จักรพรรดิโกไดโงะ
โกไดโงะ | |
---|---|
พระบรมสาทิสลักษณ์ของจักรพรรดิโกไดโงะ | |
จักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น องค์ที่ 96 | |
ครองราชย์ 29 มีนาคม พ.ศ. 1861 - 18 กันยายน พ.ศ. 1882 | |
พิธีขึ้น | 30 เมษายน [ตามปฎิทินเก่า: 29 เดือน 3] 1861 พระราชวังหลวงเฮอัง |
ไดโจไซ | 15 ธันวาคม [ตามปฎิทินเก่า: 22 เดือน 11] 1861 |
พระนามหลังสวรรคต | จักรพรรดิโกไดโงะ (後醍醐院) ถวายพระนามเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 1882 |
คัมปากุ | นิโจ มิชิฮิระ |
ยุค | ยุคคามากูระ • ยุคราชสำนักเหนือ-ใต้ |
ก่อนหน้า | ฮะนะโซะโนะ |
ถัดไป | ราชสำนักใต้ : โกะ-มุระกะมิ ราชสำนักเหนือ : จักรพรรดิโคงง , จักรพรรดิโคเมียว |
พระบรมนามาภิไธย | เจ้าชายทากาฮารุ |
พระราชสมภพ | 26 พฤศจิกายน [ตามปฎิทินเก่า: 2 เดือน 11] 1831 |
สวรรคต | 19 กันยายน [ตามปฎิทินเก่า: 16 เดือน 8] 1882 |
ฝังพระบรมศพ | 11 ตุลาคม [ตามปฎิทินเก่า: 8 เดือน 9] 1882 |
สุสานหลวง | สุสานหลวงโท โนะ โอะโนะ |
พิธีฉลองการเจริญวัย | 27 มกราคม [ตามปฎิทินเก่า: 20 เดือน 12] 1847 |
พระราชบิดา | จักรพรรดิโกะ-อุดะ |
พระราชมารดา | ฟุจิวะระ โนะ ชูชิ |
จักรพรรดินี (โคโง) | ฟุจิวะระ โนะ คิชิ เจ้าหญิงจุนชิ |
นางสนองพระโอษฐ์ | ฟุจิวะระ โนะ เรนชิ |
พระราชโอรส-ธิดา | เจ้าชายโนะริโยะชิ , จักรพรรดิโกะ-มุระกะมิ |
ลายพระอภิไธย |
จักรพรรดิโกไดโงะ (ญี่ปุ่น: 後醍醐天皇) จักรพรรดิองค์ที่ 96 แห่ง ราชวงศ์ญี่ปุ่น ตามที่ได้บันทึกไว้ใน รายพระนามจักรพรรดิญี่ปุ่น
จักรพรรดิโกะไดโงะครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 1861 - พ.ศ. 1882
โดยพระนามของพระองค์นั้นนำมาจากพระนามของ จักรพรรดิไดโงะ ที่ครองราชย์ในช่วง ศตวรรษที่ 9 โดยเมื่อใส่คำว่า โก (後) ที่แปลว่า สอง หรือ ยุคหลัง เข้าไปทำให้พระนามของพระองค์แปลได้ว่า จักรพรรดิไดโงะที่สอง หรือ จักรพรรดิไดโงะยุคหลัง
พระราชประวัติ
จักรพรรดิโกะ-ไดโงะมีพระนามก่อนจะขึ้นสืบราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศว่า เจ้าชายทะกะฮะรุ (尊治親王)
เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 2 ใน จักรพรรดิโกะ-อุดะ จักรพรรดิองค์ที่ 91 และเป็นพระราชอนุชาต่างพระราชมารดาของ จักรพรรดิโกะ-นิโจ จักรพรรดิองค์ที่ 94
เหตุการณ์ในพระชนมชีพของจักรพรรดิโกะ-ไดโงะ
