บาท (สกุลเงิน)

บาท
Thai baht
ธนบัตรร้อยบาทไทยฉบับที่ 9 ในสมัยรัชกาลที่ 9
ISO 4217
รหัสTHB
การตั้งชื่อ
หน่วยย่อย
 1/100สตางค์
สัญลักษณ์฿
ธนบัตร
 ใช้บ่อย20, 50, 100, 500, 1000 บาท
 ไม่ค่อยใช้50 สตางค์, 1, 5, 10 บาท
เหรียญ
 ใช้บ่อย25, 50 สตางค์, 1, 2, 5, 10 บาท
 ไม่ค่อยใช้1, 5, 10 สตางค์
ข้อมูลการใช้
ผู้ใช้อย่างเป็นทางการ
 ไทย
อย่างไม่เป็นทางการ
 พม่า
 ลาว
 กัมพูชา
 เวียดนาม
การตีพิมพ์
ธนาคารกลางธนาคารแห่งประเทศไทย
 เว็บไซต์www.bot.or.th
โรงพิมพ์ธนบัตรสำนักกษาปณ์
 เว็บไซต์www.royalthaimint.net
การประเมินค่า
อัตราเงินเฟ้อ>2.5% (ในวันที่ 15 พ.ค. 2555 เป็นต้นไป)
 ที่มาThe World Factbook (พ.ศ. 2549)

บาท (ตัวละติน: Baht; สัญลักษณ์: ฿; รหัสสากลตาม ISO 4217: THB) เป็นสกุลเงินตราประจำชาติของประเทศไทย เดิมคำว่า "บาท" เป็นหนึ่งในคำใช้เรียกหน่วยการชั่งน้ำหนักของไทย ปัจจุบันยังมีใช้ในความหมายเดิมอยู่บ้าง โดยเฉพาะในการซื้อขายทองคำ เช่น "ทองคำวันนี้ราคาขายบาทละ32,000 บาท" หมายถึงทองคำหนักหนึ่งบาทสามารถขายได้ 32,000 บาท ในสมัยที่เริ่มใช้เหรียญครั้งแรก เงินเหรียญหนึ่งบาทนั้นเป็นเงินที่มีน้ำหนักหนึ่งบาทจริง ๆ ไม่ได้ทำด้วยทองแดงนิกเกิลเช่นในปัจจุบัน

เหรียญไทยนั้นผลิตออกมาโดยสำนักกษาปณ์ กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง โดยสามารถผลิตออกใช้ได้ไม่จำกัดจำนวนโดยไม่ต้องมีสิ่งใดมาค้ำประกัน เพราะโลหะที่ใช้ผลิตเหรียญกษาปณ์นั้นมีค่าในตัวเองอยู่แล้ว ส่วนธนบัตรนั้นผลิตและควบคุมการหมุนเวียนโดยธนาคารแห่งประเทศไทย การผลิตธนบัตรนำออกใช้จะมีหลักเกณฑ์วิธีที่เหมาะสมเพื่อให้เศรษฐกิจของชาติมีเสถียรภาพ

ตามข้อมูลของสมาคมเพื่อการโทรคมนาคมทางการเงินระหว่างธนาคารทั่วโลก (SWIFT) สกุลเงินบาทได้รับการอันดับเป็นสกุลเงินอันดับที่ 10 ของโลกที่ใช้ในการชำระเงินระหว่างประเทศ (most frequently used currencies in World Payments)[[1] 1]

ประวัติศาสตร์

ระบบสกุลเงินไทยในปัจจุบัน ซึ่งเงิน หนึ่งบาท มีค่าเท่ากับ 100 สตางค์ เริ่มใช้ พ.ศ. 2440 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ก่อนหน้านั้นเงินตราไทยใช้ระบบดังนี้

