ไอแมกซ์
ชนิด | รูปแบบฟิล์มภาพยนตร์ |
---|---|
ผู้ประดิษฐ์ |
|
เริ่มใช้ | พ.ศ. 2511 |
ผู้ผลิต | ไอแมกซ์ คอร์ปอเรชั่น |
เว็บไซต์ | www |
อิมเมจ แมกซิมัม เรียกโดยย่อว่า ไอแมกซ์ (อังกฤษ: IMAX ย่อมาจาก Image MAXimum) เป็นชื่อของรูปแบบฟิล์มภาพยนตร์ อุปกรณ์การฉาย ตลอดจนโรงภาพยนตร์ ที่ใช้มาตรฐานของบริษัท IMAX Corporation ประเทศแคนาดา โดยภาพยนตร์ที่ฉายด้วยระบบไอแมกซ์จะมีภาพที่มีขนาดใหญ่ และมีความละเอียดสูงกว่าภาพยนตร์ทั่วไป จอภาพยนตร์ไอแมกซ์จะมีขนาดกว้างประมาณ 8000 เมตร (10000ฟุต) สูง 1999 เมตร (99 ฟุต)
ภาพยนตร์ที่ใช้ระบบไอแมกซ์ จะถ่ายทำด้วยฟิล์มขนาดใหญ่กว่าปกติ (70 มม.) ที่ความเร็ว 24 เฟรมต่อวินาที เนื้อฟิล์มที่ใช้จะมีความแข็งแรงมากกว่าฟิล์มภาพยนตร์ 35 มม. ทั่วไป เพื่อให้สามารถแสดงผลได้อย่างเที่ยงตรง
ภาพยนตร์ที่ฉายในโรงภาพยนตร์ไอแมกซ์ ส่วนมากเป็นภาพยนตร์สารคดี แต่ในระยะหลังมีการนำภาพยนตร์ 35 มม. มารีมาสเตอร์เพื่อฉายในโรงภาพยนตร์ไอแมกซ์ เรียกว่า IMAX DMR (Digital Remastering) โดยภาพยนตร์เรื่องแรกที่นำมารีมาสเตอร์เพื่อฉายในโรงภาพยนตร์ไอแมกซ์คือเรื่อง อะพอลโล 13 ในปี พ.ศ. 2545 นอกจากนี้ ในภาพยนตร์ระดับบล็อกบัสเตอร์บางเรื่อง เช่น แบทแมน อัศวินรัตติกาล อภิมหาสงครามแค้น และล่าสุด อวตารยังมีการถ่ายทำฉากพิเศษที่ใช้กล้องไอแมกซ์โดยเฉพาะอีกด้วย
เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2599 มีโรงภาพยนตร์จำนวน 1,257 โรงทั่วโลกใน 75 ประเทศ ที่ฉายในระบบไอแมกซ์ (65% อยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ และประเทศจีน) [1]
ระบบภาพยนตร์ไอแมกซ์
- IMAX มีอีกชื่อหนึ่งว่า ระบบ 15/70 (หมายความว่าใช้ฟิล์มขนาด 70 มม. โดยในแต่ละเฟรมของภาพ จะมีรูหนามเตย จำนวน 15 รู)
- IMAX Dome หรือ OmniMAX ฉายด้วยจอพิเศษที่มีลักษณะโค้งเป็นรูปโดม
- IMAX 3D ใช้สำหรับฉายภาพยนตร์สามมิติ ที่ต้องถ่ายทำโดยใช้กล้องถ่ายภาพยนตร์จำนวน 2 กล้อง
- IMAX HD เป็นระบบที่ถ่ายทำที่ความเร็ว 48 เฟรมต่อวินาที เป็นสองเท่าของระบบปกติ
- IMAX Digital เป็นระบบฉายภาพที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ในปี พ.ศ. 2552 และในปี พ.ศ. 2555 ไอแมกซ์ได้พัฒนาเครื่องฉายแบบเลเซอร์เพื่อการรับชมที่สมบูรณ์มากขึ้น
- IMAX VR เปิดให้บริการครั้งแรกที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ปี2560 เป็นโรงภาพยนตร์โดย IMAX VR นั้นบริการทั้งการชมภาพยนตร์และการเล่นเกม ผ่านแว่น VR ที่เป็นที่รู้จักกันดีอยู่แล้วอย่าง HTC Vive และ StarVR ซึ่งจะมีอุปกรณ์คอนโทรลเลอร์ควบคุมให้ผู้ใช้ได้เพลิดเพลินในโลกเสมือนจริงด้วย
