ฟาโรห์โอซอร์คอนที่ 2

ยูเซอร์มาอัตเร เซเตเพนอามุน โอซอร์คอนที่ 2 เป็นฟาโรห์พระองค์ที่ห้า[1] ของราชวงศ์ที่ยี่สิบสองแห่งอียิปต์โบราณและเป็นพระราชโอรสชองฟาโรห์ทาเคลอตที่ 1 และสมเด็จพระราชินีคาเปส พระองค์ปกครองอียิปต์ระหว่าง 872 ถึง 837 ปีก่อนคริสตกาล โดยปกครองอยู่ที่เมืองทานิส ซึ่งเป็นเมืองหลวงประจำราชวงศ์นี้

หลังจากได้ครองราชย์ต่อจากพระบิดาชองพระองค์ ฟาโรห์โอซอร์คอนที่ 2 ได้เผชิญหน้ากับกฎการแข่งขันทางการเมืองของลูกพี่ลูกน้องนามว่า ฮาร์เซียเซ A ซึ่งเป็นผู้ปกครองเมืองธีบส์และโอเอซิสทางตะวันตกของอียิปต์ พระองค์กลัวว่าผู้ปกครองฮาร์เซียเซ A จะทำการแย่งชิงอำนาจของพระองค์ แต่ฮาร์เซียเซ A สิ้นพระชนม์ใน 860 ปีก่อนคริสตกาล, จึงทำให้พระองค์มั่นใจว่าปัญหานี้จะไม่เกิดขึ้นอีกโดยการแต่งตั้งพระโอรสของพระองค์เองนามว่า นิมลอต C ให้เป็นนักบวชชั้นสูงแห่งเทพอามุนที่เมืองธีบส์เพื่อที่จะรวบรวมอำนาจในอียิปต์บน จึงหมายความว่าพระองค์ทรงได้ปกครองทั่วทั้งอาณาจักรอียิปต์โบราณ ในช่วงรัชกาลของพระองค์จะเป็นช่วงเวลาแห่งการสร้างอนุสาวรีย์ขนาดใหญ่และความรุ่งเรืองของอียิปต์

พระมเหสีและพระโอรส-ธิดา

ฟาโรห์โอซอร์คอนที่ 2 เป็นที่รู้กันว่ามีพระมเหสีอย่างน้อยสามพระองค์:

  • ไอเซทเอมเคบ เป็นที่รู้จักว่าเป็นมารดาของสตรีนามว่า ทเจสบาสต์เพรู ซึ่งได้อภิเษกสมรสกับนักบวชชั้นสูงแห่งเทพพทาห์นามว่า ทาเคลอต B[2]
  • ดเจดมัตเอสอังค์ที่ 4 เป็นมารดาของนักบวชชั้นสุงแห่งเทพอามุนนามว่า นิมลอต C ซึ่งเป็นพระราชโอรสชองฟาโรห์โอซอร์คอนที่ 2 และเป็นบิดาของทาเคลอต F/ทาเคลอตที่สอง
  • สมเด็จพระราชินี คาโรมามา เป็นที่รู้จักกันมากในบรรดาพระมเหสีของฟาโรห์โอซอร์คอนที่ 2 ซึ่งเป็นมารดาของพระโอรส 2 พระองค์และพระธิดา 3 พระองค์:[3][4]
    • เจ้าชาย โชเชงค์ D เป็นนักบวชชั้นสูงแห่งเทพพทาห์
    • เจ้าชาย ฮอร์นัคท์ เป็นนักบวชชั้นสูงแห่งเทพอามุนในเมืองทานิส[5] และหลังจากนั้นฟาโรห์โอซอร์คอนที่ 2 ได้เลื่อนขั้นให้เป็นหัวหน้านักบวชชั้นสูงแห่งเทพอามุนที่ทานิส เพื่อเสริมอำนาจปกครองของพระองค์ในอียิปต์ล่าง อย่างไรก็ตามเจ้าชายฮอร์นัคท์ก็สิ้นพระชนม์ในอายุที่ยังไม่ถึง 10 ปี[6]
    • เจ้าหญิง ทาชาเคเปอร์ ทำหน้าที่เป็นพระมเหสีแห่งอามุนในช่วงรัชสมัยของฟาโรห์ทาเคลอตที่สาม
    • เจ้าหญิงคาโรมามา C, อาจจะเป็นพระองค์เดียวกันกับพระนางคาโรมามา เมริตมัต ซึ่งทำหน้าที่เป็นพระมเหสีแห่งอามุน
    • เจ้าหญิง [ทา?]อิไอร์เมอร์

และนอกจากนี้พระโอรสและธิดาของฟาโรห์โอซอร์คอนได้รวมถึงผูสืบทอดบัลลังก์นามว่า โชเชงค์ที่สาม และพระนางเทนต์เซเพ (D) เป็นภรรยาของพทาฮูดจ์อังค์เคฟ ซึ่งเป็นบุตรของนิมลอต C จึงทำให้มีศักดิ์เป็นพระราชนัดดาของฟาโรห์โอซอร์คอนที่ 2

หลุมฝังพระศพ

นักขุดค้นชาวฝรั่งเศสชื่อว่า ปิแอร์ มองเตต ได้ค้นพบหลุมฝังศพของฟาโรห์โอซอร์คอนที่ 2 ที่ทานิส เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1939 เผยให้เห็นว่าฟาโรห์โอซอร์คอนที่ 2 ได้ถูกฝังอยู่ในโลงหินแกรนิตขนาดใหญ่ที่มีฝาปิดสลักจากรูปปั้น เพียงบางส่วนของโลงศพรูปเหยี่ยวและโถคาโนปิก ยังคงอยู่ในหลุมฝังศพที่เคยถูกปล้น[7] เครื่องประดับตกแต่งที่ยังคงหลงเหลืออยู่ ซึ่งแสดงให้เห็นความเจริญรุ่งเรืองในรัชสมัยของพระองค์[8]

อ้างอิง

  1. Osorkon (II) Usermaatre, Digital Egypt for Universities.
  2. Aidan Dodson & Dyan Hilton: The Complete Royal Families of Ancient Egypt. Thames & Hudson, 2004, ISBN 0-500-05128-3
  3. คำเตือนการอ้างอิง: <ref> tag with name DH2 cannot be previewed because it is defined outside the current section or not defined at all.
  4. Kitchen, The Third Intermediate Period in Egypt (1100–650 BC). 3rd ed. Warminster: Aris & Phillips Limited. 1996
  5. .Nos ancêtres de l'Antiquité, 1991. Christian Settipani, p.153 and 166
  6. Nicolas Grimal, A History of Ancient Egypt, Blackwell Books, 1992. p.325
  7. San el-Hagar
  8. Bob Brier, Egyptian Mummies: Unravelling the Secrets of an Ancient Art, William Morrow & Company Inc., New York, 1994. p.144