โบอิง 787 ดรีมไลเนอร์
โบอิง 787 ดรีมไลเนอร์ | |
---|---|
โบอิง 787-8 ดรีมไลเนอร์ของอเมริกันแอร์ไลน์ | |
ข้อมูลทั่วไป | |
บทบาท | อากาศยานไอพ่นลำตัวกว้าง |
ชาติกำเนิด | สหรัฐอเมริกา |
บริษัทผู้ผลิต | เครื่องบินพาณิชย์โบอิง |
สถานะ | ในประจำการ |
ผู้ใช้งานหลัก | ออล นิปปอน แอร์เวย์ ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เจแปนแอร์ไลน์ อเมริกันแอร์ไลน์ |
จำนวนที่ผลิต | 1093 ลำ ณ เดือนตุลาคม ค.ศ. 2023[1] |
ประวัติ | |
สร้างเมื่อ | ค.ศ. 2007–ปัจจุบัน |
เริ่มใช้งาน | 26 ตุลาคม ค.ศ. 2011 โดยออลนิปปอนแอร์เวย์ |
เที่ยวบินแรก | 15 ธันวาคม ค.ศ. 2009 |
โบอิง 787 ดรีมไลเนอร์ (อังกฤษ: Boeing 787 Dreamliner) เป็นอากาศยานไอพ่นลำตัวกว้างขนาดกลาง ซึ่งได้รับการออกแบบและผลิตโดยฝ่ายผลิตเครื่องบินพาณิชย์โบอิง เป็นอากาศยานที่มีพิสัยบินระยะปานกลางถึงระยะไกล หลังจากที่ได้พับโครงการโซนิคครุยเซอร์แล้ว โบอิงได้ประกาศเปิดตัวโครงการ 7E7 ในวันที่ 29 มกราคม ค.ศ. 2003[2] ซึ่งเป็นอากาศยานที่จะพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานเป็นหลัก โบอิง 787 ลำแรกเผยโฉมในพิธีเปิดตัวเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ที่โรงงานประกอบเอเวอร์เร็ตต์ของโบอิง โดยที่มันได้กลายมาเป็นเครื่องบินโดยสารลำตัวกว้างที่ขายเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยมียอดสั่งถึง 677 ลำ[3] จนถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2554 มีการสั่งซื้อโบอิง 787 จำนวน 797 ลำ เข้ามาจากผู้ให้บริการสายการบิน 57 ราย[4]
โบอิง 787 สามารถรองรับผู้โดยสารได้ลำละ 210 ถึง 290 คน ขึ้นอยู่กับรุ่น โบอิงแถลงว่า เครื่องบินดังกล่าวเป็นเครื่องบินโดยสารที่ประหยัดเชื้อเพลิงที่สุดของบริษัท และเป็นเครื่องบินโดยสารสำคัญแบบแรกของโลกที่ใช้วัสดุผสมในการก่อสร้างเป็นส่วนใหญ่[5] โบอิง 787 บริโภคเชื้อเพลิงน้อยกว่าโบอิง 767 ที่มีขนาดเท่ากันถึง 20%[6] ลักษณะที่แตกต่างที่สุดมีทั้งที่กันลมสี่แผง เชฟรอนลดเสียงบนส่วนแยกเครื่องยนต์ (engine nacelle) และเส้นระดับเสียง (nose contour) ที่เรียบขึ้น
การพัฒนาและการผลิตโบอิง 787 เกี่ยวข้องกับความร่วมมือระหว่างผู้ผลิตวัตถุดิบหลายรายทั่วโลก การประกอบขั้นสุดท้ายประกอบขึ้นที่โรงงานเอเวอร์เรตต์โบอิงในเอเวอร์เรตต์ รัฐวอชิงตัน เครื่องบินจะยังมีการประกอบขึ้นที่โรงงานแห่งใหม่ในนอร์ทชาลสตัน รัฐเซาท์แคโรไลนา โรงงานทั้งสองจะส่งมองเครื่อง 787 ให้แก่ผู้ให้บริการเครื่องบินโดยสาร โครงการดังกล่าวต้องล่าช้าออกไปหลายครั้ง จากที่เคยวางแผนจะให้บริการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2551 การขึ้นบินครั้งแรกของเครื่องมีขึ้นเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2552 และสิ้นสุดการทดสอบการบินในกลาง พ.