น้ำผึ้ง
น้ำผึ้ง เป็นอาหารหวานที่ผึ้งผลิตโดยใช้น้ำหวานจากดอกไม้ พืชพันธุ์ชนิดต่างๆ น้ำผึ้งมักหมายถึงชนิดที่ผลิตโดยผึ้งน้ำหวานในสายพันธุ์ Apis เนื่องจาก เป็นผึ้งเก็บน้ำหวานให้คุณภาพสูง และสามารถเลี้ยงระบบกล่องได้ น้ำผึ้งมีประวัติการบริโภคของมนุษย์มายาวนาน และถูกใช้เป็นสารให้ความหวานในอาหารและเครื่องดื่มหลายชนิด น้ำผึ้งยังมีบทบาทในศาสนาและสัญลักษณ์นิยม รสชาติของน้ำผึ้งแตกต่างกันตามน้ำหวานที่ได้มา และมีน้ำผึ้งหลายชนิดและเกรดที่สามารถหาได้
กระบวนการผลิต
ผึ้งน้ำหวานเปลี่ยนน้ำต้อยเป็นน้ำผึ้งด้วยขบวนการการขย้อน และเก็บไว้เป็นแหล่งอาหารหลักในรังผึ้ง honeycomb โดยผึ้งจะสร้าง ขี้ผึ้งจากเศษเกสรดอกไม้และน้ำเมือก โดยจะเก็บของเหลว จากการขย้อนลงใน ฐานหกเหลียม และปิดไว้ด้วย ขี้ผึ้งอ่อน
คุณค่าทางโภชนาการ
น้ำผึ้งได้ความหวานจากมอโนแซ็กคาไรด์ ฟรุกโทสและกลูโคส และมีความหวานประมาณเทียบได้กับน้ำตาลเม็ด[1][2] น้ำผึ้งมีคุณสมบัติทางเคมีที่ดึงดูดในการอบ และมีรสชาติพิเศษซึ่งทำให้บางคนชอบน้ำผึ้งมากกว่าน้ำตาลและสารให้ความหวานอื่น ๆ [1] จุลินทรีย์ส่วนมากไม่เจริญเติบโตในน้ำผึ้งเพราะมีค่าแอกติวิตีของน้ำต่ำที่ 0.6[3] อย่างไรก็ดี บางครั้งน้ำผึ้งก็มีเอนโดสปอร์ในระยะพักตัวของแบคทีเรีย Clostridium botulinum ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อทารก เพราะเอนโดสปอร์สามารถแปลงเป็นแบคทีเรียที่ผลิตชีวพิษในทางเดินอาหารที่ยังไม่เจริญเต็มที่ของทารก ซึ่งทำให้เกิดความเจ็บป่วยและอาจถึงแก่ชีวิต[4]
ส่วนประกอบทางเคมี
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์) | |
---|---|
พลังงาน | 1,272 กิโลจูล (304 กิโลแคลอรี) |
82.4 g | |
น้ำตาล | 82.12 g |
ใยอาหาร | 0.2 g |
0 g | |
0.3 g | |
วิตามิน | |
ไรโบเฟลวิน (บี2) | (3%) 0.038 มก. |
ไนอาซิน (บี3) | (1%) 0.121 มก. |
(1%) 0.068 มก. | |
วิตามินบี6 | (2%) 0.024 มก. |
โฟเลต (บี9) | (1%) 2 μg |
วิตามินซี | (1%) 0.5 มก. |
แร่ธาตุ | |
แคลเซียม | (1%) 6 มก. |
เหล็ก | (3%) 0.42 มก. |
แมกนีเซียม | (1%) 2 มก. |
ฟอสฟอรัส | (1%) 4 มก. |
โพแทสเซียม | (1%) 52 มก. |
โซเดียม | (0%) 4 มก. |
สังกะสี | (2%) 0.22 มก. |
องค์ประกอบอื่น | |
น้ำ | 17.10 g |
Shown is for 100 g, roughly 5 tbsp. | |
ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่ แหล่งที่มา: USDA FoodData Central |
น้ำผึ้งเป็นสารผสมของน้ำตาลกับสารประกอบอื่น น้ำผึ้งส่วนใหญ่เป็นฟรุกโทส (ราว 38.5%) และกลูโคส (ราว 31.0%) [1] ทำให้น้ำผึ้งคล้ายกับน้ำเชื่อมน้ำตาลอินเวิร์ท (inverted sugar syrup) ที่ผลิตเชิงสังเคราะห์ ซึ่งมีปริมาณฟรุกโทส 48% กลูโคส 47% และซูโครส 5% คาร์โบไฮเดรตที่เหลือในน้ำผึ้งมีมอลโทสและคาร์โบไฮเดรตซับซ้อนอื่น ๆ [1] เช่นเดียวกับสารให้ความหวานที่บำรุงสุขภาพทุกชนิด น้ำผึ้งส่วนใหญ่เป็นน้ำตาลและมีวิตามินหรือแร่ธาตุอยู่เล็กน้อย[5][6] น้ำผึ้งยังมีสารประกอบหลายชนิดในปริมาณน้อยซึ่งคาดกันว่าทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ รวมถึงไครซิน พิโนแบค์ซิน วิตามินซี คาตาเลสและพิโนเซมบริน[7][8] องค์ประกอบที่เจาะจงของน้ำผึ้งแต่ละกลุ่มนั้นขึ้นอยู่กับดอกไม้ที่ผึ้งใช้ผลิตน้ำผึ้ง[5]