- พ.ศ. 1851 (ปี เอ็นเกียว ที่ 1) : จักรพรรดิโกะ-นิโจ ผู้เป็นพระเชษฐาต่างพระราชมารดาสวรรคตเจ้าชายโทะมิฮิโตะจากสายราชสกุลจิเมียวอินขึ้นสืบราชบัลลังก์เป็น จักรพรรดิฮะนะโซะโนะ เมื่อพระชนมายุเพียง 11 พรรษาเจ้าชายทะกะฮะรุได้รับสถาปนาขึ้นเป็นรัชทายาทโดยได้รับแรงสนับสนุนจาก รัฐบาลโชกุนคะมะกุระ
- 29 มีนาคม พ.ศ. 1861 (วันที่ 26 เดือน 2 ปี บุนโป ที่ 2) : ปีที่ 10 ในรัชสมัย จักรพรรดิฮะนะโซะโนะ องค์จักรพรรดิได้ประกาศสละราชบัลลังก์ให้กับเจ้าชายทะกะฮะรุที่รัชทายาทพระชนมายุ 30 พรรษาขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อมา
ทำให้อดีต จักรพรรดิโกะ-อุดะ พระราชบิดาได้เป็น ไดโจโฮโอ (มหาธรรมราชา) กุมพระราชอำนาจเหนือพระราชโอรสอีกครั้งดังเช่นรัชสมัย จักรพรรดิโกะ-นิโจ จนกระทั่งปี พ.ศ. 1864 จักรพรรดิโกะ-ไดโงะจิงสามารถบริหารราชการแผ่นดินได้ด้วยพระองค์เอง
- พ.ศ. 1862 (เดือน 4 ปี บุนโป ที่ 3) : เปลี่ยน รัชศก เป็นปี เก็นโอ เพื่อแสดงถึงการเริ่มต้นของจักรพรรดิองค์ใหม่
ในปี พ.ศ. 1867 อันเป็นช่วงปลาย ยุคคะมะกุระ จักรพรรดิโกะ-ไดโงะพยายามโค่นล้มรัฐบาลโชกุนแต่ที่ปริกษาในพระองค์คนหนึ่งได้ทำการทรยศด้วยการนำแผนการโค่นล้มรัฐบาลโชกุนของจักรพรรดิโกะ-ไดโงะไปแจ้งแก่ รัฐบาลโชกุนคะมะกุระ ทำให้การก่อการครั้งนี้ไม่สำเร็จ
ในปี พ.ศ. 1874 องค์จักรพรรดิได้พยายามโค่นล้มรัฐบาลโชกุนอีกครั้งแต่ไม่สำเร็จเนื่องจากที่ปรึกษาในพระองค์คนหนึ่งได้นำแผนการไปแจ้งแก่รัฐบาลที่ คะมะกุระ ทำให้รัฐบาลโชกุนได้ทำการเนรเทศองค์จักรพรรดิไปยัง จังหวัดโอะกิ ซึ่งเป็นสถานที่เดียวกับที่อดีต จักรพรรดิโกะ-โทะบะ เคยถูกเนรเทศไปภายหลัง สงครามปีโจคิว เมื่อปี พ.ศ. 1764 หรือ 110 ปีก่อนหน้านั้นและสถาปนาเจ้าชายคะซูฮิโตะจากราชสกุลจิเมียวอินขึ้นเป็น จักรพรรดิโคงง
ปี พ.ศ. 1876 องค์จักรพรรดิโกะ-ไดโงะสามารถหลบหนีออกจากที่คุมขังโดยความช่วยเหลือของ นะวะ นะงะโตะชิ ขุนศึกผู้จงรักภักดีในระหว่างนั้น อะชิกะงะ ทะกะอุจิ อดีตขุนศึกของฝ่ายรัฐบาลโชกุนที่แปรพักตร์มาเข้ากับฝ่ายจักรพรรดิได้ทำการยึดคืน นครหลวงเฮอัง มาจากฝ่ายรัฐบาลได้สำเร็จพร้อมกันนั้นอีกหนึ่งขุนศึกแปรพักตร์คือ นิตตะ โยะชิซะดะ ได้ทำการยึด คะมะกุระ ได้สำเร็จทำให้รัฐบาลโชกุนล่มสลายและคนในตระกูลโฮโจกระทำเซ็ปปุกุ (ฆ่าตัวตาย) ทั้งหมด