ศ. 2554 เอกสารรับรองของสำนักงานควบคุมความปลอดภัยการบินแห่งยุโรปสุดท้ายได้รับในปลายเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2554 และโมเดลแรกถูกส่งมอบในปลายเดือนกันยายน พ.ศ. 2554 และเข้าให้บริการเชิงพาณิชย์ตั้งแต่วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2554[7]
ข้อมูลเบื้องต้น
ในช่วงแรกนั้น โบอิง ต้องการจะพัฒนาเครื่องบินุร่นใหม่เพื่อทดแทน 767 ที่มียอดสั่งซื้อชะลอตัวลง เพื่อจะแข่งขันกับเครื่องบินแอร์บัส เอ 330-200 แต่ใช้เชื้อเพลิงในปริมาณที่เท่ากับ 767 และ เอ330 แต่ภายหลังเหตุการณ์วินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544และวิกฤติราคาน้ำมัน ทำให้ไม่เป็นที่ตอบรับมากนัก โบอิงจึงปรับเปลี่ยนโครงการมาพัฒนาเครื่องบินโดยสารโดยนำเครื่องเทคโนโลยีที่ได้จากการพัฒนาเครื่องบินความเร็วเหนือเสียงมาใช้แทน และใช้ชื่อว่า 7E7 (มีรหัสระหว่างการพัฒนาว่า Y2 ในโครงการโบอิงเยลโลสโตนโปรเจกต์)
จนในวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2548 โบอิงได้เปลี่ยนชื่อรุ่นมาเป็น 787 และได้เปิดเผยแบบขั้นสุดท้ายในวันที่ 26 เมษายน ในปีเดียวกัน โดยโบอิงจะผลิตออกมา 3 รุ่น คือ
- 787-8 พิสัยบินระยะไกล (13,620 กิโลเมตร) เพื่อทดแทนรุ่น 757-300, 767-200 และ-300 โดยมีลักษณะของปลายปีกเครื่องบินที่แตกแต่างจากรุ่นอื่น และมีออลนิปปอนแอร์เวย์เป็นสายการบินส่งมอบรายแรก[8] และเจแปนแอร์ไลน์เป็นลูกค้าอีกหนึ่งราย[9]
- 787-9 เป็นรุ่นที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานของ 787 มีพิสัยบินระยะไกล (14,140 กิโลเมตร) เพื่อทดแทนรุ่น โบอิง 767-200ER และ โบอิง 767-300ER และจะเป็นรุ่นแรกของ 787 ที่จะเริ่มให้บริการในปีพ.ศ. 2551
- 787-10 มีพิสัยบินระยะไกล (11,910 กิโลเมตร) เป็นรุ่นที่ขยายลำตัวให้ยาวขึ้นจาก 787-8 เพื่อทดแทนรุ่น โบอิง 767-400ER โดยมีสิงคโปร์ แอร์ไลน์ เป็นสายการบินที่ส่งมอบรายแรก
รุ่น
เครื่องบินดรีมไลเนอร์รุ่น 787-8 ซึ่งเป็นรุ่นที่สั้นที่สุดได้เริ่มทำการบินครั้งแรกเมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 2009 และรุ่น 787-9 ซึ่งมีพิสัยการบินไกลกว่าเมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 2013 ส่วนรุ่นที่สามารถบินได้ไกลที่สุดคือ 787-10 โดยยังไม่ได้เริ่มทำการบิน
787-8
เครื่องบินรุ่น 787-8 ซึ่งเป็นรุ่นแรกที่เริ่มทำการบินตั้งแต่ปีค.ศ. 2011 นั้นสามารถจุผู้โดยสารได้ 242 คน โดยมีพิสัยบินที่ 7,355 ไมล์ทะเล (13,621 กิโลเมตร) เพื่อใช้มาทดแทนรุ่น 767-200ER และ 767-300ER รวมถึงเพื่อใช้ทำการบินแบบไม่หยุดพักโดยไม่ต้องใช้เครื่องบินที่ใหญ่เกินกว่าความสามารถทางการตลาด เครื่องบินรุ่น 787-8 มีสัดส่วนการผลิตถึง 33% (ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม ค.ศ. 2017) โดยได้ทำการส่งมอบแล้ว 348 ลำ