ผลการวิเคราะห์น้ำผึ้งตามแบบ มีสารดังต่อไปนี้
- ฟรุกโทส 38.2%
- กลูโคส 31.3%
- มอลโทส 7.1%
- ซูโครส 1.3%
- น้ำ 17.2%
- น้ำตาลที่สูงกว่า 1.5%
- เถ้า 0.2%
- อื่น ๆ /ไม่กำหนด 3.2%[9]
ค่าดัชนีน้ำตาลอยู่ระหว่าง 31 ถึง 78 แล้วแต่ชนิด[10] น้ำผึ้งมีความหนาแน่นราว 1.36 กิโลกรัมต่อลิตร (หนาแน่นกว่าน้ำ 36%) [11]
โภชนาการทางการรักษา
ในประเทศไทย
น้ำผึ้ง ตามแบบแผนการรักษา ตำรับยาโบราณของไทย ได้มีการสืบทอดกันมา ตามสูตรยาสมุนไพรโบราณ มักนำมาใช้แต่งกลิ่นเจือรส ชูความง่ายในการรับประทาน เพราะส่วนมากสมุนไพรมักมีรสฝาดและขม โดยน้ำผึ้งใช้ทั้งแต่รส ขึ้นรูป และเป็นส่วนประกบในยาแผนโบราณหลายชนิด ตามสรรพคุณ บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้ปวดหลัง ปวดเอว ทำให้แห้ง ใช้ทำยาอายุวัฒนะ
- แต่งรส น้ำผึ้งมีรสหวานฝาด ร้อนเล็กน้อยเราใช้น้ำผึ้งแต่งรสยาบางชนิด เช่น ยาแก้ไข้ที่มีรสขมมาก จนคนไข้กินไม่ได้ เราต้องใช้น้ำผึ้งผสมและช่วยชูกำลัง
- ปรุงยา เป็นส่วนประกอบในการนำไปใช้ โดยน้ำผึ้งมาผสมกับยาผงให้เหนียว เพื่อปั้นเป็นลูกกลอน แต่ผู้ปรุงยาควรนำน้ำผึ้งไปเคี่ยวให้เดือดเพื่อฆ่าเชื้อโรค มิฉะนั้น ยาลูกกลอนจะขึ้นราภายหลัง
ตามความเชื่อโบราณ น้ำผึ้งเดือน 5 เป็นน้ำผึ้งที่ดีที่สุด เนื่องด้วยอากาศที่แห้ง จึ้งทำให้น้ำผึ้งมีความเข้มข้นสูง
ตามหลักการแพทย์แผนไทยแล้ว น้ำผึ้งมีประโยชน์มากมายก็จริง แต่สำหรับผู้ป่วยบางราย แนะนำว่าไม่ควรกินน้ำผึ้งแบบเข้มข้นโดยไม่ผสมอะไรเลย เช่น คนที่ดีพิการ คือ มีอาการตัวเหลืองตาเหลือง นอนสะดุ้งผวา สอง เสมหะพิการ คือมีเสมหะมากและมีภาวะโรคปอดแทรก สาม คนที่น้ำเหลืองเสีย มีฝีพุพอง ตุ่มหนอง หรือโรคครุฑราชต่าง ๆ
ในประเทศจีน
ภาษาจีน แต้จิ๋ว เรียกน้ำผึ้งว่า "พังบิ๊ก" เป็นยาบำรุงร่างกาย โดยเฉพาะบำรุงลำไส้ ช่วยให้ระบบขับถ่ายดี ลดความร้อนในร่างกาย บรรเทาอาการอ่อนเพลีย และยังช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย น้ำผึ้งมีรสชาติหวาน ชุ่มคอ สามารถใช้ได้ทั้งเดี่ยว และนำไปเป็นส่วนผสมของยา กรณีที่ใช้เดี่ยวโดยมากใช้ในกรณีลำไส้ไม่ดี
ถ้าร่างกายแข็งแรงอยู่แล้ว กินน้ำผึ้งประจำจะไปช่วยเคลือบลำไส้ ช่วยระบบขับถ่าย แต่สำหรับคนที่มีปัญหาท้องผูกบ่อย ๆ กากอาหารที่ค้างอยู่ในลำไส้จะแข็งตัว ถ้าปล่อยให้ท้องผูกนาน ๆ กากอาหารจะขูดผนังลำไส้ อาจทำให้เป็นแผล และมีปัญหาสุขภาพตามมา ซึ่งถ้าเรากินน้ำผึ้งเพื่อช่วยเคลือบลำไส้จะช่วยลดปัญหาลงได้
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 National Honey Board. "Carbohydrates and the Sweetness of Honey" เก็บถาวร 2011-07-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Last accessed 1 June 2012.
