แมลงอุตสาหกรรม

แมลงอุตสาหกรรม
Fifth instar silkworm larvae.
สถานะการอนุรักษ์
Dom
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Arthropoda
ชั้น: Insecta
อันดับ: Lepidoptera
วงศ์: Bombycidae
สกุล: Bombyx
สปีชีส์: B.  mori
ชื่อทวินาม
Bombyx mori
(Linnaeus, 1758)
ชื่อพ้อง

Silkworm

แมลงอุตสาหกรรม หมายถึง แมลงที่ในช่วงของการดำเนินชีวิต มีการสร้างผลผลิตซึ่งมนุษย์สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ แมลงในกลุ่มนี้ประกอบด้วยแมลงหลายชนิดด้วยกัน เช่น ไหม ผึ้ง แมลงครั่ง รวมทั้งแมลงที่ถูกนำมาเป็นอาหารด้วย

ไหม

ไหมที่เลี้ยงกันอยู่ในปัจจุบัน มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Bombyx mori L. ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนในวงศ์ Bombycidae โดยแมลงในวงศ์นี้ในระยะตัวหนอนจะกินใบหม่อน (Morus sp.) ซึ่งเป็นไม้ยืนต้นจำพวกไม้พุ่มในวงศ์ Moraceae ในระยะดักแด้ตัวหนอนจะพ่นเส้นใยห่อหุ้มตัวในขณะที่พัฒนาเป็นตัวเต็มวัย ซึ่งใยที่ห้อหุ้มตัวนี้ มีองค์ประกอบคือ sericin 25% และ fibroin 75% โดยที่มนุษย์สามารถนำเอาเส้นใยไหมนี้มาใช้ในการทอเป็นผืนผ้าที่ให้ความเงางามไหมที่เลี้ยงกันอยู่ในประเทศไทยมีอยู่ 3 ประเภท คือ

  • ไหมไทย - เป็นพันธุ์ที่มีการฟักออกเป็นตัวได้ตลอดปี (polyvoltine หรือ multivoltine) ลักษณะของรัง ยาวรี สีขาว มีขนาดเล็ก ความยาวของเส้นใยต่อรังต่ำ ไม่สามารถสาวด้วยเครื่องจักรได้ แต่มีความทนทานต่อโรคและสภาพแวดล้อมในประเทศไทยได้ดี
  • ไหมพันธุ์ต่างประเทศ - ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ที่มีการฟักออกปีละ2ครั้ง (bivoltine) เนื่องจากไข่ไหมมีการฟักตัว ลักษณะของรัง กลมหรือคอดกลางคล้ายฝักถั่วลิสง ขนาดใหญ่ รังแข็ง ส่วนใหญ่จะมีสีขาว ความยาวของเส้นใยต่อรังมาก เปอร์เซ็นต์เส้นใยสูงสามารถสาวเส้นด้วยเครื่องจักรได้ แต่ทนทานต่อโรค และสภาวะแวดล้อมในประเทศไทย มีน้อยกว่าพันธุ์ไทย
  • ไหมไทยลูกผสม - เป็นลูกผสมระหว่างพันธุ์ไทยกับพันธุ์ต่างประเทศ ให้ผลผลิตรังสูงกว่าพันธุ์ไทยแต่ด้อยกว่าพันธุ์ต่างประเทศ ลักษณะรัง ขนาดของรังและคุณภาพของรังจะดีขึ้นกว่าพันธุ์ไทยและลูกผสมที่ได้บางสายพันธุ์สามารถให้รังไหมที่สาวด้วยเครื่องจักรได้

ผลิตภัณฑ์จากไหม

เส้นไหม คือเส้นใยธรรมชาติที่ได้จากการดึงเส้นใยหลายๆ รังรวมกันเป็นเส้นเดียวกัน ที่เรียกว่า การสาวไหม ซึ่งกระบวนการสาวไหมทำให้เส้นใยที่มาจากแต่ละรังพันกันเป็นเกลียวและมีการยึดเกาะยึดซึ่งกันและกันมีความเหนียวทนทาน เนื้อกระชับแน่น

ผึ้ง

ผึ้ง (honey bees) ผึ้งเป็นแมลงในวงศ์ Apidae ผึ้งที่สามารถเปลี่ยนรูปน้ำหวานจากดอกไม้ (nectar) มาเป็นน้ำผึ้ง(honey)ได้นั้นอยู่ใน genus.Apisซึ่งมีหลาย species แต่ที่นิยมนำมาเลี้ยงในหีบคือ ผึ้งพันธุ์ (Apis mellifrea) ซึ่งเป็นผึ้งพันทางยุโรป และ แอฟริกา ปัจจุบันเริ่มมีการนำเอาผึ้งโพรง (Apis cerana)ซึ่งเป็นพันธุ์พื้นเมืองของเอเชียมาเลี้ยงในหีบบาง