787-9
เครื่องบินรุ่น 787-9 ได้มีการเพิ่มความยาวจากรุ่น 787-8 ถึง 20 ฟุต (6.1 เมตร) และความแข็งแรงของบริเวณลำตัว โดยสามารถมีน้ำหนักบรรทุกสูงสุดถึง 54,500 ปอนด์ (24,700 กก.) และจุผู้โดยสารได้ถึง 280 คน (สำหรับสามชั้นโดยสาร) โดยมีพิสัยบินไกลถึง 7,635 ไมล์ทะเล (14,140 กิโลเมตร) มีจุดประสงค์หลักเพื่อทดแทนเครื่องบินรุ่น 767-400ER และแข่งขันกับแอร์บัส เอ 330 และเพื่อทำการบินระยะไกลแบบไม่ต้องหยุดพัก
ในปีค.ศ. 2005 โบอิงได้วางแผนไว้ว่าจะสามารถเริ่มให้บริการได้ในปีค.ศ. 2010 โดยสารการบินต่างๆ ได้ข้อสรุปสำหรับการตกแต่งภายในห้องโดยสารได้แล้วเสร็จเมื่อ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2010 และได้เริ่มต้นส่งมอบในปีค.ศ. 2014
เครื่องบินต้นแบบของรุ่น 787-9 ได้ทำการขึ้นบินทดสอบครั้งแรกเมื่อ 17 กันยายน ค.ศ. 2013 และได้ถูกนำมาจัดแสดงก่อนการส่งมอบในงานฟาร์นโบโรแอร์โชว์ในปค.ศ. 2014 ต่อมาเมื่อ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 2014 แอร์นิวซีแลนด์ ซึ่งเป็นสายการบินปฐมฤกษ์สำหรับเครื่องบินรุ่นนี้ ได้ทำการบินครั้งแรกในพิธีส่งมอบจากสนามบินเพนฟีล โดยเป็นเครื่องบินรุ่นพิเศษตัวถังสีดำ โดยแอร์นิวซีแลนด์ได้เริ่มใช้บินเพื่อการพาณิชย์เป็นครั้งแรกจากออกแลนด์ไปยังซิดนีย์ในวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 2014
สายการบินออล นิปปอน แอร์เวย์ ได้เริ่มทำการบินเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม ค.ศ. 2014 ยูไนเต็ด แอร์ไลน์จะเริ่มทำการบินแบบต่อเนื่องจากลอสแอนเจลิสถึงเมลเบิร์นในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2014 แอร์ไชน่าเริ่มทำการบินระหว่างปักกิ่งถึงเฉิงตูในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2016 โดย ณ เดือนตุลาคม ค.ศ. 2017 54% ของเครื่องบินรุ่นโบอิง 787 เป็นรุ่น 787-9 โดยมีการส่งมอบไปแล้วกว่า 265 ลำ
ความยาวของเครื่องบินที่เพิ่มขึ้นนั้นเกิดขึ้นจากการเพิ่มชิ้นส่วนขนาดยาวสิบฟุตบริเวณลำตัวเครื่องบินด้านหน้าและด้านท้าย โดยเครื่องบินรุ่น 787-8 และ 787-9 ใช้ชิ้นส่วนอะไหล่ร่วมกับถึง 50% โดยส่วนปีก ลำตัว และระบบการบินของรุ่น 787-8 ได้ถูกนำมาปรับปรุงใหม่เพื่อให้ได้ระยะการบินและน้ำหนักบรรทุกสำหรับรุ่น 787-9
787-10
ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2005 โบอิงได้เริ่มทำโครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการขยายขีดความสามารถในการจุผู้โดยสารของรุ่น 787-9 ซึ่งจากเดิมคือ 290 คน เป็น 310 คน โดยเกิดจากการผลักดันของสายการบินที่สนใจคือ เอมิเรตส์ และควอนตัส โดยจะเรียกเป็นชื่อรุ่นว่า 787-10 ซึ่งจะสามารถเทียบได้กับเครื่องบินรุ่นแอร์บัส เอ 350-900 และโบอิง 777-200ER[10] โดยต่อมาได้มีการพูดคุยกันระหว่างสายการบินกับโบอิงจนถึงราวต้นปีค.ศ. 2006[11] ได้มีการเปิดเผยว่าจะมีการพัฒนาเครื่องบินรุ่นนี้ขึ้นแน่นอนเนื่องจากมีสายการบินอื่นที่ให้ความสนใจตามเอมิเรตส์[12]
ต่อมาเมื่อ 30 พฤษภาคม ค.ศ. 2013 สิงค์โปร์แอร์ไลน์ได้ตกลงเป็นสายการบินปฐมฤกษ์โดยตกลงสั่งซื้อเป็นจำนวน 30 ลำ โดยคาดว่าจะส่งมอบได้ราวปีค.ศ. 2018-2019[13][14] และเมื่อ 18 มิถุนายน ค.ศ. 2013 โบอิงได้ทำการเปิดตัวเครื่องบินรุ่น 787-10 อย่างเป็นทางการที่งานปารีสแอร์โชว์ โดยมีคำสั่งซื้อถึง 102 ลำ (แอร์ลีสคอร์เปอเรชั่น 30 ลำ สิงคโปร์แอร์ไลน์ 30 ลำ ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ 20 ลำ บริติชแอร์เวย์ 12 ลำ และจีอีแคปิตอล เอวิเอชันเซอร์วิส 10 ลำ)[15]
เครื่องบินรุ่น 787-10 ได้ถูกออกแบบมาเพื่อทดแทนโบอิง 777-200ER แอร์บัส เอ 330 และแอร์บัส เอ 340 โดยจะแข่งขันโดยตรงกับรุ่นเอ 350-900 โดยโบอิงกล่าวว่าสามารถประหยัดเชื้อเพลิงได้ดีกว่าในระยะบินที่ใกล้[16] โดยรุ่น 787-10 จะมีความยาว 224 ฟุต (68 เมตร) โดยจุผู้โดยสารได้ถึง 330 คนในการจัดที่นั่งแบบสองชั้นโดยสาร และมีพิสัยบินที่ 6,430 ไมล์ทะเล (11,910 กิโลเมตร)[17]
โดยการออกแบบนั้น โบอิงได้สรุปแบบของเครื่องบินรุ่น 10 เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 2015 และได้เริ่มการประกอบในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2016 ผู้ออกแบบได้คาดการณ์ว่าจะสามารถใช้ชิ้นส่วนอะไหล่ร่วมกันกับรุ่น 787-9 ถึง 90% ซึ่งสุดท้ายสามารถทำให้เป็นถึง 95% ส่วนต่อขยายซึ่งมีความยาว 18 ฟุต นั้นอยู่ที่บริเวณด้านหน้าของลำตัว 10 ฟุต และส่วนท้าย 8 ฟุต และยังได้เพิ่มความแข็งแรงของปริเวณฐานปีกสำหรับการรับน้ำหนักบรรทุกที่เพิ่มขึ้น โดยความยาวที่เพิ่มขึ้นนั้นทำให้ต้องมีความเสริมการป้องกันในการเกิตอุบัติเหตุที่ส่วนหางในยามนำเครื่องขึ้นและลง และระบบปรับอากาศนั้นมีความจุมากขึ้นถึง 15% เครื่องยนต์นั้นได้มีการใช้ Rolls-Royce Trent 1000 สำหรับรุ่นแรก และรุ่นที่สาม ส่วนรุ่นที่สองนั้นใช้เครื่องยนต์จากคู่แข่ง ได้แก่ General Electric GEnx-1B
ภายในงานดูไบแอร์โชว์ 2017 ได้มีคำสั่งซื้อ 787-10 ถึง 171 ลำ โดยเอมิเรตส์ได้สั่งซื้อจำนวน 40 ลำ โดยมีทั้งรุ่นที่ให้บริการสองชั้นโดยสาร และสามชั้นโดยสาร ซึ่งสามารถจุผู้โดยสารได้ตั้งแต่ 240-330 คน โดยคาดว่าจะส่งมอบได้ในปีค.ศ. 2022
การให้บริการ
ผู้ให้บริการ
