ฟาโรห์อินโยเตฟที่ 2
ฟาโรห์อินโยเตฟที่ 2 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อินเตฟที่ 2, อันเตฟที่ 2, Si-Rêˁ In-ˁo | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
จารึกพิธีพระศพของฟาโรห์อินเตฟที่ 2 จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ฟาโรห์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รัชกาล | 2112-2063 BC | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ก่อนหน้า | อินโยเตฟที่ 1 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ถัดไป | อินโยเตฟที่ 3 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คู่เสกสมรส | เป็นไปได้ว่าจะเป็น เนเฟรูคาเยต | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พระราชบุตร | อินโยเตฟที่ 3 ไออา | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พระราชบิดา | เมนทูโฮเทปที่ 1 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พระราชมารดา | เนเฟรูที่ 1 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สวรรคต | 2063 ปีก่อนคริสตกาล[2] | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ที่สิบเอ็ดแห่งอียิปต์ |
วาอังค์ อินเตฟที่ 2 (หรือ อินโยเตฟที่ 2 และอันเตฟที่ 2) เป็นผู้ปกครองพระองค์ที่สามจากราชวงศ์ที่สิบเอ็ดแห่งอียิปต์ในช่วงระหว่างกลางที่ที่หนึ่ง พระองค์ทรงครองราชย์เป็นเวลาเกือบห้าสิบปี ตั้งแต่ 2112 ปีก่อนคริสตกาล ถึง 2063 ปีก่อนคริสตกาล[3] เมืองหลวงของพระองค์ตั้งอยู่ที่ธีบส์ ในรัชสมัยของพระองค์ดินแดนอียิปต์ถูกแบ่งออกเป็นราชวงศ์ท้องถิ่นย่อยหลายแห่ง พระองค์ถูกฝังอยู่ในหลุมฝังพระศพที่เอล-ทารีฟ
พระราชวงศ์
พระราชบิดาและพระราชมารดาของพระองค์ คือ ฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 1 และพระนางเนเฟรูที่ 1 ผู้ปกครองก่อนหน้าพระองค์ อาจจะเป็นพระเชษฐาพระนามว่าฟาโรห์อินเตฟที่ 1 และฟาโรห์อินเตฟที่ 3 ซึ่งเป็นพระราชโอรสได้ขึ้นมาปกครองต่อจากพระองค์
รัชสมัย
หลังจากการมรณกรรมของผู้ปกครองท้องถิ่นนามว่า อังค์ติฟิ ฟาโรห์อินเตฟก็สามารถรวบรวมเขตปกครองทางใต้ทั้งหมดลงไปถึงแก่งน้ำตกแรกของแม่น้ำไนล์ หลังจากนั้นพระองค์ได้ทำสงครามกับผู้ปกครองจากเฮราคลีโอโพลิส แมกนา เพื่อยึดปกครองอไบดอส ซึ่งเป็นเมืองที่ผ่านหลายขั้วอำนาจมาหลายครั้ง แต่ในที่สุดฟาโรห์อินโยเตฟที่ 2 ก็ได้รับชัยชนะ โดยขยายเขตการปกครองของพระองค์ไปทางเหนือจนถึงเขตปกครองที่สิบสามหรือเฮลิโอโพลิส
