็ได้ ค่า b เป็นบวกจะทำให้เกลียวเวียนไปทางซ้ายขณะที่เคลื่อนออกจากศูนย์กลาง และค่า b เป็นลบจะทำให้เกลียวเวียนไปทางขวา บางครั้งคำนิยามก็จำกัดอยู่ที่ b > 0 เนื่องจากสามารถเปลี่ยนการเวียนซ้ายมาเป็นเวียนขวาได้ด้วยการพลิก หาก b = 0 จะได้เป็นรูปวงกลมที่มีรัศมีเป็น a
สูตรยังเขียนอีกแบบได้ว่า
ในอดีตลอการิทึมเป็นที่รู้จักก่อนฟังก์ชันเลขชี้กำลัง ดังนั้นจึงถูกเรียกในชื่อ "เส้นเวียนก้นหอยลอการิทึม" เมื่อ b เป็นบวก (หรือลบ) θ จะเล็กลง (หรือใหญ่ขึ้น) ถ้า r เข้าใกล้ 0 ดังนั้นจึงหมุนวนอย่างไม่สิ้นสุดที่ใกล้จุดศูนย์กลาง
อาจเขียนรูประบบพิกัดคาร์ทีเซียนได้เป็น
เส้นเวียนก้นหอยทอง
เส้นเวียนก้นหอยทอง เป็นเส้นเวียนก้นหอยลอการิทึมชนิดหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับอัตราส่วนทอง φ
โดยจะได้เมื่อค่าคงที่ b เท่ากับ
โดยให้ r = ebθ นอกจากนี้ เมื่อ B = eb ก็จะได้ว่า r = Bθ สำหรับเมื่อค่า b เป็นบวก จะได้ว่า
และสำหรับเมื่อค่า b เป็นลบ ได้ว่า
ระยะช่วงเกลียวจะอยู่ที่ประมาณ 17.03239 องศา
มีทฤษฎีที่รู้จักกันดีว่าลวดลายบนเปลือกหอยงวงช้างแสดงได้เป็นเส้นเวียนก้นหอยทอง อย่างไรก็ตาม ไม่ทราบสาเหตุที่เป็นเหตุเป็นผล และก็ได้มีคนชี้ให้เห็นว่าจริง ๆ ระยะช่วงเกลียวของเปลือกหอยโข่งอยู่ระหว่าง 8 ถึง 10 องศา ซึ่งห่างจาก 17 องศา แสดงว่ามันไม่ใช่เส้นเวียนก้นหอยทอง[1][2]