การอดอาหารเป็นพัก ๆ

ภาพกราฟิกแสดงการอดอาหารแบบเป็นพัก ๆ

การอดอาหารเป็นพัก ๆ (อังกฤษ: Intermittent fasting) หรือการจำกัดพลังงานแบบอินเทอร์มิตเตนต์ (อังกฤษ: intermittent energy restriction) เป็นคำกว้าง ๆ ที่หมายถึงการจัดตารางเวลาสำหรับการทานอาหารให้มีวงจรระหว่างการอดอาหารโดยสมัครใจ (หรือลดการทานแคลอรี) สลับกับการไม่ได้อดอาหารเป็นช่วงเวลาที่กำหนด เป็นหนึ่งในวิธีการควบคุมอาหารที่มีรอบของช่วงการอดอาหารและการไม่อดอาหารตามเวลาที่กำหนด[1][2][3] การอดอาหารเป็นพัก ๆ นี้ เป็นวิธีหนึ่งที่ใช้ในการจำกัดแคลอรีเพื่อการลดน้ำหนักได้[4]

การปฏิบัติและความแตกต่าง

บางคนอาจใช้วิธีการอดอาหารเป็นพัก ๆ เพื่อลดจำนวนแคลอรีและลดน้ำหนัก[5][6] จากการศึกษาขั้นต้นพบว่า การอดอาหารเป็นพัก ๆ อาจเสี่ยงต่อโรคบางอย่าง

เกณฑ์วิธีการอดอาหารเป็นพัก ๆ อาจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ อดอาหารทั้งวันและจำกัดการกินในช่วงเวลา หรือเรียกว่า TRF

  • การอดอาหารทั้งวัน เป็นปกติในช่วงเวลา 1 วัน หรือเรียกว่า Alternate day fasting (ADF) เป็นการอดอาหารวันเว้นวัน คืออดอาหาร 24 ชั่วโมง และสามารถกินอาหารได้ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมงถัดมา[7] ส่วนการควบคุมอาหารแบบ 5:2 หมายถึง การกินอาหาร 500–600 แคลอรีในวันที่อดอาหาร[8][9]
  • การจำกัดเวลารับประทานอาหาร หรือเรียกว่า Time-restricted feeding (TRF) คือการกินอาหารเฉพาะในช่วงเวลาที่กำหนดขึ้นว่ากี่ชั่วโมงในแต่ละวัน[10] รูปแบบทั่วไปของ TRF คือ อดอาหาร 16 ชั่วโมงต่อวัน และมีเวลากินอาหารภายในระยะเวลา 8 ชั่วโมง โดยทั่วไปจะกำหนดเป็นเวลาเดียวกันในแต่ละวัน[11] ยังมีช่วงเวลาการกินที่เข้มงวดน้อยกว่า คือ อดอาหาร 12 ชั่วโมง และกินอาหาร 12 ชั่วโมง หรือหากเข้มงวดกว่าเดิม ก็อาจจะกินอาหารเพียงมื้อเดียว ซึ่งอาจหมายถึงอดอาหาร 23 ชั่วโมง[12]

มีคำแนะนำที่แตกต่างกันไปในเรื่องการกินอาหารระหว่างช่วงอดอาหาร บ้างก็ว่ากินได้แต่น้ำเปล่า บ้างก็อนุญาตให้กินชาหรือกาแฟได้ (ปราศจากนมและน้ำตาล) หรือเครื่องดื่ม 0 แคลอรี บ้างก็ว่าอาจดัดแปลงการอดอาหารได้ โดยจำกัดจำนวนแคลอรีที่กินเข้าไป (เช่น กินได้ 20% ของปกติ) ในช่วงอดอาหาร มากกว่าที่จะไม่กินอะไรเลย[7]

การควบคุมอาหารแบบ 5:2 เป็นที่นิยมในสหราชอาณาจักรในปี 2012[13][14][15] หลังจากช่องบีบีซีทู เสนอสารคดี Eat, Fast and Live Longer[16] โดยการขายหนังสือขายดี และได้รับความสนใจอย่างแพร่หลายในที่สุด[9][17]

จากข้อมุลของการบริการด้านสุขภาพแห่งชาติของอังกฤษ (National Health Service) ในปี 2012 ผู้คนมีความคิดว่าการควบคุมอาหารแบบ 5:2 ควรปรึกษาแพทย์ก่อน เพราะการอดอาหารเช่นนี้อาจถือว่าไม่ปลอดภัย[9][18] ในสหราชอาณาจักรหนังสือประเภทแทบลอยด์รายงานว่า จากผลการวิจัย อ้างว่า การควบคุมอาหารแบบ 5:2 อาจลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม และช่วยทำให้สมองและการทำงานของภูมิคุ้มกันโรคดีขึ้น หรือทำให้อายุยืนขึ้น แต่ก็ไม่มีสิ่งยืนยันข้อพิสูจน์ที่ดีพอนัก[9][19]