หลังจากทำสงครามหลายครั้ง ได้มีการสร้างความสัมพันธ์อันดีมากขึ้นและระยะเวลาที่เหลือของรัชสมัยของพระองค์ก็เข้าสู่ความสงบสุข การค้นพบรูปสลักฟาโรห์อินเตฟที่ 2 ที่ห่อด้วยเสื้อคลุมสำหรับเทศกาลเซดในวิหารศักดิ์สิทธิ์ของเฮกาอิบบนเกาะแอลเลเฟนไทน์ แสดงให้เห็นว่าอำนาจของฟาโรห์พระองค์นี้ได้แผ่ขยายไปถึงภูมิภาคแก่งน้ำตกแรกของแม่น้ำไนล์ และบางทีอาจจะครอบคลุมบางส่วนของนิวเบียล่างในปีที่ 30 แห่งการครองราชย์ของพระองค์[4] ซึ่งจะได้รับการยืนยันโดยมีคณะเดินทางที่นำโดย ดเจมิ จากเมืองเกเบลีนไปยังดินแดนวาวัต (หรือ นิวเบีย) ขึ้นในรัชสมัยของพระองค์[4] ดังนั้น เมื่อฟาโรห์อินเตฟที่ 2 เสด็จสวรรคต พระองค์จึงได้ทิ้งรัฐบาลที่เข้มแข็งไว้ในเมืองธีบส์ ซึ่งสามารถควบคุมพื้นที่ทั้งหมดของอียิปต์ตอนบนและคงไว้ซึ่งพรมแดนทางใต้ของอัสยุต[4]
หลักฐานที่ระบุเวลาที่เก่าสุดของเทพอามุนในคาร์นักเกิดขึ้นในช่วงรัชสมัยของพระองค์ ในส่วนที่ยังหลงเหลืออยู่ของบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งตูรินในช่วงสมัยราขอาณาจักรกลางได้บันทึกไว้ว่า พระองค์ครองราชย์เป็นระยะเวลา 49 ปี[5][6]
พระนาม
เห็นได้ชัดว่า ฟาโรห์อินเตฟที่ 3 ไม่เคยมีพระนามห้าพระนามของฟาโรห์ตามแบบสมัยราชอาณาจักรเก่า อย่างไรก็ตาม พระองค์ได้อ้างสิทธิ์ในความเป็นกษัตริย์ทั้งสองดินแดน nswt bity และตำแหน่ง s3-Re (พระโอรสแห่งรา) ซึ่งเน้นถึงลักษณะอันศักดิ์สิทธิ์ของความเป็นกษัตริย์[3] ในที่สุดจากการขึ้นครองบัลลังก์แห่งธีบส์ ฟาโรห์อินเตฟที่ 3 ได้ทรงมีพระนามอฮรัสว่า วาอังค์ ซึ่งมีความหมาย ความยืนยงแห่งชีวิต ให้กับพระนามประสูติของพระองค์
ข้าราชการในรัชสมัย
ปัจจุบันได้ทราบชื่อและการทำงานของข้าราชการบางคนที่ทำหน้าที่ภายใต้รัชสมัยของฟาโรห์อินเตฟที่ 2 :
- ทเจทจิ เป็นหัวหน้าฝ่ายพระคลังพระมหาสมบัติและมหาดเล็กในฟาโรห์อินเตฟที่ 2 และฟาโรห์อินเตฟที่ 3[7] จารึกในหลุมฝังศพที่แกะสลักอย่างประณีตของเขา ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์บริติช[8] แสดงให้เห็นว่า ฟาโรห์อินเตฟที่ 2 อ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์อียิปต์ทั้งบนและล่าง แต่ยังตระหนักถึงขอบเขตที่จำกัดของพระราชอำนาจของพระองค์: "พระนามฮอรัส วาอังค์ ผู้ปกครองแห่งอียิปต์บนและล่าง, พระโอรสแห่งเร, ผู้ประสูติจากพระนางเนฟรู, พระองค์ผู้ซึ่งดำรงพระชนม์ชีพอยู่ชั่วนิรันดร์ดั่งเทพเร [... ] ดินแดนนี้อยู่ภายใต้การปกครองของพระองค์จากทางใต้จรดถึงเยบู และไปถึงเหนือสุดจรดที่อไบดอส"[9] จากนั้น ทเจทจียังอธิบายการทำงานของเขาในลักษณะที่ยกย่องตนเอง ซึ่งทำกันโดยทั่วไปของชนชั้นสูงชาวอียิปต์ สิ่งสำคัญที่สุดคือข้อความแสดงให้เห็นถึง อำนาจที่ไม่สิ้นสุดของฟาโรห์แห่งธีบส์จากราชวงศ์ที่สิบเอ็ดแห่งอียิปต์โบราณ "ข้าเป็นที่โปรดปรานและน่าเชื่อถือของเจ้านายของข้า ผู้ยิ่งใหญ่อย่างเป็นทางการและเงียบสงบในวังของเจ้านาย [... ] ข้าเป็นคนหนึ่งที่รักในความดีและเกลียดชังในความชั่ว ผู้เป็นที่รักในวังของพระองค์ เป็นผู้ปฏิบัติทุกประการโดยเชื่อฟังพระประสงค์ของเจ้านายของตัวข้าเอง อันที่จริง ทุกงานที่พระองค์ทรงมีพระราชโองการให้ข้าทำ [. .. ] ข้าได้กระทำไปโดยถูกต้องและเที่ยงธรรม ข้าไม่เคยขัดพระราชโองการที่พระองค์พระราชทานแก่ข้าไม่เคย ข้าพเจ้ามิได้เปลี่ยนสิ่งหนึ่งเป็นอย่างอื่น [... ] ยิ่งกว่านั้นทุกความรับผิดชอบของราชสำนัก ซึ่งพระองค์มีพระราชโองการให้แก่ข้า และด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงทรงให้ข้าทำงานบางอย่าง ข้าได้ทำเพื่อพระองค์ตามทุกสิ่งที่ดวงวิญญาณของพระองค์ทรงปรารถนา"[9]