หน่วยเงิน มูลค่า หมายเหตุ
1 หาบ 80 ชั่ง = 6,400 บาท
1 ชั่ง 20 ตำลึง = 80 บาท
1 ตำลึง 4 บาท
1 บาท 1 บาท = 100 สตางค์
1 มายน หรือ 1 มะยง 1/2 บาท = 50 สตางค์ ปัจจุบันยังมีการเรียกเหรียญมูลค่านี้ว่า เหรียญสองสลึง
1 สลึง 1/4 บาท = 25 สตางค์ ปัจจุบันยังมีการเรียกเหรียญมูลค่านี้ว่า เหรียญสลึง
1 เฟื้อง 1/8 บาท = 12.5 สตางค์
1 ซีก หรือ 1 สิ้ก 1/16 บาท = 6.25 สตางค์
1 เสี้ยว 1 เซี่ยว หรือ 1 ไพ 1/32 บาท = 3.125 สตางค์
1 อัฐ 1/64 บาท = 1.5625 สตางค์
1 โสฬส หรือ โสฬศ 1/128 บาท = 0.78125 สตางค์
1 เบี้ย 1/6400 บาท = 0.015625 สตางค์

เหรียญ

ในปัจจุบันมีการผลิตเหรียญกษาปณ์อยู่ทั้งหมด 9 ชนิดคือ เหรียญ 1, 5, 10, 25 และ 50 สตางค์, 1, 2, 5 และ 10 บาท โดยเหรียญ 25 และ 50 สตางค์, 1, 2, 5 และ 10 บาท เป็นเหรียญที่ออกใช้หมุนเวียนทั่วไป ส่วนเหรียญ 1, 5 และ 10 สตางค์ ไม่ได้ออกใช้หมุนเวียนทั่วไป แต่ใช้ภายในธนาคารเท่านั้น

แต่ในปัจจุบันได้เกิดปัญหาราคาวัตถุดิบในการผลิตเหรียญสูงกว่าราคาเหรียญ ทำให้เกิดการลักลอบหลอมเหรียญไปขาย หรือบางครั้งก็เกิดปัญหาการใช้เหรียญผิด เพราะรูปร่างและสีของเหรียญบางชนิดนั้นคล้ายกัน (เช่น เหรียญ 1 บาท กับ เหรียญ 2 บาท แบบเก่า) ดังนั้น ใน พ.ศ. 2552 กระทรวงการคลัง ได้เปลี่ยนแปลงวัตถุดิบในการผลิตเหรียญบางชนิด เพื่อป้องกันการหลอมเหรียญ สร้างความแตกต่างของเหรียญ และลดความยุ่งยากในการใช้เหรียญเป็นดังนี้

