อักษรไบบายิน
อักษรไบบายิน | |
---|---|
"ไบบายิน" เขียนใน อักษรไบบายิน (krus-kudlit) | |
ชนิด | |
ช่วงยุค | คริสต์ศตวรรษที่ 13 (หรือนานกว่านั้น)[1][2] – คริสต์ศตวรรษที่ 18 (ฟื้นฟูในปัจจุบัน)[3] |
ทิศทาง | ซ้ายไปขวา |
Print basis | ทิศทางการเขียน (ขึ้นอยู่กับรูปแบบ): ซ้ายไปขวา บนลงล่าง ล่างขึ้นบน ซ้ายไปขวา[ต้องการอ้างอิง] บนลงล่าง ขวาไปซ้าย[ต้องการอ้างอิง] |
ภาษาพูด | ตากาล็อก, ซัมบัล, อีโลกาโน, กาปัมปางัน, บีโคล, ปังกาซีนัน, กลุ่มภาษาวิซายัน[4] |
อักษรที่เกี่ยวข้อง | |
ระบบแม่ | อักษรไซนายดั้งเดิม
|
ระบบลูก | • บูฮิด • ฮานูโนโอ • กูลีตัน • ปาเลาอัน • ตักบันวา |
ระบบพี่น้อง | ในอินโดนีเซีย: • บาหลี • บาตัก • ชวา • ลนตารา • มากาซาร์ • ซุนดา • เรินจง • เรอจัง |
ISO 15924 | |
ISO 15924 | Tglg (370), Tagalog (Baybayin, Alibata) |
ยูนิโคด | |
ยูนิโคดแฝง | Tagalog |
ช่วงยูนิโคด | U+1700–U+171F |
อักษรไบบายิน (ตากาล็อก: Baybayin, แม่แบบ:IPA-tl) เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาตากาล็อกและภาษาอีโลกาโน ได้ต้นแบบมาจากอักษรกวิ คาดว่าเริ่มใช้เมื่อราว พ.ศ. 1900 และยังคงใช้อยู่เมื่อเป็นอาณานิคมของสเปน ไบบายิน แปลว่า การสะกด พยัญชนะมีพื้นเสียงเป็น อะ เมื่อมิชชันนารีเข้ามาเผยแผ่ศาสนา ได้เพิ่มเครื่องหมายกดเสียงสระ ในการแปลคัมภีร์ไบเบิลเป็นภาษาพื้นเมือง
ลักษณะ
อักษรไบบายินเป็นอักษรสระประกอบ ทำให้ต้องมีการผสมระหว่างพยัญชนะ-สระ แต่ละอักษรหรือ ตีติก[5] มักเขียนในรูปพื้นฐาน ประกอบด้วยพยัญชนะลงท้ายด้วยสระ "A" ถ้าจะเขียนพยัญชนะลงท้ายด้วยสระอื่น ๆ จะใช้สัญลักษณ์ที่เรียกว่า kudlít[5] ซึ่งตั้งข้างบน (เพื่อออกเสียง "E" หรือ "I") หรือล่างตัวอักษร (เพื่อออกเสียง "O" หรือ "U") ในการเขียนคำที่ขึ้นต้นด้วยสระ จะมีการใช้อักษรสามตัว แต่ละอันสำหรับเสียง A, E/I และ O/U
ตัวอักษร
สระเดี่ยว | พยัญชนะฐาน (ที่มีสระ a) | ||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
a |
i/e |
u/o |
ka |
ga |
nga |
ta |
da/ra |
na |
pa |
ba |
ma |
ya |
la |
wa |
sa |
ha |
สระ
|
Ba/Va
|
Ka
|
Da/Ra
|
Ga
|
Ha
|
La
|
Ma
|
Na
|
Nga
|
Pa/Fa
|
Sa/Za
|
Ta
|
Wa
|
Ya
|
ตัวอย่าง
คำอธิษฐานขององค์พระผู้เป็นเจ้า (Ama Namin)
อักษรไบบายิน | อักษรละติน | ภาษาอังกฤษ (1928 BCP)[6] (ฉบับคาทอลิกฟิลิปปินส์ปัจจุบัน[7]) |
ภาษาไทย |
---|---|---|---|
ᜀᜋ ᜈᜋᜒᜈ᜔᜵ ᜐᜓᜋᜐᜎᜅᜒᜆ᜔ ᜃ᜵ |
Ama namin, sumasalangit ka, |
Our Father who art in heaven, |
ข้าแต่พระบิดาของข้าพเจ้าทั้งหลาย พระองค์สถิตในสวรรค์ |
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
อักษรไบบายิน | อักษรละติน | แปลไทย |
---|---|---|
ᜀᜅ᜔ ᜎᜑᜆ᜔ ᜈᜅ᜔ ᜆᜂ ᜀᜌ᜔ ᜁᜐᜒᜈᜒᜎᜅ᜔ ᜈ ᜋᜎᜌ ᜐᜒᜎ ᜀᜌ᜔ ᜉᜒᜈᜄ᜔ᜃᜎᜓᜂᜊᜈ᜔ ᜈᜅ᜔ ᜃᜆᜓᜏᜒᜇᜈ᜔ ᜀᜆ᜔ ᜊᜓᜇ᜔ᜑᜒ |
Ang lahát ng tao'y isinilang na malayà Sila'y pinagkalooban ng katuwiran at budhî |
มนุษย์ทั้งปวงเกิดมามีอิสระ ต่างในตนมีเหตุผลและมโนธรรม |
คำขวัญของประเทศฟิลิปปินส์
อักษรไบบายิน | อักษรละติน | แปลไทย |
---|---|---|
ᜋᜃᜇᜒᜌᜓᜐ᜔᜵ ᜋᜃᜆᜂ᜵ ᜋᜃᜃᜎᜒᜃᜐᜈ᜔᜵ ᜀᜆ᜔ ᜋᜃᜊᜈ᜔ᜐ᜶ |
Maka-Diyós, Maka-Tao, Makakalikasan, at Makabansâ. |
เพื่อพระเป็นเจ้า, เพื่อประชาชน, เพื่อธรรมชาติ และ เพื่อประเทศ |
ᜁᜐᜅ᜔ ᜊᜈ᜔ᜐ᜵ ᜁᜐᜅ᜔ ᜇᜒᜏ᜶ |
Isáng Bansâ, Isáng Diwà |