- ดจาริ เป็นข้าราชการทหารที่ต่อสู้กับกองกำลังเฮราคลีโอโพลิสในเขตปกครองอไบดอส ระหว่างการเดินทัพไปทางเหนือของกองทัพฟาโรห์อินเตฟที่ 2 จารึกของเขาได้เล่าถึงการต่อสู้เพื่อยึดบริเวณอียิปต์ตอนกลางว่า "พระองค์ (อินเตฟที่ 2) สู้รบกับราชวงศ์แห่งเคติ ทางเหนือของไทนิส"[10]
- เฮเตปิ เป็นข้าราชการจากเอล กับ ผู้ดูแลเขตปกครองทั้งสามที่อยู่ทางใต้สุดของฟาโรห์อินเตฟที่ 2 ซึ่งหมายความว่า ไม่มีผู้ปกครองท้องถิ่นในเขตที่ควบคุมโดยผู้ปกครองจากธีบส์ เช่นเดียวกับในกรณีของทเจทจิ การอ้างถึงฟาโรห์อย่างต่อเนื่องในจารึกของเฮเตปิ แสดงให้เห็นถึง การจัดระเบียบที่รวมศูนย์ของรัฐบาลของธีบส์ และอำนาจของฟาโรห์ที่ทุกอย่างถูกต้องสมควร: "ข้าเป็นหนึ่งในที่รักของเจ้านายของข้าและได้รับการยกย่องจากรพะองค์ และพระองค์ทำให้ข้าผู้รับใช้นี้มีความสุขอย่างแท้จริง พระองค์ตรัสว่า: 'ไม่มีใครที่ [. . .] ของพระราชโองการอันดีของข้า แต่เฮเตปิ!' และข้ารับใช้คนนี้กระทำได้ดียิ่ง และเยินยอเจ้าข้าผู้รับใช้ผู้นี้ด้วยเหตุฉะนี้แล”[7] แต่ในที่สุดจารึกของเฮเตปิยังได้กล่าวถึงทุพภิกขภัยที่เกิดขึ้นในรัชสมัยของฟาโรห์อินเตฟที่ 2
- อิดูดจู-อิเคอร์ เป็นผู้นำที่สำคัญที่สุดคนหนึ่งในนิวเบียล่าง เขาอยู่ในความดูแลของนิวเบียล่างและช่วยฟาโรห์พิชิตเขตปกครองอไบดอส[11]
อนุสรณ์วัตถุ
ในจารึกพิธีพระศพของพระองค์ได้เน้นย้ำถึงพระราชกรณียกิจในการสร้างอนุสรณ์วัตถุของพระองค์ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ชิ้นส่วนก่อสร้างของราชวงศ์ที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังหลงเหลืออยู่ในคาร์นัก นั้นคือเสาแปดเหลี่ยมที่มีพระนามของฟาโรห์อินเตฟที่ 2 และพระองค์ยังเป็นผู้ปกครองพระองค์แรกที่สร้างวิหารถวายแด่เทพีซาเทตและเทพคนุมบนเกาะแอลเลเฟนไทน์[12] และอันที่จริงแล้ว ฟาโรห์อินเตฟที่ 2 ยังได้ได้เริ่มพระราชประเพณีในการสร้างวิหารประจำท้องถิ่นบริเวณอียิปต์บน ซึ่งกระทำอยู่ตลอดช่วงสมัยราชอาณาจักรกลาง
หลุมฝังพระศพ
หลุมฝังพระศพของฟาโรห์อินเตฟที่ 2 ในเอล-ทารีฟที่ธีบส์ เป็นหลุมฝังพระศพแบบแถว (saff แปลว่า "แถว" ในภาษาอาหรับ) และยังหมายถึง แถวสองแถวของเสาและทางเข้าด้านหน้าลานสี่เหลี่ยมคางหมูใหญ่ขนาด 250 x 70 เมตร (820 ฟุต x 230 ฟุต) ที่ปลายด้านตะวันออกซึ่งเป็นวิหารสำหรับฝังพระศพ[13] วิหารแห่งนี้อาจมีจุดประสงค์เพื่อใช้ในจุดประสงค์เดียวกับโถงวิหาร (Valley temple)[14]
