ตำบลเขื่อนผาก

ตำบลเขื่อนผาก
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Khuean Phak
คำขวัญ: 
“ถิ่นศาลารวมใจ ไหว้พระธาตุศรีบุญฤทธิ์ ผลิตน้ำอ้อยแท้ พริกแต้เม็ดสวย รวยข้าวโพดพันธุ์ดี เกษตรอินทรีชี้นำ”
ประเทศไทย
จังหวัดเชียงใหม่
อำเภอพร้าว
พื้นที่
 • ทั้งหมด45.42 ตร.กม. (17.54 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)[1]
 • ทั้งหมด4,524 คน
 • ความหนาแน่น136.27 คน/ตร.กม. (352.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 50190
รหัสภูมิศาสตร์501108
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
องค์การบริหารส่วนตำบลเขื่อนผาก
อบต.เขื่อนผากตั้งอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่
อบต.เขื่อนผาก
อบต.เขื่อนผาก
พิกัด: 19°19′41.4″N 99°11′25.3″E / 19.328167°N 99.190361°E / 19.328167; 99.190361
ประเทศ ไทย
จังหวัดเชียงใหม่
อำเภอพร้าว
พื้นที่
 • ทั้งหมด33.20 ตร.กม. (12.82 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด4,524 คน
 • ความหนาแน่น136.27 คน/ตร.กม. (352.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.06501108
ที่อยู่ที่ทำการเลขที่ 152 หมู่ที่ 5 ถนนเชียงใหม่–พร้าว ตำบลเขื่อนผาก อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ 50190
เว็บไซต์www.khuanphak.com
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เขื่อนผาก เป็นตำบลในอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่เป็นลักษณะเนินเขาและที่ราบ มีแม่น้ำและลำห้วยสำคัญ ได้แก่ ลำห้วยแม่แจ๋ ลำน้ำแม่งัด และลำน้ำแม่ละงอง บางส่วนอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่งัด[2] และเขตนิคมสหกรณ์พร้าว[3]

ที่ตั้งและอาณาเขต

ตำบลเขื่อนผาก มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้[4]

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลทุ่งหลวง และตำบลป่าตุ้ม
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลแม่แวน
  • ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลแม่ปั๋ง
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลน้ำแพร่

ประวัติ

เดิมพื้นที่เป็นหมู่บ้านหมู่ 8 ของตำบลน้ำแพร่ อำเภอพร้าว ต่อมาปี พ.ศ. 2490 ขุนไตรกิตยานุกูล (อัมพร ไตรกิตยานุกูล) ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมกับร้อยเอกพิพัฒน์ พิพัฒน์สุรการ รองปลัดกระทรวงมหาดไทยลงนามแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศแยก 2 หมู่บ้านของตำบลแม่แวน ได้แก่ หมู่ 8 บ้านแพะพัฒนา, หมู่ 9 บ้านทรายมูล และประกาศแยก 3 หมู่บ้านของตำบลน้ำแพร่ ได้แก่ หมู่ 8 บ้านเขื่อนผาก, หมู่ 9 บ้านห้วยบงเหนือ, หมู่ 10 บ้านห้วยบงใต้ รวม 5 หมู่บ้าน มาตั้งเป็น ตำบลเขื่อนผาก[5]

พ.ศ. 2520 นายชลอ ธรรมศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมกับจ. เทพหัสดิน ณ อยุธยา รองปลัดกระทรวงมหาดไทยลงนามแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศโอนพื้นที่หมู่ 11 บ้านสหกรณ์นิคมแปลง 2 ของตำบลป่าตุ้ม มาตั้งเป็นพื้นที่หมู่ 6 บ้านสหกรณ์นิคมแปลง 2 ของตำบลเขื่อนผาก[6]

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

พื้นที่ตำบลเขื่อนผากประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 10 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 4,524 คน แบ่งเป็นชาย 2,221 คน หญิง 2,303 คน (เดือนธันวาคม 2566)[7] เป็นตำบลที่มีจำนวนประชากรมากเป็นลำดับ 5 ในอำเภอพร้าว

      หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน

* ปี พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก

หมู่บ้าน พ.ศ. 2566[8] พ.ศ. 2565[9] พ.ศ. 2564[10] พ.ศ. 2563[11] พ.ศ. 2562[12] พ.ศ. 2561[13] พ.ศ. 2560[14]
ห้วยบงเหนือ 776 775 776 791 800 796 803
ทรายทอง 633 643 641 655 659 652 655
สหกรณ์แปลง 2 499 505 505 505 506 498 495
แพะพัฒนา 466 464 475 467 467 467 469
ม่วงหลวง 394 400 403 407 424 425 414
ทรายมูล 380 390 398 394 401 400 404
ไชยมงคล 357 363 372 383 392 389 394
ขวัญประชา 340 342 343 349 347 348 356
ห้วยบงใต้ 334 343 346 343 343 347 347
เขื่อนผาก 276 275 277 277 275 283 277
*ทบ.กลาง 69 55 59 56 30 28 27
รวม 4,524 4,555 4,595 4,627 4,644 4,633 4,641

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ตำบลเขื่อนผากเดิมมีฐานะเป็นสภาตำบลเขื่อนผาก ในปี พ.ศ. 2516[15] ต่อมาปี พ.ศ. 2538 สภาตำบลเขื่อนผากมี 10 หมู่บ้าน พื้นที่ 33.20 ตารางกิโลเมตร ประชากร 5,159 คน และ 1,604 ครัวเรือน[16] ปี พ.ศ. 2539 กระทรวงมหาดไทยจึงพิจารณาให้สภาตำบลเขื่อนผากอยู่ในเงื่อนไขที่จะจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลได้ จึงได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลเขื่อนผาก[17]

อ้างอิง

  1. ประชากรในเขตตำบลเขื่อนผาก อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
  2. "กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๗๑ (พ.ศ. ๒๕๑๕) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๗ [กำหนดให้ป่าแม่งัด ในท้องที่ตำบลสันทราย ตำบลป่าไหน ตำบลบ้านโป่ง ตำบลป่าตุ้ม ตำบลน้ำแพร่ ตำบลเขื่อนผาก ตำบลแม่แวน ตำบลแม่ปั๋ง และตำบลโหล่งขอด อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เป็นป่าสงวนแห่งชาติ]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (166 ก): 134–135. วันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515
  3. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสหกรณ์ ในท้องที่อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๕๑๓" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 87 (119 ก): (ฉบับพิเศษ) 19-21. วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2513
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 115 (ตอนพิเศษ 20 ง): 149–175. วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2541
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 94 (35 ง): 1843–1845. วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2520
  7. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
  8. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
  9. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
  10. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [4] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
  11. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
  12. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
  13. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
  14. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.
  15. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (108 ง): (ฉบับพิเศษ) 1–72. วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2516
  16. ประชากรรายตำบลในประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2538 (เขตตำบลเขื่อนผาก อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567
  17. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 52 ง): 1–365. วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539