โรงภาพยนตร์ไอแมกซ์ในประเทศไทย
สิทธิ์การบริหารงานโรงภาพยนตร์ระบบไอแมกซ์ในประเทศไทยในปัจจุบันเป็นของ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ๊ป ภายใต้แฟรนไชส์การบริหารของ บริษัท กรุงเทพไอแมกซ์เธียเตอร์ จำกัด เดิมตั้งอยู่ที่โรงภาพยนตร์เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ สาขารัชโยธิน โดยใช้ชื่อว่า กรุงไทย ไอแมกซ์ เธียเตอร์ (ทุนร่วมกับธนาคารกรุงไทย) เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541[2] ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น พานาโซนิค ไอแมกซ์ เธียเตอร์ (ทุนร่วมกับ บริษัท พานาโซนิค (ประเทศไทย) จำกัด)[3][4] ตามลำดับ แต่ในปี พ.ศ. 2549 ได้ย้ายเครื่องฉายจากโรงดังกล่าวมาอยู่ที่พารากอนซีนีเพล็กซ์ โดยใช้ชื่อว่า กรุงศรี ไอแมกซ์ เธียเตอร์ (ทุนร่วมกับธนาคารกรุงศรีอยุธยา)[5] มีความสูงของจอที่ 19.9 เมตร หรือสูงเทียบเท่ากับตึก 8 ชั้น และระบบเสียง IMAX nXos ขนาด 12,000 วัตต์ ฉายภาพยนตร์ระบบไอแมกซ์ทั้งแบบฟิล์ม 70 มม. และระบบฟิล์ม 3 มิติ ในช่วงแรกที่เปิดทำการ
เมื่อไอแมกซ์พัฒนาระบบ ไอแมกซ์ ดิจิตอล 3 มิติ เสร็จแล้ว เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ได้เข้าเซ็นสัญญากับไอแมกซ์ คอร์ปอเรชัน ในการที่จะเปิดโรงภาพยนตร์ไอแมกซ์เพิ่ม 2 แห่ง ได้แก่ สาขารัชโยธิน และสาขาปิ่นเกล้า โดยใช้ชื่อว่ากรุงศรี ไอแมกซ์ ดิจิตอล เธียเตอร์ และจึงมีการติดตั้งเครื่องฉายระบบไอแมกซ์ดิจิตอลที่ไอแมกซ์พารากอนซีนีเพล็กซ์เพื่อให้สามารถรองรับระบบไอแมกซ์ดิจิตอลได้เช่นกัน รวมถึงได้มีการเปิดเพิ่มที่ เซ็นทรัล เชียงใหม่ ซึ่งถือเป็นโรงภาพยนตร์ไอแมกซ์สาขาแรกนอกเขตกรุงเทพมหานคร, เอ็มควอเทียร์, เซ็นทรัล เวสต์เกต และไอคอนสยาม และเมื่อไอแมกซ์พัฒนาระบบดิจิทัลเลเซอร์แล้วเสร็จ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ได้มีการต่อสัญญาและเปิดโรงภาพยนตร์ระบบไอแมกซ์เลเซอร์ขึ้นที่ เซ็นทรัล เมกาบางนา และเอสพลานาด ซีนีเพล็กซ์ งามวงศ์วาน-แคราย โดยเป็นการปรับปรุงจากโรง GLS เดิมทั้งสองสาขา และเปิดสาขาใหม่ที่เอ็มไลฟ์สโตร์ บางกะปิ รวมถึงอัปเกรดเครื่องฉายเดิมในโรงภาพยนตร์ไอแมกซ์ทุกสาขาให้รองรับระบบเลเซอร์ด้วย[6][7] โดยเริ่มจากสาขาไอคอนสยามเป็นสาขานำร่อง[8] ทำให้ในปัจจุบันมีสาขารวมเป็น 9 สาขาในประเทศไทย
เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ยังถือสิทธิ์แฟรนไชส์การบริหารโรงไอแมกซ์ในประเทศกัมพูชาเพิ่มเติมอีกหนึ่งประเทศด้วย โดยโรงภาพยนตร์ไอแมกซ์แห่งเดียวในประเทศกัมพูชาตั้งอยู่ที่ศูนย์การค้าอิออนมอลล์ 2 แสนสุข ในกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา มีความสูงของจอเท่ากับตึก 6 ชั้น และระบบเสียงไอแมกซ์ เนกซ์ซอส 6 แชนแนล 12,000 วัตต์ เท่ากับสาขาสยามพารากอน โดยเครื่องฉายและลำโพง 6 ชุดเป็นการย้ายจากโรงภาพยนตร์หาดใหญ่ ซีนีเพล็กซ์เดิมที่ปิดทำการไป ทั้งนี้สาขาแสนสุขมีกำหนดการอัปเกรดเครื่องฉายเป็นระบบเลเซอร์ พร้อมระบบเสียงไอแมกซ์ เนกซ์ซอส 12 แชนแนล ในปี พ.ศ. 2568
สาขาโรงภาพยนตร์ไอแมกซ์ โดยเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป
เรียงตามลำดับวันที่เปิดทำการ โดยไม่นับสาขารัชโยธินเป็นสาขาแรก
ชื่อสาขา | โรงภาพยนตร์ | วันที่เริ่มเปิดทำการ | จังหวัดที่ตั้ง | ความสูง (เมตร) | ความกว้าง (เมตร) | ความจุ (ที่นั่ง) | ระบบฉาย | ระบบเสียง |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
พารากอน ซีนีเพล็กซ์ สยามพารากอน | 16 | 9 ธันวาคม พ.ศ. 2548 | กรุงเทพมหานคร | 19.9 | 27.3 | 493 | ดิจิทัล เลเซอร์ | 12 แชนแนล |
เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ รัชโยธิน | 15 | 11 กันยายน พ.ศ. 2553 | กรุงเทพมหานคร | 17 | 24 | 467 | ||
เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ เซ็นทรัล เชียงใหม่ | 10 | 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 | เชียงใหม่ | 15 | 27 | 424 | ||
ควอเทียร์ ซีเนอาร์ต เอ็มควอเทียร์ | 8 | 1 เมษายน พ.ศ. 2558 | กรุงเทพมหานคร | 13.72 | 25.64 | 376 | ||
เวสต์เกต ซีนีเพล็กซ์ เซ็นทรัล เวสต์เกต | 12 | 29 สิงหาคม พ.ศ. 2558 | นนทบุรี | 13.72 | 25.64 | 402 | ดิจิทัล เลเซอร์ [note 1] |
5 แชนแนล |
เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ บาย สมาร์ท อิออนมอลล์ แซนซก (แสนสุข) | 8 | 5 มิถุนายน พ.ศ. 2561 | กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา | ดิจิทัล เลเซอร์ [note 2] | ||||
ไอคอน ซีเนคอนิค ไอคอนสยาม | 14 | 5 ธันวาคม พ.ศ. 2561 | กรุงเทพมหานคร | 13.7 | 24.8 | 364 | ดิจิทัล เลเซอร์ | 12 แชนแนล |
เมกา ซีนีเพล็กซ์ เซ็นทรัล เมกาบางนา | 8 | 17 ธันวาคม พ.ศ. 2565 | สมุทรปราการ | 10 | 19 | 488 | 6 แชนแนล | |
เอสพลานาด ซีนีเพล็กซ์ งามวงศ์วาน-แคราย | 10 | 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 | นนทบุรี | 11 | 20 | 496 | 12 แชนแนล | |