การเลี้ยงผึ้ง

การเลี้ยงผึ้ง คือการนำเอาผึ้งเข้าไปวางในแหล่งที่มีดอกไม้บาน มีน้ำหวานและเกสรในปริมาณมาก โดยพืชควรจะมีดอกหนาแน่น และบานติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน การเลี้ยงผึ้งนั้นมีวิธีการจัดการให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การเลี้ง คือ

  1. การเลี้ยงผึ้งเพื่อผสมเกสร เป็นการประยุกต์เอาวิธีการเลี้ยงผึ้งผนวกกับความรู้ด้านชีววิทยาของดอกไม้ที่ต้องการให้ผึ้งผสมเกสร เพื่อให้ผลผลิต พืชเป้าหมายสูงขึ้น โดยการจัดการให้ผึ้งลงตอมดอกตัวผู้ ดอกตัวเมีย ดอกสมบูรณ์เพศของพืชเป้าหมายตามขั้นตอนหรือกระบวนการผสมเกสร
  2. การเลี้ยงผึ้งเพื่อเก็บน้ำหวานและเกสรดอกไม้ ควรเลือกที่ตั้งรังผึ้งในบริเวณที่มีพืชพันธุ์ไม้ที่ออกดอก มีน้ำหวานและเกสรในปริมาณมากตลอดปี พืชออกดอกหนาแน่น และดอกบานติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน

ผลิตภัณฑ์จากผึ้ง

น้ำผึ้ง คือของเหลวรสหวาน ซึ้งผึ้งผลิตขึ้นมาจากน้ำหวานจองดอกไม้หรือจากส่วนใดส่วนหนึ่งของต้นไม้ แล้วกลับมาสะสมมในรังผึ้ง ทำการบ่งจนของเหลวมีการเปลียนแปลงทางกายภาพและเคมี ลักษณะของน้ำผึ้งที่ดีควรมีความหนืด มีกลิ่นหอมของน้ำผึ้งและดอกไม้ ตามแหล่งที่ได้มา ไม่มีฟองอันเกิดจากการบูด ไม่มีไขผึ้งหรือเศษตัวผึ้งปะปน ใส มีสีเหลืองอ่อนๆจนมีสีน้ำตาล

แมลงครั่ง

แมลงครั่ง เป็นแมลงขนาดเล็กอยู่ในวงศ์ Kerridae มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Laccifer lacca แมลงครั่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชอาหารแล้วปล่อยยางหรือชัน (resin) ออกมาห่อหุ้มตัวเองไว้จนมิด ครั่งตัวเมียมีรูปร่างเป็นถุงไม่มีขา รังมีลักษณะกลม ส่วนตัวผู้จะมีทั้งมีปีกและไม่มีปีก รังมีลักษณะยาว ตัวผู้จะคลานจากรังมาผสมพันธุ์กับตัวเมียเมื่อได้รับการผสมพันธุ์จะวางไข่ในรัง

การเลี้ยงครั่ง

การเลี้ยงครั่งคือการนำท่อนพันธุ์ครั่งไปผูกไว้บนต้นไม้ที่เหมาะสมเพื่อให้ครั่งตัวอ่อนเพิ่มปริมาณรังครั่ง

แมลงที่เป็นอาหาร

ในประเทศไทยการกินแมลงพบได้ทุกส่วนของประเทศ โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้มีการกินแมลงกันมานาน ด้วยวิถีชีวิตของทั้งสองภาคต้องอาศัยพึ่งพาป่าและธรรมชาติ การดำรงชีวิตประจำวันจะอาศัยของจากในป่าไม่ว่าเป็นไม้ที่ใช้การสร้างบ้านเรือน อาหารที่เป็นผักรวมทั้งแมลงเป็นวัฒนธรรมชาวบ้านแบบหนึ่งของชาวเหนือและชาวอีสาน โดยวัฒนธรรมนี้เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีการค้นพบว่าแมลงชนิดใดที่สามารถนำมากินได้และมีวิธีการปรุงในรูปแบบใดจึงจะมีรสชาติที่ดี เช่น แมลงกินูน, แมลงดานา, มดแดงและไข่มดแดง ดักแด้ไหม แมลงกุดจี่, แมลงเม่า,จักจั่น และแมลงตับเต่า เป็นต้น

อ้างอิง

  • กัณฑ์วีร์ วิวัฒน์พาณิชย์. 2542. แมลงอาหารมนุษย์ในอนาคต. สถาบันแพทย์แผนไทย. กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. 225 น.
  • ชาญชัย ถาวรอนุกูลกิจ และวิโรจน์แก้วเรือง. 2544. เลี้ยงไหม : ปรุงเป็นอาหารได้. แก่นเกษตร 29(1):26-28