ปี พ.ศ. 1877 จักรพรรดิโกะ-ไดโงะเสด็จนิวัติกลับไปยัง นครหลวงเฮอัง และปลดจักรพรรดิโคงงลงจากราชบัลลังก์พร้อมกับรวมพระราชอำนาจทั้งหมดไว้ที่พระองค์อันเป็นจุดกำเนิด ยุคฟื้นฟูสมัยเก็งมู ทำให้อะชิกะงะ ทะกะอุจิซึ่งสามารถปราบปรามศัตรูทางการเมืองรวมถึงนิตตะ โยะชิซะดะและสถาปนาตนเองเป็นปฐมโชกุนแห่งอะชิกะงะไม่พอใจยกกองทัพบุกเข้านครหลวงเฮอังเมื่อปี พ.ศ. 1879 พร้อมกับสถาปนาพระอนุชาของอดีตจักรพรรดิโคงงขึ้นเป็น จักรพรรดิโคเมียว ทางฝั่งจักรพรรดิโกะ-ไดโงะและพระราชวงศ์ได้เสด็จลี้ภัยลงไปยังเมือง โยะชิโนะ ซึ่งตั้งอยู่ทางใต้ของ นครหลวงเฮอัง พร้อมกับตั้งราชสำนักขึ้นที่นี่เมื่อ เดือนมกราคม พ.ศ. 1880 ทำให้เกิด ยุคราชสำนักเหนือ-ใต้ ขึ้นมา
- 18 กันยายน พ.ศ. 1882 (วันที่ 15 เดือน 8 ปี ราคุโอะ ที่ 2) ปีที่ 21 ในรัชสมัยจักรพรรดิโกะ-ไดโงะสละราชสมบัติที่เมืองโยะชิโนะให้กับ เจ้าชายโนะริโยะชิ ที่รัชทายาทขิ้นสืบราชบัลลังก์ต่อมาเป็น จักรพรรดิโกะ-มุระกะมิ
- 19 กันยายน พ.ศ. 1882 (วันที่ 16 เดือน 8 ปี ราคุโอะ ที่ 2) อดีตจักรพรรดิโกะ-ไดโงะสวรรคตเมื่อพระชนมายุเพียง 51 พรรษา
แผนผังจักรพรรดิญี่ปุ่น
(88) โกซางะ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
มุเนะตะกะ (โชกุนลำดับที่ 6) | (จิเมียวอิง) (89) โกะ-ฟุกะกุซะ | (ไดกะกุจิ) (90) คาเมยามะ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
โคะเระยะซุ (โชกุนลำดับที่ 7) | (92) ฟุชิมิ | เจ้าชายฮิซะอะกิ (โชกุนลำดับที่ 8) | (91) โกอูดะ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
(93) โกะ-ฟุชิมิ | (95) ฮะนะโซะโนะ | เจ้าชายโมะริกุนิ (โชกุนลำดับที่ 9) | (94) โกะ-นิโจ | (96) โกไดโงะ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
(อ้าง 1) โคงง | นะโอะฮิโตะ | คุนิโยะชิ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
(96) โกไดโงะ | โคงง (อ้าง 1) | (อ้าง 2) โคเมียว | |||||||||||||||||||||||||||||||||||
(97) โกะ-มูรากามิ | (อ้าง 3) ซุโก | (อ้าง 4) โกะ-โคงง | |||||||||||||||||||||||||||||||||||
(98) โชเก | (99) โกะ-คะเมะยะมะ | (อ้าง 5) โกะ-เอ็งยู | |||||||||||||||||||||||||||||||||||
(100) โกะ-โคะมะสึ อ้าง 6 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||
(101) โชโก | (102) โกะ-ฮะนะโซะโนะ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ดูเพิ่ม
อ้างอิง