ณ เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022 มีเครื่องบินโบอิ้ง 787 จำนวน 1,006 ลำที่ให้บริการในสายการบิน ซึ่งประกอบด้วยเครื่องบิน 787-8 จำนวน 377 ลำ, 787-9 จำนวน 568 ลำ และ 787-10 จำนวน 61 ลำ โดยมีคำสั่งซื้อคงค้างสำหรับเครื่องบินเพิ่มเติมอีก 481 ลำ[19][20] ณ เดือนสิงหาคม 2019 ผู้ให้บริการรายใหญ่ที่สุด ได้แก่ ออล นิปปอน แอร์เวย์ (77), ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ (63), เจแปนแอร์ไลน์ (47) และอเมริกันแอร์ไลน์ (46)[21]
คำสั่งซื้อและการส่งมอบ
รุ่นย่อย | ยอดสั่งซื้อรวม | ยอดส่งมอบรวม | ยอดยกเลิก |
787-8 | 431 | 396 | 35 |
787-9 | 1,215 | 629 | 586 |
787-10 | 266 | 98 | 168 |
รวม | 1,912 | 1,123 | 789 |
ข้อมูล ณ มีนาคม 2024[22]
คุณลักษณะ
โมเดล | 787-8 | 787-9 | 787-10 |
---|---|---|---|
ลูกเรือในห้องขับ | สองคน | ||
การจัดที่นั่ง: 2 ชั้นโดยสาร | 242 ที่นั่ง (24 ชั้นธุรกิจ + 218 ชั้นประหยัด) |
290 ที่นั่ง (28 ชั้นธุรกิจ + 262 ชั้นประหยัด) |
330 ที่นั่ง (32 ชั้นธุรกิจ + 298 ชั้นประหยัด) |
การจัดที่นั่ง: 1 ชั้นโดยสาร | มากสุด 359 ที่นั่ง | มากสุด 406 ที่นั่ง | มากสุด 440 ที่นั่ง |
ความยาว | 56.72 เมตร | 62.81 เมตร | 68.28 เมตร |
ปีก[24] | 377 ตารางเมตร[25] มุมลู่ 32.2° | ||
ช่วงระหว่างปลายปีก[24] | 60.12 เมตร | ||
ความสูง[23] | 16.92 เมตร | 17.02 เมตร | |
ลำตัว | ในห้องโดยสารกว้าง: 5.49 เมตร;[26] ลำตัวภายนอกกว้าง: 5.77 เมตร / ลำตัวภายนอกสูง: 5.94 เมตร | ||
ความจุห้องสัมภาระ | 136.7 ลบ.ม. | 172 ลบ.ม. | 190.3 ลบ.ม. |
น้ำหนักสูงสุดที่บินขึ้นได้ (MTOW) | 227,900 กก. | 254,700 กก. | 250,000 กก. |
น้ำหนักบรรทุกสูงสุด | 41,100 กก. | 53,000 กก. | 57,277 กก. |
น้ำหนักลำเปล่า (OEW) | 120,000 กก. | 129,000 กก. | 135,500 กก. |
ความจุเชื้อเพลิง | 126,206 ลิตร / 101,323 กก. | 126,372 ลิตร / 101,456 กก. | |
ความเร็ว | สูงสุด: 956 กม/ชม (มัค 0.9) | ||
พิสัยบิน[27] | 13,620 กม. | 14,140 กม. | 11,910 กม. |
การบินขึ้น[a] | 2,600 ม. | 2,800 ม. | 2,800 ม. |
เพดานบิน[28] | 13,100 ม. | 12,500 ม. | |
เครื่องยนต์ (สองเครื่อง) | General Electric GEnx-1B หรือ Rolls-Royce Trent 1000 | ||
กำลังขับ (สองเครื่อง) | 64,000 lbf (280 kN) | 71,000 lbf (320 kN) | 76,000 lbf (340 kN) |
เครื่องบินที่ใกล้เคียงกัน
รุ่นที่ใกล้เคียงกัน
- โบอิงโซนิคครุยเซอร์
- โบอิง 747-8
- โบอิง Y1/737RS
- โบอิง Y2
- โบอิง Y3
เครื่องบินที่คล้ายกัน
อ้างอิง
- ↑ "Boeing: Orders and Deliveries (updated monthly)". The Boeing Company. October 31, 2021. สืบค้นเมื่อ November 10, 2021.
