จักรพรรดิโกะ-โคมัตสึ
จักรพรรดิโกะ-โคมัตสึ 後小松天皇 | |||||
---|---|---|---|---|---|
จักรพรรดิญี่ปุ่น | |||||
ครองราชย์ | 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1392 – 5 ตุลาคม ค.ศ. 1412 | ||||
ก่อนหน้า | โกะ-คาเมยามะ | ||||
ถัดไป | โชโก | ||||
โชกุน | อาชิกางะ โยชิมิตสึ อาชิกางะ โยชิโมจิ | ||||
จักรพรรดิฝ่ายเหนือองค์ที่ 6 | |||||
ครองราชย์ | 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1382 – 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1392 | ||||
ราชาภิเษก | 31 มกราคม ค.ศ. 1383 | ||||
ก่อนหน้า | โกะ-เอ็นยู | ||||
ถัดไป | ไม่มี | ||||
พระราชสมภพ | 1 สิงหาคม ค.ศ. 1377 โมโตฮิโตะ (ญี่ปุ่น: 幹仁; โรมาจิ: Motohito) | ||||
สวรรคต | 1 ธันวาคม ค.ศ. 1433 | (56 ปี)||||
ฝังพระศพ | ฟูกากูซะ โนะ คิตะ โนะ มิซาซางิ (深草北陵; เกียวโต) | ||||
พระราชบุตร กับพระองค์อื่น ๆ... | อิกกีว โซจุง จักรพรรดิโชโก | ||||
| |||||
ราชสกุล | ราชวงศ์ญี่ปุ่น | ||||
พระราชบิดา | จักรพรรดิโกะ-เอ็นยู | ||||
พระราชมารดา | ซันโจ อิซูโกะ [ja] | ||||
ลายพระอภิไธย |
จักรพรรดิโกะ-โคมัตสึ (ญี่ปุ่น: 後小松天皇; โรมาจิ: Go-Komatsu-tennō; 1 สิงหาคม ค.ศ. 1377 – 1 ธันวาคม ค.ศ. 1433) เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นองค์ที่ 100 ตามธรรมเนียมการสืบราชสันตติวงศ์[1] และเป็นจักรพรรดิองค์ที่ 6 กับองค์สุดท้ายของราชสำนักเหนือ
พระองค์เป็นผู้อ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์จากราชสำนักเหนือตั้งแต่วันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1383 ถึงวันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 1392 เมื่อจักรพรรดิโกะ-คาเมยามะสละราชบัลลังก์ จักรพรรดิโกะ-โคมัตสึจึงเป็นจักรพรรดิที่ถูกต้องตามกฎหมาย (จักรพรรดิองค์ที่ 100) ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา จากนั้นใน ค.ศ. 1392 หลังยุคราชสำนักเหนือ-ใต้ที่รวมราชสำนักทั้งสองเป็นหนึ่งเดียว จักรพรรดิโกะ-คาเมยามะแห่งราชสำนักใต้ได้บรรลุข้อตกลงกับจักรพรรดิโกะ-โคมัตสึ เพื่อครองราชบัลลังก์สลับกันระหว่างราชสำนักเหนือและราชสำนักใต้ทุก ๆ 10 ปี ซึ่งส่งสัญญาณถึงจุดสิ้นสุดของการอ้างสิทธิ์ของราชสำนักใต้ อย่างไรก็ตาม จักรพรรดิโกะ-โคมัตสึละเมิดสัญญาไม่เพียงแค่ปกครองนาน 20 ปีจนกระทั่งพระองค์สละราชสมบัติในวันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ. 1412 เท่านั้น แต่ยังให้พระราชโอรสสืบทอดราชบัลลังก์ แทนที่จะให้บุคคลหนึ่งจากอดีตราชสำนักใต้ ตามที่นักวิชาการก่อนยุคเมจิกล่าวว่า รัชสมัยของโกะ-โคมัตสึในฐานะจักรพรรดิที่ถูกต้องตามกฎหมายมีระยะเวลาตั้งแต่ ค.ศ. 1392 ถึง 1412[2] ราชวงศ์ญี่ปุ่นในปัจจุบันสืบเชื้อสายมาจากจักรพรรดิในราชสำนักเหนือ 3 พระองค์