อ้างอิง

  1. de Cabo, Rafael; Mattson, Mark P. (December 2019). "Effects of intermittent fasting on health, aging, and disease". New England Journal of Medicine. 381 (26): 2541–51. doi:10.1056/NEJMra1905136. PMID 31881139.
  2. St-Onge MP, Ard J, Baskin ML, Chiuve SE, Johnson HM, Kris-Etherton P, Varady K, และคณะ (American Heart Association Obesity Committee of the Council on Lifestyle and Cardiometabolic Health; Council on Cardiovascular Disease in the Young; Council on Clinical Cardiology; and Stroke) (February 2017). "Meal Timing and Frequency: Implications for Cardiovascular Disease Prevention: A Scientific Statement From the American Heart Association". Circulation. 135 (9): e96–e121. doi:10.1161/CIR.0000000000000476. PMID 28137935.
  3. Patterson RE, Laughlin GA, LaCroix AZ, Hartman SJ, Natarajan L, Senger CM, และคณะ (August 2015). "Intermittent Fasting and Human Metabolic Health". Journal of the Academy of Nutrition and Dietetics. 115 (8): 1203–12. doi:10.1016/j.jand.2015.02.018. PMC 4516560. PMID 25857868.
  4. Mager, D. E (2006). "Caloric restriction and intermittent fasting alter spectral measures of heart rate and blood pressure variability in rats". The FASEB Journal. 20 (6): 631–7. doi:10.1096/fj.05-5263com. PMID 16581971.
  5. Patterson, R. E; Laughlin, G. A; Lacroix, A. Z; Hartman, S. J; Natarajan, L; Senger, C. M; Martínez, M. E; Villaseñor, A; Sears, D. D; Marinac, C. R; Gallo, L. C (2015). "Intermittent Fasting and Human Metabolic Health". Journal of the Academy of Nutrition and Dietetics (ภาษาอังกฤษ). 115 (8): 1203–1212. doi:10.1016/j.jand.2015.02.018. ISSN 2212-2672. PMC 4516560. PMID 25857868.
  6. Mattson, M. P; Longo, V. D; Harvie, M (2017). "Impact of intermittent fasting on health and disease processes". Ageing Research Reviews. 39: 46–58. doi:10.1016/j.arr.2016.10.005. PMC 5411330. PMID 27810402.
  7. 7.0 7.1 Varady, K. A (2011). "Intermittent versus daily calorie restriction: Which diet regimen is more effective for weight loss?". Obesity Reviews. 12 (7): e593–601. doi:10.1111/j.1467-789X.2011.00873.x. PMID 21410865.
  8. Fisher, Roxanne (1 June 2016). "What is the 5:2 diet?". BBC GoodFood, Worldwide.
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 Fleming, Amy (27 January 2015). "Fasting facts: is the 5:2 diet too good to be true?". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 18 January 2018.
  10. Rothschild, Jeff; Hoddy, Kristin K; Jambazian, Pera; Varady, Krista A (2014). "Time-restricted feeding and risk of metabolic disease: A review of human and animal studies". Nutrition Reviews. 72 (5): 308–18. doi:10.1111/nure.12104. PMID 24739093.
  11. Moro, Tatiana; Tinsley, Grant; Bianco, Antonino; Marcolin, Giuseppe; Pacelli, Quirico Francesco; Battaglia, Giuseppe; Palma, Antonio; Gentil, Paulo; Neri, Marco; Paoli, Antonio (2016). "Effects of eight weeks of time-restricted feeding (16/8) on basal metabolism, maximal strength, body composition, inflammation, and cardiovascular risk factors in resistance-trained males". Journal of Translational Medicine. 14 (1): 290. doi:10.1186/s12967-016-1044-0. PMC 5064803. PMID 27737674.
  12. Stote, KS; Baer, DJ; Spears, K; Paul, DR; Harris, GK; Rumpler, WV; Strycula, P; Najjar, SS; Ferrucci, L; Ingram, D. K.; Longo, D. L.; Mattson, M. P. (2007). "A controlled trial of reduced meal frequency without caloric restriction in healthy, normal-weight, middle-aged adults" (PDF). The American Journal of Clinical Nutrition. 85 (4): 981–8. PMC 2645638. PMID 17413096.
  13. "How to diet". Live Well - NHS Choices. UK National Health Service. 9 December 2011. สืบค้นเมื่อ 10 February 2014.
  14. Trueland, Jennifer (2013). "Fast and effective?". Nursing Standard. 28 (16): 26–7. doi:10.7748/ns2013.12.28.16.26.s28. PMID 24345130.
  15. Healy A (11 June 2013). "Dietitians warn against fad diets". Irish Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-28. สืบค้นเมื่อ 2018-06-14.
  16. Mosley, Michael (5 September 2012). "Eat, Fast & Live Longer". Horizon. ตอน 49x03. BBC. 2. สืบค้นเมื่อ 10 February 2014.
  17. "The UK's Hot New 5:2 Diet Craze Hits The U.S. - Weight Loss Miracle?". Forbes. 17 May 2013. สืบค้นเมื่อ 10 February 2014.
  18. "News analysis: Does the 5:2 intermittent fasting diet work?". Health News. UK National Health Service - NHS Choices. May 2013. สืบค้นเมื่อ 23 November 2016.
  19. "Could 5:2 diet play a role in preventing breast cancer?". NHS Choices. 17 June 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-28. สืบค้นเมื่อ 2018-06-14.