- ↑ "Boeing Gives the 7E7 Dreamliner a Model Designation" (Press release). Boeing. January 28, 2005. สืบค้นเมื่อ June 14, 2011.
- ↑ "Boeing Celebrates the Premiere of the 787 Dreamliner" (Press release). Boeing. July 8, 2007. สืบค้นเมื่อ January 21, 2011.
- ↑ คำเตือนการอ้างอิง:
<ref>
tag with name787_O_D_summ
cannot be previewed because it is defined outside the current section or not defined at all. - ↑ Norris G, Thomas G, Wagner M, Forbes Smith C (2005). Boeing 787 Dreamliner – Flying Redefined. Aerospace Technical Publications International. ISBN 0-9752341-2-9.
- ↑ "Commercial Airplanes – 787 Dreamliner – Background" (Press release). Boeing. สืบค้นเมื่อ December 14, 2010.
- ↑ Tim Kelly (October 26, 2011). "Dreamliner carries its first passengers and Boeing's hopes". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-28. สืบค้นเมื่อ October 28, 2011.
- ↑ ออลนิปปอนแอร์เวย์สั่งซื้อเครื่องบินโบอิง 787-3 จำนวน 30 ลำ
- ↑ โบอิงและเจแปนแอร์ไลน์แถลงข่าวการสั่งซื้อเครื่องบินโบอิง 787
- ↑ James Wallace (December 21, 2005). "Everett work force for 787 pegged at 1,000". Seattle Post-Intelligencer.
- ↑ Baseler, Randy (February 8, 2006). "Dash 10". Boeing Blog. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-19. สืบค้นเมื่อ 2017-11-22.
- ↑ Lunsford, J. Lynn (March 28, 2006). "Boeing to Offer Larger Version of 787 Dreamliner". The Wall Street Journal.
- ↑ Kaminski-Morrow, David (May 30, 2013). "Singapore to launch 787-10X with order for 30". Flight International.
- ↑ Flynn, David (May 30, 2013). "Singapore Airlines signs up for Boeing's 787-10X Dreamliner". Australian Business Traveller.
- ↑ "Boeing Launches 787-10 Dreamliner". Boeing. June 18, 2013.
- ↑ "Air Lease's Hazy Says Boeing 787-10 Beats Airbus on Fuel". Bloomberg. June 18, 2013.
- ↑ "787-10 Fact Sheet" (PDF). Boeing. July 2015.
- ↑ "European safety agency to ground 787 in line with FAA". Reuters. January 16, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-20. สืบค้นเมื่อ August 21, 2013.
- ↑ "Commercial". www.boeing.com.
- ↑ "Boeing 787 Dreamliner Operators". www.planespotters.net.
- ↑ Thisdell and Seymour Flight International July 30 – August 5, 2019, p. 42.
- ↑ "Orders & Deliveries". The Boeing Company. March 31, 2024. สืบค้นเมื่อ April 9, 2024.
- ↑ 23.0 23.1 "787 Airplane Characteristics for Airport Planning" (PDF). Boeing Commercial Aircraft. February 2023.
- ↑ 24.0 24.1 คำเตือนการอ้างอิง:
<ref>
tag with nameEASAtcds
cannot be previewed because it is defined outside the current section or not defined at all. - ↑ "Boeing 787 -8 (Dreamliner) sample analysis". Lissys Ltd. 2006.
- ↑ "Everything about the Boeing 787 Dreamliner". Flightglobal. July 7, 2007.
- ↑ "787 performance summary". Boeing.
- ↑ "Updated EASA Type certificate data sheet for Boeing 787" (PDF). EASA. October 28, 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ December 31, 2019. สืบค้นเมื่อ November 30, 2019.
แหล่งข้อมูลอื่น
- เว็บไซต์หลักของโบอิง 787 ดรีมไลน์เนอร์ (ในภาษาอังกฤษ)
- ข้อมูล 787 ในเว็บไซต์โบอิง (ในภาษาอังกฤษ)
- ข่าวการเผยโฉม 787 ใน Wikinews (ในภาษาอังกฤษ)
ตัวอย่างการอ้างอิง
- ↑ ความยาวทางวิ่งที่ใช้บินขึ้น เมื่อมีน้ำหนักบรรทุกสูงสุด