ราชวงศ์ที่สิบสี่แห่งอียิปต์
ราชวงศ์ที่สิบสี่แห่งอียิปต์ | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ราว 1725 ปีก่อนคริสตกาล–ราว 1650 ปีก่อนคริสตกาล | |||||||||||||||
ส่วนที่แรเงาสีส้ม หมายถึง ดินแดนที่อาจจะอยู่ภายใต้การควบคุมของราชวงศ์ที่สิบสี่แห่งอียิปต์ ตามข้อมูลของรีฮอล์ต[1] | |||||||||||||||
เมืองหลวง | อวาริส | ||||||||||||||
ภาษาทั่วไป | ภาษาอียิปต์ | ||||||||||||||
ศาสนา | ศาสนาอียิปต์โบราณ | ||||||||||||||
การปกครอง | ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ | ||||||||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | ยุคสัมฤทธิ์ | ||||||||||||||
• ก่อตั้ง | ราว 1725 ปีก่อนคริสตกาล | ||||||||||||||
• สิ้นสุด | ราว 1650 ปีก่อนคริสตกาล | ||||||||||||||
|
สมัยและราชวงศ์ของอียิปต์โบราณ |
---|
ทั้งหมดก่อนคริสต์ศักราช |
ดูเพิ่ม: รายชื่อฟาโรห์ตามช่วงเวลาและราชวงศ์ |
สมัยและราชวงศ์ของอียิปต์โบราณ |
---|
ทั้งหมดก่อนคริสต์ศักราช |
ดูเพิ่ม: รายชื่อฟาโรห์ตามช่วงเวลาและราชวงศ์ |
ราชวงศ์ที่สิบสี่แห่งอียิปต์ เป็นกลุ่มของผู้ปกครองแห่งอียิปต์โบราณที่ปกครองในสมัยช่วงระหว่างกลางครั้งที่สองเหนือบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ของอียิปต์ โดยปกครองอยู่ประมาณระหว่าง 75 (ประมาณ 1725 – 1650 ปีก่อนคริสตกาล) ถึง 155 ปี (ประมาณ 1805 – 1650 ปีก่อนคริสตกาล) ขึ้นอยู่กับนักวิชาแต่ละคน และเมืองอวาริสน่าจะเป็นเมืองหลวงประจำราชวงศ์[1] ราชวงศ์ที่สิบสี่แห่งอียิปต์ปรากฏอยู่ในช่วงเวลาเดียวกันกับราชวงศ์ที่สิบสาม ซึ่งมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมมฟิส[ต้องการอ้างอิง] ผู้ปกครองที่ได้รับการยืนยันแล้วบางพระองค์ของราชวงศ์ที่สิบสี่นั้น (เสนอความเห็นโดยคิม รีฮอล์ต) จะถูกระบุโดยนักไอยคุปต์วิทยาว่ามีเชื้อสายชาวคานาอัน (คนกลุ่มเซมิติก) เนื่องจากที่มาของพระนามของผู้ปกครองและเจ้าชายบางพระองค์ เช่น อิปกู (มาจากภาษากลุ่มเซมิติกตะวันตก แปลว่า "ความสง่างาม"), ยากบิม ("ia-ak-bi-im" ซึ่งเป็นพระนามจากภาษาอะมอไรต์), กาเรห์ (มาจากภาษาเซมิติกตะวันตก แปลว่า "คนหัวล้าน") หรือ ยาคุบ-ฮาร์[1] พระนามที่เกี่ยวข้องกับนิวเบียก็ถูกบันทึกไว้ในสองพระนามเช่นกัน คือ เนเฮซี (แปลว่า "ชาวนูเบีย") และพระนางตาติ อย่างไรก็ตาม ผู้ปกครองในราชวงศ์ไม่ได้ถูกเรียกว่า "ผู้ปกครองต่างดินแดน" หรือ "กษัตริย์ผู้เลี้ยงแกะ" ตามในบันทึกพระนามแห่งตูริน[2]
ลำดับตามเวลา
