ตำบลท่าวังตาล
ตำบลท่าวังตาล | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Tambon Tha Wang Tan |
วิหารและเจดีย์เหลี่ยมในวัดเจดีย์เหลี่ยม (วัดกู่คำ) | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | เชียงใหม่ |
อำเภอ | สารภี |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 13.63 ตร.กม. (5.26 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566)[1] | |
• ทั้งหมด | 11,981 คน |
• ความหนาแน่น | 879.01 คน/ตร.กม. (2,276.6 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 50140 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 501910 |
เทศบาลตำบลท่าวังตาล | |
---|---|
พิกัด: 18°44′42.6″N 98°59′39.5″E / 18.745167°N 98.994306°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | เชียงใหม่ |
อำเภอ | ฮอด |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 13.63 ตร.กม. (5.26 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566)[2] | |
• ทั้งหมด | 11,981 คน |
• ความหนาแน่น | 879.01 คน/ตร.กม. (2,276.6 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 05501909 |
ที่อยู่ สำนักงาน | เลขที่ 149/1 หมู่ 2 ถนนสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ 50140 |
เว็บไซต์ | thawangtan |
ท่าวังตาล เป็นตำบลในอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เป็นที่ตั้งเวียงกุมกาม ซึ่งเป็นอดีตเมืองหลวงอาณาจักรล้านนาที่พญามังรายโปรดให้สร้างขึ้น และเป็นพื้นที่ขยายตัวของชุมชนที่รองรับความเจริญเติบโตของนครเชียงใหม่
ที่ตั้งและอาณาเขต
ตำบลท่าวังตาลมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้[3]
- ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลหนองหอย
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลหนองผึ้ง และตำบลยางเนิ้ง
- ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลหนองแฝก และตำบลดอนแก้ว
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลป่าแดด
ประวัติ
ท่าวังตาล พัฒนาการมาจากชุมชนโบราณสถานเวียงกุมกาม ซึ่งพญามังรายทรงสร้างขึ้นบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนยาวตามลำน้ำปิงสายเก่า ตัวเมืองวางแนวทแยงทิศตะวันออกเฉียงใต้สู่ตะวันตกเฉียงเหนือ โดยกำแพงด้านเหนือเลียบปิงห่าง การวางผังเมืองแนวทแยงคงช่วยชะลอการส่งน้ำจากแม่น้ำเข้าคูเมือง เพื่อไม่ให้น้ำไหลแรงจนทำให้คูเมืองเสียหาย หลังจากพญามังรายสร้างเมืองเชียงใหม่ เวียงกุมกามจึงมีฐานะเป็นพันนากุมกาม จนกระทั่งสมัยธนบุรี ชื่อของพันนากุมกามได้หายไป แต่กลับปรากฎเป็นชื่อ ท่าวังตาล[4]
เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงกองทัพธนบุรีมาช่วยพระยาจ่าบ้านและพระเจ้ากาวิละต่อสู้กับพม่า ซึ่งยึดครองเมืองเชียงใหม่ โดยสู้รบกันที่ท่าวังตาล ในสมัยพระเจ้ากาวิละ ท่าวังตาลเป็นท่าน้ำที่สำคัญแห่งหนึ่ง เมื่อพระเจ้ากาวิละเดินทางกลับจากกรุงเทพฯ พระเจ้ากาวิละจะขึ้นเรือที่ท่าวังตาลเช่นกัน ท่าวังตาลจึงเป็นท่าน้ำสืบมาจนกระทั่งการคมนาคมทางน้ำหมดความสำคัญลง ต่อมาในสมัยพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ และพระเจ้าอินทวิชยานนท์ ได้ใช้สถานที่นี้เป็นที่ประหารชีวิตนักโทษเมืองเชียงใหม่ ปัจจุบันคือ สุสานท่าวังตาล ในเขตตำบลป่าแดด
ปี พ.ศ. 2492 หมู่ 12 บ้านเกาะกลาง ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี ขุนไตรกิตยานุกูล (อัมพร ไตรกิตยานุกูล) ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ และพระยารามราชภักดี ปลัดกระทรวงมหาดไทย ทำหน้าที่แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้น ได้พิจารณาโอนท้องที่หมู่บ้านเกาะกลางไปขึ้นกับตำบลป่าแดด ของอำเภอเมืองเชียงใหม่ โดยตั้งเป็นหมู่ 8 ตำบลป่าแดด[5]
การแบ่งเขตการปกครอง
การปกครองส่วนภูมิภาค
พื้นที่ตำบลท่าวังตาลประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 13 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 11,981 คน แบ่งเป็นชาย 5,485 คน หญิง 6,496 คน (เดือนธันวาคม 2566)[6] เป็นตำบลที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับ 2 ในอำเภอสารภี
- หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน
* ปี พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
หมู่บ้าน | พ.ศ. 2566[7] | พ.ศ. 2565[8] | พ.ศ. 2564[9] | พ.ศ. 2563[10] | พ.ศ. 2562[11] | พ.ศ. 2561[12] | พ.ศ. 2560[13] |
---|---|---|---|---|---|---|---|
กลาง | 1,748 | 1,665 | 1,617 | 1,555 | 1,484 | 1,465 | 1,461 |
ช้างค้ำ | 1,145 | 1,167 | 1,152 | 1,150 | 1,122 | 1,119 | 1,100 |
โป่ง | 1,139 | 1,143 | 1,140 | 1,135 | 1,115 | 1,110 | 1,084 |
บวกหัวช้าง | 1,010 | 951 | 903 | 897 | 859 | 823 | 804 |
บวกครกเหนือ | 961 | 926 | 917 | 898 | 847 | 829 | 818 |
ป่างิ้ว | 929 | 887 | 842 | 780 | 776 | 767 | 763 |
บวกครกใต้ | 886 | 807 | 801 | 786 | 721 | 706 | 696 |
ป่าเปอะ | 872 | 868 | 852 | 835 | 823 | 834 | 857 |
ป่ากล้วย | 782 | 777 | 751 | 742 | 718 | 695 | 680 |
ป่าเส้า | 712 | 690 | 652 | 646 | 642 | 626 | 631 |
สันป่ากว๋าว | 638 | 590 | 527 | 484 | 430 | 399 | 372 |
หางแคว | 604 | 589 | 591 | 562 | 538 | 525 | 517 |
เจดีย์เหลี่ยม | 555 | 551 | 566 | 569 | 567 | 582 | 575 |
รวม | 11,981 | 11,611 | 11,311 | 11,039 | 10,642 | 10,480 | 10,358 |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ตำบลท่าวังตาลเดิมมีฐานะเป็นสภาตำบลท่าวังตาล ในปี พ.ศ. 2516[14] ต่อมาปี พ.ศ. 2538 สภาตำบลท่าวังตาลมี 13 หมู่บ้าน พื้นที่ 13.63 ตารางกิโลเมตร ประชากร 8,702 คน และ 2,867 ครัวเรือน[15] ปี พ.ศ. 2539 กระทรวงมหาดไทยจึงพิจารณาให้สภาตำบลท่าวังตาลอยู่ในเงื่อนไขที่จะจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลได้ จึงได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลท่าวังตาล[16]
ปี พ.ศ. 2551 เขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าวังตาลมี 13 หมู่บ้าน พื้นที่ 13.63 ตารางกิโลเมตร ประชากร 9,593 คน และ 3,797 ครัวเรือน[17] รายได้จริงไม่รวมเงินอุดหนุน 21.27 ล้านบาท รายจ่ายประจำ 7.41 ล้านบาท สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าวังตาล จะครบวาระในวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 กับประสงค์จะจัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2552 กระทรวงมหาดไทยจึงพิจารณาให้องค์การบริหารส่วนตำบลท่าวังตาลอยู่ในเงื่อนไขที่จะจัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลได้ จึงได้รับการจัดตั้งเป็น เทศบาลตำบลท่าวังตาล[18]
อ้างอิง
- ↑ ประชากรในเขตตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
- ↑ ประชากรในเขตท้องถิ่นเทศบาลตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (ตอนพิเศษ 66 ง): 30–58. วันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2540
- ↑ ประวัติความเป็นมาของตำบลท่าวังตาล - เทศบาลตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ สืบค้นเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2567
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอในจังหวัดเชียงใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 66 (64 ง): 5244. วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [4] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (108 ง): (ฉบับพิเศษ) 1–72. วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2516
- ↑ ประชากรรายตำบลในประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2538 (เขตตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 52 ง): 1–365. วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539
- ↑ ประชากรรายตำบลในประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2550 (เขตตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่ิอง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเทศบาลตำบลท่าวังตาล". กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. 126: 1. วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2552 โดยมีผลบังคับใช้ในวันเดียวกัน