เหรียญของเงินบาทไทย

การหมุนเวียนของเงินตรา (ไทย)
มูลค่า ตัวแปรทางเทคนิค คำบรรยาย ปีที่ผลิตครั้งแรก
เส้นผ่าศูนย์กลาง มวล องค์ประกอบ ด้านหน้า ด้านหลัง
เหรียญ 1 สตางค์ 1 15 มิลลิเมตร 0.5 กรัม 97.5% Al, 2.5% Mg พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร, จังหวัดลำพูน พ.ศ. 2530 (1987)
99% Aluminium พ.ศ. 2551 (2008)
เหรียญ 5 สตางค์ 1 16 มิลลิเมตร 0.6 กรัม 97.5% Al, 2.5% Mg วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร, จังหวัดนครปฐม พ.ศ. 2530 (1987)
16.5 มิลลิเมตร 99% Al พ.ศ. 2551 (2008)
เหรียญ 10 สตางค์ 1 17.5 มิลลิเมตร 0.8 กรัม 97.5% Al, 2.5% Mg วัดพระธาตุเชิงชุม, จังหวัดสกลนคร พ.ศ. 2530 (1987)
99% Al พ.ศ. 2551 (2008)
เหรียญ 25 สตางค์ 16 มิลลิเมตร 1.9 กรัม อะลูมีเนียมบรอนซ์ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร, จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2530 (1987)
เหรียญ 25 สตางค์ (แบบ 2) 16 มิลลิเมตร 1.9 กรัม ทองแดง ชุบ เหล็ก พ.ศ. 2551 (2008)
เหรียญ 50 สตางค์ 18 มิลลิเมตร 2.4 กรัม อะลูมีเนียมบรอนซ์ วัดพระธาตุดอยสุเทพ, จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2530 (1987)
เหรียญ 50 สตางค์ (แบบ 2) 18 มิลลิเมตร 2.4 กรัม ทองแดง ชุบ เหล็ก พ.ศ. 2551 (2008)
เหรียญ 1 บาท 20 มิลลิเมตร 3.4 กรัม คิวโปรนิกเกิล วัดพระศรีรัตนศาสดาราม, กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2529 (1986)
3 กรัม นิกเกิล ชุบ เหล็ก พ.ศ. 2551 (2008)
เหรียญ 2 บาท 21.75 มิลลิเมตร 4.4 กรัม นิกเกิล ชุบ เหล็กคาร์บอนต่ำ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร, กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2548 (2005)
21.75 มิลลิเมตร 4 กรัม อะลูมีเนียมบรอนซ์ พ.ศ. 2551 (2008)
เหรียญ 5 บาท 24 มิลลิเมตร 7.5 กรัม คิวโปรนิกเกิล หุ้ม ทองแดง วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร, กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2531 (1988)
6 กรัม พ.ศ. 2551 (2008)
เหรียญ 10 บาท 26 มิลลิเมตร 8.5 กรัม วงแหวน: คิวโปรนิกเกิล
ตรงกลาง: อะลูมีเนียมบรอนซ์
วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2531 (1988)
เหรียญ 10 บาท
(แบบ 2)
26 มิลลิเมตร พ.ศ. 2551 (2008)
การหมุนเวียนของเงินตรา (ไทย)
มูลค่า ตัวแปรทางเทคนิค คำบรรยาย ปีที่ผลิตครั้งแรก
เส้นผ่าศูนย์กลาง มวล องค์ประกอบ ด้านหน้า ด้านหลัง
เหรียญ 1 สตางค์ 1 15 มิลลิเมตร 0.5 กรัม 97.5% Al, 2.5% Mg พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ตราสัญลักษณ์ ว.ป.ร. พ.ศ. 2561 (2018)
99% Aluminium
เหรียญ 5 สตางค์ 1 16 มิลลิเมตร 0.6 กรัม 97.5% Al, 2.5% Mg
16.5 มิลลิเมตร 99% Al
เหรียญ 10 สตางค์ 1 17.5 มิลลิเมตร 0.8 กรัม 97.5% Al, 2.5% Mg
99% Al
เหรียญ 25 สตางค์ 16 มิลลิเมตร 1.9 กรัม อะลูมีเนียมบรอนซ์
เหรียญ 25 สตางค์ (แบบ 2) 16 มิลลิเมตร 1.9 กรัม ทองแดง ชุบ เหล็ก
เหรียญ 50 สตางค์ 18 มิลลิเมตร 2.4 กรัม อะลูมีเนียมบรอนซ์
เหรียญ 50 สตางค์ (แบบ 2) 18 มิลลิเมตร 2.4 กรัม ทองแดง ชุบ เหล็ก
เหรียญ 1 บาท 20 มิลลิเมตร 3.4 กรัม คิวโปรนิกเกิล
3 กรัม นิกเกิล ชุบ เหล็ก
เหรียญ 2 บาท 21.75 มิลลิเมตร 4.4 กรัม นิกเกิล ชุบ เหล็กคาร์บอนต่ำ
21.75 มิลลิเมตร 4 กรัม อะลูมีเนียมบรอนซ์
เหรียญ 5 บาท 24 มิลลิเมตร 7.5 กรัม คิวโปรนิกเกิล หุ้ม ทองแดง
6 กรัม
เหรียญ 10 บาท 26 มิลลิเมตร 8.5 กรัม วงแหวน: คิวโปรนิกเกิล
ตรงกลาง: อะลูมีเนียมบรอนซ์
เหรียญ 10 บาท
(แบบ 2)
26 มิลลิเมตร

ธนบัตร

นับ แต่เริ่มนำธนบัตรออกใช้เมื่อพุทธศักราช 2445 จนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยได้นำธนบัตรออกใช้รวมทั้งสิ้น 17 แบบ ซึ่งแบ่งเป็นธนบัตรก่อนจัดตั้งโรงพิมพ์ธนบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้แก่ ธนบัตรแบบ 1-10 รวมทั้งธนบัตรแบบพิเศษ และธนบัตรที่ผลิตจากโรงพิมพ์ธนบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้แก่ ธนบัตรแบบ 11-17

ธนบัตร ที่ใช้ในประเทศไทยในปัจจุบันมีหลายชนิด แต่หลายชนิดเป็นธนบัตรที่ระลึกที่มีจำนวนจำกัด และไม่ถูกใช้ในการหมุนเวียนทั่วไป เช่น ธนบัตรที่ระลึกมูลค่า 60 บาท เป็นต้น ส่วนธนบัตรที่ถูกใช้หมุนเวียนทั่วไป และยังมีการผลิตอยู่อย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน มี 5 ชนิด ได้แก่ ธนบัตร 20, 50, 100, 500 และ 1000 บาท

ธนบัตรแบบ 15 [1] เก็บถาวร 2013-02-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ภาพประธาน ชนิดราคา ขนาด สี คำอธิบาย วันประกาศออกใช้ วันจ่ายแลก
ด้านหน้า ด้านหลัง ภาพด้านหน้า ภาพด้านหลัง
ธนบัตร 20 บาท 138 × 72 มม. เขียว พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเครื่องแบบจอมทัพ พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ภาพพระราชกรณียกิจเมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินที่สำเพ็ง และภาพสะพานพระราม 8 12 กุมภาพันธ์ 2546 3 มีนาคม 2546
ธนบัตร 50 บาท 144 × 72 มม. ฟ้า พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ภาพลูกโลกดาว กล้องโทรทรรศน์ ​และภาพพระปฐมเจดีย์ 19 มีนาคม 2547 1 ตุลาคม 2547
ธนบัตร 100 บาท 150 × 72 มม. แดง พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องแบบเต็มยศทหารเรือ และภาพพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับการเลิกทาส 5 กันยายน 2548 21 ตุลาคม 2548
ธนบัตร 500 บาท 156 × 72 มม. ม่วง พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ ภาพโลหะปราสาท วัดราชนัดดารามวรวิหาร และภาพเรือสำเภา 24 กรกฎาคม 2544 1 สิงหาคม 2544
ธนบัตร 1000 บาท 162 × 72 มม. น้ำตาล พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ภาพเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และภาพเกษตรกรรมตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่ 29 กรกฎาคม 2548 25 พฤศจิกายน 2548
ธนบัตรแบบ 16 **[1]
ภาพประธาน ชนิดราคา ขนาด สี คำอธิบาย วันประกาศออกใช้ วันจ่ายแลก
ด้านหน้า ด้านหลัง ภาพด้านหน้า ภาพด้านหลัง
ธนบัตร 20 บาท 138 × 72 มม. เขียว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในฉลองพระองค์ครุยมหาจักรีบรมราชวงศ์ พระบรมราชานุสาวรีย์ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ประทับบนพระแท่นมนังศิลาบาตร ภาพการประดิษฐ์อักษรไทย ภาพศิลาจารึกหลักที่ 1 จารึกพ่อขุนรามคำแหง ภาพลายสือไทย ภาพทรงรับเรื่องราวร้องทุกข์ของราษฎร ภาพกระดิ่ง และภาพเครื่องสังคโลก 2 พฤศจิกายน 2555 1 เมษายน 2556 [2]
ธนบัตร 50 บาท 144 × 72 มม. ฟ้า ​ พระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงหลั่งทักษิโณทก ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ทรงพระแสงดาบ นำทหารเข้าตีค่ายพม่า พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ อนุสรณ์ดอนเจดีย์ และพระเจดีย์ชัยมงคล วัดใหญ่ชัยมงคล 24 มิถุนายน 2554 18 มกราคม 2555 [3]
ธนบัตร 100 บาท 150 x 72 มม. แดง ​พระบรมรูป​สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ภาพทรงเกลี้ยกล่อมให้ประชาชนรวมกำลังกันต่อสู่กู้อิสรภาพ ภาพท้องพระโรงพระราชวังกรุงธนบุรี ภาพพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงม้าพระที่นั่งออกศึก และภาพป้อมวิไชยประสิทธิ์ 27 ธันวาคม 2557 26 กุมภาพันธ์ 2558 [4]
ธนบัตร 500 บาท 156 x 72 มม. ม่วง พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ภาพวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ภาพป้อมพระสุเมรุ 27 ธันวาคม 2556 12 พฤษภาคม 2557 [5]
ธนบัตร 1000 บาท 162 x 72 มม. น้ำตาล ​พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช ภาพพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงม้าพระที่นั่ง ภาพพระที่นั่งอนันตสมาคม และภาพการเลิกทาส 17 สิงหาคม 2558 21 สิงหาคม 2558[6]
ธนบัตรแบบ 17 [7]
ภาพประธาน ชนิดราคา ขนาด สี คำอธิบาย วันประกาศออกใช้ วันจ่ายแลก
ด้านหน้า ด้านหลัง ภาพด้านหน้า ภาพด้านหลัง
ธนบัตร 20 บาท 138 × 72 มม. เขียว ​ พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารอากาศ ​ พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย 8 มีนาคม 2561[8] 6 เมษายน 2561
ธนบัตร 20 บาท 138 × 72 มม. เขียว 20 มกราคม 2565[9] 24 มีนาคม 2565
ธนบัตร 50 บาท 144 × 72 มม. ฟ้า พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 8 มีนาคม 2561 6 เมษายน 2561
ธนบัตร 100 บาท 150 × 72 มม. แดง พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว 8 มีนาคม 2561 6 เมษายน 2561
ธนบัตร 500 บาท 156 × 72 มม. ม่วง พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล 8 มีนาคม 2561 28 กรกฎาคม 2561
ธนบัตร 1000 บาท 162 × 72 มม. น้ำตาล พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว 8 มีนาคม 2561 28 กรกฎาคม 2561