หลุมฝังพระศพของฟาโรห์อินเตฟที่ 2 ถูกตรวจสอบโดยพระราชโองการในรัชสมัยของฟาโรห์รามเสสที่ 9 ในช่วงปลายราชวงศ์ที่ยี่สิบแห่งอียิปต์ เนื่องจากสุสานของราชวงศ์หลายแห่งถูกปล้นไปในช่วงเวลานั้น[15] ตามรายงานในบันทึกปาปิรุสแห่งแอบบอต (Abbott Papyrus) ซึ่งระบุว่า: "สุสานพีระมิดของฟาโรห์ Si-Rêˁ In-ˁo (หรือ ฟาโรห์อินเตฟที่ 2) ซึ่งอยู่ทางเหนือของวังแห่งอเมนโฮทเปและลานหน้า ซึ่งมีพีระมิดทับอยู่ [ . . .]. ตรวจสอบวันนี้ ยังไม่บุบสลาย"[16] ยังไม่พบซากของพีระมิดนี้"[14]
ตามประเพณีตามผู้ปกครองก่อนหน้า ฟาโรห์อินเตฟที่ 2 ได้สร้างจารึกบันทึกพระราชประวัติไว้ที่ทางเข้าหลุมฝังพระศพของพระองค์ ซึ่งบันทึกเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในรัชสมัยของพระองค์และระบุว่าพระองค์ครองเป็นเวลา 50 ปี[3][17] ในจารึกที่ตั้งอยู่หน้าหลุมฝังพระศพมีการกล่าวถึงสุนัขของฟาโรห์ และพบจารึกอีกชิ้นหนึ่งที่กล่าวถึงสุนัขชื่อว่า เบฮา แต่มันถูกพบอยู่ใกล้วิหารถวายเครื่องบูชา[13]
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 Clayton, Peter A. Chronicle of the Pharaohs: The Reign-by-Reign Record of the Rulers and Dynasties of Ancient Egypt. Thames & Hudson. p72. 2006. ISBN 0-500-28628-0
- ↑ Ian Shaw, The Oxford history of ancient Egypt p.125
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Ian Shaw, The Oxford history of ancient Egypt p.125
- ↑ 4.0 4.1 4.2 Nicholas Grimal, A History of Ancient Egypt (Oxford: Blackwell Books, 1992), p. 145
- ↑ Column 5 row 14
- ↑ The Ancient Egypt Web Site, Antef II เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, (accessed September 7, 2007)
- ↑ 7.0 7.1 Ian Shaw The Oxford History of Ancient Egypt p.126
- ↑ Stele of Tjetjy
- ↑ 9.0 9.1 William Kelly Simpson, The literature of Ancient Egypt
- ↑ The stele of Djary เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Josef Wegnerː The Stela of Idudju-ikerː Formost-one of the Chiefs of Wawat, inː Revue d'égyptologie, 68 (2017-2108), 153-209, plates VII-XII
- ↑ Ian Shaw The Oxford History of Ancient Egypt, p.127
- ↑ 13.0 13.1 Lehner, Mark. The Complete Pyramids. Thames & Hudson. 2008 (reprint). ISBN 978-0-500-28547-3, pp 165
- ↑ 14.0 14.1 Dodson, Aidan. The Tomb in Ancient Egypt. Thames and Hudson. 2008. ISBN 9780500051399, pp 186-187
- ↑ Darrell D. Baker: The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I - Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300–1069 BC, Stacey International, ISBN 978-1-905299-37-9, 2008, pp. 145-146
- ↑ Alan Gardiner, Egypt of the Pharaohs: an introduction, Oxford University Press, 1961, pp. 118–119
- ↑ Stele of Intef II