จักรพรรดิพระองค์นี้ได้รับพระนามจากจักรพรรดิโคโกในคริสต์ศตวรรษที่ 9 กับ โกะ- (後) ที่แปลตรงตัวว่า "ยุคหลัง" กูกันโช ของจิเอ็งอธิบายว่าโคโกได้รับการเรียกขานเป็น "จักรพรรดิแห่งโคมัตสึ"[3] ผู้อ้างสิทธิ์และจักรพรรดิในคริสต์ศตวรรษที่ 14 อาจเรียกเป็น "จักรพรรดิโคโกยุคหลัง" หรือ "จักรพรรดิโคมัตสึที่ 2"
พระราชประวัติ
ก่อนขึ้นครองราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ โกะ-โคมัตสึมีพระนามส่วนพระองค์ (อิมินะ) คือ เจ้าชายโมโตฮิโตะ (ญี่ปุ่น: 幹仁親王; โรมาจิ: Motohito-shinnō)[4]
โกะ-โคมัตสึเป็นพระราชโอรสองค์แรกในจักรพรรดิโกะ-เอ็นยู พระราชมารดาของพระองค์คือซือโยโมนิง โนะ อิตสึโกะ (通陽門院厳子) ธิดาในเจ้าผู้รักษาผนึกลับ (Lord Keeper of the Privy Seal) ซันโจ คิมิตาดะ (三条公忠)
- พระมเหสี: ฮิโนนิชิ โมโตโกะ (日野西資子, 1384–1440) ภายหลังเป็น โคฮัมมน-อิง (光範門院) ธิดาในฮิโนนิชิ ซูเกกูนิ
- พระราชโอรสองค์แรก: เจ้าชายมิฮิโตะ (1401–1428; 実仁親王) ภายหลังเป็นจักรพรรดิโชโก
- พระราชโอรสองค์ที่สอง: เจ้าชายโองาวะ (1404–1425; 小川宮) มกุฎราชกุมารของจักรพรรดิโชโก
- พระราชธิดาองค์แรก: เจ้าหญิงริเอ (理永女王; 1406–1447)
- นางกำนัล: คันโรจิ สึเนโกะ (甘露寺経子) ธิดาในคันโรจิ คาเนนางะ
- ไนชิ: ธิดาในฮิโนนิชิ ซูเกกูนิ
- ไนชิ: ธิดาในชิรากาวะ ซูเกตาดะ
- ไนชิ: โคเฮียวเอะ-โนะ-สึโบเนะ (小兵衛局)
- พระราชธิดา: (ประสูติ ค.ศ. 1412)
- ไนชิ: ไม่ทราบพระนาม (ธิดาในบริวารจากราชสำนักใต้)
พระองค์ได้รับพระนามจากจักรพรรดิโคโก ผู้มีอีกพระนามว่าโคมัตสึ เนื่องจากทั้งสองได้รับพระราชบัลลังก์คืนให้ตระกูลของตน ในกรณีของจักรพรรดิโกะ-โคมัตสึผ่านการเอาชนะคู่แข่งในราชสำนักทางใต้ และในกรณีของจักรพรรดิโคโกผ่านการสืบทอดราชบัลลังก์ต่อจากจักรพรรดิโยเซ พระราชนัดดาในพระเชษฐาของพระองค์
เหตุการณ์ในพระชนม์ชีพของจักรพรรดิโกะ-โคมัตสึ
เจ้าชายโมะโตะฮิโตะขึ้นเป็นผู้อ้างสิทธิพระองค์ที่ 6 ภายหลังการสละราชบัลลังก์ของจักรพรรดิโกะ-เอ็งยูพระราชบิดาเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 1325 จนกระทั่งสละราชบัลลังก์เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 1355
- 24 พฤษภาคม พ.ศ. 1325 (วันที่ 11 เดือน 4 ปี โควะ ที่ 4) : ปีที่ 11 ในรัชสมัยของ จักรพรรดิโกะ-เอ็งยู องค์จักรพรรดิสละราชบัลลังก์ให้กับ เจ้าชายโมโตฮิโตะ รัชทายาทพระชนมายุเพียง 5 พรรษาโดยอดีตจักรพรรดิเป็น ไดโจโฮโอ (มหาธรรมราชา)