หนึ่งประเทศ หนึ่งจิตวิญญาณ |
อ้างอิง
- ↑ Borrinaga, Rolando O. (22 September 2010). "In Focus: The Mystery of the Ancient Inscription (An Article on the Calatagan Pot)". National Commission for Culture and the Arts. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-28. สืบค้นเมื่อ 24 June 2021.
- ↑ https://aboutphilippines.org/doc-pdf-ppt-etc/Linguistic_insights_into_the_history_of_Philippine_script.pdf เก็บถาวร 2021-09-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [bare URL PDF]
- ↑ de Totanés, Sebastián (1745). Arte de la lenga tagalog. p. 3.
No se trata de los caracteres tagalos, porque es ya raro el indio que los sabe leer, y rarisimo el que los sabe escribir. En los nuestros castellanos leen ya, y escriben todos.
- ↑ Morrow, Paul (7 April 2011). "Baybayin Styles & Their Sources". paulmorrow.ca. สืบค้นเมื่อ 25 April 2020.
- ↑ 5.0 5.1 Potet 2018, p. 95.
- ↑ "The 1928 Book of Common Prayer: Family Prayer". The Book of Common Prayer. สืบค้นเมื่อ 14 October 2016.
- ↑ "Part Four: Christian Prayer, Section Two: The Lord's Prayer "Our Father!"". Catechism of the Catholic Church. vatican.va. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 February 2020. สืบค้นเมื่อ 15 March 2020.
ผลงานอ้างอิง
- Delgado, Juan José (1892). Historia General sacro-profana, política y natural de las Islas del Poniente llamadas Filipinas (ภาษาสเปน). Manila: Imp. de el Eco de Filipinas – โดยทาง University of Michigan Library.
- Diringer, David (1948). The Alphabet: A Key to the History of Mankind (Second and revised ed.). London: Hutchinson's Scientific and Technical Publications – โดยทาง Archive.org.
- Donoso, Isaac (2019). "Letra de Meca: Jawi Script in the Tagalog Region During the 16th Century". Journal of Al-Tamaddun. 14 (1): 89–103. doi:10.22452/JAT.vol14no1.8.
- Duka, Cecilio D. (2008). Struggle for Freedom: A Textbook on Philippine History. Manila: Rex Book Store. ISBN 978-971-23-5045-0.
- Chirino, Pedro (1890) [First published 1604]. Relación de las Islas Filipinas y de lo que en ellas han trabajado los padres de la Compañía de Jesús: del P. Pedro Chirino (ภาษาสเปน) (2nd ed.). Manila: Imprenta de D. Esteban Balbas – โดยทาง University of Michigan Library.
- Halili, Maria Christine N. (2004). Philippine History. Manila: Rex Book Store. ISBN 978-971-23-3934-9.
- Potet, Jean-Paul G. (2017). Ancient Beliefs and Customs of the Tagalogs. Morrisville, North Carolina: Lulu Press. ISBN 978-0-244-34873-1.
- Potet, Jean-Paul G. (2018). Baybayin: The Syllabic Alphabet of the Tagalogs. Raleigh, North Carolina: Lulu Press. ISBN 978-0-244-14241-4.
- Sagar, Krishna Chandra (2002). An Era of Peace. New Delhi: Northern Book Centre.
- Scott, William Henry (1984). Prehispanic Source Materials for the Study of Philippine History. Quezon City: New Day Publishers.