ในบางครั้งราชวงศ์ที่สิบสี่แห่งอียิปต์อาจจะจัดรวมเข้ากับราชวงศ์ที่สิบเอ็ด, สิบสอง และสิบสาม ในช่วงเวลาของสมัยราชอาณาจักรกลางของอียิปต์ ถึงแม้ว่าราชวงศ์ที่สิบสี่จะอยู่จะคาบเกี่ยวบางส่วนกับราชวงศ์ที่สิบสาม และราชวงศ์ที่สิบห้า ในช่วงใดช่วงหนึ่งหรือทั้งสองช่วงเป็นอย่างน้อย โดยทั่วไปแล้ว ราชวงศ์ที่สิบสี่แห่งอียิปต์จะถูกจัดกลุ่มช่วงเวลาเดียวกันกับราชวงศ์ที่สิบสาม, สิบห้า, สิบหก และสิบเจ็ด ในช่วงเวลาของสมัยช่วงระหว่างกลางครั้งที่สอง
ปรากฏช่องว่างเพียงพอในการศึกษาเกี่ยวกับราชวงศ์ที่สิบสี่แห่งอียิปต์ ซึ่งเป็นที่ถกเถียงกันในเรื่องของตำแหน่งตามลำดับเวลา และอาจจะแตกต่างกันไปมากถึง 75 ปีขึ้นอยู่กัผู้ที่ศึกษา คิม รีฮอล์ต นักไอยคุปต์วิทยาได้เสนอความเห็นว่าว่าราชวงศ์ที่สิบสี่นั้นได้สถาปนาขึ้นในช่วงปลายราชวงศ์ที่สิบสอง ราวประมาณ 1805 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งอยู่ช่วงระหว่างหรือหลังการปกครองของฟาโรห์โซเบคเนเฟรูไม่นาน เขาเชื่อว่าชาวคานาอันในท้องถิ่นที่อาศัยอยู่ในบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ฝั่งตะวันออกได้ประกาศอิสรภาพของพวกเขาและขัดขวางความพยายามที่เป็นไปได้จากฟาโรห์แห่งเมมฟิสจากราชวงศ์ที่สิบสาม เพื่อกอบกู้พื้นที่บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำกลับมาอยู่ในอำนาจ จากข้อมูลของรีฮอล์ต ราชวงศ์ที่สิบสี่เริ่มปกครองตั้งแต่ 1805 ปีก่อนคริสตกาล จนกระทั่งล่มสลายภายใต้ราชวงศ์ที่สิบห้าแห่งอียิปต์ที่ปกครองโดยชาวฮิกซอส เมื่อราว 1650 ปีก่อนคริสตกาล รวมเป็นระยะเวลา 155 ปี
แต่ข้อสมมติฐานดังกล่าวถูกโต้แย้งโดยนักไอยคุปต์วิทยาบางคน เช่น มันเฟรด เบียตัค, ดาฟนา เบน-ทอร์ และเจมส์ และซูซาน อัลเลน ซึ่งได้โต้แย้งว่า ราชวงศ์ที่สิบสี่ไม่สามารถถูกสถาปนาขึ้นก่อนช่วงกลางของราชวงศ์ที่สิบสามหรือประมาณ 1720 ปีก่อนคริสตกาล หลังจากรัชสมัยของฟาโรห์โซเบคโฮเทปที่ 4[3][4] โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกเขาโต้แย้งว่า หลักฐานจากชั้นต่างๆ ที่ค้นพบตราประทับจากช่วงราชวงศ์ที่สิบสี่นั้น สรุปได้ว่าราชวงศ์ที่สิบสี่นั้นอยู่ร่วมสมัยกับราชวงศ์ที่สิบสามเท่านั้นในช่วงครึ่งศตวรรษหลังจากนั้น กล่าวคือ หลังจากช่วง 1700 ปีก่อนคริสตกาล นอกจากนี้ มันเฟรด เบียตัค ยังระบุช่วงเวลาของจารึกและอนุสาวรีย์ของฟาโรห์เนเฮซี ซึ่งอาจจะเป็นผู้ปกครองพระองค์ที่สองของราชวงศ์ที่สิบสี่ โดยย้อนไปจนถึงประมาณ 1700 ปีก่อนคริสตกาลอีกด้วย[5]