- ↑ Oregon State University. "What is the relative sweetness of different sugars and sugar substitutes?" เก็บถาวร 2012-11-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved 1 June 2012.
- ↑ Lansing Prescott, John P. Harley, Donald A. Klein (1999). Microbiology. Boston: WCB/McGraw-Hill. ISBN 0-697-35439-3.
{cite book}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Shapiro, Roger L.; Hatheway,, Charles; Swerdflow,, David L. (1998). "Botulism in the United States: A Clinical and Epidemiologic Review". Annals of Internal Medicine. 129 (3): 221–8. doi:10.1059/0003-4819-129-3-199808010-00011. PMID 9696731.
{cite journal}
: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์) - ↑ 5.0 5.1 Questions Most Frequently Asked About Sugar (PDF). American Sugar Alliance.
- ↑ USDA Nutrient Data Laboratory "Honey." เก็บถาวร 2015-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Last accessed 24 August 2007.
- ↑ Martos I, Ferreres F, Tomás-Barberán F (2000). "Identification of flavonoid markers for the botanical origin of Eucalyptus honey". J Agric Food Chem. 48 (5): 1498–502. doi:10.1021/jf991166q. PMID 10820049.
{cite journal}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Gheldof N, Wang X, Engeseth N (2002). "Identification and quantification of antioxidant components of honeys from various floral sources". J Agric Food Chem. 50 (21): 5870–7. doi:10.1021/jf0256135. PMID 12358452.
{cite journal}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Beesource Beekeeping » Honey Composition and Properties. Beesource.com. Retrieved on 6 February 2011.
- ↑ Gov.au/reports เก็บถาวร 2016-03-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. None. Retrieved on 9 January 2012.
- ↑ Rainer Krell, (1996). Value-Added Products from Beekeeping (Fao Agricultural Services Bulletin). Food & Agriculture Organization of the UN. ISBN 92-5-103819-8.
{cite book}
: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์)
- http://www.cheewajit.com/highlight.asp เก็บถาวร 2007-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- https://www2.ku.ac.th/e-magazine/may47/know/bee.html เก็บถาวร 2007-01-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- http://www.saranair.com/article.php?sid=6130 เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- http://www.dss.go.th/dssweb/st-articles/files/bsp_12_2545_hunny.pdf เก็บถาวร 2007-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน