ผลระยะยาวของโควิด-19
ผลระยะยาวของโควิด-19 (long COVID) หรือชื่อเรียกอื่น เช่น ผลตามหลังระยะเฉียบพลันของการติดเชื้อ SARS-CoV-2 (post-acute sequelae of SARS-CoV-2 infection), ผลตามหลังระยะเฉียบพลันของโควิด-19 (post-acute sequelae of COVID-19 (PASC)), กลุ่มอาการโควิดเรื้อรัง (chronic COVID syndrome (CCS)) และ โควิดลากยาว (long-haul COVID)[1][2][3] คือภาวะในทางทฤษฎีที่ผู้ป่วยที่หายจากระยะป่วยเฉียบพลันของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แล้วยังมีอาการอยู่ อาการเหล่านี้เช่น ความอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ หายใจลำบาก จมูกไม่ได้กลิ่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง ไข้ต่ำ และมึนงง เป็นต้น
ผู้ป่วยที่ตรวจพบเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ประมาณ 10% จะมีอาการอยู่นานกว่า 3 สัปดาห์[4] และประมาณ 2% มีอาการอยู่นานกว่า 12 สัปดาห์[5] เรียกว่ากลุ่มอาการหลังโควิด-19
ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับผลระยะยาวของโควิด-19 ยังอยู่ระหว่างการศึกษา โดย ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 ยังไม่มีข้อสรุปทางการแพทย์เกี่ยวกับภาวะนี้ แต่มีการศึกษาฉบับหนึ่งบ่งชี้ว่ามีปัจจัยเสี่ยงบางประการที่ส่งผลกับการเกิดผลระยะยาว ระบบบริการสุขภาพของบางประเทศหรือเขตปกครองได้เริ่มการให้การดูแลกลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้โดยจัดเป็นคลินิกพิเศษเพื่อให้การดูแลและให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยที่มีผลระยะยาวจากโควิด-19
ผลระยะยาวของโควิด-19 พบได้ในผู้ป่วยทุกกลุ่ม รวมไปถึงคนหนุ่มสาวที่มีสุขภาพดี[6] และรวมไปถึงผู้ป่วยที่มีอาการในระยะแรกเพียงเล็กน้อยด้วย
ข้อมูลนับถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 ยังไม่มีรายงานว่าตรวจพบอาการที่คล้ายคลึงกับผลระยะยาวของโควิด-19 ในผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 ไปแล้วกว่า 100,000 ราย[7][8][9]
ศัพท์และนิยาม
Long COVID เป็นคำที่ถูกสร้างขึ้นโดยผู้ป่วย มีรายงานว่ามีการใช้ครั้งแรกเป็นแฮชแท็กบนทวิตเตอร์ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2563 โดยเอลิสา เปเรโก (Elisa Perego) นักโบราณคดีจากมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน[10][11]
ผลระยะยาวของโควิด-19 ไม่มีคำจำกัดความที่เข้มงวดเพียงนิยามเดียว[12] เป็นเรื่องปกติและคาดว่าผู้ที่มีอาการรุนแรงหรือมีภาวะแทรกซ้อน เช่น กลุ่มอาการหลังเข้ารักษาในหอผู้ป่วยหนัก หรือการติดเชื้อทุติยภูมิจะใช้เวลาในการฟื้นตัวนานกว่าผู้ที่มีอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยและไม่มีภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว ความผันแปรตามธรรมชาติอาจทำให้ยากที่จะระบุว่ากลุ่มอาการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในแต่ละบุคคลนั้นแสดงถึงภาวะปกติโดยพื้นฐานของการใช้เวลาฟื้นตัวนาน หรือผลระยะยาวของโควิด-19 หลักคิดประการหนึ่งคือ ผลระยะยาวของโควิด-19 แสดงถึงอาการที่มีนานกว่าสองเดือน แม้ว่าจะไม่มีเหตุผลใดที่จะเชื่อได้ว่าทางเลือกนี้เจาะจงกับการติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2[12]
คำจำกัดความของสหราชอาณาจักร
สถาบันแห่งชาติเพื่อความเป็นเลิศด้านสุขภาพและการแพทย์ (NICE) ของอังกฤษ แบ่งคำจำกัดความทางคลินิกของโควิด-19 ออกเป็น 3 แบบ:
- โควิด-19 เฉียบพลัน สำหรับอาการและอาการแสดงในช่วง 4 สัปดาห์แรกหลังการติดเชื้อด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
- อาการใหม่หรือต่อเนื่อง 4 สัปดาห์ขึ้นไปหลังจากเริ่มโควิด-19 เฉียบพลัน แบ่งออกเป็น:
- 2.1 โควิด-19 ที่มีอาการต่อเนื่อง ที่มีผลตั้งแต่ 4 ถึง 12 สัปดาห์หลังเริ่มมีอาการ
- 2.2 กลุ่มอาการหลังโควิด-19 สำหรับผลที่คงอยู่ 12 สัปดาห์ขึ้นไปหลังจากเริ่มมีอาการ
NICE อธิบายคำว่า ผลระยะยาวของโควิด-19 ว่าใช้ "นอกเหนือจากคำจำกัดความของกรณีทางคลินิก" โดยเป็น "ที่ใช้กันทั่วไปในการอธิบายอาการและอาการแสดงที่ดำเนินต่อไปหรือพัฒนาหลังจากโควิด-19 เฉียบพลันซึ่งมีทั้ง โควิด-19 ที่มีอาการต่อเนื่อง (ตั้งแต่ 4 ถึง 12 สัปดาห์) และกลุ่มอาการหลังโควิด-19 (12 สัปดาห์ขึ้นไป)"[13]
NICE ให้คำจำกัดความของกลุ่มอาการหลังโควิด-19 ว่า "อาการและอาการแสดงที่เกิดขึ้นระหว่างหรือหลังการติดเชื้อที่สอดคล้องกับโควิด‑19 ดำเนินต่อไปนานกว่า 12 สัปดาห์และไม่ได้รับการอธิบายด้วยการวินิจฉัยในทางอื่น โดยปกติแล้วบ่อยครั้งจะแสดงเป็นกลุ่มของกลุ่มอาการที่ทับซ้อนกัน ซึ่งอาจแปรผันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และอาจส่งผลต่อระบบใด ๆ ในร่างกาย กลุ่มอาการหลังโควิด-19 อาจได้รับการวินิจฉัยก่อน 12 สัปดาห์ในขณะที่มีการประเมินความเป็นไปได้ในการเกิดโรคอื่น[13]
คำจำกัดความของสหรัฐ
ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 สถาบันสุขภาพแห่งชาติ (NIH) กล่าวว่าอาการของผลระยะยาวของโควิด-19 อาจรวมถึงความเหนื่อยล้า หายใจถี่ "ภาวะสมองล้า (Brain Fog)" ความผิดปกติของการนอนหลับ มีไข้เป็นพัก ๆ อาการระบบทางเดินอาหาร ความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า อาการอาจคงอยู่เป็นเวลาหลายเดือนและมีตั้งแต่ไม่รุนแรงไปจนถึงทำให้ทุพพลภาพ โดยจะมีอาการใหม่เกิดขึ้นหลังจากช่วงเวลาของการติดเชื้อ ผู้อำนวยการ NIH ฟรานซิส คอลลินส์ กล่าวว่าเงื่อนไขนี้สามารถเรียกรวมกันว่าผลสืบเนื่องฉับพลันหลังการติดเชื้อ SARS-CoV-2 (Post-Acute Sequelae of SARS-CoV-2; PASC)[14]
อาการ
ผู้ป่วยโควิดระยะยาวรายงานอาการต่อไปนี้ ประกอบด้วย[15][16][17][18][19]
- อ่อนเพลียมาก
- ไอเรื้อรัง
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง
- ไข้ต่ำ
- ตั้งสมาธิลำบาก
- เสียความทรงจำ
- อารมณ์เปลี่ยนแปลง ซึ่งบางทีมาคู่กับโรคซึมเศร้าและอาการทางจิตอย่างอื่น
- ปัญหาการหลับ
- ปวดศีรษะ
- ปวดข้อ
- ปวดเหมือนเข็มต่ำตามแขนขา
- ท้องร่วง และอาเจียนเป็นคราว ๆ
- เสียการรับรสและกลิ่น
- เจ็บคอและกลืนลำบาก
- เริ่มเป็นเบาหวานและความดันโลหิตสูง
- ผื่นผิวหนัง
- หายใจลำบาก
- เจ็บหน้าอก
- ใจสั่น
- ปัญหาของไต
- ปัญหาสุขภาพปาก (ฟัน น้ำลายและเหงือก)
- ไม่ได้กลิ่น[20]
- รู้กลิ่นผิดธรรมดา[20]
- มีเสียงในหู
อ้างอิง
- ↑ Baig AM (October 2020). "Chronic COVID Syndrome: Need for an appropriate medical terminology for Long-COVID and COVID Long-Haulers". Journal of Medical Virology. doi:10.1002/jmv.26624. PMID 33095459.
- ↑ Staff (13 November 2020). "Long-Term Effects of COVID-19". Centers for Disease Control and Prevention. สืบค้นเมื่อ 27 November 2020.
- ↑ "Overview | COVID-19 rapid guideline: managing the long-term effects of COVID-19 | Guidance | NICE". National Institute for Health and Care Excellence. 18 December 2020. สืบค้นเมื่อ 18 December 2020.
