ราชวงศ์โฮตัก
ราชวงศ์โฮตัก | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1709–1738 | |||||||||||
ช่วงเวลาที่ราชวงศ์โฮตักย่งใหญ่ที่สุด | |||||||||||
เมืองหลวง | กันดะฮาร์ (1709–1722), (1725–1738) เอสแฟฮอน (1722–1729) | ||||||||||
ภาษาทั่วไป | Pashto (poetry) [1] Persian (poetry) | ||||||||||
ศาสนา | Sunni Islam | ||||||||||
การปกครอง | สมบูรณาญาสิทธิราชย์ | ||||||||||
เอมีร์ | |||||||||||
• 1709–1715 | มีร์ไวส์ โฮตัก | ||||||||||
• 1715–1717 | อับดุลอาซิซ โฮตัก | ||||||||||
• 1717–1725 | มาห์มุด โฮตัก | ||||||||||
• 1725–1730 | อัชราฟ โฮตัก | ||||||||||
• 1725–1738 | ฮุสเซน โฮตัก | ||||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | ยุคสมัยใหม่ตอนต้น | ||||||||||
• กบฎ โดย มีร์ไวส์ โฮตัก | 21 เมษายน 1709 | ||||||||||
• การปิดล้อมกันดะฮาร์ | 24 มีนาคม 1738 | ||||||||||
|
ราชวงศ์โฮตัก (امپراتوری هوتکیان (เปอร์เซีย), د هوتکيانو ټولواکمني (ปาทาน)) เป็นราชวงศ์อัฟกันที่ปกครองส่วนหนึ่งของอิหร่านและอัฟกานิสถานในช่วงสั้น ๆ ระหว่างคริสต์ทศวรรษที่ 1720[2][3] ถูกก่อตั้งขึ้นในเดือนเมษายน 1709 โดยมีร์ไวส์ โฮตัก ผู้นำการกบฏที่ประสบความสำเร็จต่อต้านจักรวรรดิซาฟาวิดของชาวเปอร์เซียที่เสื่อมโทรมในภูมิภาค Loy Kandahar ("Greater Kandahar") ทางตอนใต้ของอัฟกานิสถานในปัจจุบัน[2]
ในปี 1715 มีร์ไวส์สวรรคตด้วยสาเหตุธรรมชาติ ขณะมีพระชนมายุเพียง 42 พรรษา และอับดุล อาซิซ ซึ่งเป็นพระเชษฐาหรือพระอนุชาของพระองค์ก็ได้ขึ้นครองราชย์สืบต่อมา พระองค์ครองราชย์เป็นเวลาเพียง 2 ปี ก่อนจะถูกปลงพระชนม์โดย มาห์มูด พระราชนัดดาของพระองค์ ซึ่งเป็นโอรสของมีร์ไวส์ ในเวลาต่อมา มาห์มูดได้ก่อกบฏโค่นล้มกษัตริย์ราชวงศ์ซาฟาวิด และขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์องค์ใหม่ของเปอร์เซีย ต่อมา มาห์มูดถูกโค่นอำนาจจากการรัฐประหารในวังเมื่อปี 1725 และอัชรัฟ โอรสของอับดุลอัซซิซและเป็นพระราชภาติยะของพระองค์ ก็ขึ้นครองราชย์แทน
การสถาปนา
ราชวงศ์โฮตักมีต้นกำเนิดจากเผ่ากิลซัยซึ่งเป็นหนึ่งในเผ่าที่สำคัญของชาวปาทาน ชนเผ่านี้อาศัยอยู่ในภูมิภาคกันดะฮาร์ ของอัฟกานิสถานโดยมี มีรไวส์ โฮตัก เป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์โฮตัก ในปี 1709 มีร ไวส์ โฮตัก นำการกบฏต่อจักรวรรดิอิหร่านซาฟาวิดซึ่งในขณะนั้นกำลังอ่อนแอลงจากปัญหาภายในและการโจมตีจากภายนอก ไวส์ โฮตักได้ทำการกบฏและสังหารผู้ว่าราชการซาฟาวิดในกันดาฮาร์ จากนั้นได้สถาปนาตนเองเป็นผู้ปกครองกันดะฮาร์และประกาศอิสรภาพจากอิหร่านซาฟาวิด หลังการสิ้นพระชนต์ของมีรไวส์ ในปี 1715 มาห์มูด โฮตัก บุตรชายได้ขึ้นเป็นผู้นำ มาห์มุด โฮตักได้ขยายอำนาจของอาณาจักรโฮตักและโจมตีเปอร์เซีย ในปี 1722 มาห์มุด โฮตักได้นำกองทัพเข้ายึดเมืองหลวงของเปอร์เซีย เอสแฟฮอน และโค่นล้มราชวงศ์ซาฟาวิด ตั้งตนเป็นกษัตริย์แห่งเปอร์เซีย ราชวงศ์โฮตักจึงได้ปกครองเปอร์เซียในช่วงปี 1720[2][3] จนจบราชวงศ์
การล่มสลาย
หลังการเสียชีวิตของมาห์มูด โฮตักในปี 1725 อัชราฟ โฮตักขึ้นครองราชย์ แต่ต้องเผชิญกับการต่อต้านจากราชวงศ์ซาฟาวิดที่พยายามฟื้นฟูอำนาจ นำโดยนัดอีร์ ชาห์ ที่ภายหลังจะกลายเป็นจักรพรรดิแห่งเปอร์เซีย แม้ว่าโฮตักจะสามารถยึดครองอาณาจักรเปอร์เซียได้ แต่การปกครองของเขาในเปอร์เซียกลับไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากการต่อต้านจากประชากรในท้องถิ่นและการบริหารที่ไม่เป็นระเบียบ ทำให้เกิดความไม่สงบภายใน ในปี 1729 นัดอีร์ ชาห์นำกองทัพเข้าตีและยึดครองเอสแฟฮอน คืนอำนาจให้กับราชวงศ์ซาฟาวิด และขับไล่อัชรัฟ โฮตักและกองกำลังโฮตักกลับไปยังอัฟกานิสถาน หลังจากการล่มสลายของอำนาจในเปอร์เซีย ราชวงศ์โฮตักพยายามรักษาการปกครองในอัฟกานิสถาน แต่เผ่ากิลซัยต้องเผชิญกับการต่อสู้ภายในและการรุกรานจากเผ่าดุรานี ซึ่งเป็นเผ่าพาทานที่แข็งแกร่ง มีรฮุสเซน โฮตัก เป็นผู้นำคนสุดท้ายของราชวงศ์โฮตัก ซึ่งถูกโค่นล้มโดยอาเหม็ด ชาห์ ดุรรานี ในปี 1738 อาเหม็ด ชาห์ ดุรรานี ได้สถาปนาราชวงศ์ดุรรานีและกลายเป็นผู้ปกครองอัฟกานิสถาน
อ้างอิง
- ↑ Bausani 1971, p. 63.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Malleson, George Bruce (1878). History of Afghanistan, from the Earliest Period to the Outbreak of the War of 188. London: Elibron.com. p. 227. ISBN 1402172788. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-03-10. สืบค้นเมื่อ 2010-09-27.
- ↑ 3.0 3.1 Ewans, Martin (2002). Afghanistan: a short history of its people and politics. New York: Perennial. p. 30. ISBN 0060505087. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-03-10. สืบค้นเมื่อ 2010-09-27.