ภายหลังจากรัชสมัยอันสั้นอย่างยิ่งของฟาโรห์เนเฮซีนั้น นักวิชาการส่วนใหญ่รวมถึง มันเฟรด เบียตัค และคิม รีฮอล์ต เห็นพ้องต้องกันว่าบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ได้รับผลกระทบจากความอดอยากที่ยืดเยื้อและโรคระบาดอาจจะกินเวลาจนถึงช่วงราชวงศ์ที่สิบสี่ล่มสลาย[1][6] ความอดอยากแบบเดียวกันนี้อาจจะส่งผลกระทบต่อราชวงศ์ที่สิบสาม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความไม่มั่นคงและฟาโรห์ที่ขึ้นมาปกครองเป็นช่วงเวลาสั้นๆ จำนวนมากในช่วง 50 ปีหลังจากจากสถาปนาราชวงศ์ที่สิบสี่ในช่วงระหว่าง 1700 จนถึง 1650 ปีก่อนคริสตกาล สถานภาพที่อ่อนแอของทั้งสองราชวงศ์อาจจะอธิบายได้ในบางส่วนว่าเหตุใดพวกเขาจึงตกอยู่ภายใต้อำนาจของผู้ปกครองชาวฮิกซอสที่ขึ้นมามีอำนาจใหม่อย่างรวดเร็วในราว 1650 ปีก่อนคริสตกาล[1]
ศูนย์กลางอำนาจการปกครอง
มาเนโธได้ระบุว่า ราชวงศ์ที่สิบสี่มีฟาโรห์ปกครองจำนวนมากถึง 76 พระองค์ ซึ่งมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองโซอิสมากกว่าที่จะเป็นเมืองอวาริส แต่อย่างไรก็ตาม คิม รีฮอล์ต นักไอยคุปต์วิทยาตั้งข้อสังเกตว่า ในบันทึกพระนามแห่งตูรินได้กล่าวถึงฟาโรห์เพียงจำนวนประมาณ 56 พระองค์เท่านั้น และไม่มีพื้นที่เพียงพอที่จะบันทึกฟาโรห์ได้มากกว่า 70 พระองค์ และรีฮอล์ตยังชี้ให้เห็นถึง การขุดค้นที่เมืองอวาริส ซึ่งเผยให้เห็นการมีอยู่ของพระราชวังขนาดใหญ่ที่มีอายุเก่าแก่ถึงสมัยช่วงระหว่างกลางครั้งที่สอง และลานแห่งหนึ่งมีรูปสลักของฟาโรหฺหรือเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่มีขนาดใหญ่กว่าสองเท่า และมีลักษณะที่ไม่ใช่แบบพื้นเมืองอียิปต์ ด้วยเหตุผลเหล่านี้ รีฮอล์ต และนักไอยคุปต์วิทยาส่วนใหญ่มีความเห็นร่วมกันว่า เมืองอวาริสเป็นศูนย์กลางทางอำนาจของราชวงศ์ที่สิบสี่แทนที่จะเป็นเมืองโซอิส[1]
พระราชอาณาจักรและความสัมพันธ์กับต่างแดน
ไม่ทราบขอบเขตพระราชอาณาจักรที่ชัดเจนของราชวงศ์ที่สิบสี่ เนื่องจากความขาดหลักฐานอย่างอนุสรณ์สถานโดยทั่วไป ในการศึกษาสมัยช่วงระหว่างกลางครั้งที่สอง คิม รีฮอล์ตได้สรุปว่าดินแดนที่ควบคุมโดยตรงโดยราชวงศ์ที่ราชวงศ์ที่สิบสี่อย่างกว้างจะกินอาณาเขตทั้งในบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ โดยมีพรมแดนตั้งอยู่ใกล้กับเมืองอธริบิสในดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำฝั่งตะวันตก และเมืองบูบาสทิสในทางทิศตะวันออก[1]
ตราประทับที่เกี่ยวข้องราชวงศ์ที่สิบสี่นั้นถูกค้นพบในบริเวณอียิปต์กลางและอียิปต์บน ซึ่งเป็นอาณาเขตของราชวงศ์ที่สิบสามทั้งหมด และไกลออกไปทางตอนใต้ถึงเมืองดุนกูลา ไกลจากแก่งน้ำตกที่สามของแม่น้ำไนล์ ในทางเหนือ มีการพบตราประทับในทางตอนใต้ของลิแวนต์ โดยส่วนใหญ่อยู่ตามชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน กระทั่งไกลออกไปทางเหนือถึงเทล คาบรี (ทางตอนเหนือของอิสราเอลในปัจจุบันใกล้ชายแดนเลบานอน)[1] ซึ่งบ่งชี้ถึงการมีอยู่ของการค้าสำคัญที่ดำเนินการระหว่างราชวงศ์ที่สิบสาม นครรัฐคานาอัน และนิวเบีย[1] โดยรีฮอล์ตได้เสนอความเห็นที่ว่า ฟาโรห์เชชิ ซึ่งเขาเห็นว่าพระองค์เป็นผู้ปกครองจากราชวงศ์ที่สิบสี่ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงชาวนิวเบียพระนามว่า ตาติ เพื่อกระชับความสัมพันธ์กับราชอาณาจักรคุช[1]
ผู้ปกครอง
ลำดับผู้ปกครองของราชวงศ์นี้ได้ถูกกำหนดตามบันทึกพระนามแห่งตูริน ซึ่งเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง ยกเว้นสำหรับผู้ปกครองห้าพระองค์แรกซึ่งระบุไว้ด้านล่าง[1] พระนามของผู้ปกครองดังกล่าวไม่ได้ระบุไว้ในบันทึกพระนามแห่งตูริน (ยกเว้นเพียงพระนามเดียว) และรีฮอล์ตได้เสนอความเห็นที่ว่า ผู้ปกครองห้าพระองค์ดังก่างอาจจะถูกกล่าวในส่วนที่เสียหายของบันทึกพระนาม โดยเอกสารต้นฉบับเป็นการคัดลอกบันทึกพระนามอีกแห่งหนึ่งในช่วงสมัยรามเสส[1] รีฮอล์ตได้ระบุฟาโรห์ห้าพระองค์แรกจากการแบ่งกลุ่มของตราประทับ อย่างไรก็ตาม ข้อสรุปของเขายังเป็นที่ถกเถียงกันในการศึกษาของเบ็น-ทอร์เกี่ยวกับชั้นหิน ซึ่งมีการค้นพบตราประทับของฟาโรห์ห้าพระองค์แรก เบ็น ทอร์ได้สรุปว่ารัชสมัยของฟาโรห์เชชิ อัมมู และยากบิมได้เริ่มขึ้นในช่วงครึ่งหลังของราชวงศ์ที่สิบห้าแห่งอียิปต์ และไม่ร่วมสมัยกับราชวงศ์ที่สิบสาม ตามคำกล่าวของเบ็น ทอร์ ฟาโรห์เหล่านี้น่าจะเป็นข้าหลวงที่รองมาจากฟาโรห์ชาวฮิกซอสที่เข้าปกครองเหนือดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์[3]
พระนาม | รูปภาพ | รัชสมัย | คำอธิบาย |
---|---|---|---|
ยากบิม เซคาเอนเร | 1805 ปีก่อนคริสตกาล – 1780 ปีก่อนคริสตกาล หรือหลัง 1650 ปีก่อนคริสตกาล | มีการโต้แย้งในตำแหน่งตามลำดับเวลา อาจเป็นข้าหลวงของราชวงศ์ที่สิบห้า | |
ยา'อัมมู นุบวอเซอร์เร | 1780 ปีก่อนคริสตกาล – 1770 ปีก่อนคริสตกาล | มีการโต้แย้งในตำแหน่งตามลำดับเวลา | |
กาเรห์ คาวอเซอร์เร | 1770 ปีก่อนคริสตกาล – 1760 ปีก่อนคริสตกาล | มีการโต้แย้งในตำแหน่งตามลำดับเวลา | |
'อัมมู อาโฮเทปเร | 1760 – 1745 ปีก่อนคริสตกาล หรือหลัง 1650 ปีก่อนคริสตกาล | มีการโต้แย้งในตำแหน่งตามลำดับเวลา อาจเป็นข้าหลวงของราชวงศ์ที่สิบห้า | |
เชชิ มาอาอิบเร | 1745 ปีก่อนคริสตกาล – 1705 ปีก่อนคริสตกาล หรือหลัง 1650 ปีก่อนคริสตกาล | ปรากฏหลักฐานเป็นตราประทับแมลงสคารับจำนวนมากว่า 300 ชิ้น พระองค์อาจจะทรงอภิเษกสมรสกับพระนางตาติ ซึ่งมาจากราชอาณาจักรคุช และมีการโต้แย้งในตำแหน่งตามลำดับเวลา อาจเป็นข้าหลวงของราชวงศ์ที่สิบห้า |
ผู้ปกครองต่อไปนี้ไม่ได้เป็นที่ถกเถียง ซึ่งอ้างอิงมาจากบันทึกพระนามแห่งตูริน และผู้ปกครองบางพระองค์ในจำนวนนี้ ก็ยืนยันมาจากแหล่งข้อมูลร่วมสมัยเช่นกัน:
พระนาม | รูปภาพ | รัชสมัย | คำอธิบาย |
---|---|---|---|
เนเฮซิ อาอาเซเร | 1705 ปีก่อนคริสตกาล | ทรงเป็นฟาโรห์ที่ปรากฏหลักฐานยืนยันที่ดีที่สุดในบรรดาฟาโรห์ในราชวงศ์ โดยปรากฏพระนามของพระองค์บนอนุสาวรีย์สองแห่งที่เมืองอวาริส ซึ่งพระนามของพระองค์ แปลว่า "ชาวนิวเบีย"[7] | |
คาเคเรวเร | 1705 ปีก่อนคริสตกาล | - | |
เนบเอฟอาวเร | 1704 ปีก่อนคริสตกาล | ในบันทึกพระนามแห่งตูรินได้ระบุว่า พระองค์ทรงครองราชย์เป็นระยะเวลา 1 ปี 5 เดือน กับอีก 15 วัน | |
เซเฮบเร | ในบันทึกพระนามแห่งตูรินได้ระบุว่า พระองค์ทรงครองราชย์เป็นระยะเวลา 3 ปี [สูญหาย] เดือน กับอีก 1 วัน | ||
เมอร์ดเจฟาเร | สิ้นสุดเมื่อ 1699 ปีก่อนคริสตกาล | ค้นพบหลักฐานยืนยันเป็นจารึกศิลาเพียงชิ้นเดียวจากซาฟต์ อัล-ฮินนาในดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ[8] | |
เซวัดต์คาเรที่ 3 | ในบันทึกพระนามแห่งตูรินได้ระบุว่า พระองค์ทรงครองราชย์เป็นระยะเวลา 1 ปี | ||
เนบดเจฟาเร | สิ้นสุดเมื่อ 1694 ปีก่อนคริสตกาล | - | |
เวบเอนเร | สิ้นสุดเมื่อ 1693 ปีก่อนคริสตกาล | - | |
ไม่ทราบ | พระนามสูญหายไปจากบันทึกพระนามแห่งตูริน | ||
[...]ดเจฟาเร | - | ||
[...]เวบเอนเร | สิ้นสุดเมื่อ 1690 ปีก่อนคริสตกาล | - | |
อาวอิเรที่ 2 | - | ||
เฮอร์อิบเร | - | ||
เนบเซนเร | ค้นพบหลักฐานยืนยันเป็นแจกันที่ปรากฏพระนามครองพระราชบัลลังก์ของพระองค์ พระองค์ทรงครองราชย์เป็นระยะเวลา 5 เดือนเป็นอย่างน้อย | ||
ไม่ทราบ | พระนามสูญหายไปจากบันทึกพระนามแห่งตูริน | ||
[...]เร | |||
เซเคเปอร์เอนเร | ทรงเป็นหนึ่งในฟาโรห์จากราชวงศ์ที่สิบสี่ที่ไม่เป็นข้อถกเถียง ซึ่งเป็นที่ทราบจากแหล่งข้อมูลร่วมสมัย (รวมถึงฟาโรห์เนเฮซิ, ฟาโรห์เนบเซนเร และฟาโรห์เมอร์ดเจฟาเร) | ||
ดเจดเคเรวเร | - | ||
ซาอังค์อิบเรที่ 2 | - | ||
เนเฟอร์ตุม[...]เร | - | ||
เซคเอม[...]เร | - | ||
คาเคมูเร | - | ||
เนเฟอร์อิบเร | - | ||
อิ[...]เร | - | ||
คาคาเร | - | ||
อาคาเร | - | ||
ฮาปุ[...] เซเมนเอนเร | - | ||
อนาติ ดเจดคาเร | - | ||
บับนุม [...]คาเร | - | ||
ไม่ทราบ | 8 บรรทัดได้สูญหายไปจากบันทึกพระนามแห่งตูริน | ||
เซเนเฟอร์...เร | - | ||
เมน[...]เร | - | ||
ดเจด[...]เร | - | ||
ไม่ทราบ | 3 บรรทัดได้สูญหายไปจากบันทึกพระนามแห่งตูริน | ||
อิงค์ [...] | - | ||
'อ[...] | - | ||
อะโพฟิสที่ 1 (?) | - | ||
ไม่ทราบ | 5 บรรทัดได้สูญหายไปจากบันทึกพระนามแห่งตูริน |