- ↑ Greenhalgh T, Knight M, A'Court C, Buxton M, Husain L (August 2020). "Management of post-acute covid-19 in primary care". BMJ. 370: m3026. doi:10.1136/bmj.m3026. PMID 32784198. S2CID 221097768.
- ↑ Sudre CH, Murray B, Varsavsky T, Graham MS, Penfold RS, Bowyer RC, Pujol JC, Klaser K, Antonelli M, Canas LS, Molteni E (19 December 2020). "Attributes and predictors of Long-COVID: analysis of COVID cases and their symptoms collected by the Covid Symptoms Study App". MedRxiv, Preprint Server for the Health Sciences. doi:10.1101/2020.10.19.20214494. S2CID 224805406. สืบค้นเมื่อ 23 December 2020.
- ↑ Brito D, Meester S, Yanamala N, Patel HB, Balcik BJ, Casaclang-Verzosa G, และคณะ (November 2020). "High Prevalence of Pericardial Involvement in College Student Athletes Recovering From COVID-19". JACC. Cardiovascular Imaging: S1936878X20309463. doi:10.1016/j.jcmg.2020.10.023. PMC 7641597 . PMID 33223496.
- ↑ Polack FP, Thomas SJ, Kitchin N, Absalon J, Gurtman A, Lockhart S, และคณะ (December 2020). "Safety and Efficacy of the BNT162b2 mRNA Covid-19 Vaccine". The New England Journal of Medicine. 383 (27): 2603–2615. doi:10.1056/NEJMoa2034577. PMC 7745181 . PMID 33301246.
- ↑ Anderson EJ, Rouphael NG, Widge AT, Jackson LA, Roberts PC, Makhene M, และคณะ (December 2020). "Safety and Immunogenicity of SARS-CoV-2 mRNA-1273 Vaccine in Older Adults". The New England Journal of Medicine. 383 (25): 2427–2438. doi:10.1056/NEJMoa2028436. PMID 32991794. PMC 7556339
- ↑ Mahase E (December 2020). "Covid-19: Oxford vaccine could be 59% effective against asymptomatic infections, analysis shows". BMJ. 371: m4777. doi:10.1136/bmj.m4777. PMID 33298405.
- ↑ Perego, Elisa; Callard, Felicity; Stras, Laurie; Melville-Jóhannesson, Barbara; Pope, Rachel; Alwan, Nisreen A. (1 October 2020). "Why we need to keep using the patient made term "Long Covid"". The BMJ (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 18 October 2020.
- ↑ Callard F, Perego E (January 2021). "How and why patients made Long Covid". Social Science & Medicine. 268: 113426. doi:10.1016/j.socscimed.2020.113426. PMC 7539940 . PMID 33199035.
- ↑ 12.0 12.1 Brodin, Petter (January 2021). "Immune determinants of COVID-19 disease presentation and severity". Nature Medicine (ภาษาอังกฤษ). 27 (1): 28–33. doi:10.1038/s41591-020-01202-8. ISSN 1546-170X. PMID 33442016.
- ↑ 13.0 13.1 "Context | COVID-19 rapid guideline: managing the long-term effects of COVID-19". National Institute for Health and Care Excellence. 18 December 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-11. สืบค้นเมื่อ 18 December 2020.
- ↑ Francis S. Collins (23 February 2021). "NIH launches new initiative to study "Long COVID"".
- ↑ "COVID-19 (coronavirus): Long-term effects". Mayo Clinic. 18 August 2020. สืบค้นเมื่อ 19 October 2020.
- ↑ "What are the long-term health risks following COVID-19?". NewsGP. Royal Australian College of General Practitioners (RACGP). 24 June 2020. สืบค้นเมื่อ 19 October 2020.
- ↑ Yelin D, Wirtheim E, Vetter P, Kalil AC, Bruchfeld J, Runold M, และคณะ (October 2020). "Long-term consequences of COVID-19: research needs". The Lancet. Infectious Diseases. 20 (10): 1115–1117. doi:10.1016/S1473-3099(20)30701-5. PMC 7462626. PMID 32888409. สืบค้นเมื่อ 19 October 2020.
- ↑ "Chinese study finds most patients show signs of 'long Covid' six months on". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 10 January 2021. สืบค้นเมื่อ 11 January 2021.
- ↑ Yan, W. Their Teeth Fell Out. Was It Another Covid-19 Consequence? The New York Times (2020). https://www.nytimes.com/2020/11/26/health/covid-teeth-falling-out.html
- ↑ 20.0 20.1 Brewer, Kirstie (28 January 2021). "Parosmia: 'Since I had Covid, food makes me want to vomit'". BBC News. สืบค้นเมื่อ 29 January 2021.