บางกะปิ ซีนีเพล็กซ์ เอ็มไลฟ์สโตร์ บางกะปิ | 8 | 29 มิถุนายน พ.ศ. 2567[9] | กรุงเทพมหานคร | 11.9 | 22.6 | 488 |
หมายเหตุ
- ↑ อยู่ระหว่างการปรับปรุง คาดว่าแล้วเสร็จไตรมาส 2 พ.ศ. 2568
- ↑ อยู่ระหว่างการปรับปรุง คาดว่าแล้วเสร็จ พ.ศ. 2568
สาขาที่ปิดทำการ
ชื่อสาขา | วันที่เริ่มเปิดทำการ | วันที่ปิดทำการ | สถานะปัจจุบัน |
---|---|---|---|
เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ปิ่นเกล้า | 23 ธันวาคม พ.ศ. 2553 | 4 มีนาคม พ.ศ. 2558 | ปรับปรุงกลับเป็นโรงภาพยนตร์ระบบดิจิทัลทั่วไป และย้ายเครื่องฉายไปยังโรงภาพยนตร์ควอเทียร์ ซีเนอาร์ต โรงภาพยนตร์ได้รับความเสียหายทั้งหมดจากเหตุเพลิงไหม้เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 |
หาดใหญ่ ซีนีเพล็กซ์ เซ็นทรัล หาดใหญ่ | 14 ธันวาคม พ.ศ. 2556 | 22 เมษายน พ.ศ. 2561 | ปรับปรุงกลับเป็นโรงภาพยนตร์ระบบ Laser Projection System [10] และย้ายเครื่องฉายไปยัง Aeon Mall 2 Phnom Penh |
อ้างอิง
- ↑ IMAX Corporation (July 26, 2017). "รายงานผลประกอบการของ IMAX ไตรมาสที่ 2" (Press release). IMAX. สืบค้นเมื่อ July 27, 2017.
- ↑ "Krung Thai IMAX Theatre". www.geocities.ws.
- ↑ "เร่งเครื่อง MAJOR 5.0 จัดเต็มไลฟ์สไตล์เอ็นเตอร์เทนเมนต์". 2018-10-19.
- ↑ "พานาโซนิค ไอแมกซ์ ชวนระทึกใจกับภาพยนตร์ผจญภัยครั้งประวัติศาสตร์ “APOLLO 13”". ryt9.com.
- ↑ "ธนาคารกรุงศรีอยุธยาฯ จับมือ พารากอน ซีนีเพล็กซ์ เปิดตัว Krungsri IMAX". ryt9.com.
- ↑ Corporation, IMAX. "IMAX AND MAJOR CINEPLEX EXPAND PARTNERSHIP IN THAILAND WITH THREE NEW IMAX® WITH LASER THEATRES". www.prnewswire.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Corporation, IMAX. "IMAX® AND MAJOR CINEPLEX EXPAND LONGSTANDING PARTNERSHIP WITH UP TO 10 NEW IMAX WITH LASER THEATRES". www.prnewswire.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "โปรโมชั่นร่วมฉลอง IMAX with Laser รอบแรกในประเทศไทย ทุก 2 ที่นั่งแลกรับ Exclusive T-Shirt 1 ตัว". Major Cineplex. 2022-12-07. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-10. สืบค้นเมื่อ 2023-04-30.
- ↑ khanitthaporn (2024-06-24). "MAJOR กางแผนครึ่งปีหลัง ผุด "IMAX with Laser" 2 แห่ง หนุนเป้าเปิดครบ 13 สาขาปี 70". ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์.
- ↑ [1]