และสุดท้ายนี้ ผู้ปกครองอีกหลายพระองค์ที่ได้รับการยืนยันจากวัตถุโบราณร่วมสมัยที่ไม่ปรากฏพระนามในบันทึกพระนามแห่งตูริน ซึ่งอาจจะมีอายุย้อนถึงช่วงราชวงศ์ที่สิบสี่[1] หรือราชวงศ์ที่สิบห้า[9] ตัวตนและตำแหน่งตามลำดับเวลายังไม่แน่ชัด:
พระนาม | รูปภาพ | หลักฐานยืนยัน |
---|---|---|
นูยา | ค้นพบตราประทับสคารับจำนวน 1 ชิ้น | |
เชเนห์ | ค้นพบตราประทับสคารับจำนวน 3 ชิ้น | |
เชนเชค | ค้นพบตราประทับสคารับจำนวน 1 ชิ้น | |
วาซาด | ค้นพบตราประทับสคารับจำนวน 5 ชิ้น | |
คามูเร | ค้นพบตราประทับสคารับจำนวน 2 ชิ้น | |
ยาคาเรบ | ค้นพบตราประทับสคารับจำนวน 2 ชิ้น | |
เมอร์วอเซอร์เร ยากุบ-ฮาร์ | ค้นพบตราประทับสคารับจำนวน 27 ชิ้น |
อ้างอิง
- ↑ 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 Kim Ryholt, The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, Museum Tusculanum Press, (1997)
- ↑ Ilin-Tomich, Alexander (2016). "Second Intermediate Period". UCLA Encyclopedia of Egyptology: 3.
- ↑ 3.0 3.1 Bulletin of the American Schools of Oriental Research (BASOR) 315, 1999, pp.47-73.
- ↑ Janine Bourriau, "The Second Intermediate Period (c.1650-1550 BC)" in Ian Shaw (ed.) The Oxford History of Ancient Egypt, Oxford University Press, 2000. pp.192 & 194
- ↑ Bourriau, "The Second Intermediate Period," pp.178-179, 181
- ↑ Manfred Bietak, "Egypt and Canaan During the Middle Bronze Age," BASOR, 281 (1991), pp. 21-72, esp. p. 38, available online
- ↑ Darrell D. Baker, The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I - Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300–1069 BC, Stacey International, ISBN 978-1-905299-37-9, 2008, p. 277
- ↑ Kenneth Kitchen: Ramesside Inscriptions, Blackwell Publishing 1993, ISBN 0631184279, p.546
- ↑ Daphna Ben-Tor: Scarabs, Chronology, and Interconnections: Egypt and Palestine in the Second Intermediate Period, Volume 27 of Orbis biblicus et orientalis / Series archaeologica: Series archaeologica, Academic Press Fribourg 2007, ISBN 978-3-7278-1593-5, excerpts available online
บรรณานุกรม
- K.S.B. Ryholt (1998). The Political Situation in Egypt During the Second Intermediate Period, C1800-1550 BC. Museum Tusculanum Press. ISBN 8772894210.
- K.A. Kitchen (1993). Ramesside Inscriptions. Blackwell Publishing. ISBN 0631184279.