- 21 ตุลาคม พ.ศ. 1335 : ปีที่ 10 ในรัชสมัยของจักรพรรดิโกะ-โคะมะสึ จักรพรรดิโกะ-คาเมยามะ จักรพรรดิแห่ง ราชสำนักใต้ สละราชบัลลังก์ให้กับจักรพรรดิโกะ-โคะมะสึ พระชนมายุเพียง 15 พรรษาขึ้นเป็นจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่นทำให้ ยุคราชสำนักเหนือ-ใต้ ที่ดำเนินมาเกือบ 60 ปีสิ้นสุดลง
- 5 ตุลาคม พ.ศ. 1355 (วันที่ 29 เดือน 8 ปี เมโตะกุ ที่ 19) : ปีที่ 30 ในรัชสมัยของจักรพรรดิโกะ-โคะมะสึพระองค์สละราชบัลลังก์ให้กับ เจ้าชายมิฮิโตะ พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อมาเป็น จักรพรรดิโชโก
- 1 ธันวาคม พ.ศ. 1376 (วันที่ 20 เดือน 10 ปี เอเคียว ที่ 5) : ปีที่ 3 ในรัชสมัยของ จักรพรรดิโกะ-ฮานาโซโนะ อดีตจักรพรรดิโกะ-โคะมะสึสวรรคตเมื่อพระชนมายุได้ 56 พรรษา
แผนผัง
(96) โกไดโงะ | โคงง (อ้าง 1) | (อ้าง 2) โคเมียว | |||||||||||||||||||||||||||||||||||
(97) โกะ-มูรากามิ | (อ้าง 3) ซุโก | (อ้าง 4) โกะ-โคงง | |||||||||||||||||||||||||||||||||||
(98) โชเก | (99) โกะ-คะเมะยะมะ | (อ้าง 5) โกะ-เอ็งยู | |||||||||||||||||||||||||||||||||||
(100) โกะ-โคะมะสึ อ้าง 6 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||
(101) โชโก | (102) โกะ-ฮะนะโซะโนะ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
จักรพรรดิแห่งราชสำนักใต้
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
- ↑ Imperial Household Agency (Kunaichō): 後小松天皇 (100); retrieved 2013-8-28.
- ↑ Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du japon, pp. 317–327.
- ↑ Brown, Delmer M. (1979). Gukanshō, p. 289; excerpt, "Koko's personal name was Tokiayasu, and he was called the 'Emperor of Komatsu'. He received the throne on the 4th day of the 1st month of 884 ...."
- ↑ Titsingh, p. 317.
ข้อมูล
- Brown, Delmer M. and Ichirō Ishida, eds. (1979). Gukanshō: The Future and the Past. Berkeley: University of California Press. ISBN 978-0-520-03460-0; OCLC 251325323
- Ponsonby-Fane, Richard. (1959). The Imperial House of Japan. Kyoto: Ponsonby Memorial Society. OCLC 194887
- Titsingh, Isaac. (1834). [Siyun-sai Rin-siyo/Hayashi Gahō, 1652], Nipon o daï itsi ran (Annales des empereurs du Japon). Paris: Oriental Translation Fund of Great Britain and Ireland.
ก่อนหน้า | จักรพรรดิโกะ-โคมัตสึ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
จักรพรรดิโกะ-เอ็งยู | ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์จากราชสำนักเหนือพระองค์ที่ 6 (1925 - 1935) |
สิ้นสุด | ||
จักรพรรดิโกะ-คาเมยามะ | จักรพรรดิญี่ปุ่น (1935 - 1955) |
จักรพรรดิโชโก |