เออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด

ท่านลอร์ดรัทเทอร์ฟอร์ดแห่งเนลสัน
นายกราชสมาคม
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 1925 – 1930
ก่อนหน้าเซอร์ ชาลส์ สกอต เชอร์ริงตัน
ถัดไปเซอร์เฟรเดอริก กอว์แลนด์ ฮอพกินส์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด30 สิงหาคม ค.ศ. 1871(1871-08-30)
ไบรท์วอเทอร์, นิคมนิวซีแลนด์
เสียชีวิต19 ตุลาคม ค.ศ. 1937(1937-10-19) (66 ปี)
เคมบริดจ์, ประเทศอังกฤษ
สัญชาติบริติช
เชื้อชาตินิวซีแลนด์
ที่อยู่อาศัยนิวซีแลนด์, สหราชอาณาจักร
ลายมือชื่อ
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาฟิสิกส์และเคมี

เออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด บารอนรัทเทอร์ฟอร์ดที่ 1 แห่งเนลสัน (อังกฤษ: Ernest Rutherford, 1st Baron Rutherford of Nelson) หรือที่นิยมเรียกว่า ลอร์ดรัทเทอร์ฟอร์ด เป็นนักฟิสิกส์ชาวบริติชที่เกิดในนิคมนิวซีแลนด์ ได้รับการยกย่องให้เป็น "บิดา" แห่งฟิสิกส์นิวเคลียร์ เขาเป็นผู้บุกเบิกทฤษฎีการโคจรของอะตอม ชื่อของเขาได้นำไปใช้เป็นชื่อธาตุที่ 104 คือ รัทเทอร์ฟอร์เดียม

ประวัติ

เออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด เป็นบุตรชายของ เจมส์ รัทเทอร์ฟอร์ด ชาวนาผู้ซึ่งอพยพมาจากเมืองเพิร์ธ ประเทศสกอตแลนด์ กับ มาร์ธา (นามสกุลเดิม ธอมป์สัน) ซึ่งดั้งเดิมอาศัยอยู่ที่เมือง ฮอร์นเชิช เมืองเล็ก ๆ ในแถบตะวันออกของประเทศอังกฤษ บิดามารดาของเขาย้ายมายังประเทศนิวซีแลนด์ เออร์เนสต์ เกิดในเมืองสปริงโกรฟ (ปัจจุบันคือ เมืองไบรท์วอเตอร์) ใกล้กับเมืองเนลสัน ประเทศนิวซีแลนด์ เขาศึกษาในเนลสันคอลเลจ และได้รับทุนการศึกษาเพื่อเรียนในวิทยาลัยแคนเทอร์บรี (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยแห่งแคนเทอร์บรี) ในปี 1895 หลังจากจบการศึกษาด้าน BA, MA และ BSc และใช้เวลา 2 ปีในการทำวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีไฟฟ้า รัทเทอร์ฟอร์ดเดินทางไปยังประเทศอังกฤษเพื่อศึกษาต่อที่ ศูนย์วิจัยคาเวนดิช มหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ (1895 - 1898) เขาได้รับการบันทึกไว้ในฐานะผู้ค้นพบระยะของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ในระหว่างการทดลองด้านกัมมันตภาพรังสี เขาเป็นผู้สร้างนิยามของรังสีแอลฟา และบีตา ซึ่งเป็นคำที่ใช้เรียกรังสี 2 ชนิดที่ปล่อยออกมาจากทอเรียมและยูเรเนียม เขาค้นพบมันระหว่างการตรวจสอบอะตอม อย่างไรก็ตาม เขาไม่ยอมรับว่าเป็นผู้ค้นพบรังสีแกมมา ซึ่งถูกค้นพบโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส P.V. Villard ไม่นานหลังรัทเทอร์ฟอร์ดรายงานการค้นพบของเขาเกี่ยวกับการแพร่กระจายของก๊าซกัมมันตภาพรังสี

ในปี 1898 รัทเทอร์ฟอร์ดได้เป็นหัวหน้าด้านฟิสิกส์ของมหาวิทยาลัยแมคกิลล์ ในมอนทรีออล ประเทศแคนาดา ที่ซึ่งเขาสร้างผลงานจนได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี ในปี 1908

แหล่งข้อมูลอื่น