อ้างอิง

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-20. สืบค้นเมื่อ 2015-04-06.
  2. "ธปท.เปิดตัวแบงก์ 50 ใหม่ เริ่มใช้ 18 ม.ค.-ปลอมยาก!". ASTV Manager Daily. สืบค้นเมื่อ 12 Jan 2012.
  3. "ธปท.ออกใช้ธนบัตรชนิดราคา 20บาท แบบใหม่". Than Setthakij. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-20. สืบค้นเมื่อ 28 Mar 2013.
  4. Press release announcing the issuance of the Series 16 100 baht banknote เก็บถาวร 2015-02-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Bank of Thailand (www.bot.or.th). Retrieved on 2015-02-24 (อังกฤษ)
  5. Press release announcing the issuance of the Series 16 500 baht banknote เก็บถาวร 2015-04-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Bank of Thailand (www.bot.or.th). Retrieved on 2014-05-08 (อังกฤษ)
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-10. สืบค้นเมื่อ 2015-08-17.
  7. https://www.bot.or.th/Thai/AboutBOT/Activities/Pages/Banknote_Rama10.aspx[ลิงก์เสีย]
  8. "แบงก์ชาติเตรียมออกใช้ธนบัตรแบบใหม่ ครั้งแรกในสมัย ร.10". sanook. สืบค้นเมื่อ 8 Mar 2018.
  9. "ธปท. เตรียมออกใช้ธนบัตรผลิตจากพอลิเมอร์ ชนิดราคา 20 บาท เริ่มใช้ 24 มี.ค. นี้". sanook. สืบค้นเมื่อ 20 Jan 2022.

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

ตัวอย่างการอ้างอิง

  1. 50 countries are now using the RMB for more than 10% oftheir paymentsvalue with China and Hong Kong swift.com (อังกฤษ)